710 likes | 879 Views
บทที่ 3. ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์. ความหมายของซอฟต์แวร์ ประเภทของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language) ระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ การเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ไวรัส คอมพิวเตอร์. ความหมายของซอฟต์แวร์.
E N D
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ • ความหมายของซอฟต์แวร์ • ประเภทของซอฟต์แวร์ • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) • ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language) • ระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ • การเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ • ไวรัสคอมพิวเตอร์
ความหมายของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เพื่อใช้ในการสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานให้แก่มนุษย์ ได้อย่างอัตโนมัติตั้งแต่ต้นจนจบ
คำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ • Commercial Ware • Share Ware • Free Ware • Ad Ware • Open Source Software
Commercial Ware • คือ ซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่ายไม่มีการแจกฟรี • ผู้ซื้อสามารถขอดูตัวอย่างได้ แต่ไม่สามารถนำไปทดลองใช้ได้ • ในปัจจุบันถือว่าซอฟต์แวร์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้ผลกำไรตอบแทนสูง
Share Ware • คือ ซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาได้สร้างขึ้นเพื่อจำหน่ายแต่ยินยอมให้ผู้ซื้อสามารถนำไปทดลองใช้ได้ฟรีในช่วงเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปจะให้ทดลองใช้ประมาณ 30, 45 หรือ 60 วันเป็นต้น • ซอฟต์แวร์ช่วงทดลองใช้นั้นผู้พัฒนาได้ลดเอาคุณสมบัติบางส่วนของโปรแกรมลง • หากผู้ซื้อทดลองใช้จนเป็นที่ถูกใจแล้ว สามารถตัดสินใจสั่งซื้อโปรแกรมฉบับสมบูรณ์ได้
Free Ware • คือ ซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาได้ทำการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้บุคคลทั่วไป นำไปใช้โดยไม่ต้องเสียเงินและได้ซอฟต์แวร์เต็มประสิทธิภาพ • แต่ลิขสิทธิ์ยังเป็นของผู้ผลิตอยู่ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องไม่นำไปขายหรือหารายได้จากโปรแกรมนั้น • ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Windows Live Messenger , Gom Player , Avast Antivirus , Winrar
Adware • คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการโฆษณา สามารถทำงานและแสดงภาพต่างๆ ได้อัตโนมัติ • สามารถทำการ Download สื่อโฆษณาไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานในระหว่างที่ผู้ใช้งานกำลัง Download • ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ให้ Download ฟรีนี้ จะได้รับค่าตอบแทนจากการโฆษณา
Open Source Software (1/2) • คือ ซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้งานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ มีการเปิดเผยโปรแกรมต้นฉบับ (Source code) และอนุญาตให้นำไปเผยแพร่ต่อได้อย่างเสรี • ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ ทำให้เกิดการร่วมมือกันพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างไร้พรมแดนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเสรี • ตัวอย่างเช่น ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux) เป็นต้น
Open Source Software (2/2) ประโยชน์ของการเลือกใช้ Open Source Software ได้แก่ • มีประเภทของซอฟต์แวร์ที่หลากหลายจากนักพัฒนาทั่วโลก • ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ • เป็นทางเลือกเพื่อลดค่าใช้จ่ายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ • เป็นทางเลือกเพื่อลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
ประเภทของซอฟต์แวร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น การนำเข้าข้อมูลของอุปกรณ์นำเข้า การประมวลผลของหน่วยประมวลผล การจัดสรรหน่วยความจำ การแสดงผลของอุปกรณ์แสดงผล
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท • ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) • ตัวแปลภาษา (Language Translator) • โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) • โปรแกรมตรวจสอบระบบเครื่อง (Diagnostic Program)
ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำ หน่วยประมวลผล หน่วยรับข้อมูล และหน่วยแสดงผล ตลอดจนแฟ้มข้อมูล ต่างๆ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยจัดการกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
ดอส (DOS) (1/2) • เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการทำงานเป็นแบบระบบงานเดี่ยว (Single - Tasking) ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ • เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คอมแพคทิเบิล(Compatible) กับเครื่อง IBM • รุ่นสุดท้ายที่ได้ผลิตออกมาคือ เวอร์ชัน 6.22 • เนื่องจากมีการใช้คำสั่งเป็นตัวอักษรโดยการพิมพ์คำสั่งทีละบรรทัด จึงทำให้ไม่ได้รับความนิยมใช้อีกหลังจากที่บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) ออกสู่ท้องตลาด
โอเอส/ทู (OS/2 : Operating System 2) (1/2) • ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ PS/2 • มีขีดความสามารถติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกและสามารถทำงานแบบ มัลติทาสกิ้งได้ • แต่ไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่ และโปรแกรม ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับระบบ OS/2 ก็มีน้อยมาก
วินโดวส์ (Windows) • เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์เพื่อนำมาใช้ในการติดต่อแบบกราฟิก (Graphic User Interface : GUI) • ใช้สัญลักษณ์ภาพ (Icon) เป็นสื่อแทนคำสั่งเพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายขึ้น และนำ Mouse มาใช้ร่วมกับคีย์บอร์ด (Keyboard) • ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้มากกว่าหนึ่งโปรแกรมในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบมัลติทาสกิ้ง (Multitasking) • โดยจะสามารถทำให้โปรแกรมถูกโหลดเข้าไปในหน่วยความจำได้พร้อมกัน แล้วยังสามารถแบ่งจอภาพออกเป็นหน้าต่างเล็กๆ
รุ่นของวินโดวส์ (Windows) • Windows3.0 • Windows NT • Windows 95 • Windows 98 • Windows Millennium • Windows XP • Windows Vista • Windows 7
Mac OS (1/2) • ระบบปฏิบัติการที่ควบคุมการทำงานของแมคอินทอช (MacintoshOperating System) เรียกว่า ซิสเต็ม (System) • มีความสามารถในการทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง (Multitasking) นิยมนำไปใช้ในงานด้านออกแบบกราฟิก (Graphic Design) และพิมพ์เอกสารหนังสือโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเปรียบเหมือน กับโรงพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ
ยูนิกซ์ (Unix) (1/3) • เป็นระบบปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถสูงกว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆโดยจะมีลักษณะการทำงานเป็นแบบมัลติทาสกิ้ง(Multitasking) และมีการใช้แบบงานแบบมัลติยูสเซอร์ (Multiuser) • โดยปกติระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แต่ในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้สามารถใช้ได้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ • สามารถทำงานรองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มียูสเซอร์ต่อเชื่อมเข้ามาได้มากถึง 120 ตัวไปพร้อมๆ กันเหมาะสมสำหรับระบบเครือข่าย (Network)
ยูนิกซ์ (Unix) (2/3) สามารถรัน (Run) ได้บนแพลตฟอร์มหลายๆ ระดับ ทั้งบนเครื่องเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ และเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายงานและแอพพลิเคชั่นไปมาระหว่างแพลตฟอร์มได้
ลีนุกซ์ (Linux) (1/2) • เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ.1980 โดยนักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ที่ชื่อว่า “ลินุส โตร์วัลดส์” (Linus Torvalds)Linux • เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับ Unix แต่มี ขนาดเล็กกว่าและทำงานได้เร็วกว่า ในช่วงแรกของการพัฒนา ผู้ใช้สามารถนำ Linux ไปใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ตัวแปลภาษา (Language Translator) • เป็นโปรแกรมชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมสำเร็จรูปที่เขียนด้วยภาษาระดับต่าง ๆ ให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ • แอสเซมเบลอร์ (Assembler) • อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) • คอมไพเลอร์ (Compiler)
แอสเซมเบลอร์ (Assembler) • เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาแอสแซมบลี (AssemblyLanguage) ให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) • มีลักษณะการแปลทีละคำสั่ง เมื่อทำตามคำสั่งนั้นเสร็จแล้ว ก็จะแปลคำสั่งถัดไปเรื่อยๆ จนจบ
โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุน เพิ่ม หรือขยายขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบปฏิบัติการ โดยส่วนใหญ่จะมีโปรแกรมอรรถประโยชน์มาให้ใช้งานอยู่แล้ว
Windows Explorer เป็นเครื่องมือแสดงไฟล์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูภาพ และแก้ไของค์ประกอบของไฟล์ได้
Uninstaller เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ใช้ในการยกเลิกโปรแกรมที่ทำการติดตั้งไว้ในระบบ เมื่อผู้ใช้ทำการติดตั้งโปรแกรม หรือยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมได้
Disk Scanner เป็นเครื่องมือตรวจสอบดิสก์ เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ใช้ในการตรวจหาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ ผู้ใช้สามารถกำหนดให้เครื่องมือตรวจสอบดิสก์นี้ทำการซ่อมส่วนที่เสียหายได้
โปรแกรมตรวจสอบระบบเครื่อง (Diagnostic Program) เป็นโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเมื่อพบข้อผิดพลาดก็จะแสดงข้อความแจ้งให้ทราบบนจอภาพ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท • ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) • ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software)
ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมทางด้านบัญชี โปรแกรมระบบลงทะเบียน โปรแกรมฝากถอนเงิน เป็นต้น
ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไปซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมที่นำมาประยุกต์ใช้งานทั่วๆ ไปทั้งภายในองค์กรหรืองานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย ซึ่งได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน สามารถแบ่งตามประเภทของงานได้ดังนี้ • ซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Spreadsheet) • ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing) • ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation Software) • ซอฟต์แวร์ทางด้านฐานข้อมูล (Database) • ซอฟต์แวร์การพิมพ์ตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing) • ซอฟต์แวร์กราฟิก (Graphic Software)
ซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์ซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โปรแกรมทางด้านตารางการคำนวณ (Spreadsheet) นิยมนำมาใช้ในงานการคำนวณและสร้างกราฟเปรียบเทียบข้อมูล ตัวอย่างเช่น โปรแกรม MS-Excel และ Lotus เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ เป็นโปรแกรมที่นิยมนำมาใช้ในการจัดการเอกสาร หรือการพิมพ์จดหมายเวียน แผ่นพับ ประชาสัมพันธ์ เอกสารตำรา งานวิจัย ตัวอย่างเช่น โปรแกรมเวิร์ดจุฬา โปรแกรมเวิร์ดราชวิถี และโปรแกรม ไมโครซอฟท์เวิร์ดเป็นต้น
ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยเอกสารการนำเสนออาจประกอบด้วย ตัวอักษร ข้อความ รูปภาพ แผนผัง รายงาน แผนภูมิ เส้น การสร้างภาพ 3 มิติ การสร้างอักษรศิลปะ ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าบริการ หรือการบรรยาย การเรียนการสอน การรายงานหน้าชั้นเรียน การรายงานการวิจัย และการประชุมสัมมนา เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ทางด้านฐานข้อมูลซอฟต์แวร์ทางด้านฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมที่นิยมนำมาใช้ในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในรูปแบบของฐานข้อมูล เช่น ประวัตินักเรียน ประวัติคนงาน ประวัติผู้ป่วย ประวัติข้าราชการ ทะเบียนวัสดุ ทะเบียนสินค้าคงคลัง ทะเบียนคนจน รายรับ-รายจ่าย เป็นต้น จุดประสงค์ เพื่อที่จะสามารถสืบค้นคืนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เมื่อต้องการนำข้อมูลมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจปฏิบัติงาน บางประการ
ซอฟต์แวร์การพิมพ์ตั้งโต๊ะซอฟต์แวร์การพิมพ์ตั้งโต๊ะ เป็นโปรแกรมที่นิยมนำมาช่วยในการเรียงพิมพ์เพื่อใช้ในการทำหนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่าง ๆ โดยซอฟต์แวร์ประเภทนี้มีความสามารถด้านการจัดการเอกสาร ความสามารถด้านการเรียงพิมพ์ รวมทั้งการจัดสีที่สูงกว่าซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ ตัวอย่างเช่น โปรแกรม PageMaker
ซอฟต์แวร์กราฟิก เป็นซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ในงานทางด้านจัดการภาพกราฟิก การตกแต่งรูปภาพ งานด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วิศวกรรม ตัวอย่างเช่นโปรแกรม Photoshop,Corell draw, Paint เป็นต้น