660 likes | 1.23k Views
การส่งเสริมการขายและ การขยายตลาดสินค้าเกษตร. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร . ระพีพร ศรีจำปา ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ( M.B.A.) มหาวิทยาลัยศรีปทุม. การส่งเสริมการขายและ การขยายตลาดสินค้าเกษตร. สถานการณ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย ปัญหาและอุปสรรคทางการตลาดสินค้าเกษตรไทย
E N D
การส่งเสริมการขายและการขยายตลาดสินค้าเกษตรการส่งเสริมการขายและการขยายตลาดสินค้าเกษตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ระพีพร ศรีจำปา ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) มหาวิทยาลัยศรีปทุม
การส่งเสริมการขายและการขยายตลาดสินค้าเกษตรการส่งเสริมการขายและการขยายตลาดสินค้าเกษตร • สถานการณ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย • ปัญหาและอุปสรรคทางการตลาดสินค้าเกษตรไทย • แนวทางการแก้ไขปัญหาทางการตลาดสินค้าเกษตรไทย • กลยุทธ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย • กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดสินค้าเกษตรไทย • กลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทย • แนวทางการพัฒนาและกำหนดกลยุทธ์ส่งเสริมการขายและการขยายตลาดสินค้าเกษตรไทยเพื่อความยั่งยืน
สถานการณ์การตลาดสินค้าเกษตรไทยสถานการณ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย 1. สัดส่วนมูลค่าภาคการเกษตรลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม ที่มา: ดร.ประยงค์ เนตยารักษ์
สถานการณ์การตลาดสินค้าเกษตรไทยสถานการณ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย 2. ตลาดสินค้าเกษตรในประเทศมีแนวโน้มความหลากหลายมากขึ้น • ตลาดสินค้าเกษตรในประเทศแบ่งตามลักษณะความต้องการใช้และคุณลักษณะสินค้าเกษตร • ความต้องการเพื่อการบริโภคในรูปสินค้าเกษตรขั้นต้น • สำหรับผู้บริโภครายได้สูง ส่วนใหญ่อยู่ในเมือง ต้องการสินค้าเกษตรที่คุณภาพดีและสามารถซื้อได้ในราคาแพง • สำหรับผู้มีรายได้น้อย ส่วนใหญ่อยู่ในชนบท ต้องการสินค้าราคาถูก แม้ว่าคุณภาพไม่ดีมาก • ความต้องการเพื่อเป็นปัจจัยการผลิต • สำหรับผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป ผู้ผลิตต้องการวัตถุดิบสินค้าเกษตรที่คุณภาพดีและปริมาณเพียงพอสม่ำเสมอ • สำหรับใช้ผลิตสินค้าอื่น เช่น อาหารสัตว์ ผู้ผลิตต้องการวัตถุดิบที่ราคาไม่แพงและปริมาณมากเพียงพอกับกำลังการผลิตและความต้องการสิ้นค้าอื่นที่ใช้วัตถุดิบจากสินค้าเกษตร
สถานการณ์การตลาดสินค้าเกษตรไทยสถานการณ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย 3. ตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศมีแนวโน้มความหลากหลายมากขึ้น • ตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศแบ่งตามรายได้ของประเทศและคุณลักษณะสินค้าเกษตร • ความต้องการเพื่อบริโภคในรูปสินค้าเกษตรขั้นต้น • สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งประชากรมีรายได้สูงต้องการบริโภคอาหารที่ได้มาตรฐานสากล คุณภาพดี ราคาแพง • สำหรับกำลังพัฒนา และด้อยพัฒนา ซึ่งประชากรมีรายได้น้อยผู้บริโภคยอมรับได้กับสินค้าเกษตรที่คุณภาพไม่ค่อยดี ราคาถูก • ความต้องการเพื่อเป็นปัจจัยการผลิต - สำหรับผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป ผู้ผลิตในต่างประเทศต้องการวัตถุดิบสินค้าเกษตรที่คุณภาพดีตามมาตราฐานของประเทศนั้นๆและปริมาณเพียงพอสม่ำเสมอ - สำหรับใช้ผลิตสินค้าอื่น เช่น ยางรถยนต์ ผู้ผลิตต้องการวัตถุดิบที่ราคาไม่แพงและปริมาณมากเพียงพอกับกำลังการผลิตและความต้องการสิ้นค้าอื่นๆนั้น
สถานการณ์การตลาดสินค้าเกษตรไทยสถานการณ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย 4. ตลาดสินค้าเกษตรในตลาดอาหารฮาลาลมีแนวโน้มมากขึ้น • ตลาดอาหารฮาลาลเป็นตลาดขนาดใหญ่สำหรับประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม มีมูลค่าประมาณ 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจุบันไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ • ไทยมีศักยภาพในการผลิตอาหารฮาลาลมาก เพราะมีวัตถุดิบสินค้าเกษตรมากในประเทศ ที่มา: ดร.ประยงค์ เนตยารักษ์
สถานการณ์การตลาดสินค้าเกษตรไทยสถานการณ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย 5. แนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปเพิ่มขึ้น • มูลค่าส่งออกเพิ่มจาก 74 พันล้านบาทในปี 2533 เป็น 310 พันล้านบาทในปี 2546 และ 398 พันล้านบาทในปี 2550 • สินค้าเกษตรแปรรูปส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ กุ้ง ปลาทูน่ากระป๋อง อาหารทะเล ไก่ สับปะรดกระป๋อง ที่มา: ดร.ประยงค์ เนตยารักษ์
ปัญหาและอุปสรรคทางการตลาดสินค้าเกษตรไทยปัญหาและอุปสรรคทางการตลาดสินค้าเกษตรไทย • รูปแบบการผลิตสินค้าเกษตรขั้นต้นเปลี่ยนไปมาก • ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมากเพราะ ขาดแรงงาน ใช้เครื่องจักรมากขึ้น • ปัญหาการใช้สารเคมีที่มากขึ้นและผลตกค้างของสารเคมี • สินค้าเกษตรไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบได้ทันตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว • ผู้ผลิตสินค้าเกษตรไม่ได้ศึกษาตลาดสินค้าเกษตรอย่างลึกซึ้ง และขาดความรู้ความเข้าใจในความต้องการของลูกค้าและสภาพการแข่งขันในตลาดที่ถูกต้อง • แนวโน้มการแข่งขันตลาดสินค้าเกษตรในตลาดโลกมีข้อกำหนดหรือข้อกีดกันมากขึ้น
แนวทางการแก้ไขปัญหาทางการตลาดสินค้าเกษตรไทยแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการตลาดสินค้าเกษตรไทย • ผู้ผลิตและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องศึกษาการตลาดสินค้าเกษตรอย่างลึกซึ้งและทำการผลิตสินค้าเกษตรตามความต้องการของตลาด • ผู้ผลิตควรศึกษาข้อกำหนดและการเปลี่ยนแปลงมาตราฐานและคุณภาพของสินค้าเกษตรที่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศกำหนดอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมและเตรียมปรับกระบวนการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้มาตราฐานตามที่ตลาดต้องการ • ผู้ผลิตต้องศึกษากระบวนการตลาดของคู่แข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างถูกต้องจะได้ทำการผลิตสินค้าเกษตรที่ลูกค้าต้องการ และสามารถปรับกลยุทธ์การตลาดให้สามารถแข่งขันและดำรงกิจการได้อย่างยั่งยืน
กลยุทธ์การตลาดสินค้าเกษตรไทยกลยุทธ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย กลยุทธ์การตลาด: 4Ps หรือ 4Cs • Product, Price, Place, Promotionstrategy • Customer solution, Cost, Convenience, Communication
กลยุทธ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย: กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ ภาพที่ 1 การเก็บเกี่ยว ภาพที่ 2 การคัดเลือกช่อตำหนิออก คัดขนาดตามคำสั่งซื้อของ บริษัท ภาพที่ 3 การรวบรวมรอการขนส่ง ภาพที่ 4 ตัดปลายก้านและแช่สารละลายยืดอายุ ภาพที่ 5 การตัดขนาดตามมาตรฐาน แล้วเสียบปลายก้านใน หลอดบรรจุสารละลาย (holding solution) ระหว่างการขนส่งภาพที่ 6 รมด้วยเมทธิลโบรไมด์ 20-24 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร 90 นาที ภาพที่ 7 การลดอุณหภูมิในห้อง อุณหภูมิ 12o C 1-2 ชั่วโมงก่อนการบรรจุหีบห่อภาพที่ 8 วิธีการบรรจุหีบห่อ ควรใช้สารดูดซับเอทธิลีนในระหว่างการ ขนส่ง ภาพที่ 9 การบรรจุหีบห่อ ที่มา:สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
กลยุทธ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย: กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์บรรจุภัณฑ์ กลยุทธ์ตราสินค้า กลยุทธ์คุณภาพสินค้า
กลยุทธ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย: กลยุทธ์ราคา กลยุทธ์ราคาคุ้มค่า กลยุทธ์ราคาสูงตามคุณภาพ กลยุทธ์ราคา ตามปริมาณ
กลยุทธ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย: กลยุทธ์การจัดจำหน่าย กลยุทธ์จัดจำหน่ายผ่านคนกลาง กลยุทธ์การจัดจำหน่ายโดยตรงถึงลูกค้า
กลยุทธ์การตลาดสินค้าเกษตรไทย: กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด กลยุทธ์การโฆษณา กลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ การประกวดการสร้างตราสินค้าผักผลไม้ไทย กลยุทธ์การขายโดยพนักงานขาย กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย
กลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทยกลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทย • การส่งเสริมการขาย:กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดอย่างหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้นโดย • กลยุทธ์การลดราคาช่วงเทศกาล ลดตามปริมาณที่ซื้อ • กลยุทธ์การแลกสินค้า การแลกซื้อ • กลยุทธ์การแจกสินค้าตัวอย่าง แจกสินค้าฟรี • กลยุทธ์การแถมให้ • กลยุทธ์การประกวดหรือการชิงโชค ชิงรางวัล
กลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทย:กลยุทธ์การลดราคากลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทย:กลยุทธ์การลดราคา กลยุทธ์การลดราคาในช่วงเทศกาล งานสินค้าเกษตร กลยุทธ์การลดราคาตามปริมาณการซื้อ
กลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทย:กลยุทธ์การแลกสินค้ากลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทย:กลยุทธ์การแลกสินค้า กลยุทธ์การแลกสินค้าเกษตรกับปัจจัยการผลิต กลยุทธ์การแลกสินค้าเกษตรกับสินค้าบริโภค
กลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทย:กลยุทธ์การแลกซื้อสินค้ากลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทย:กลยุทธ์การแลกซื้อสินค้า กลยุทธ์การแลกซื้อสินค้าเกษตรได้ในราคาถูกเมื่อซื้อบัตรเข้าชมงานแสดง สินค้าเกษตร กลยุทธ์การแลกซื้อสินค้าเกษตรที่หายากกับการสั่งสินค้าเกษตรในปริมาณมาก
กลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทย:กลยุทธ์การแจกกลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทย:กลยุทธ์การแจก กลยุทธ์การแจกฟรีสินค้าเกษตรได้เมื่อลูกค้าเข้าเยี่ยมชมงานแสดง สินค้าเกษตร กลยุทธ์การแจกเมล็ดพันธ์สินค้าเกษตรที่หายากให้ฟรีเมื่อลูกค้าเข้าเยียมชมสวนเกษตร
กลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทย:กลยุทธ์การแถมกลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทย:กลยุทธ์การแถม กลยุทธ์การแถมสินค้าเกษตรได้เมื่อลูกค้าที่เข้าเยี่ยมชมงานแสดง สินค้าเกษตรและซื้อสินค้าเกษตรในงาน กลยุทธ์การแถมผลผลิตสินค้าเกษตรที่หายากเมื่อสั่งสินค้าเกษตรในปริมาณมาก
กลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทย:กลยุทธ์ประกวดการชิงโชค ชิงรางวัล กลยุทธ์การประกวดผลผลิตเกษตรขนาดยักษ์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเข้างานและสามารถขายเมล็ดพันธ์ ต้นพันธ์ หรือผลผลิตเกษตรได้ กลยุทธ์การประกวดเกษตรกรสาวงามหรือประกวดผลผลิตเกษตรที่สวยงามเพื่อดึงดูดให้ประชาชนมาเที่ยวงาน
แนวทางการพัฒนาและกำหนดกลยุทธ์ส่งเสริมการขายและการขยายตลาดสินค้าเกษตรไทยเพื่อความยั่งยืนแนวทางการพัฒนาและกำหนดกลยุทธ์ส่งเสริมการขายและการขยายตลาดสินค้าเกษตรไทยเพื่อความยั่งยืน • สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการตลาดให้ผู้ผลิต ผู้แทนจัดจำหน่าย พ่อค้าคนกลาง และผู้ที่เกี่ยวข้อง • ดำเนินการศึกษาความต้องการของลูกค้าเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา • ขยายฐานลูกค้าและวิเคราะห์ความต้องการลูกค้าเหมายใหม่แล้วนำเสนอสินค้าเกษตรที่ลูกค้าต้องการ • กำหนดกลยุทธ์การตลาดที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า แล้วดำเนินการผลิตตามความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย • ขยายตลาดใหม่และกระตุ้นยอดขายด้วยกลยุทธ์การส่งเสริมการขายสู่สากล
กลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทยสู่สากลกลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทยสู่สากล กลยุทธ์การแสดงสินค้าผลผลิตเกษตรในงานแสดงสินค้าในต่างประเทศเพื่อกระตุ้นให้ผู้นำเข้าและประชาชนที่เข้างานรับรู้และสามารถสั่งซื้อสินค้าและผลผลิตเกษตรได้
กลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทยสู่สากลกลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทยสู่สากล กลยุทธ์การแสดงสินค้าผลผลิตเกษตรในประเทศโดยการจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นให้ผู้นำเข้าและประชาชนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวรับรู้และสามารถสั่งซื้อสินค้าและผลผลิตเกษตรได้
กลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทยสู่สากลกลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรไทยสู่สากล กลยุทธ์การแสดงสินค้าผลผลิตเกษตรในประเทศโดยการจัดเป็นตลาดนัดสินค้าเกษตรที่นักท่องเที่ยวหรือลูกค้าที่มาเที่ยวสามารถสั่งซื้อสินค้าและผลผลิตเกษตรได้โดยตรงจากแหล่งผลิต
ท่าน….จะเสนอแนะกลยุทธ์การส่งเสริมการขายให้ผู้ผลิต หรือผู้แทนการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรทำอย่างไรเพื่อขยายตลาดสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์การส่งเสริมการขายที่ผู้ผลิตสินค้าเกษตรควรทำคือ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. เพื่อขยายตลาดสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์การส่งเสริมการขายที่พ่อคนกลางสินค้าเกษตรควรทำคือ……………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. เพื่อขยายตลาดสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์การส่งเสริมการขายที่หน่วยงานราชการควรทำคือ……………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. เพื่อขยายตลาดสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน