310 likes | 687 Views
พระพุทธศาสนาในยุคศรี วิชัย ( พศต. 12-18). 1. ศรี วิชัย เป็นชื่อที่สมมติเรียกศิลปะแบบหนึ่ง 2. อาณาจักร ศรีวิชัย ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันถึงที่ตั้งของศูนย์กลาง บางคนกล่าวว่า อยู่ที่สุ มาตรา (ชวา ) คาบสมุทรมลายู รวมถึงภาคใต้บางส่วนของไทยในปัจจุบัน
E N D
พระพุทธศาสนาในยุคศรีวิชัย (พศต. 12-18) 1. ศรีวิชัย เป็นชื่อที่สมมติเรียกศิลปะแบบหนึ่ง 2. อาณาจักรศรีวิชัย ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันถึงที่ตั้งของศูนย์กลาง • บางคนกล่าวว่า อยู่ที่สุมาตรา (ชวา) คาบสมุทรมลายู รวมถึงภาคใต้บางส่วนของไทยในปัจจุบัน • ส่วนดร.เวลล์ กล่าวว่า แท้ที่จริงอาณาจักรศรีวิชัย ถูกก่อตั้งโดยราชวงศ์ ไศเรนทร์ และมีอาณาจักรที่ชื่อว่า ชวกะ แต่เนื่องจากสามารถยึดครองศรีวิชัยในสุมาตราได้ จึงได้นำเอาชื่อศรีวิชัยนี้มาตั้งเป็นชื่อแคว้นของตน ซึ่งปรากฏหลักฐานไว้ในจารึกหลักที่ 13 ซึ่งกล่าวถึงการตั้งราชธานีที่เมืองไชยาโดยพวกไศเรนทร์นั่นเอง • คำว่า “ ไชยา ” กร่อนมาจากศรีวิชัย • หลักฐานที่พบ คือ พระพิมพ์มหายานยุคศรีวิชัย ซึ่งมีอยู่มากมายในบริเวณทางเหนือแหลมมลายู
3. หลักฐานที่เป็นบันทึกการเดินทางหรือจดหมายเหตุของราชทูตพ่อค้าวานิชและธรรมทูต ชาวต่างประเทศ เช่น จีน อาหรับ กรีก ฯลฯ • จดหมายเหตุของจีน เรียกว่า ซิกหลีฮุดจิ (ศรีพุทธหรือศรีโพธิ์) • จดหมายเหตุของอาหรับ เรียกว่า ซาบากะ, ชวกะ หรือชีวกะ • หลักฐานล่าสุดและน่าเชื่อถือมากที่สุด คือ จารึกภาษาสันสกฤตที่วัดเสมา ( 2-3 แผ่น ) เมืองนครศรีธรรมราช ต่อมายอร์ช เซเดย์ แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส • ในศิลาจารึกหลักที่ 24 พบที่วัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จารึกด้วยอักษรขอม ภาษาสันสกฤต ปรากฏคำว่า “ ตามพรลิงเคศวระ ”กับ “ ตามพรลิงเคศวร ”(ตามพรหรือตัมพร แปลว่า แดง ส่วนลิงค์ แปลว่า อวัยวะเพศ)
ขุดพบศิลาจารึกพ.ศ.1318ที่ระบุชื่อ พระยาศรีวิชัยนั้นว่า ศรีวิชเยนทรราชา,ศรีวิชเยศวรภูบดี และศรีวิชยนฤบดี ที่หมายถึง พระเจ้าแผ่นดินเมืองศรีวิชัยนั่นหมายถึงศูนย์กลางอำนาจของพวกไศเรนทร (ราชาแห่งจอมเขา) อยู่ที่บริเวณเมืองไชยา 4. สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ สันนิษฐานว่าโบราณสถานที่หัวเมืองภาคใต้น่าจะมีเพียง 3 แห่ง 1) เมืองไชยา ( รวมถึงเมืองเวียงสระด้วย ) 2) เมืองนครศรีธรรมราช ( ตามพรลิงค์ ) 3) เมืองยะลา ตามหลักฐานทางโบราณวัตถุที่ค้นพบนั้น เชื่อกันโดยทั่วไปว่า น่าจะมี 1) กรุงพันพาน (ที่เวียงสระ) 2) กรุงตามพรลิงค์ (พ.ศ.1098)
5. จารึก “ ตามพรลิงค์ ”แปลว่า พระอิศวรผู้มีอวัยวะเพศสีแดง - ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งอิศวรที่มีชื่อว่า ศิวไภรวะ โดยถูกสร้างเพื่ออุทิศพระเจ้าไข่แดง ( พระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งที่มีลูกอัณฑะลูกเดียว ) 6. เมืองตามพรลิงค์ ( ปัจจุบัน คือ นครศรีธรรมราช ) - ในจดหมายเหตุของจีน เรียกว่า เชียะโท้ว = ดินแดน ส่วนลิงค์แดงไม่สามารถแปลเป็นภาษาจีนได้ - ส่วนเอกสารของอินเดีย เรียกว่า ตามพรลิงค์ ( ต้ำมาลิ่ง, ตันเหมยหลิง, โพลิง หรือโฮลิง )
ศิลปวัฒนธรรมและศาสนา 1. ในพศต.12 จดหมายเหตุของสมณอี้จิง จัดเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เมืองพันพานหรือตามพรลิงค์หรืออาณาจักรศรีวิชัย ได้มีการติดต่อกับอินเดียเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งยังเคยเป็นศูนย์กลางแห่งปริยัติธรรมที่มีชื่อเสียง โดยท่านได้บันทึกไว้ว่า • “ อาณาจักรศรีวิชัยนั้น พระพุทธศาสนารุ่งเรืองเหมือนอินเดีย มีสังฆราช ชื่อศากยะเกียรติ เป็นประมุขสงฆ์ของเมืองใหญ่น้อยหลายร้อยเกาะ อาณาจักรนี้มีภิกษุในพระพุทธศาสนา (มหายาน) กว่าพันรูป ปฎิบัติ เคร่งครัดเหมือนกับภิกษุในอินเดีย พระจีนที่จะเดินทางไปอินเดีย (เมื่อผ่านทางนี้) ควรแวะศรีวิชัยก่อน เพื่อเตรียมเรียนศึกษาภาษาสันสกฤต และเล่าเรียนวัตรปฎิบัติให้ชำนาญสักปีหนึ่งหรือสองปีจะเป็นการดียิ่ง ” นอกเหนือจากนี้ท่านยังได้พูดถึงประเพณีชักพระด้วย
2. ในพศต. 15 พระทีปังกรอติศะ ผู้ซึ่งเป็นคณาจารย์ที่ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในธิเบตได้เคยศึกษาในสำนักพระธรรมเกียรติที่สุมาตราถึง 12 ปี 3. พระมหากษัตริย์ทุกองค์มักเรียกว่า “ ศรีธรรมโศก ” เนื่องจากคนในสมัยนั้นมีความคิดที่ว่า กษัตริย์ที่ประชาชนยกย่องนับถือนั้น ควรที่จะเรียกให้เท่าเทียมกับศาสนาที่ตนเองนับถืออยู่ 4. ฟูหนำได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาแบบมหายานจากศรีวิชัยด้วย ซึ่งได้ปรากฏหลักฐานไว้ในตำนานพระแก้วมรกต โดยมีความเกี่ยวข้องกันระหว่างฟูหนำกับตามพรลิงค์นั่นเอง 5. ตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ถือว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนาที่สคัญมาก เพราะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า พระพุทธศาสนาเคยประดิษฐานลง ณ ดินแดนแห่งนี้ แต่ไม่ทราบว่าเป็นสมัยใด พร้อมทั้งในตำนานยังมีการทำนายถึงอนาคต โดยจะมีพระยาศรีธรรมาโศกมาตั้งพระนครและสร้างพระเจดีย์เป็นพระบรมธาตุประจำพระมหานคร
หลักฐานที่เคยเป็นร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาหลักฐานที่เคยเป็นร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา 1. พระบรมธาตุตามประจำกรุงตามพรลิงค์ จ.นครศรีธรรมราช อุทิศแด่พระเจ้าไข่แดง
2. พระบรมธาตุไชยา สร้างเพื่ออุทิศพระมหากษัตริย์ องปฐมวงศ์แห่งนครศรีโพธิ์
3. ตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช มีพุทธคัมเภียรและพุทธสาคร ซึ่งเป็นชาวมอญและพระราหุลเป็นชาวลังกา ได้เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนนี้
4. จดหมายเหตุของสมณจีนอี้จิง เรียกตามพรลิงค์ว่า ซิกหลีฮุดจิ = ศรีพุทธ ได้บอกว่าที่แห่งนี้เคยเป็นแหล่งเล่าเรียนสันสกฤตทางพระพุทธศาสนาในอดีต 5. ในพศต.ที่ 17-18 พบหลักฐานทางพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ไปประดิษฐานที่สุโขทัยในสมัยพ่อขุนราม โดยสิ่งเหล่านี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในอาณาจักรนี้นั่นเอง 6. ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ยุคศรีวิชัยนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน โดยเฉพาะนิกายมนตรยานซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับราชวงศ์ปาละแห่งอินเดียใต้ พุทธศาสนามหายานถือเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิ ในช่วงพ.ศ.1200-1700 พุทธศาสนาเถรวาทมาปรากฏตอนหลังในช่วงพศต.ที่ 17-18 เป็นต้นไป
ในช่วงพศต.ที่12 เมืองพันพาน ( จ.สุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน )นับถือพระพุทธศาสนาแบบสาวกยาน (เถรวาท) และยังเป็นดินแดนที่เคยมีความสัมพันธ์กับทวารวดีด้วย ราวพศต.ที่ 13-15 ( ในยุคราชวงศ์ปาละแห่งเบงกอล ) เป็นช่วงที่พุทธศาสนาแบบมหายานลัทธิมนตรยานมีอิทธิพลเหนือเถรวาท 7. สิ่งที่ช่วยยืนยันว่าอาณาจักรศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระพุทธศาสนามหายานจนมีชื่อเสียง ได้แก่ จดหมายเหตุของสมณจีนอี้จิง มหาเจดีย์และพุทธศิลป์ที่สำคัญ คือ มหาเจดีย์บุโรบุโด (เกาะชวา) , พระเจดีย์บรมธาตุ (ไชยา) , รูปพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (ไชยา) , พระพิมพ์ดินดิบต่างๆซึ่งมีทั้งพระพุทธรูปและรูปพระโพธิสัตว์ตามคติมหายานมีมากในภาคใต้ของไทย
*** ในช่วงพศต.ที่ 13 เป็นต้นมา อิทธิพลของศรีวิชัยได้แพร่กระจายไปถึงกัมพูชา (ฟูนันหรือเจนละ) จึงทำให้กัมพูชาหันมานับถือพุทธศาสนามหายานตามศรีวิชัยไปด้วย 8. ในพศต.ที่12 ได้พบศิลาจารึกภาษาสันสกฤต ที่จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งได้ตั้งชื่อว่า ตามพรลิงค์ เพื่อเชิดชูเกียรติพระเจ้ากรุงศรีวิชัยและอุทิศให้กับพระพุทธสาสนา โดยการกล่าวถึงการสถาปนาพระเจดีย์อีกด้วย จารึกนี้อยู่ในยุคของพระวิษณุกรรมเทพบุตร ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามหายาน ส่วนปราสาทอิฐทั้ง 3 ที่กล่าวในจารึกนี้ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่วัดแก้ว วัดหลง และวัดเรียง ภาคใต้ของไทย
9. จดหมายเหตุของจีนที่เรียกว่า ซิกหลีฮุดจิ (ศรีพุทธหรือศรีโพธิ์) เป็นหลักฐานที่มาของความเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาที่อาณาจักรศรีวิชัย โดยเฉพาะมหายานลัทธิมนตรยาน (วัชรยาน ตันตระ รหัสยาน หรือกาฬจักรยาน) มนตรยานจะถูกกับจริตของคนบางจำพวกที่ชอบทำอะไรง่ายๆ และรสนิยมแบบชาวโลกียวิสัย จึงทำให้มีคนนับถือกันแพร่หลายอย่างมาก อิทธิพลของมนตรยานในไทย ไม่ว่าจะเป็น บทสวด พิธีกรรม และคาถาขลังต่างๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่นิยมกันมากในปัจจุบัน
10. พอสรุปได้กว้าง ๆ ได้ว่า • ระยะแรก ๆ นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานคู่ไปกับศาสนาพราหมณ์รวมทั้งยังมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรฟูนันหรือขอมในเรื่องของศาสนาพุทธมหายานและศาสนาพรหมณ์ • ระยะหลังต่อมา พระพุทธศาสนาเถรวาทเจริญรุ่งเรือง เพราะมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับสุโขทัยว่า “ ... เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโดยทำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตรหลวก (รู้หลัก) กว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองนครศรีธรรมราช...” • ในพศต.ที่17 พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ได้เข้ามาในนครศรีธรรมราช (ตามพรลิงค์) ซึ่งเป็นสมัยของพระเจ้าปรักกรมพาหุแห่งลังกา ท่านจึงได้ทำการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยที่พระสงฆ์จากประเทศต่างๆได้เข้าไปทำการอุปสมบทใหม่ที่ลังกาแล้ว ก็ได้กลับมาตั้งคณะลังกาวงศ์ในประเทศของตน
ภาคใต้ของไทยซึ่งขณะนั้นเรียกว่า ตามพรลิงค์ มีกษัตริย์มลายูปกครองอยู่ ต่อมาใน พศต.ที่17 พระราหุลซึ่งเป็นชาวลังกาและเป็นสังฆปาโมกข์ (พระสังฆราช) ได้จาริกผ่านพุกามมาตั้งคณะลังกาวงศ์ขึ้นที่ตามพรลิงค์ เนื่องจากเหตุการณ์นี้เกิดก่อนอาณาจักรสุโขทัยประมาณ 100 ปี เมื่ออาณาเขตยุคพ่อขุนรามคำแหงแผ่ลงไปถึงหัวเมืองมลายู ดังนั้นจึงรับเอาลัทธินี้เป็นศาสนาประจำชาติไทยสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน หลักฐานที่ปรากฏในตำนานจามเทวีวงศ์และชินกาลมาลีปกรณ์ (พ.ศ.1150) ซึ่งเป็นภาษาบาลี ได้ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัยที่ได้แพร่กระจายอำนาจมาที่ขอมและอาณาเขตบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ในพศต.ที่15 อิทธิพลของศรีวิชัยได้เข้ามาครอบงำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ดูได้จาก การที่มีกษัตริย์ขึ้นมาปกครองขอม (พระเจ้าชัยวรมันที่1)และประดิษฐานมหายานทั่วไป โดยเชื่อกันว่า อิทธิพลศรีวิชัยยังไปไม่ถึงลุ่มแม่น้ำปิง แต่ในปัจจุบัน ได้พบภาพสลักมุก พระเจดีย์องค์หนึ่งที่วัดป่าสัก อ.เชียงแสน ทำเป็นรูปเกียรติมุขแบบศรีวิชัย • ในพศต.ที่15 ศรีวิชัยได้รับอารยธรรมจากอินเดีย 2 แห่งคือ 1. จากลุ่มแม่น้ำคงคา = ราชวงศ์ปาละแห่งเบงกอล กำลังเป็นใหญ่จึงได้รับลัทธิตันตระอย่างเต็มที่ 2. จากโจฬะแห่งอินเดียใต้รับพระพุทธศาสนาในฐานะมิตรเป็นบางคราว และปฏิเสธในบางคราวที่เป็นศัตรู
สมัยศรีวิชัย ถือว่าพระพุทธศาสนาแบบมหายาน (ตันตระ) เจริญที่สดในภูมิภาคนี้ โดยมีความสัมพันธ์กับราชวงศ์ปาละ บรรดาผู้รู้หรือธรรมจาริกแห่งมหาวิทยาลัยนาลันทา วิกรมศิลา อุทันตบุรี ได้เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาที่นี่ ศิลปะแบบปาละจึงเป็นครูของศรีวิชัย แต่ศรีวิชัยก็ผลิตศิลปะของตนเองด้วย โดยมีปาละเป็นพื้นฐาน ราชวงศ์ปัลลวะ
สรุป อาณาจักรนครศรีธรรมราช-ศรีวิชัย(ตามพรลิงค์ ในพศต.ที่ 7-19) 1. มีอายุนานถึงกว่า 1,000 ปี 2. แต่ระหว่างนั้นบางช่วงก็ตกอยู่ในอาณาจักรอื่นบ้าง - อาณาจักรศรีวิชัย (พศต. 12 – 18) - อาณาจักรทวารวดี (พศต. 11-15) - ประเทศราชของอาณาจักรสุโขทัย โดยเฉพาะในสมัยของพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1821-1873) -ท้ายที่สุดก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา
3. ความสำคัญของอาณาจักรตามพรลิงค์ ก็คือ 1. ได้เป็นแหล่งรับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เป็นครั้งแรก 2. ได้สร้างพระพุทธสิหิงค์ 4. ต่อมาเมื่อเกิดอาณาจักรจักรศรีวิชัย ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ไชยา ดังนั้นอำนาจจึงอยู่ภายใต้การปกครองของศรีวิชัย 5. อาณาจักรศรีวิชัย มีเนื้อที่ตั้งแต่ไชยาถึงเกาะชวา - ชวา มีปาเล็มปัง เป็นศูนย์กลาง - ไชยา มีไชยา เป็นศูนย์กลาง
6. พระพุทธศาสนานิกายที่ทรงอิทธิพลน่าจะเป็นนิกายมหายาน - ส่วนนิกายเถรวาท น่าจะมีความสำคัญอยู่บริเวณ กรุงตามพรลิงค์ เพราะอิทธิพลเดิมยังฝังรากอยู่ - นิกายเถรวาทเริ่มฟื้นตัวอีกครั้ง ประมาณ พศต. 17-18 เป็นต้นมา โดยเฉพาะบริเวณนครศรีธรรมราช (อันเป็นศูนย์กลาง) 7. อาจจะสันนิษฐานได้ว่าในช่วง พศต. 7-17 นั้นภาคใต้ของไทยในอดีตในยุคอาณาจักรตามพรลิงค์ศรีวิชัย - พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีศูนย์กลางแห่งความมั่นคง ณ เมืองนครศรีธรรมราช - พระพุทธศาสนานิกายมหายาน มีศูนย์กลางอันมั่นคง ณ เมืองไชยา
หลังจากพุทธศตวรรษที่ 17 แล้ว พระพุทธศาสนานิกายมหายานแห่งอาณาจักรศรีวิชัยเป็นอันล่มสลายไปพร้อม ๆ กับนิกายมหายานแห่งละโว้ • เพราะอาณาจักรสุโขทัยขยายมาถึงละโว้ และหัวเมืองที่ขึ้นอยู่กับอาณาจักรศรีวิชัย (ภาคใต้ของไทย) เอามาเป็นประเทศราช • นอกจากนี้อาณาจักรศรีวิชัยยังถูกพวกมัชปาหิต (อิสลาม) ในชวารุกขึ้นมาและได้แบ่งดินแดนไปอีก
ส่วนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทโดยเฉพาะลัทธิลังกาวงศ์ หลังพศต. 17 แล้วได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นลำดับเพราะ 1. มีเจ้าปกครอง/ผู้ปกครองขึ้นมาเป็นลำดับเพราะนับถือและให้การสนับสนุน 2. อยู่ในอาณาจักรที่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมีผู้ปกครองและประชาชนนับถือเป็นส่วนใหญ่
ศิลปะ : อาณาจักรศรีวิชัย • พระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งขัดสมาธิราบบน ฐานบัวค่ำ บัวหงาย ศิลปะ ทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12 วัสดุหินทรายขนาด สูง 21 ซม. แหล่งที่มาพบที่บ้านพังแฟม ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
คณฑี ศิลปะ : ศรีวิชัย ประมาณพุทธศควรรษที่ 15 - 16 วัสดุ :ดินเผาขนาด : สูง 18 ซม./ปก. 6 ซม. แหล่งที่มา :ขุดพบที่บ้านสทิงหม้อ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ส่วนองค์ของพระวิษณุ (นารายณ์)ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13 - 14 วัสดุหินทรายขนาดสูง 61.5 ซม. แหล่งที่มาพบที่วัดขนุน (ร้าว) ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ขุนศิลปกรรมพิเศษ ธรรมการจังหวัดสงขลา มอบให้ เมื่อ พ.ศ. 2481