E N D
ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชความหลากหลายทางชีวภาพของพืช
บทนำ • อาจกล่าวได้ว่า หากปราศจากพืชในระบบนิเวศน์บนบกแล้ว สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะสิ่งมีชีวิตนั้นปราศจากอาหารที่จะนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆพืชในฐานะผู้ผลิตที่สำคัญจะถ่ายทอดพลังงานจากแสงอาทิตย์ไปยังสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ โดยการถ่ายทอดพลังงานนั้นในรูปของพลังงานเคมีพลังงานเคมีนี้เก็บไว้ในโมเลกุลของสารที่มีคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ (ไฮโดรคาร์บอน) สิ่งมีชีวิตต้องสลายโมเลกุลดังกล่าวเพื่อให้ได้พลังงานเคมีออกมาใช้ได้ พืชสร้างสารไฮโดรคาร์บอนจากสารตั้งต้น คือ น้ำ (H2O) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เชื่อมธาตุคาร์บอนเข้าด้วยกัน
พืชคืออะไร • สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบยูคาริโอต (eukaryote) ประกอบด้วยหลายเซลล์และส่วนใหญ่ดำรงชีวิตบนบก • มีผนังเซลล์ที่มีเซลลูโลส (cellulose) เป็นองค์ประกอบ • สามารถสร้างอาหารด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยใช้รงควัตถุคลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์ บี และคาโรทีนอยด์ • มีวงจรชีวิตแบบสลับ • มี เอมบริโอ (embryo) ซึ่งพัฒนามาจากไซโกต
วงจรชีวิตแบบสลับ • วงจรชีวิตแบบสลับ คือวงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีการสลับกันของระยะแกมีโทไฟต์ (gametophyte) และสปอร์โรไฟต์ (sporophyte) ระยะแกมีโทไฟต์เป็นระยะที่เซลล์ สืบพันธ์ ส่วนระยะสปอโรไฟต์เป็ระยะที่สร้างสปอร์ วงชีวิตแบบนี้พบในพืชและสาหร่ายบาง กลุ่ม มีจุดเด่นคือจะพบโครงสร้างที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งในระยะแกมีโทไฟต์ และสปอร์โรไฟต์ • สปอโรไฟต์เป็นระยะที่เริ่มจากไซโกตเป็นต้นมา มีโครโมโซมสองชุด (2n) จึงเรียกระยะนี้ว่าดิพพลอยด์ (diploid) สปอโรไฟต์เป็นพืชที่สร้างอับสปอร์(sporangium)ซึ่งภายในจะสร้างสปอร์การเจริญของสปอโรไฟต์จากไซโกตจนถึงการสร้างอับสปอร์เกิดโดยการแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส แต่การสร้างสปอร์เกิดโดยการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiotic cell division)สปอร์จะเจริญไปเป็น แกมีโทไฟต์ต่อไป
พืชไม่มีเนื้อเยื้อลำเลียงพืชไม่มีเนื้อเยื้อลำเลียง • พืชไม่มีเนื้อเยื่อท่อลำเลียง (Non-vascular plants) • พืชกลุ่มนี้ได้แก่ไบรโอไฟต์ (bryophytes) • พืชสีเขียวขนาดเล็กพบบริเวณที่ร่มและชื้น • gametophyte เด่นในวงจรชีวิต ซึ่งเป็นพืชที่พบทั่ว ๆ ไป • การปฏิสนธิยังจำเป็นต้องอาศัยน้ำเป็นตัวกลาง (สเปิร์มจะว่ายน้ำเข้าไปผสมกับไข่ภายในอับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย) เช่นเดียวกับในสาหร่ายสีเขียว แต่แตกต่างที่จากไซโกต (2n) จะเจริญเป็นเอมบริโอ ก่อนที่จะเป็น sporophyte • sporophyte มีช่วงชีวิตสั้นและจะต้องอาศัยอยู่บน gametophyte ตลอดชีวิตความหลากหลายของไบรโอไฟต์ • Bryophytes Link: • ไบรโอไฟต์ในประเทศไทย • เกี่ยวกับไบรโอไฟต์ในแง่มุมต่างๆ
มอสส์ในประเทศไทย • มอสส์ในประเทศไทย
ลิเวอร์เวิร์ดและฮอร์นเวิร์ดในประเทศไทยลิเวอร์เวิร์ดและฮอร์นเวิร์ดในประเทศไทย • ลิเวอร์เวิร์ดและฮอร์นเวิร์ด
รูปพืชต่างๆ ฟอสซิลของกลุ่มใกล้เคียงเฟิร์น ฟอสซิลของเฟิร์น ฟอสซิลของเฟิร์น ฟอสซิลของเฟิร์น ฟอสซิลของเฟิร์น ดอกไก่ฟ้า (Aristolochia sp.) Alethopteris sp Neuropteris sp เมล็ดในผลทับทิบ (Punica punatum)