380 likes | 1k Views
“ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องชั่งตวงวัด”. โดย นายจรูญศักดิ์ บุสบล หัวหน้าสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต 3-6 กระบี่. สำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต 3-6 กระบี่. 28 – 30 ถนนเหมทานนท์ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โทรศัพท์/โทรสาร 0-7563-1757 Email : krabi@cbwmthai.org.
E N D
“ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องชั่งตวงวัด”“ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องชั่งตวงวัด” โดย นายจรูญศักดิ์ บุสบล หัวหน้าสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต 3-6 กระบี่
สำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต 3-6 กระบี่ 28 – 30 ถนนเหมทานนท์ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โทรศัพท์/โทรสาร 0-7563-1757 Email : krabi@cbwmthai.org
ประวัติชั่งตวงวัดไทย โดยสังเขป • พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมีพระราชดำหริให้กระทรวงเกษตรพาณิชยการ โดยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ให้นำวิธีเมตริกมาใช้ • พ.ศ. 2445 รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ พระอภัยราชา (Mr. Rolin Jacquemyns) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ได้ร่าง พรบ.วัด ตวง และชั่ง ร.ศ. 119 ขึ้น โดยบัญญัติให้ใช้เป็นวิธีเมตริก • พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มอบหมายให้เจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ เสนาบดีกระทรวงเกษตรตราธิการ ติดต่อเข้าร่วมในอนุสัญญาเมตริก (Metric Convention) กับสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศในเรื่องการขอเข้าเป็นสมาชิก • พ.ศ. 2454 ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (BIPM) ณ ประเทศฝรั่งเศส • พ.ศ. 2463 ได้โอนงานชั่งตวงวัดให้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ • พ.ศ. 2466 รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าให้ตรา พรบ. มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายว่าด้วยชั่งตวงวัดของประเทศ และตั้ง สำนักงานกลางมาตราชั่งตวงวัด กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ • พ.ศ. 2479 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดในส่วนภูมิภาคครั้งแรกขึ้นที่จังหวัดสงขลา เรียกว่า สำนักงานสาขามาตราชั่งตวงวัด 1 โดยมีนายเศวต เปี่ยมพงษ์ศานต์ เป็นหัวหน้าสำนักงาน • พ.ศ. 2538 ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายชั่งตวงวัด (OIML) • พ.ศ. 2542 ประเทศไทย ประกาศใช้ พรบ.มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 จากการยกร่าง พรบ.มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 ใหม่ทั้งฉบับ จนถึงปัจจุบัน • ปัจจุบัน สำนักงานกลางชั่งตวงวัด สังกัดกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
โครงสร้าง กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายใน(สำนักงานกลางมาตราชั่งตวงวัด) สำนักชั่งตวงวัด ศูนย์ชั่งตวงวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่) ศูนย์ชั่งตวงวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) ศูนย์ชั่งตวงวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี) ศูนย์ชั่งตวงวัดภาคใต้ (สุราษฎร์ธานี) สำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขตจำนวน 5 เขต สำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขตจำนวน 6 เขต สำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขตจำนวน 4 เขต สำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขตจำนวน 2 เขต สำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขตจำนวน 6 เขต
สำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต 3-6 กระบี่ • จัดตั้ง เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2549 • มีเขตอำนาจ คือ จังหวัดกระบี่ และตรัง • ที่ตั้ง 28 – 30 ถนนเหมทานนท์ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000 • โทรศัพท์/โทรสาร 0-7563-1757 • มือถือ 0-9154-1057
หน้าที่ • รับแจ้งและออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ ผลิต นำเข้า ซ่อม ขาย เครื่องชั่งตวงวัด และให้บริการชั่ง • ตรวจรับรองเครื่องชั่งตวงวัด • ตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัดและสินค้าหีบห่อ • อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
เครื่องชั่ง • ไม่อัตโนมัติ, อัตโนมัติ, ตุ้มน้ำหนัก - เครื่องชั่งรถยนต์ - เครื่องชั่งแบบตุ้มถ่วง - เครื่องชั่งแบบคันคู่ - เครื่องชั่งแบบหน้าปัดกลม - เครื่องชั่งสปริง - เครื่องชั่งแบบดิจิตอล(ระบบไฟฟ้า)
เครื่องตวง • เครื่องตวงของเหลว • เครื่องตวงของแห้ง
เครื่องวัด • เครื่องวัดความยาว (ตลับเมตร) • มาตรวัดความยาว (มาตรวัดระดับของเหลวฯ) • มาตรวัดปริมาตรของเหลว (มาตรวัดน้ำมันฯ) • มาตรวัดมวลโดยตรง (มาตรวัดก๊าซ) • มาตรวัดปริมาตรน้ำ (มาตรวัดน้ำประปา) • มาตรวัดปริมาตรก๊าซที่มีสถานะเป็นไอ
ตรวจรับรอง • เครื่องหมายคำรับรอง (ตราครุฑ) • เลขลำดับประจำเครื่อง • ชั้นแรก, ชั้นหลัง • สติ๊กเกอร์ประจำปี
การตรวจรับรอง • ตรวจสอบลักษณะโดยทั่วไปของเครื่อง • สอบเทียบกับแบบมาตรา • ประทับตราเครื่องหมายคำรับรอง เพื่อป้องกันการแก้ไข • ออกหนังสือสำคัญประจำเครื่อง • ออกรายงานการตรวจฯ
การตรวจสอบ • ตรวจเครื่องหมายคำรับรอง • สอบเทียบกับแบบมาตรา • ติดสติ๊กเกอร์ประจำปี “ตรวจสอบแล้ว” • ผลผิดเกินกว่าที่กฎหมายอนุญาต • การดำเนินการ - ผูกบัตรห้ามใช้ กรณีไม่มีการแก้ไข, ยังซ่อมได้ - ยึด เพื่อทำลาย กรณีไม่มีการแก้ไข, ซ่อมไม่ได้ - ดำเนินคดี กรณีมีการแก้ไข โดยทุจริต
เครื่องชั่งตวงวัด • เครื่องชั่งตวงวัดที่ใช้ในการซื้อขาย ให้บริการชั่ง ตวง หรือวัด คิดค่าตอบแทน ค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ต้องได้รับการตรวจสอบให้คำรับรอง
สินค้าหีบห่อ • สินค้าหีบห่อ คือ สินค้าที่ได้บรรจุหรือมีสิ่งห่อหุ้มซึ่งเจตนาจะซื้อ ขาย หรือจำหน่ายกันตามปริมาณที่บรรจุหรือหุ้มห่อไว้นั้น ไม่ว่าจะซื้อ ยายหรือจำหน่ายสิ่งที่ใช้บรรจุหรือสิ่งหุ้มห่อนั้นด้วยหรือไม่ก็ตาม - เช่น ก๊าซหุงต้ม , ยาสีฟัน, น้ำปลา ฯลฯ
สินค้าหีบห่อ • การแสดงประมาณสุทธิ - ปริมาตร > 10 ml – 20 L - น้ำหนัก > 5 g – 20 Kg • มีข้อความ “ปริมาณสุทธิ” , “น้ำหนักสุทธิ” หรือ “ปริมาตรสุทธิ” • แสดงให้เห็นชัดเชน ขนาดไม่น้อยกว่า 2mm มีลักษณะถาวรไม่ลบเลือน
สินค้าหีบห่อ • ถ้ามีการแสดงหลายแห่ง ต้องตรงกัน • สินค้าที่เป็นห่อเล็กแล้วบรรจุในห่อใหญ่ต้องแสดงปริมาณไว้ที่หีบห่อใหญ่ด้วย เช่น 6 x 100 กรัม 12 x 1 กิโลกรัม เป็นต้น