480 likes | 1.2k Views
การเมืองและการปกครองท้องถิ่นไทย. พัฒนาการของเทศบาล พรบ.จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 กำหนดให้มี เทศบาล 3 ระดับ คือ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล เริ่มต้นที่การยกฐานะสุขาภิบาล 35 แห่ง และจัดตั้งตำบลเป็นเทศบาล
E N D
การเมืองและการปกครองท้องถิ่นไทยการเมืองและการปกครองท้องถิ่นไทย พัฒนาการของเทศบาล พรบ.จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 กำหนดให้มี เทศบาล 3 ระดับ คือ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล เริ่มต้นที่การยกฐานะสุขาภิบาล 35 แห่ง และจัดตั้งตำบลเป็นเทศบาล ในปี พ.ศ. 2478 เริ่มจัดตั้งเทศบาลครั้งแรก พื้นที่ใดจะจัดตั้งเป็นเทศบาลรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนด พื้นที่ตำบลอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ให้เป็นเทศบาลเมือง
พัฒนาการของเทศบาล • โครงสร้างของเทศบาล แบ่งออกเป็น 2 องค์กร คือ สภาเทศบาลและคณะเทศมนตรี • สภาเทศบาลมาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยมีบทเฉพาะกาลว่า เมื่อเป็นเทศบาลแล้ว รัฐบาลจะเป้นผู้แต่งตั้ง ส.ท. เพื่อให้เป็นผู้เริ่มการ ในระยะเวลา 1 ปีนับตั้งแต่การประชุมสภาเทศบาลครั้งแรก ส.ท. มี 2 ประเภท คือ ที่ราษฎรเลือกตั้งและรัฐบาลแต่งตั้งไม่เกินจำนวนประเภทแรก และเทศบาลที่มีผู้มีสิทธิออกเสียงจบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกินกว่าครึ่ง ให้สภาเทศบาลมาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว
พัฒนาการของเทศบาล • จุดอ่อนของเทศบาลตาม พรบ.จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ได้แก่ จัดตั้งขึ้นโดยผลของกฎหมาย มิได้มาจากการเรียกร้องของประชาชน และมีอำนาจหน้าที่จำกัดตามชั้นของเทศบาล ซึ่งอาจไม่ตรงตามลักษณะภูมิประเทศ และความต้องการของชุมชน และมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด • พรบ.เทศบาล พ.ศ. 2496(พัฒนาการมาจาก พรบ.จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 พรบ.เทศบาล พ.ศ. 2481(ใช้อยู่ 5 ปี)และ 2486(ใช้อยู่ 10 ปี)
พัฒนาการของเทศบาล • แบ่งเทศบาลออกเป็น 3 ระดับ คือ เทศบาลนคร เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล • หลักเกณฑ์ในการจัดตั้งเทศบาล(หนังสือ หน้า 108 – 109) - จำนวนและความหนาแน่นของประชากร - ความเจริญทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยพิจารณาจากการจัดเก็บรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด และงบประมาณรายจ่ายในการดำเนินการของท้องถิ่น - ความสำคัญทางการเมืองของท้องถิ่น โดยพิจารณาจากศักยภาพของท้องถิ่นนั้นว่าจะสามารถพัฒนาความเจริญได้รวดเร็วมากน้อยเพียงใด
พัฒนาการของเทศบาล • โครงสร้างการบริหารราชการ (หน้า 111) • จำนวนสมาชิก • เทศบาลตำบล 12 คน • เทศบาลเมือง 18 คน • -เทศบาลนคร 24 คน เห็นชอบของสภาฯ คณะเทศมนตรี สภาเทศบาล นายกเทศมนตรี 1 คน เทศมนตรี 2- 4 คน -สำนักปลัดเทศบาล - สำนัก/กองและอื่น ๆ ส่วนราชการของเทศบาล เลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
พัฒนาการของเทศบาล • โครงสร้างการบริหารราชการในปัจจุบัน หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2543มีผลให้เทศบาลนครและเมืองที่สมาชิกสภาหมดวาระหลังจากที่มีการประกาศใช้ มีโครงสร้างการบริหารที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาและฝ่ายบริหารหรือนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในพื้นที่ • นายกเทศมนตรีนคร เมืองและตำบลสามารถแต่งตั้งรองนายกฯได้ไม่เกิน 4 คน 3 คน และ 2 คน ตามลำดับและสามารถแต่งตั้งที่ปรึกษาและเลขานุการรวมกันได้ไม่เกิน 5 คน 3 คน และ 2 คนตามลำดับ
สาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลง • นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แทนการเลือกของสมาชิกสภา ทำให้ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างนายกฯกับฝ่ายสภาเปลี่ยนไป นายกเทสภสเทศบาลศมนตรีรับผิดชอบในการบริหารงานแต่เพียงผู้เดียว โดยมีรองนายกฯเป็นผู้ช่วย ไม่ใช่ในรูปคณะกรรมการ และนายกฯต้องแถลงนโยบายก่อนรับหน้าที่ • มีการแยกฝ่ายบริหารและฝ่ายสภาออกจากกันอย่างชัดเจน • การดำรงอยู่ของนายกเทศมนตรีไม่ขึ้นอยู่กับสภาเทศบาล • การที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของเทศบาล ไม่ส่งผลต่อตำแหน่งนายกเทศมนตรี (หนังสือหน้า 112-116)
โครงสร้างการบริหารงานของเทศบาลในปัจจุบันโครงสร้างการบริหารงานของเทศบาลในปัจจุบัน ประชาชนในเขตเทศบาล ร เทศบาลนคร 24 คน เทศบาลเมือง 18 คน เทศบาลตำบล 12 คน นายกเทศมนตรี 1 คน สภาเทศบาล รองนายกเทศมนตรี ทต.ไม่เกิน 2คน/ทม.ไม่เกิน 3 คน/ทน.ไม่เกิน 4 คน ที่ปรึกษาและเลขานุการ(รวมกัน) ทต. ไม่เกิน 2 คน/ทม.ไม่เกิน 3 คน/ทน.ไม่เกิน 5 คน ประธานสภา 1 คน รองประธานฯ 1 คน ส่วนราชการ
พัฒนาการของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด • เมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้จัดตั้งสภาจังหวัดตาม พรบ. ระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 และจนถึง พ.ศ. 2498 สภาจังหวัดมีลักษณะ ดังนี้ - มิได้เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นและนิติบุคคล แยกจากต่างหากราชการส่วนภูมิภาค เป็นเพียงองค์กรตัวแทนประชาชนรูปแบบหนึ่งที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำแก่จังหวัด - ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานสภาจังหวัด มีบทบาทเป็นเพียงที่ปรึกษาเกี่ยวกับกิจการของสภาจังหวัดแก่คณะกรรมการจังหวัด และคณะกรรมการจังหวัดไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเสมอไป - พ.ศ. 2495 ได้มีการตรา พรบ.ระเบียบบริหารราชการส่วนแผ่นดิน สภาจังหวัด เปลี่ยนเป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
พัฒนาการของ อบจ. • พ.ศ. 2498 พรบ.ระเบียบราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 กำหนดให้ อบจ. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และประกาศคณะปฏิวัติ ฉ. 218 กำหนดให้ อบจ. มีฐานะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่ เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อยแลศีลธรรมอันดีของประชาชน การทำนุบำรุงศาสนาและการส่งเสริมวัฒนธรรม การสาธารณูปการ การป้องกันโรค การบำบัดโรค และการจัดตั้งและบำรุงสถานพยาบาล จนถึง พ.ศ. 2540 ได้มี พรบ. อบจ. พ.ศ. 2540 ออกมาบังคับใช้ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่รับผิดชอบทั่วทั้งจังหวัด ทับซ้อนกับพื้นที่ของเทศบาลและ อบต.
พัฒนาการของ อบจ. • โครงสร้างการบริหารราชการของ อบจ. ตาม พรบ.ระเบียบราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 ประชาชนในจังหวัด ฝ่ายบริหาร ผวจ.เป็นหัวหน้า ปลัดจังหวัดเป็นปลัด อบจ. ฝ่ายนิติบัญญัติ มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจำนวน 18-36 คน สนง.เลขานุการฯ ส่วนการคลัง หมวดการคลัง หมวดพัฒนาและโยธา ส่วนอำเภอ นอ.เป็นหัวหน้าฯ ส่วนโยธา หมวดเครื่องจักรกล
อำนาจหน้าที่ของอบจ.ตาม พรบ.อบจ. พ.ศ.2540ม.45 • จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด • สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น • ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น • แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น • อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตาม พรบ.ระเบียบบริหาราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 เฉพาะในเขตสภาตำบล • คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • จัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ที่อยู่ในเขต อบจ.และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกันดำเนินการ หรือให้ อบจ. จัดทำ และจัดทำกิจการอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ อบจ.
การบริหารการคลังของ อบจ. • พรบ. อบจ. พ.ศ. 2540 กำหนดให้ อบจ. มีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บ • ภาษีบำรุง อบจ. จากสถานค้าปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และน้ำมันที่คล้ายกัน และก๊าซปิโตรเลียมไม่เกินลิตรละห้าสตางค์ ยาสูบไม่เกินมวนละ ห้าสตางค์ • ค่าธรรมเนียมบำรุง อบจ. จากผู้พักในโรงแรมตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง • ภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากภาษีธุรกิจธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตขายสุราและใบอนุญาตเล่นการพนันไม่เกนร้อยละสิบ • ภาษีมูลค่าเพิ่ม • ค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะที่ อบจ.จัดให้มีขึ้นตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
พัฒนาการขององค์การบริหารส่วนตำบลพัฒนาการขององค์การบริหารส่วนตำบล • พ.ศ. 2499 (สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี) กระทรวงมหาดไทยได้ริเริ่มจัดตั้งสภาตำบลขึ้น ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 222/2499 ลงวันที่ 8 มี.ค. 2499 สภาตำบลนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ กำหนดให้มีคณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการตำบล การดำเนินงานของสภาตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาตำบลที่เลือกตั้งโดยราษฎรในหมู่บ้านหรือ นายอำเภอเลือกโดยปรึกษาคณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการตำบล หมู่บ้านละ 2 คน นายอำเภอเป็นประธานสภาตำบล รองประธานมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกด้วยกัน และให้สมาชิกเลือกครูประชาบาลหรือราษฎรที่มีคุณสมบัติพอจะทำหน้าที่ได้เป็นเลขานุการ ต่อมารัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 ประกาศใช้เมื่อ 17 มีนาคม 2500 กำหนดให้ตำบลมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีรายได้ รายจ่าย และมีพนักงานที่รับเงินเดือนจากงบประมาณของตนเอง สามารถดำเนินกิจการส่วนตำบลไดด้อย่างอิสระ เรียกว่า องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
พัฒนาการของ อบต. • หลักเกณฑ์การจัดตั้ง อบต. พิจารณาจากรายได้ภาษีบำรุงท้องที่ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป มีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตร.กม. ความหนาแน่นพลเมืองเฉลี่ย 100 คน:ตร.กม. ตำบลที่ได้รับการประกาศจาก มท.ให้เป็น อบต. ห้ามมิให้นำกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ในส่วนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการมาใช้บังคับ • โครงสร้าง อบต. แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ - สภาตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง และสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของราษฎรในหมู่บ้าน ๆละ 1 คน อยู่ในวาระ 5 ปี เพื่อทำหน้าที่นิติบัญญัติ - คณะกรรมการตำบล ประกอบด้วยกำนันเป็นประธาน แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน กับกรรมการอื่นที่นายอำเภอแต่งตั้งจากครูใหญ่ของโรงเรียนในตำบล หรือผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 5 คน ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการดำเนินกิจการส่วนตำบล
พัฒนาการของ อบต. • หน้าที่ของ อบต. เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันระวังรักษาโรคติดต่อ ส่งเสริมการศึกษาและการทำมาหากินของราษฎร ส่งเสริมศาสนา วัฒนธรรม ศีลธรรม ฯลฯอบต. มีอำนาจสภาตำบลตราข้อบัญญัติตำบล ข้อกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดได้ไม่เกิน 50 บาท • การกำกับดูแล นายอำเภอเป็นผู้อนุมัติข้อบัญญัติตำบลและสั่งเพิกถอนระงับการปฏิบัติของคณะกรรมการตำบล หากการนั้นจะก่อความเสียหายแก่ตำบลหรือราชการ • ผู้ว่าราชการจังผวัดมีอำนาจยกเลิกมติที่ไม่ใช่ข้อบัญญัติตำบล หากมติมีลักษณะการเมืองแห่งรัฐหรือฝ่าฝืนกฎหมาย • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งยุบสภาตำบลได้ • อบต.ที่ได้รับการจัดตั้งตาม พรบ.นี้ครั้งแรก 59 แห่ง และไม่ประสบความสำเร็จ (น่าจะมีสาเหตุมาจากการครอบงำของข้าราชการ ประชาชนไม่มีความเข้าใจและเลื่อมใสศรัทธาและให้ความร่วมมือ ความไม่สันทัดในบทบาทของสมาชิกที่มาจากการลือกตั้ง รายได้ไม่เพียงพอในการจัดทำตามอำนาจหน้าที่ ฯลฯ)
พัฒนาการ อบต. • วันที่ 1 มีนาคม 2509 มีคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 275/2509 นำโครงการพัฒนาพลเมืองระบอบประชาธิปไตยเข้าไปปลูกฝังแก่ประชาชน ซึ่งสภาตำบลโฉมใหม่นี้กระทรวงมหาดไทยจะประกาศกำหนดเป็นคราวๆ ไป และมีผลยกเลิกสภาตำบลตามคำสั่งที่ 222/2499 กับยกเลิกคณะกรรมการพัมนาตำบลในพื้นที่ตำบลนั้น ส่วนตำบลอื่น ๆ ยังให้ใช้แนวทางเดิมต่อไป หลักการของสภาตำบลใหม่เรียกว่า สภาตำบลเหมือนเดิม มีเพียงคณะกรรมการสภาตำบล ชุดเดียวทำหน้าที่ทางการบริหาร มาจากการเลือกตั้งหมู่บ้านๆละ 1 คน วาระ 5 ปี สมาชิกโดยตำแหน่ง และโดยการคัดเลือกของนายอำเภอ กำนันทำหน้าที่ประธานโดยตำแหน่งและมีพัฒนากรทำหน้าที่ที่ปรึกษาสภาตำบล • ปี พ.ศ. 2518 รัฐบาลสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ กำหนดให้มีสภาตำบลเพียงรูปเดียว และไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลหน่วยการปกครองท้องถิ่น
พัฒนาการของ อบต. • วันที่ 2 ธันวาคม 2537 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2538 ทำให้สภาตำบลตามกฎหมาลักษณะปกครองท้องที่ ส่วนที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาลซึ่งเคยมีสภาตำบล ตาม ปว. 326 เป็นองค์กรบริการอยู่เดิมมีฐานะเป็นนิติตบุคคลทันที โดยโครงสร้างการบริหารใช้รูปแบบคณะกรรมการประกอบด้วยสมาชิกโดยตำแหน่งได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบลและสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของราษฎรในตำบลหมู่บ้านละ 2 คน วาระ 4 ปี โดยที่กำนันมีฐานะเป็นประธานและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของตำบล สภาตำบลแบบใหม่นี้มีหน้าที่พัฒนาตำบลตามแผน โครงการและงบประมาณของตนเอง รายได้มาจากการจัดสรรภาษี ค่าธรรมเนียม ค่าปรับจาก อบจ. และการจัดหาของสภาตำบลเอง ตลอดจนเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
พัฒนาการของ อบต. • สภาตำบลใดที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.5 บาทให้กระทรวงมหาดไทยประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นด้วย ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้ - ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือ สภา อบต.ประกอบด้วย สมาชิกโดยตำแหน่งได้แก่ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านในตำบล และ สมาชิกที่มาจากเลือกตั้งหมู่บ้านละ 2 คน - ฝ่ายบริหารในรูปคณะกรรมการบริหาร รับผิดชอบการบริหาร มาจากการเลือกของสภา อบต. ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คน และสมาชิกที่มาจากเลือกตั้ง 4 คน โดยให้คณะกรรมการเลือกกันเองเป็นประธานกรรมการบริหารและเลขานุการ กก.บริหาร (ยกเว้นในช่วง 4 ปีแรกให้กำนันทำหน้าที่ประธานกรรมการบริหาร) • อบต. มีอำนาจในการหารายได้และออกข้อบังคับตำบลเพื่อบังคับใช้กับราษฎร และกำหนดโทษปรับด้วยแต่ต้องไม่เกิน 500 บาท มีพนักงานประจำปฏิบัติงาน
พัฒนาการของ อบต. • ปี พ.ศ. 2542 ได้มีการแก้ไข พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538 (ฉบับที่ 3) เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 หมวด 9 มาตรา 285 ที่กำหนดให้ อปท. ต้องมีสมาชิกสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นโครงสร้าง มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น ส่งผลให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านพ้นจากการเป็นสมาชิกสภา อบต.และคณะผู้บริหาร อบต. • กลางปี พ.ศ. 2546 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.สภาตำบลและอบต. พ.ศ. 2537(ฉบับที่ 4) ยกเลิกชื่อเรียก คณะกรรมการบริหาร เปลี่ยนเป็น “คณะผู้บริหาร” และชื่อเรียก ประธานกรรมมการบริหาร เป็น “นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ” เปลี่ยนชื่อเรียก ข้อบังคับตำบล เป็น “ข้อบัญญัติตำบล” • ปลายปี พ.ศ. 2546 ก็ได้มีการแก้ไข พรบ.นี้อีกครั้ง(ฉบับที่ 5) ให้ผู้บริหารและสมาชิกสภา ของอบต.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน เหมือนเทศบาลและ อบจ. ที่ปรากฎอยู่จนปัจจุบัน(หนังสือหน้าที่ 157)
การกำกับดูแล อปท. ของไทย • การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยนั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประการ ดังนี้ • การกำกับด้วยองค์กรภายในเอง ระหว่างฝ่ายสภาและฝ่ายบริหาร • การกำกับจากองค์กรภายนอก ได้แก่ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดกระทรวงมหาดไทย และ รมว.มหาดไทย 1. การกำกับด้วยองค์กรภายใน เช่น 1.1 การให้ความเห็นชอบร่างแผนพัฒนา ร่างข้อบัญญัติ การอนุญาต ทำ การนอกเขตของ อบต. - การให้ความเห็นชอบร่างเทศบัญญัติ การให้ความเห็นชอบตั้งงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุนและครุภัณฑ์ ของเทศบาล - การให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ และการเปิดโดยไม่มีการลงมติอภิปรายของ อบจ. - การให้ความเห็นชอบการกู้เงินจากกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่น ๆ ทั้ง อบจ. เทศบาลและ อบต.
การกำกับ ดูแล อปท. ของไทย - การให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ และการเปิดอภิปรายโดยไม่มีการลงมติของ อบจ. ฯลฯ - การให้ความเห็นชอบการกู้เงินจากกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่น ๆ ทั้ง อบจ. เทศบาลและ อบต. - การยื่นญัตติและกระทู้ ต่อฝ่ายบริหารขอสภา ตามระเบียบ มท.ว่าด้วยการข้อบังคับการประชุม ฯ พ.ศ. 2547 2. การกำกับโดยองค์กรภายนอก ได้แก่ -การอนุมัติร่างข้อบัญญัติ ของนายอำเภอ กรณีของ อบต. ร่างเทศบัญญัติและข้อบัญญัติจังหวัดของผู้ว่าราชการจังหวัด - การสอบสวนและวินิจฉัยให้ สมาชิกสภา อบต.พ้นจากตำแหน่ง ของนายอำเภอ - การเรียกให้ นายก อบต. สมาชิกสภา อบต.และพนักงานชี้แจง เกี่ยวกับการปฏิบัติ ราชการ ตลอดจนเสนอต่อ ผวจ.ให้นายก อบต. พ้นจากตำแหน่ง และการยุบสภา อบต.ของ นายอำเภอ
การกำกับดูแล อปท.ฯ • การอนุมัติให้ เทศบาล ตั้งบประมาณหมวดครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง และเงินอุดหนุนของเทศบาล • การสอบสวนและเสนอความเห็นต่อ รมว. มท.สั่งให้ นายกเทศมนตรี สท.พ้นจากตำแหน่ง และสั่งยุบสภาเทศบาล กรณีเทศบาล และการส่งเรื่องการกระทำไม่ชอบของ นายกต่อ ปปช. สอบสวนและเสนอต่อ รมว.มท. สั่งให้นายกพ้นจากตำแหน่งและยุบสภา อบจ. ของผู้ว่าราชการจังหวัด • การอนุมัติเปิดสมัยประชุมวิสามัญ ของ นายอำเภอ กรณี อบต. และโดยผู้ว่าราชการจังหวัดกรณีของเทศบาลและ อบจ. • การออกระเบียบ ข้อบังคับ ตามอำนาจหน้าที่ของ รมว.มท. และการอนุมัติยกเว้นระเบียบ ของปลัดกระทรวงมหาดไทย • การวินิจฉัยการมีส่วนได้เสียกับ อปท. สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีของ อบต.และเทศบาลและ อบจ.ตามลำดับ
การกำกับดูแล อปท.ของไทย • นอกจากนั้นแล้ว ยังมีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับดำเนินงานของ อปท. ได้แก่ - คณะกรรมการตรวจเงินแผ่น ด้วยการออกระเบียบปฏิบัติและการตรวจสอบการดำเนินงาน - คณะกรรมการการกระจายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(กก.ถ.) มีอำนาจตาม พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ฯ พ.ศ. 2542 ในการออกประกาศกำหนดอำนาจหน้าที่ รายได้ หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินอุดหนุน ของ อปท. และอื่น ๆ - ปปช. มีอำนาจรับแจ้งทรัพย์สินของผู้บริหารท้องถิ่น การสอบสวนการการกระทำไม่ชอบของ การมีส่วนได้เสียกับท้องถิ่น ของผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น