230 likes | 418 Views
รายงานความก้าวหน้า โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของแม่หญิงและชุมชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. โดยความร่วมมือระหว่าง ศูนย์กลางสหพันธ์แม่หญิงลาว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประเทศไทย
E N D
รายงานความก้าวหน้า โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของแม่หญิงและชุมชนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์กลางสหพันธ์แม่หญิงลาว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประเทศไทย ร่วมสนับสนุนโครงการโดย มูลนิธิศูนย์ศึกษาที่อยู่อาศัยแห่งเอเชีย
ความเป็นมาของความร่วมมือความเป็นมาของความร่วมมือ พอช. ได้มีความร่วมมือด้านการพัฒนาชุมชน สปป.ลาว นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 สยล. ผ่านโครงการพัฒนาแม่หญิง เมืองปากงึม มูลนิธิเพื่อการพัฒนาชุมชน (FCD) ในการส่งเสริมการพัฒนาขบวนการออมทรัพย์และกองทุนพัฒนา รวมถึงการใช้กิจกรรมการออมทรัพย์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน ในเขตเมืองปากงึม จังหวัดกำแพงนครเวียงจันทน์
ต่อมา พอช.และ สยล. จึงได้จัดทำบันทึกความร่วมมือด้านการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นทางการ ตามโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของแม่หญิงและชุมชน จำนวน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (เดือนตุลาคม 2545 – เดือนกันยายน 2548) พื้นที่ดำเนินงานโครงการจำนวน 3 เมืองในนครหลวงเวียงจันทน์ ประกอบด้วยเมืองปากงึม เมืองนาทรายทอง และเมืองสังข์ทอง ผู้แทนในการลงนามบันทึกความร่วมมือจาก สยล. คือ ท่านเข็มเพชร พลเสนา รองประธานศูนย์กลางสหพันธ์แม่หญิงลาว ส่วนผู้แทนจาก พอช. คือ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ประธานกรรมการ พอช.ในสมัยนั้น ระยะที่ 2 (มกราคม 2549 – เดือนธันวาคม 2550) ขยายพื้นที่ดำเนินงานโครงการครอบคลุมพื้นที่ 16 เมือง ใน 5 แขวง ประกอบด้วย นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงจำปาศักดิ์ แขวงหลวงพระบาง แขวงบ่อแก้ว และแขวงผึ้งสาลี ผู้แทนในการลงนามบันทึกความร่วมมือจาก สยล.คือ ท่านจันทึม ลัดมะนี รองประธานศูนย์กลางสหพันธ์แม่หญิงลาว ส่วนผู้แทนซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ พอช. คือ นายวิชล มนัสเอื้อศิริ กรรมการ พอช.
หลักการสำคัญของความร่วมมือหลักการสำคัญของความร่วมมือ หลักคิดและกระบวนการดำเนินโครงการ เป็นกระบวนการที่โครงการได้ดำเนินการ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อยู่บนพื้นฐาน แนวคิด และหลักการที่สำคัญคือ ความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง ที่มีความเท่าเทียม และเสมอภาค ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ให้และผู้รับอย่างมีศักดิ์ศรี และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยยึดเป้าหมายร่วมกันคือ การพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน และความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนไทย-ลาว โดยทางฝ่ายลาวมีบทบาทหลักในการตัดสินใจดำเนินโครงการ
กระบวนการดำเนินงานสำคัญกระบวนการดำเนินงานสำคัญ • การส่งเสริมการจัดตั้ง และพัฒนาขบวนการกลุ่มท้อนเงิน รวมถึงกองทุนระดับชุมชน • ส่งเสริมการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกลุ่มท้อนเงินระดับเขต และเมือง • สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนระดับเมือง 3 เมือง และกองทุนกลาง • ขยายผลกิจกรรมกลุ่มท้อนเงินสู่การพัฒนาชุมชนด้านต่างๆได้แก่ การจัดสวัสดิการชุมชน การส่งเสริมอาชีพและธุรกิจชุมชน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปรับปรุงที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในเมือง ฯลฯ • สนับสนุนงานด้านวิชาการและการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนบทเรียน ประสบการณ์ ทั้งระหว่างกลุ่มท้อนเงินภายในเมือง ระหว่างแขวง และระหว่างประเทศ • การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับชุมชนหมู่บ้าน (นายบ้าน คณะเลขาพรรคบ้าน ฯลฯ) เจ้าเมือง เจ้าแขวง หน่วยงาน องค์กรจัดตั้งของรัฐ ธนาคารของรัฐ เป็นต้น
ผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมจัดตั้งกลุ่มท้อนเงินและกองทุนชุมชนผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมจัดตั้งกลุ่มท้อนเงินและกองทุนชุมชน ได้สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มท้อนเงินจำนวน 404 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 34.0 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมดใน 16 เมืองซึ่งมีอยู่รวม 1,187 แห่งโดยนครหลวงเวียงจันทน์ มีการตั้งกลุ่มเกือบ 80% ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด
จำนวนสมาชิกกลุ่มท้อนเงินเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในเมืองที่ดำเนินโครงการจำนวนสมาชิกกลุ่มท้อนเงินเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในเมืองที่ดำเนินโครงการ กลุ่มท้อนเงินที่จัดตั้งขึ้น มีจำนวนสมาชิกรวมทั้งสิ้น 65,942 คน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในเมืองที่ดำเนินโครงการ ซึ่งมีจำนวน 415,168 คน คิดเป็นร้อยละ16 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
จำนวนครัวเรือนที่เป็นสมาชิกกลุ่มท้อนเงินเปรียบเทียบกับจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในเมืองที่ดำเนินโครงการจำนวนครัวเรือนที่เป็นสมาชิกกลุ่มท้อนเงินเปรียบเทียบกับจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในเมืองที่ดำเนินโครงการ เมื่อพิจารณาจำนวนครัวเรือนที่เป็นสมาชิกกลุ่มท้อนเงินมีจำนวนสมาชิกรวมทั้งสิ้น 39,791 คน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในเมืองที่ดำเนินโครงการ ซึ่งมีจำนวน 121,462 ครัวเรือน จะคิดเป็นร้อยละ 33 โดยแขวงบ่อแก้ว มีครัวเรือนที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกแล้วประมาณ 75% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด
ข้อมูลกลุ่มท้อนเงินและกองทุนรวม จำแนกตามระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ ล้านกีบ 70,869 44,380 40,561 36,510 10,789 8,336 ระยะเวลาโครงการ
จำนวนผู้รับประโยชน์จากสินเชื่อ จำแนกตามประเภท ฉุกเฉินและอื่นๆ 2,648 ราย (10.8%) เจ็บป่วย 1,584 ราย (6.5%) การเกษตร 12,672 ราย (51.9%) หัตถกรรม 1,798 ราย (7.4%) ค้าขาย 5,727 ราย (23.4%) ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา กลุ่มท้อนเงินได้ปล่อยสินเชื่อให้สมาชิกจำนวน 24,429 ราย ในจำนวนนี้ เป็นการกู้ยืมไปลงทุนทางการเกษตรทุกประเภท ได้แก่ ทำนา ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ จำนวนกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 51.9)คือ 12,672 ราย
ปริมาณสินเชื่อจำแนกตามประเภทปริมาณสินเชื่อจำแนกตามประเภท ฉุกเฉินและอื่นๆ 5,703 ล้านกีบ (10.3%) เจ็บป่วย 2,165 ล้านกีบ (3.9%) หัตถกรรม 3,424 ล้านกีบ (6.2%) การเกษตร 25,265 ล้านกีบ (45.7%) ค้าขาย 18,728 ล้านกีบ (33.9%) วงเงินสินเชื่อที่ในรอบปีที่ผ่านมารวมทั้งสิ้น 55,287 ล้านกีบ (230 ล้านบาท) โดยร้อยละ 45.7 เป็นสินเชื่อเพื่อการเกษตร
การจัดสรรผลกำไรกลุ่มท้อนเงิน กองทุนสวัสดิการ 1,837 ล้านกีบ (43.4%) กองทุนสะสม 1,596 ล้านกีบ (37.6%) กองทุนพัฒนา 467 ล้านกีบ (11.0%) กองทุนทัศนศึกษา 339 ล้านกีบ(8.0%) กลุ่มท้อนเงินได้จัดสรรเงินกำไรจากกลุ่ม จัดตั้งเป็นกองทุนพัฒนารวม 4,242 ล้านกีบ (17.7 ล้านบาท) โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 43.4 เป็นกองทุนสวัสดิการชุมชน รองลงมาร้อยละ 37.6 เป็นกองทุนสะสมของกลุ่ม และร้อยละ 11.0 เป็น กองทุนสนับสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ ยังได้จัดสรรเป็นกองทุนสำหรับการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร้อยละ 8.0
ผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิก ด้านเศรษฐกิจ • ช่วยสมาชิกแก้ไขปัญหาการขายข้าวเขียว จำนวน 16,834 ราย • วงเงินรวม 33,488 ล้านกีบ (139.5 ล้านบาท) • ลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่สมาชิกต้องจ่ายประมาณปีละ 132,700 ล้านกีบ (553 ล้านบาท) เหลือเพียงปีละ 26,500 ล้านกีบ ( 110 ล้านบาท) หรือลดลงประมาณ 5 เท่าของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบ • ส่งเสริมการขยายกิจการหรือธุรกิจในครอบครัวสมาชิกทั้งประเภทการค้าขาย และอาชีพด้านหัตถกรรม (ทอผ้า จักสาน ฯลฯ) แก่สมาชิกจำนวน 7,525 ราย สินเชื่อรวม 22,100 ล้านกีบ (ประมาณ 92.3 ล้านบาท) • เกิดการพัฒนาธุรกิจชุมชนและเชื่อมโยงตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
ผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิก ด้านสังคม • เกิดการดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลภายในชุมชนโดยได้สนับสนุนเงินยืมไม่มีดอกเบี้ย และสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ช่วยเหลือสมาชิกกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน น้ำท่วม ไฟไหม้ ฯลฯ รวมทั้งสิ้น 694 ราย จำนวนเงินรวม 1,095 ล้านกีบ (4.6 ล้านบาท) • เกิดกองทุนสวัสดิการชุมชนใน 15 เมือง เงินกองทุนรวม 1,837 ล้านกีบ (หรือประมาณ 7.7 ล้านบาท) สมาชิกรวม 17,310 ราย • เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยกระตุ้นให้เกิดการรวมตัวของคนในชุมชนและเครื่องมือในการประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อเข้ามาร่วมกันสนับสนุนกระบวนการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนารอบด้านมากยิ่งขึ้น • กลุ่มท้อนเงินได้ประกอบส่วน(มีส่วนร่วม) ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ด้วยการระดมเงินจากสมาชิก หรือจัดสรรผลกำไรประจำปี สมทบกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน สมทบการประชุมสหพันธ์แม่หญิงขั้นเมือง การประชุมคณะพรรคระดับเมือง เป็นต้น
การส่งเสริมอาชีพด้านกสิกรรมการส่งเสริมอาชีพด้านกสิกรรม
500 – 1,000 กีบ/เดือน สมทบ 5 -10 % สมาชิก 60-70 % ทัศนศึกษา 3-5 % ตอบแทนที่ปรึกษา 2-3 % 5 -10 %
ด้านการยกระดับการพัฒนาคุณภาพกลุ่มและสมาชิก • เกิดการจัดระบบการบริหารจัดการ เชื่อมโยงกองทุนจากระดับชุมชน สู่ระดับเมือง และกองทุนกลาง • หนุนเสริมบทบาทและยกระดับความสามารถของแม่หญิงลาวในการ พัฒนาชุมชนท้องถิ่น - เกิดแกนนำขบวนการกลุ่มท้อนเงินระดับกลุ่ม จำนวน 1,726 คน ระดับเขต (เครือข่าย) 143 คน ระดับเมือง 241 คน • - เกิดความเชื่อมั่น สามารถประกอบในการประชุมใหญ่ระดับต่างๆ • รวมถึงเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนประสบการณ์ • - ได้รับความไว้วางใจ มอบหมายงานเรื่องการเก็บข้อมูลในชุมชน/ • หมู่บ้าน รวมถึงได้รับคำชมเชยจากเจ้าเมือง • เกิดพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาชุมชนที่หลากหลาย เช่น หมู่บ้านต้นแบบ เกษตรกรรมที่ไม่ใช้สารเคมี ศูนย์เรียนรู้การเพาะพันธุ์ปลา พื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ดิน วังปลา ลุ่มน้ำ ป่า)
ด้านการยอมรับและการสนับสนุนทางนโยบาย • เครือข่ายกลุ่มท้อนเงิน 3 เมือง (ปากงึม นาทรายทอง สังข์ทอง) ได้รับ • การจัดสรรพื้นที่ว่างจากเมือง เพื่อก่อสร้างสำนักงาน โดยการระดมเงินจาก • สมาชิก • เจ้าแขวงเห็นความสำคัญของกิจกรรมการพัฒนา โดยกลุ่มท้อนเงิน • สั่งการให้เจ้าเมืองเข้าร่วมในกิจกรรมที่กลุ่มท้อนเงินจัดขึ้น รวมถึงสมทบ • งบประมาณในการจัดกิจกรรมกลุ่ม • ได้รับมอบหมายให้เป็นกลไกขับเคลื่อนงานตานโยบายที่สำคัญของรัฐบาล เช่น นโยบายการแก้ไขปัญหาความทุกข์จนของประชาชน รวมถึงได้รับการ สนับสนุนงบประมาณ เพื่อนำไปสมทบกองทุนกลุ่มท้อนเงิน • กองทุนหลุดผ่อนความทุกข์ยาก สำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดส่งตัวแทน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมกลุ่มท้อนเงินและกองทุน รวมถึงเชิญผู้แทน กลุ่มและโครงการเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนประสบการณ์ • เกิดการปรับระบบการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกสิกรรม โดยพิจารณาปล่อย สินเชื่อแก่สมาชิกกลุ่มท้อนเงินเป็นกรณีพิเศษ ขั้นตอนและเวลาการพิจารณา น้อยลง ทำให้สมาชิกสามารถเข้าถึงสถาบันการเงินสะดวกขึ้น • สามารถแสดงบทบาทเป็นกลไกกลางในการประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนำเสนอปัญหาที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคนใน ชุมชนต่อหน่วยงาน เพื่อร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหา
แนวทางการขยายความร่วมมือ ผลจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งสองประเทศ และความสำเร็จ ในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งสำหรับแม่หญิง และชุมชน ในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ส่งผลให้ทั้งสองฝ่าย มีความเห็น ร่วมกันว่าควรสนับสนุนการพัฒนาขบวนการกลุ่มท้อนเงินและกองทุน ใน สปป.ลาว อย่างต่อเนื่อง ระหว่างสหพันธ์แม่หญิงลาว สถาบันพัฒนา องค์กรชุมชน และมูลนิธิศูนย์ศึกษาที่อยู่อาศัยแห่งเอเชีย โดยการ ขยายผลการดำเนินงาน จาก 16 เมือง 5 แขวง เป็น 32 เมือง 8 แขวง ทั้งนี้ คาดว่าจะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ แล้วเสร็จภายในเดือน กรกฎาคม 2552 และได้กำหนดจัดให้มีพิธีลงนามในบันทึกความ ร่วมมือภายในเดือนสิงหาคม 2552 นี้