100 likes | 275 Views
นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม วันพฤหัสบดีที่ 2 3 ธันวาคม 2553. 1. 1. ทิศทาง (ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 : 2555-2559) ที่เกี่ยวข้องกับ ส.ป.ก.
E N D
นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ • เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม • วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม 2553 1
1. ทิศทาง (ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 : 2555-2559) ที่เกี่ยวข้องกับ ส.ป.ก. • 1) อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 เรื่อง การสร้างความสมดุลและความมั่นคงของอาหารและพลังงาน • 2) กลยุทธที่สำคัญ คือ • 2.1 รักษาและคุ้มครองพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรและสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยมีที่ดินเป็นของตนเองหรือมีสิทธิทำกินในที่ดิน • 2.2 พัฒนาและปรับปรุงกฎหมายปฏิรูปที่ดินให้สามารถซื้อที่ดินเอกชนมาดำเนินการปฏิรูปได้ และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิหรือให้สิทธิในการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ไร้ที่ดินทำกิน • 2.3 จัดตั้งธนาคารที่ดินเพื่อรวบรวมและนำที่ดินที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์มาจัดสรรให้กับเกษตรกรรายย่อยมากขึ้นและสนับสนุนการดำเนินการให้ได้สิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐแก่เกษตรกรและชุมชนให้มีที่ดินเป็นของตนเอง • 2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เข้าสู่ภาคเกษตรเพื่อทดแทนเกษตรกรที่สูงอายุและมีสุขภาพไม่แข็งแรง • 2.5 ส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ให้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งด้านอาหารและพลังงานให้กับเกษตรกรและชุมชนอย่างเป็นระบบ 2
2. การดำเนินงานของ ส.ป.ก. • 1) การเร่งรัดจัดที่ดิน • • ที่ดินเกษตรกรรม(รัฐ) • • ที่ชุมชน • • การจัดซื้อที่เอกชน • 2) ผลการดำเนินงานตั้งแต่ 2518 – 30 พฤศจิกายน 2553 • สามารถจัดที่ดินได้ 33.517 ล้านไร่ เกษตรกร 2.36 ล้านครอบครัว 3
3. สถานการณ์การจัดที่ดินของ ส.ป.ก. • 3.1) ที่ดินรัฐ • • ปัจจุบันมีพื้นที่ ที่ประกาศเขตตาม พรฎ. 54.2 ล้านไร่ • • กันออกตามข้อตกลงกับกรมป่าไม้ 16.67 ล้านไร่ • • คงเหลือพื้นที่ดำเนินการประมาณ 37.53 ล้านไร่ • • จัดที่ดินแล้วจนถึง 30 ก.ย. 2553 ประมาณ 33.02 ล้านไร่ • • มีแผนในปี 2554 จำนวน 0.8 ล้านไร่ • • มีพื้นที่คงเหลือยังไม่จัดประมาณ 3.7 ล้านไร่ • • ในจำนวนนี้มีปัญหาค่อนข้างมาก ทั้งในเรื่องผู้ถือครองรายใหญ่ และผู้มีคุณสมบัติไม่ถูกต้อง ไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน แต่ไม่มีข้อมูลที่จะยืนยันได้**ศูนย์สารสนเทศ และสำนักจัดการแผนที่และสารบบที่ดิน)** 4
3.2) ที่ดินชุมชน • • มีเป้าหมาย 9,547 ชุมชน • • ผลถึงปี 2553 จำนวน 6,165 ชุมชน 590,562 ราย • • แผนงานปี 2554 จำนวน 1,505 ชุมชน 87,622 ราย • • คงเหลือ 1,874 ชุมชน • • ที่เหลือต้องตรวจสอบแปลงที่ยังไม่ได้รังวัด และกำหนดแนวทางการจัดที่ดินให้ผู้มีอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง และอาชีพอื่นให้ชัดเจน ซึ่งอาจจะเป็นการให้เช่าเพื่อเป็นรายได้เข้ากองทุนก็ได้ • **ศูนย์สารสนเทศ และสำนักจัดการแผนที่และสารบบที่ดิน)** • 3.3) ที่ดินเอกชน • • ปัจจุบันจัดซื้อได้ 432,917 ไร่ (รวมที่ดินพระราชทานเป็น 490,477 ไร่) • • จัดที่ดินให้แล้ว 24,230 ราย 397,570 ไร่ • • ไม่มีการเร่งรัดการจัดซื้อที่ดิน (เว้นแต่การซื้อที่ดินตามมติ ครม. ในเรื่องสิรินธร และสมัชชา 4 ภาค ซึ่งก็มีไม่มาก) • **ปทจ.** 5
4. แนวทางการดำเนินงานปี 2554 • 4.1) การพัฒนาสิทธิ ต้องชะลอไว้จนกว่าจะมีความชัดเจนทั้งเชิงนโยบาย และขั้นตอนการดำเนินงานที่สามารถปฏิบัติได้ในระดับพื้นที่ • 4.2) งบประมาณการพัฒนาสิทธิเป็นงบประมาณที่ยืดหยุ่น ประกอบกับไม่มีตัวชี้วัดในเรื่องนี้ จึงสามารถปรับปรุงงบประมาณดังกล่าว นำมาใช้เพื่อเป็นการขับเคลื่อน การจัดที่ดินทั้งในปี 2554 และเป็นการเตรียมการดำเนินงานในปี 2555 ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนชาติและนโยบายรัฐบาล 6
4.3) กิจกรรมที่สามารถดำเนินงานได้ โดยให้ ส.ป.ก. จังหวัดนำเสนอแผนงาน และงบประมาณที่จะต้องใช้ โดยใช้งบประมาณเรื่องการพัฒนาสิทธิ (ที่ดินรัฐที่คงเหลือ) คือ • 4.3.1 การตรวจสอบข้อมูลเชิงแผนที่ จากฐานข้อมูลที่ ศสท. ได้ประมวลไว้ว่ายังมีที่ดินจัดได้อีกประมาณ 3.7 ล้านไร่ โดยวิธีการงบประมาณ จำเป็นต้องสร้างข้อมูลเชิงประจักษ์ให้เห็นได้ว่าที่ดินที่จะนำมาจัดได้จริงมีเหลือเท่าไร ไม่อาจเพียงยืนยันด้วยคำพูดเท่านั้น • • งบประมาณจึงควรนำมาใช้ในการตรวจสอบอย่างจริงจัง โดยวิธีการเชิงแผนที่ โดยการนำฐานข้อมูล Digital map ซ้อนกับเขต ส.ป.ก. เพื่อดูว่าช่องว่างอยู่ที่ไหน จากนั้นก็ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวกับที่ดินจังหวัด อบต. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า ที่ดินจะเหลือจัดจริงเท่าไร ซึ่ง ส.ป.ก. ก็เคยพูดคุยเรื่องนี้มาโดยตลอดตามที่เรียกกันว่า “ปิดพื้นที่” นั่นเอง • • นอกจากนี้ การปรับปรุงสารบบที่ดิน(เอกสารในซอง 4-06) ก็ควรต้องเร่งรัดตรวจสอบแล้วนำเข้าระบบ electronic ซึ่งควรจะ scan เก็บไว้เพื่อง่ายแก่การตรวจสอบ 7
4.3.2 การตรวจสอบที่ดินชุมชนที่มีแปลงที่ดินยังคงค้างในแต่ละชุมชน ผนวกกับแปลงที่ถือครองโดยผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวเนื่อง แนวทางจะเป็นเช่นเดียวกับที่ดินรัฐ • 4.3.3 การเร่งรัดจัดที่ดินเอกชน เนื่องจากทิศทางแผน 11 และ สวผ. ได้ปรึกษากับสำนักงบประมาณเมื่อวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดย สงป. มีความเห็นว่า ส.ป.ก. ควรตั้งงบประมาณเพื่อการจัดซื้อที่ดิน (ในเบื้องต้นคือประมาณ 1,000 ล้านบาท/ปี เป็นเวลา 5 ปี) • • ส.ป.ก.จังหวัดจึงควรเร่งรัดการจัดซื้อที่ดิน เพื่อรองรับเกษตรกรรุ่นใหม่ และผู้ไร้ที่ดินทำกิน โดยจัดทำแผนเป็น 2 ส่วน • ส่วนที่ 1 - ด้านบริหารจัดการ ประสานงานเพื่อเจรจาตรวจสอบ และจัดซื้อที่ดินเอกชน • ส่วนที่ 2 - ประมาณการที่ดินที่จะจัดซื้อ โดยใช้เงินจากกองทุน ส.ป.ก. • • ทั้งนี้เพื่อเร่งรัดให้เกิดผลการดำเนินงานสำหรับการชี้แจงการของบประมาณจัดซื้อที่ดินเข้ากองทุนในปี 2555 8
ดังนั้นงบประมาณที่ ส.ป.ก. ได้วิเคราะห์แล้วเห็นว่าควรกันไว้ ก็จะนำมาใช้กับการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่เป็นนโยบาย ตลอดจนเป็นการเตรียมการรองรับการดำเนินงานปี 55 ได้ • จึงขอให้ ส.ป.ก.จังหวัดพิจารณาและเสนอแผนงานงบประมาณ ไปยัง ส.ป.ก. ตามแนวทางที่เสนอไว้ต่อไป 9
สวัสดี 10