60 likes | 197 Views
การเปรียบเทียบโครงสร้างและยุทธศาสตร์การดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ในประเทศต่างๆ. กรณีศึกษา สหรัฐ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์. Department of Commerce: DoC , US FY 2007 Budget = 6.4 billion USD. Structure. Vision
E N D
การเปรียบเทียบโครงสร้างและยุทธศาสตร์การดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ในประเทศต่างๆการเปรียบเทียบโครงสร้างและยุทธศาสตร์การดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ในประเทศต่างๆ กรณีศึกษา สหรัฐ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์
Department of Commerce: DoC, USFY 2007 Budget = 6.4 billion USD Structure Vision มุ่งเน้นการค้าเสรี การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในเศรษฐกิจโลกต่อไป • Strategies • ผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ได้มากที่สุด เพื่อผู้ประกอบการ แรงงาน และผู้บริโภค • สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม และการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม • ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ • ผลักดันการบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ Notes DoCเป็นองค์กรขนาดใหญ่ รวมงานของทั้งด้านอุตสาหกรรม การค้า การพัฒนาเศรษฐกิจ การสื่อสาร มาตรฐานสินค้า ทรัพยากรธรรมชาติ จนถึงด้านสถิติเข้าไว้ด้วยกัน มียุทธศาสตร์การดำเนินงานที่ค่อนข้างกว้าง ไม่ได้กำหนดมาตรการส่งเสริมภาคธุรกิจใดหรือตลาดใดโดยเฉพาะ
Ministry of Economy, Trade and Industry: METI, JapanFY 2007 Budget = 3.67 billion USD Structure Strategies มุ่งตอบสนองต่อแนวโน้มของ 3 สถานการณ์หลักที่ญี่ปุ่นจะกำลังจะต้องเผชิญ คือ ประชากรลดลง/สูงอายุ: เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคล เร่งคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ด้าน IT และการบริการ ประเทศคู่แข่งใหม่ๆ (จีน อินเดีย เกาหลีใต้): แสวงหาประโยชน์จากประเทศเศรษฐกิจใหม่ในเอเชียด้วยกัน ผลักดันให้ SMEs ก้าวสู่ระดับภูมิภาค วิกฤติพลังงาน: จัดทำยุทธศาสตร์ทรัพยากรและพลังงานของชาติ ร่วมมือกับประเทศในเอเชียอื่นๆเพื่อหาแหล่งพลังงานทดแทน Notes หลายองค์กรของญี่ปุ่นได้ถูกแยกออกเป็นองค์กรอิสระ เพื่อดำเนินการผลักดันในเรื่องต่างๆได้อย่างเต็มที่ เช่น JETRO, RIETI, NEXI และ SMRI METI เป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับ DoCของสหรัฐ ทป. และ สสว. เป็นองค์กรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ METI ยุทธศาสตร์มีความชัดเจนมาก และสามารถตอบสนองต่อปัญหาที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญได้อย่างตรงจุด
Ministry of Trade and Industry: MTI, SingaporeFY 2007 Budget = 2 billion USD Structure Vision ผลักดันสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายการค้าโลก -Global Economic Network Hubและผลักดันผู้ประกอบการให้มีความหลากหลาย Strategies ตอบรับกระแสโลกาภิวัตน์เต็มที่เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติขยายตลาดต่างประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผลักดันให้สิงคโปร์มีระบบเศรษฐกิจที่เน้นด้านความรู้ (Knowledge-Based Economy) เน้นนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการประกอบธุรกิจ/การค้าประเภทต่างๆ สนับสนุนภาคการผลิตและภาคบริการ เพื่อเจาะตลาดชนชั้นกลางจีนและอินเดีย พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และกำหนดมาตรการดึงดูดให้ประชากรทำงานในประเทศ Notes ให้ความสำคัญกับ International Enterprise: IE โดยแยกออกเป็นหน่วยงานอิสระ MTI รวมงานด้านอุตสาหกรรม พลังงานและสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วย เช่นเดียวกับสหรัฐและญี่ปุ่น กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานที่ชัดเจน โดยระบุตลาดและอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยกำหนดได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของประเทศ ซึ่งมีขนาดเล็กต้องเน้นการค้าและการบริการเป็นหลัก
Ministry of Knowledge Economy: MKE, South KoreaFY 2007 Budget = 30 billion USD (economic development expenses) Structure Vision สนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างประเทศเชิงรุก พัฒนาผู้ประกอบการให้เต็มศักยภาพ และบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ Strategies การค้าการลงทุน: นโยบายสร้างชาติให้มั่งคั่งด้วยการค้า ผลักดันให้เกาหลีใต้เป็นศูนย์กลางธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการออกมาตรการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี: เป็น “Industrial Powerhouse” โดยใช้ศักยภาพที่มีทั้งหมดอย่างเต็มที่ สนับสนุนให้การพัฒนาภายในประเทศเป็นไปอย่างสมดุลระหว่างเมืองหลวงและเมืองในภูมิภาค เพื่อให้เมืองในภูมิภาพสามารถพัฒนาและอยู่ได้โดยตนเอง พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ: จัดระบบบริหารจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ Notes MKE เป็นกระทรวงใหม่ เพิ่งจัดตั้งในเดือนก.พ. 51 เดิมคือ Ministry of Commerce, Industry and Energy: MOCIE โดย MKE จะเพิ่มงานบางส่วนของกระทรวง ICT กระทรวงวิทยาศาสตร์ และกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ จุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเกาหลีใต้เป็น Knowledge Based Economy งานด้านการเจรจาการค้าทั้งหมดอยู่ที่ Ministry of Foreign Affairs and Trade ยุทธศาสตร์กำหนดภาคธุรกิจที่จะส่งเสริมชัดเจน เพื่อผลักดันเกาหลีใต้ให้เป็น Knowledge Based Economy อย่างแท้จริง
ข้อสังเกต กระทรวงพาณิชย์ในกรณีศึกษาทุกประเทศรวมงานด้านอุตสาหกรรม และด้านพลังงาน/ทรัยพากรธรรมชาติ เข้าไว้ด้วย สำหรับงานที่ต้องการการผลักดันเป็นพิเศษ โดยส่วนใหญ่จะถูกแยกออกเป็นองค์กรอิสระ เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน ทั้ง JETRO และ IE ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ดำเนินงานที่ชัดเจน ระบุภาคธุรกิจ ตลาดเป้าหมายชัดเจน และเหมาะสมกับบริบทของประเทศ ทุกประเทศเน้นการส่งเสริมด้านนวัตกรรม ผลักดัน Knowledge-Based Economyและการจัดการด้านพลังงาน เป็น trend หลักของเศรษฐกิจโลก -- ไทยส่งเสริมเรื่องดังกล่าวน้อยไปหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้าง ในบางครั้งเป็นสิ่งจำเป็นในการผลักดันจุดมุ่งหมายสำคัญของประเทศ (กรณี MKE ของเกาหลีใต้) ประยุกต์ใช้กับกระทรวงพาณิชย์ของไทย เราจำเป็นต้องปรับโครงสร้างแล้วหรือยัง