440 likes | 1.09k Views
องค์ ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า. ดร.พญ.เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข . องค์ ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า. สถานการณ์โรคซึมเศร้า อาการของโรคซึมเศร้า การวินิจฉัยและสาเหตุการเกิดโรคซึมเศร้า การ รักษา และ การดูแลต่อเนื่อง. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ความสำคัญของปัญหา.
E N D
องค์ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าองค์ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า ดร.พญ.เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
องค์ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าองค์ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า • สถานการณ์โรคซึมเศร้า • อาการของโรคซึมเศร้า • การวินิจฉัยและสาเหตุการเกิดโรคซึมเศร้า • การรักษาและการดูแลต่อเนื่อง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ความสำคัญของปัญหา ปีสุขภาวะ DALYs เป็นผลรวมของการสูญเสียปีสุขภาวะจาก การตายก่อนวัยอันควร และการมีชีวิตอยู่กับความบกพร่องทางสุขภาพ ปีสุขภาวะ = ปีที่สูญเสียไปจากการตาย +ปีที่สูญเสียไปจากความเจ็บป่วย 1 ปีสุขภาวะ= หนึ่งหน่วยของการสูญเสียระยะเวลาของการมีสุขภาพดีไป 1 ปี
การจัดอันดับความสูญเสียปีสุขภาวะของประชากรไทย ปี พ.ศ. 2547
ความชุกของ Depressive disorders * รายงานการสำรวจระบาดวิทยาของโรคซึมเศร้าปี 2551 โดยกรมสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
อาการของโรคซึมเศร้า กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
เคลื่อนไหวช้า • อารมณ์ • เศร้า • เฉยเมย • ความคิด • ความมั่นใจในตนเองต่ำ • รู้สึกผิด • มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย • อาการกินไม่ได้ นอนไม่หลับ
อารมณ์เศร้า ภาวะซึมเศร้า โรคซึมเศร้า Sadness Depression Depressive disorder • เป็นอารมณ์ด้านลบซึ่งทางจิตวิทยาถือว่าเป็นสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นครั้งคราวกับบุคคลทั่วไปทุกเพศทุกวัย เมื่อเผชิญกับ การสูญเสีย การพลาดในสิ่งที่หวัง การถูกปฏิเสธ • มักเกิดความรู้สึกสูญเสีย ผิดหวัง หรือความรู้สึกอึดอัดทรมาน (Gotlib 1992) • อาการเศร้าที่มากเกินควร และนานเกินไป • ไม่ดีขึ้นแม้ได้รับกำลังใจหรืออธิบายด้วยเหตุผล • มักมีความรู้สึกด้อยค่า รู้สึกผิด อยากตาย • พบบ่อยว่ามีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน กิจวัตรประจำวันและการสังคมทั่วไป (Stifanis 2002) • ภาวะซึมเศร้าที่เข้าตามเกณฑ์การวินิจฉัย ICD-10 • โรคซึมเศร้า (F32) • โรคซึมเศร้าที่กลับเป็นซ้ำ (F33 • โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (F34.1) • หรือ เกณฑ์วินิจฉัยDSM-IV • โรคซึมเศร้า • โรคซึมเศร้าเรื้อรัง
การสอดคล้องกันของอาการซึมเศร้าContinuum of Depression ภาวะซึมเศร้า Depression โรคซึมเศร้า Depressive disorders เศร้า Sadness น้อย Mild ปานกลางModerate รุนแรงSevere โรคจิตPsychotic กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
การจำแนกโรคความผิดปกติทางอารมณ์การจำแนกโรคความผิดปกติทางอารมณ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า (DSM-IV-TR) มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 5 อาการ เกิดขึ้นแทบทั้งวันเป็นเกือบทุกวัน ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์และทำให้เสียหน้าที่การงานการสังคม มีอารมณ์เศร้า ทั้งที่ตนเองรู้สึกและคนอื่นสังเกตเห็น ความสนใจหรือความเพลิดเพลินในกิจกรรมปกติที่เคยทำทั้งหมดหรือแทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก ต้องมีอาการเหล่านี้ อย่างน้อย 1 อย่าง น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้น(มากกว่าร้อยละ5 ต่อเดือน)/เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น นอนไม่หลับหรือหลับมาก ทำอะไรช้า เคลื่อนไหวช้าลง หรือกระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข เหนื่อยอ่อนเพลียหรือไม่มีแรง รู้สึกตนเองไร้ค่าหรือรู้สึกผิดมากเกินควร สมาธิหรือความคิดอ่านลดลง คิดถึงเรื่องการตายอยู่ซ้ำๆหรือคิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตายหรือมีแผน
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า(ICD-10)เกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า(ICD-10)
การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • อารมณ์ซึมเศร้าที่เกิดจากพยาธิสภาพทางกาย เช่น โรคสมองเสื่อม, โรคเส้นเลือดในสมองตีบแตกตัน,โรคไฮโปไทรอยด์ • อารมณ์ซึมเศร้าที่เกิดจากยาหรือสารบางชนิด เช่น ยาลดความดัน, ยานอนหลับ , แอลกอฮอล์ , Clonidine, reserpine, Methyldopa พิเชฐ อุดมรัตน์,การรักษาผู้ป่วยซึมเศร้าในเวชปฏิบัติ : คำถามและคำตอบ,การวินิจฉัยและการรักษาโรคทางจิตเวชสำหรับแพทย์ทั่วไป(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2551)
การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorders with depressed mood) • ภาวะที่ผู้ป่วยมีความรู้สึกอึดอัดเป็นทุกข์ร่วมกับมีอารมณ์ซึมเศร้า จนรบกวนความสามารถในการทำงานหรือหน้าที่ทางสังคม ซึ่งเกิดจากความกดดันหรือความเครียด หรือเป็นผลหลังจากมีเหตุการณ์หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของชีวิต (Stressful life event) กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorders with depressed mood) ต่อ.. • ความผิดปกติเกิดในระยะ 1 เดือนหลังจากมีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยที่อาการไม่รุนแรงเท่ากับโรคอารมณ์ซึมเศร้า • ระยะการดำเนินของโรคมักไม่เกิน 6 เดือน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • โรคอารมณ์สองขั้ว บางช่วงของชีวิตมีอาการที่เข้าได้กับโรคซึมเศร้าและบางช่วงมีอาการของ mania/hypomania ซึ่งมีเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้ • มีอารมณ์สนุกสนาน รื่นเริงผิดปกติหรือมีอารมณ์ หงุดหงิดโกรธง่ายเป็นเวลา อย่างน้อย 1 สัปดาห์ • และมีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย 3 อย่างหรือหากมีอารมณ์เป็นแบบหงุดหงิดโกรธง่ายต้องมีอาการ อย่างน้อย 4 อย่าง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • Bipolar disorderต่อ.. • และมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 3 อย่างหรือหากมีอารมณ์เป็นแบบหงุดหงิดโกรธง่ายต้องมีอาการอย่างน้อย 4 อย่าง • รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญผิดปกติหรือมีความยิ่งใหญ่อย่างอื่น • นอนน้อยกว่าธรรมดา เช่นนอน 3 ชั่วโมงก็รู้รู้สึกเต็มอิ่มแล้ว • พูดมากพูดเร็วหรือพูดไม่ยอมหยุด • มีความคิดเปลี่ยนเรื่องเร็ว กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • Bipolar disorderต่อ.. • มีอาการ distractibility เช่น เปลี่ยนความสนใจไปอย่างรวดเร็วไปตามสิ่งเร้าภายนอกแม้เพียงเล็กน้อย • มีกิจกรรมมากผิดปกติ เช่น การพบปะสังสรรค์ การทำงานหรือเรื่องเพศหรือมีพฤติกรรมพลุ่งพล่านกระวนกระวาย • มีพฤติกรรมซึ่งบ่งว่าการตัดสินใจเสีย เช่น ใช้เงินฟุ่มเฟือย ลงทุนทำกิจกรรมซึ่งขาดการพิจารณาหรือพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • Bipolar disorderต่อ.. • หากเป็น Mania อาการจะต้องทำให้เสีย function หรือต้อง admit หรือมีอาการโรคจิต • หากเป็น Hypomania อาการจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแค่ประสิทธิภาพของผู้ป่วย ไม่ทำให้เสีย function ไม่ถึงขั้น admit ไม่มีอาการโรคจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สิ่งที่ต้องประเมินเมื่อผู้ป่วยมีอาการเข้าได้กับโรคซึมเศร้า เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้องที่สุด • แยกโรคทางกายและยาที่ทำให้มีอารมณ์เศร้า • แยกโรคอารมณ์สองขั้ว ตัวอย่างคำถามประเมินอาการ Mania/Hypomania • ประเมินว่ามีภาวะโรคจิตร่วมด้วยหรือไม่ ตัวอย่างคำถามประเมินอาการ hallucination, delusion • ประเมินการฆ่าตัวตาย โดยใช้ 8Q หรือ 10Q กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ข้อสังเกตการวินิจฉัยโรคซึมเศร้าข้อสังเกตการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคนไทยเกือบครึ่งหนึ่งมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ มึนศีรษะ เจ็บหน้าอก ใจสั่น ปวดท้อง เพลีย ไม่มีแรง อารมณ์เครียดและอาการนอนไม่หลับ โดยอาจไม่รู้ว่าตนเองมีอารมณ์เศร้าด้วย • จึงมักได้รับการตรวจจากแพทย์ทั่วไป ซึ่งเมื่อตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติทางร่างกายก็มักถูกแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น โรคกังวลไปทั่ว(Generalized anxiety disorder) • ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการทางกายโดยหาสาเหตุไม่พบ หรือมีอาการนอนไม่หลับ ควรได้รับการสอบถามอาการร่วมของโรคซึมเศร้าเพิ่มเติม พิเชฐ อุดมรัตน์ ,การรักษาผู้ป่วยซึมเศร้าในเวชปฏิบัติ : คำถามและคำตอบ,การวินิจฉัยและการรักษาโรคทางจิตเวชสำหรับแพทย์ทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2551)
DYSTHYMIC DISORDER ก. มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวันมีวันที่เป็นมากกว่าวันที่ปกติโดยทั้งจากการบอกเล่าและการสังเกตอาการของผู้อื่นนานอย่างน้อย 2 ปี ข. ในช่วงที่ซึมเศร้ามีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 อาการขึ้นไป (1) เบื่ออาหารหรือกินจุ (2) นอนไม่หลับหรือหลับมากไป (3) เรี่ยวแรงน้อยหรืออ่อนเพลีย (4) self-esteem ต่ำ (5) สมาธิไม่ดีหรือตัดสินใจยาก(6) รู้สึกหมดหวัง ค. ในช่วง 2 ปีของความผิดปกติผู้ป่วยไม่มีช่วงเวลาที่ปราศจากอาการตามเกณฑ์ก.หรือข. นานเกินกว่า 2 เดือนในแต่ละครั้ง
สาเหตุการเกิดโรคซึมเศร้าสาเหตุการเกิดโรคซึมเศร้า • โรคซมเศร้าเกิดจากการเสียสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง(Serotonin, Norepinephrine) • ปัจจัยทางสังคมจิตใจ เป็นตัวกระตุ้น และ • พันธุกรรมเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยให้บุคคล มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคซึมเศร้า
การดำเนินโรคของโรคซึมเศร้าการดำเนินโรคของโรคซึมเศร้า • เรื้อรัง, อาการเกิดเป็นช่วง, หาย/ทุเลาได้, สามารถกลับเป็นซ้ำและกลับเป็นใหม่ได้ • พบอัตราการกลับเป็นซ้ำภายใน6 เดือน ประมาณ 19-22 % (Keller 1981,1983) และ 1 ปี พบอัตราการเกิดการกลับเป็นใหม่ 37% (Lin et al.,1998) • ช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดของการกลับซ้ำคือ 3-6 เดือนแรก หลังอาการทุเลา(Remission) • ระยะเวลาของการเกิดอาการที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีค่ามัธยฐานอยู่ประมาณ 3 เดือน(Spijker 2002) • การเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเป็น 20.35 ของประชากรทั่วไป (Harris 1997)
วิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่เป็นมาตรฐานวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่เป็นมาตรฐาน • การรักษาด้วยยาต้านเศร้า Pharmacotherapy เช่น - TCAs (amitriptyline), SSRIs (fluoxetine, sertraline) • จิตบำบัด Psychotherapy เช่น - Cognitive Behavioral Therapy - Problem Solving Therapy - Interpersonal Psychotherapy • การรักษาด้วยไฟฟ้า ECT การรักษาที่ดีที่สุดคือ การให้ยาพร้อมการรักษาด้วยวิธีการจิตสังคมบำบัดTreatment of choice isSSRIs Plus CBT
การรักษาตามระดับความรุนแรงการรักษาตามระดับความรุนแรง
การดูแลเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำการดูแลเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ • รักษาด้วยขนาดยาที่เหมาะสมและนานพอในระยะเร่งด่วน • รักษาจนอาการซึมเศร้าหายดี ไม่มีอาการตกค้างหลงเหลือ • หลังจากที่ทุเลาดีแล้วต้องให้ยาต่อเนื่อง 6-9 เดือน(Forshall1999) • มีโปรแกรมป้องกันการกลับซ้ำ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข