1.02k likes | 1.44k Views
การตลาดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์. ดร.สุภาพ กัญญาคำ โครงการสัมมนาคอมพิวเตอร์ วันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๖ ณ. ห้อง 13209 อาคาร 13 มหาวิทยาลัย ราช ภัฏ สกลนคร . ประวัติวิทยากร. ดร.สุภาพ กัญญาคำ การศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สารสนเทศศึกษา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
E N D
การตลาดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์การตลาดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ดร.สุภาพ กัญญาคำ โครงการสัมมนาคอมพิวเตอร์วันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๖ ณ.ห้อง 13209 อาคาร 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ประวัติวิทยากร ดร.สุภาพ กัญญาคำ • การศึกษา • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สารสนเทศศึกษา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • ครุศาสตรบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ศึกษา) สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา • การทำงานที่เกี่ยวข้อง • พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๗ พนักงานการตลาด บ.เซ็นทรัลดีพาร์ทเม้นต์สโตร์ จำกัด • พ.ศ. ๒๕๓๗ – ๒๕๓๙ พนักงานการตลาด บ.เฮาส์โฮลด์ซิสเต็ม จำกัด
1 2 3 การตลาดออนไลน์ กรณีศึกษาการตลาดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เนื้อหาสาระ เครือข่ายสังคมออนไลน์
หลักการตลาดออนไลน์ • ความสำคัญของการตลาด • แนวคิดด้านการตลาด • หลักเศรษฐศาสตร์สารสนเทศ • พฤติกรรมของผู้บริโภคในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ • การสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ • ส่วนผสมทางการตลาดออนไลน์
การตลาดออนไลน์ การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือ เป็นการตลาดแนวใหม่ที่ช่วยองค์กรให้สามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี การซื้อ ขายสินค้า และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปได้เป็นอย่างดี
ความสำคัญของการตลาด • ช่วยตอบสนองความต้องการ • เป็นแนวทางการดำเนินงาน • ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร • ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ
แนวความคิดของหลักการตลาดแนวความคิดของหลักการตลาด แนวคิดด้านการผลิต (Production Concept) เป็นแนวคิดที่เก่าแก่ มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการกระจายสินค้าให้แพร่หลาย เหมาะสมกับสถานการณ์ 2 ประเภทคือ 1. เมื่อความต้องการของลูกค้า (Demand) มากกว่า จำนวนผลิตภัณฑ์ที่เสนอขาย (Supply) 2. เมื่อมีต้นทุนของสินค้าสูง จึงปรับปรุงการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน
แนวคิดด้านผลิตภัณฑ์ (Product Concept) เน้นการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อปรับปรุงสินค้าให้มีคุณภาพดีอยู่ตลอดเวลา และเชื่อว่าผู้บริโภคจะเต็มใจจ่ายในราคาที่สูง
แนวคิดด้านการขาย (Selling Concept) เน้นความพยายามขายและการส่งเสริมการขาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีปริมาณมากในตลาด หรือเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยมีคนคิดจะซื้อ เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต
แนวคิดด้านการตลาด (Marketing Concept) เน้นการผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภคแทนที่จะพยายามเปลี่ยนความต้องการของผู้บริโภคให้ไปซื้อสินค้าที่องค์กรได้ผลิตขึ้น
การเปรียบเทียบความแตกต่างการเปรียบเทียบความแตกต่าง จุดเริ่มต้น – มุ่งเน้น – วิธีการ – เป้าหมาย โรงงาน – ผลิตภัณฑ์ – การส่งเสริมการขาย – กำไรจากปริมาณการขาย แนวคิดด้านการขาย กลุ่มเป้าหมาย – ความต้องการ – การประสานงาน – กำไรจากความพอใจ แนวคิดด้านการตลาด
แนวคิดด้านการตลาดเพื่อสังคมแนวคิดด้านการตลาดเพื่อสังคม เน้นการพิจารณาความต้องการและผลประโยชน์ของตลาดเป้าหมายให้เกิดความพอใจ และทำให้ความเป็นอยู่ของผู้บริโภค และสังคมดีขึ้น
ลักษณะของสินค้าตามหลักเศรษฐศาสตร์ลักษณะของสินค้าตามหลักเศรษฐศาสตร์ • สิ่งของที่จับต้องได้ (Economics of Thing) • ข่าวสารที่จับต้องไม่ได้ (Economics of Information) ในบางครั้งข่าวสาร กับสิ่งของอาจไปในแนวทางเดียวกัน หรืออาจจะไปในทิศทางตรงกันข้าม นั่นคือ การผลิตข่าวสารไม่มีต้นทุน และช่วยให้ตัดสินใจดีขึ้น แต่การผลิตสิ่งของทำให้เกิดต้นทุน
ความสัมพันธ์ของการนำเสนอข่าวสาร การเสนอข่าวสารประกอบด้วย - การเข้าถึงข้อมูล (Reach) - สาระของข้อมูล (Richness) หากต้องการนำเสนอข่าวสารที่มี “สาระมาก” จะมีข้อจำกัดในการ “เข้าถึง” โดยผู้รับสารน้อยลง
ความสัมพันธ์ของการนำเสนอข่าวสารความสัมพันธ์ของการนำเสนอข่าวสาร บริษัทประกาศรับสมัครงานในหนังสือพิมพ์ แต่เนื่องจากค่าโฆษณาในหนังสือพิมพ์ค่อนข้างแพง ทำให้ลงข้อมูลได้น้อย (สาระน้อย) แต่หนังสือพิมพ์นั้นเป็นหนังสือที่คนทั่วไปหรือเกือบทุกคนต้องการอ่าน (การเข้าถึงมาก)
พฤติกรรมของผู้บริโภคออนไลน์พฤติกรรมของผู้บริโภคออนไลน์ คุณลักษณะของผู้ซื้อทั่วไป - อายุ - ทัศนคติ - เพศ - ความเชื่อ - การศึกษา - งานอดิเรก - จริยธรรม - ประสบการณ์ - คติพจน์ - ฯลฯ • คุณลักษณะของสินค้าและบริการ • ชนิดของสินค้า • คุณภาพ • จุดเด่น/ข้อแตกต่าง • การกำหนดราคา • ชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์ • สภาพแวดล้อม • วัฒนธรรม • เศรษฐกิจ • สภาพสังคม • การเมือง • กฎหมาย และจริยธรรม กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เป้าหมายในการซื้อ ขั้นตอนในการซื้อ การซื้อซ้ำของผู้บริโภค • ระบบ E-Commerce • ระบบที่สนับสนุนคุณลักษณะของเว็บไซต์บริการลูกค้า • ทางเลือกชำระเงิน - ความทันสมัย - บริการอีเมลล์ • ทางเลือกจัดส่งสินค้า - ความสมบูรณ์ - บริการ FAQs • ระบบเวลา ความถูกต้อง - การนำเสนอ - บริการข้อมูล • และความปลอดภัย - ระบบนำทาง - ฯลฯ • คุณลักษณะของผู้ซื้อที่เป็นองค์กร • ชื่อเสียงของหน่วยงาน • นโยบาย และวิธีปฏิบัติงาน • ทัศนคติหรือค่านิยม • ค่าชดเชยหรือค่าตอบแทน
ขั้นตอนของกระบวนการ ตัดสินใจ การตระหนักถึงความต้องการ การแสวงหาข้อมูล ประเมินข้อมูลแต่ละ ทางเลือก การตัดสินใจซื้อ การชำระเงิน และการจัดส่ง การประเมินผลสินค้าและ บริการหลังการซื้อ
ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ 1. การตระหนักถึงความต้องการ (Need Recognition) เป็นการวิเคราะห์ว่า ลูกค้าต้องการซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดซึ่งวิธีระบุความต้องการดังกล่าว ทำได้โดยจัดทำแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ หรือใช้เทคนิคเก็บข้อมูลวิธีอื่น จากนั้นจึงจัดหาสินค้าและบริการมาเสนอขาย โดยใช้เทคนิคที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าสนใจหรือต้องการรายละเอียดของสินค้าและบริการมากขึ้น เช่น การโฆษณาออนไลน์ กระดานข่าว หรือห้องสนทนา เป็นต้น
ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ Need Recognition
ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ • การแสวงหาข้อมูล (Information Search) เมื่อลูกค้ารับรู้สินค้าและบริการขององค์กรและ เกิดความสนใจมากขึ้นในขั้นตอนนี้ลูกค้าจะเริ่มแสวงหาข้อมูลผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น การใช้เสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) ค้นหาข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ตเพื่อหาว่า จะสามารถซื้อสินค้าได้จากที่ใด ราคาเท่าใด และใครเป็นผู้จำหน่าย เป็นต้น
ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ Searchengine
ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ • การประเมินข้อมูลแต่ละทางเลือก (Evaluation of Alternative) ในกรณีที่พบว่ามีแหล่งจำหน่ายสินค้ามากกว่า 1 แห่ง ลูกค้าจำเป็นต้องวิเคราะห์เพื่อประเมินทางเลือกในการเลือกสินค้า โดยใช้เครื่องมือเปรียบเทียบสินค้าและบริการ หรือเครื่องมือตอบคำถามที่พบบ่อยครั้ง (FAQs) เกี่ยวกับสินค้า และบริการขององค์กร เพื่อสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจซื้อมากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ • การประเมินข้อมูลแต่ละทางเลือก (Evaluation of Alternative) 3.1 คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ (product attributes) 3.2 การให้น้ำหนักความสำคัญสำหรับคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างกัน และการจัดลำดับสำหรับคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ 3.3 ความน่าเชื่อถือของตราสินค้าซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ 3.4 ทัศนะคติในการเลือกซื้อสินค้า หรือเลือกตราสินค้า
ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ 4. การตัดสินใจซื้อ การชำระเงิน และการจัดส่ง (Purchase , Payment and Delivery) เป็นขั้นตอนที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า และบริการแล้ว ในขั้นตอนนี้จะมีกิจกรรมอื่นทีเกี่ยวข้องกับการซื้อขาย ได้แก่ การชำระเงิน และการจัดส่งสินค้า ซึ่งองค์กรจะต้องจัดเตรียมเครื่องมืออำนวยความสะดวกไว้ด้วย เช่น บริการธนาคารเสมือน (Virtual Banking) หรือระบบตรวจสอบสถานการณ์จัดส่งสินค้า เป็นต้น
ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ • การประเมินผลสินค้าและบริการหลังการซื้อ (Post purchase Service and Evaluation) เมื่อกระบวนการซื้อเสร็จสิ้นลง องค์กรสามารถสังเกตพฤติกรรมหลังการซื้อของลูกค้า ซึ่งจะแสดงออกมาได้หลายลักษณะ เช่น หากลูกค้าได้รับความพอใจก็จะเกิดการซื้อซ้ำ ซื้อในจำนวนที่เพิ่มขึ้น หรือเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทบ่อยขึ้น แต่ถ้าลูกค้าไม่ได้รับความพอใจ อาจแสดงความคิดเห็นในด้านลบต่อสินค้าของบริษัทผ่านทางกระทู้สนทนา หรือเปลี่ยนไปใช้สินค้าของคู่แข่ง เป็นต้น
ประเภทของผู้บริโภคออนไลน์ประเภทของผู้บริโภคออนไลน์ • สามารถจำแนกผู้บริโภคออนไลน์ตามแรงกระตุ้นและพฤติกรรมในการใช้จ่ายได้ 8 ประเภท ดังนี้ • ผู้บริโภคที่ต้องการประหยัดเวลา เป็นผู้บริโภคที่ยอมเสียเงินแพงขึ้นกว่าเดิมเพื่อซื้อสินค้า โดยไม่ต้องเสียเวลาเดิมทางไปยังร้านค้าหรือออกนอกเคหะสถาน • ผู้บริโภคที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหา เป็นผู้บริโภคที่ไม่ชอบการซื้อสินค้าตามร้านค้า เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจร ผู้คนคับคั่ง และเส้นทางไกลจากที่พัก จึงยอมซื้อสินค้าและบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตแทน
ประเภทของผู้บริโภคออนไลน์ประเภทของผู้บริโภคออนไลน์ • ผู้บริโภคที่มีความคิดทันสมัย เป็นผู้บริโภคที่ชอบซื้อสินค้าตามกระแสของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อความโก้หรู หรือทันสมัย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยรุ่น • ผู้บริโภคที่ชอบท่องเว็บไซต์แต่ไม่ชอบซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นผู้บริโภคที่ชอบท่องอินเตอร์เน็ตเพื่อเลือกดูสินค้าและบริการที่ตนต้องการเพียงอย่างเดียว แต่จะไม่ซื้อสินค้าด้วยวิธีนี้ เนื่องจากยังขาดความมั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้น จึงเลือกที่จะซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าทั่วไปแทน
ประเภทของผู้บริโภคออนไลน์ประเภทของผู้บริโภคออนไลน์ • ผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้าเมื่อเห็นของจริงก่อนเท่านั้น เป็นผู้บริโภคที่ชอบซื้อสินค้า เพราะสามารถมองเห็นสินค้าและบริการของจริงก่อน และยังสะดวกที่จะเจรจาต่อรองสินค้าได้ตามความต้องการ ผู้บริโภคกลุ่มนี้จึงไม่ชอบซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต แต่ยังชอบท่องเว็บไซต์เช่นเดียวกับผู้บริโภคในประเภทที่ 4 • ผู้บริโภคที่ชอบแสวงหาสิ่งแปลกใหม่ เป็นผู้บริโภคที่ชอบเสาะหาสินค้า เพื่อเปรียบเทียบราคา คุณภาพ บริการ และประโยชน์ใช้สอยก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้ยังชอบแสวงหาสินค้าที่ค่อนข้างหาได้ยากเพื่อนำมาสะสม ซึ่งผู้บริโภคนี้มีจำนวนน้อยมาก
ประเภทของผู้บริโภคออนไลน์ประเภทของผู้บริโภคออนไลน์ • ผู้บริโภคที่นิยมชื่อตราสินค้า เป็นผู้บริโภคที่ชื่นชอบสินค้าที่มีชื่อเสียง ซื้อสินค้าเหล่านี้ส่วนมากจะมีเว็บไซต์ที่เป็นของตนเอง ผู้บริโภคจึงสามารถติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวต่างๆ ของสินค้าและบริการที่ตนเองชื่นชอบอย่างใกล้ชิดผ่านทางเว็บไซต์ • ผู้บริโภคที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นผู้บริโภคที่ใช้อินเตอร์เน็ตในการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้า การชำระเงิน การติดต่อสื่อสาร การติดตามข่าวสาร หรือแม้แต่การเรียนรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดการกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด การกำหนดราคา เทคนิคที่ใช้ สินค้า กลุ่มเป้าหมาย Mass Marketing Direct Marketing Micromarketing One-to-One Marketing การแบ่งตลาด และกลยุทธ์ที่ใช้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดการกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด 1. การตลาดรวม (Mass Marketing) เป็นการตลาดที่ไม่แบ่งกลุ่มลูกค้า เหมาะสำหรับสินค้าที่มีขั้นตอนการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก องค์กรจึงสามารถผลิตสินค้าที่มีแบบและราคาเดียวกันจำนวนมาก ๆ เพื่อเสนอขายให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม ส่วนการโฆษณาสินค้าจะทำผ่านสื่อที่สามารถเข้าถึงลูกค้าปริมาณมาก ๆ ในครั้งเดียว เช่น โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดการกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด 2. การตลาดทางตรง (Direct Marketing) เนื่องจากลูกค้าแต่ละรายก็มีความต้องการที่ต่างกัน การตลาดวิธีนี้จึงแบ่งลูกค้าออกเป็นหลายกลุ่ม โดยองค์กรจะผลิตสินค้าและบริการหลายแบบ เพื่อเสนอขายให้กับลูกค้าแต่ละกลุ่ม และจะใช้ราคาเพียงราคาเดียวสำหรับสินค้าแต่ละแบบ ส่วนการโฆษณาสินค้าจะทำผ่านอีเมล์หรือโทรศัพท์
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดการกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด 3. การตลาดเฉพาะ (Micromarketing or Niche Marketing) มีลักษณะคล้ายกับการตลาดทางตรง แต่วิธีนี้จะแบ่งกลุ่มลูกค้าอย่างละเอียดกว่า เพื่อให้องค์กรเลือกผลิตสินค้าที่ตนเองมีความชำนาญ หรือทราบความต้องการของลูกค้าเป็นอย่างดี แล้วนำมาเสนอขายให้กับลูกค้าโดยเฉพาะ สำหรับราคาขายจะแปรผันไปตามความซับซ้อนในการผลิตและกลไกตลาด ส่วนการโฆษณาสินค้าจะพิจารณาจากข้อมูลของลูกค้าว่าใช้ช่องทางใดเพื่อรับสื่อมากที่สุด
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดการกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด • การตลาดส่วนบุคคล (Personalized or One-to-One Marketing) • เป็นการตลาดที่แบ่งกลุ่มลูกค้าอย่างสมบูรณ์กล่าวคือ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นรายบุคคล ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นอิสระ ปราศจากการถูกควบคุมของผู้ขาย การตลาดวิธีนี้เหมาะกับสินค้าที่มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ • (1) การผลิตมีความซับซ้อน • (2) ราคาสามารถปรับเปลี่ยนไปตามลูกค้าแต่ละราย และ • (3) รสนิยม หรือความชอบส่วนบุคคลมีอิทธิพลต่อการซื้อสูง • จะเห็นว่า หัวใจสำคัญของการตลาดส่วนบุคคล คือ ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า (User Profile)
การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า
การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า 1. การสร้างความเป็นส่วนตัว (Personalization) โดยจับคู่ข้อมูลสินค้า บริการ และโฆษณาให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละรายมากที่สุด ซึ่งการที่จะทราบความต้องการดังกล่าวได้นั้น จะต้องอาศัยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า (User Profile) ในการวิเคราะห์ เช่น รสนิยม ความชอบ งานอดิเรก หรือพฤติกรรมในการใช้งานบนเว็บ เป็นต้น เทคนิคที่ใช้จัดเก็บข้อมูลข้างต้น
การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า 1. การสร้างความเป็นส่วนตัว (Personalization) - สอบถามข้อมูลจากลูกค้าโดยตรง เช่น ใช้วิธีทำแบบสอบถาม หรือสัมภาษณ์สิ่งที่องค์กรต้องการทราบจากลูกค้า - สังเกตพฤติกรรมของลูกค้าในขณะที่ออนไลน์ เช่น การเรียกดู Text File ใน Cookies ซึ่งบันทึกพฤติกรรมของลูกค้าในระหว่างที่มีการใช้งานเว็บไซต์ไว้ - พิจารณาจากรายการสั่งซื้อครั้งก่อน เช่น เว็บไซต์ Amazon.com ที่แนะนำรายชื่อหนังสือออกใหม่ให้กับลูกค้าโดยพิจารณาจากประเภทของหนังสือที่ลูกค้าซื้อครั้งก่อน เป็นต้น
การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า • การตลาดโดยได้รับการยินยอม (Permission Marketing) • เป็นกลยุทธ์ในการขอความยินยอม หรือการอนุญาตจากลูกค้าก่อนที่จะส่งข้อมูล หรือโฆษณาสินค้าไปให้ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกถูกขัดจังหวะ (Interrupt) ในระหว่างที่รับชมข้อมูล เช่น มีป๊อบอัพโฆษณาปรากฏขึ้นมา เป็นต้น การตลาดวิธีนี้ทำได้หลายลักษณะ เช่น การให้ลูกค้าเลือกบริการ/ข่าวสารที่สนใจจะรับผ่านทางอีเมล์ การจูงใจโดยให้สิทธิพิเศษหรือคะแนนสะสม เพื่อให้ลูกค้าเข้ามากรอกแบบสอบถาม หรือเข้ามาชมโฆษณาขององค์กร เป็นต้น
การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า 3. การใช้บริการ ผ่านทางผู้แทนโฆษณา(Affiliate Marketing) เพื่อให้ลูกค้าค้นหาหรือเข้าถึงเว็บไซต์ขององค์กรได้สะดวกขึ้นองค์กรควรใช้บริการ Affiliate โดยฝากลิงค์ของเว็บไซต์ไว้กับพันธมิตรทางการค้า และจ่ายค่านายหน้าเป็นผลตอบแทนกับบริษัทตามจำนวนครั้งที่มีการทำธุรกรรมจริง (Pay-for-Performance)
การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า 4. การให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการผลิต และปรับแต่งสินค้า (Customization and Customer Co-Production) เป็นกลยุทธ์ที่ลูกค้าสามารถแสดงความคิดเห็น ออกแบบ หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ร่วมกับองค์กรได้ โดยใช้วิธีเสนอขายสินค้าแบบ “สั่งผลิต” ที่ลูกค้าสามารถปรับแต่ง (Customization) สินค้าให้เป็นสไตล์ของตนแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น บริษัท Nike ที่ให้ลูกค้าสามารถปรับแต่งแบบของรองเท้า ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง สี วัสดุที่ใช้ และลักษณะของ Logo ที่จัดวาง เป็นต้น การมีส่วนร่วมในการผลิต เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้ลูกค้าเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรได้เป็นอย่างมาก
การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า 5. การจัดการข้อมูล (Transactive Content) เป็นกลยุทธ์ที่ใช้วิธีนำเสนอข้อมูลแบบเดิม ซึ่งมีลักษณะตายตัวร่วมกับวิธีนำเสนอข้อมูลแบบพลวัตน์ (Dynamic Information) ที่สามารถทำงานโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น การค้นหาสินค้า และให้แสดงผลลัพธ์โดยเรียงลำดับตามเงื่อนไขด้านราคา ความนิยม หรือความทันสมัย เป็นต้น
การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า 6. การบริการลูกค้า (Customer Service) เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้องค์กรสามารถแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้ทันท่วงที โดย กระทำผ่านเครื่องมือ ดังนี้ - Frequently Asked Question (FAQs) หรือบริการตอบคำถามที่พบบ่อยครั้ง ซึ่งระบบ FAQs ควรทำงานร่วมกับเสิร์ชเอนจิ้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถค้นหาคำตอบได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงจัดเตรียมบริการอีเมล์ไว้ สำหรับกรณีที่ลูกค้าไม่พบคำถามที่ตนต้องการ ก็สามารถส่งอีเมล์มาสอบถามปัญหากับองค์กรได้เช่นกัน
การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า • การบริการลูกค้า (Customer Service) • - ระบบสนทนาแบบ Real Timeสำหรับลูกค้าสอบถามปัญหาการใช้งานได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งถึงแม้ว่าวิธีนี้จะช่วยให้องค์กรมีต้นทุนต่ำกว่าการใช้ระบบสอบถามผ่านทางโทรศัพท์ แต่เนื่องจากเป็นการพูดคุยด้วยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน จึงทำให้การซักถามปัญหาบางคำถาม ทำได้ไม่สะดวกนัก • - ระบบตอบสนองการทำงานแบบอัตโนมัติ เพื่อลดระยะเวลาในการทำธุรกรรมของลูกค้าลง องค์กรสามารถติดตั้งระบบตอบสนองการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่ส่งอีเมล์ยืนยันรายการสั่งซื้อที่ได้รับจากลูกค้า รวมทั้งตอบปัญหาบางกรณีที่ระบบสามารถจัดการได้
เครือข่ายสังคมออนไลน์Social Network
เนื้อหาสาระ • ยุคของเว็บ • ความหมายของ Social Network • ประเภทของ Social Network • ลักษณะการใช้งาน Social Network • ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาใน Social Network • ประโยชน์ของ Social Network • ข้อดีและข้อเสียของ Social Network
ยุคของ Web Web 1.0 (World Wide Web) • การเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน/ผู้มีความรู้เรื่อง Web Technology ในยุคแรก ๆ ของ WWW • เป็นเว็บที่มีลักษณะของการสื่อสารทางเดียว คือ เจ้าของเว็บไซต์เป็นผู้ผลิตเนื้อหาและให้ข้อมูลข่าวสาร • ต้องมีเว็บมาสเตอร์ เป็นผู้ดูแลเอาเนื้อหาขึ้นเว็บไซต์ • ถึงแม้ว่าจะมี เว็บบอร์ด ซึ่งผู้ที่ตั้งกระทู้เป็นผู้ใช้ทั่วไป ก็ยังไม่นับว่าเป็น Web2.0 เพราะว่าไม่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบมีที่อยู่แน่นอนเฉพาะผู้เขียนคนนั้นๆ (น่าจะหมายถึง blog) • การเชื่อมโยงไปแสดงที่เว็บอื่นทำได้ยาก
ยุคของ Web Web 2.0 (WWW, Social Network Web) • เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หลังจากงานประชุมโอไรล์ลีย์มีเดีย เว็บ 2.0 ที่จัดขึ้นในปี 2547 • เป็นแพลตฟอร์มหนึ่ง ที่อยู่เหนือการใช้งานของซอฟต์แวร์ โดยไม่ยึดติดกับตัวซอฟต์แวร์เหมือนระบบคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา โดยมีข้อมูล ที่เกิดจากผู้ใช้หลายคน • มีการพัฒนารูปแบบ/วิธีการโต้ตอบระหว่างผู้ให้บริการ และผู้ใช้งานโดยสะดวก • มีลักษณะส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล • ตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ประเภท Blogs, Wikis, Social Sharing, Social Groups, Media Sharing, etc.
ยุคของ Web Web 3.0 (Semantic Web) • เว็บเชิงความหมาย (Semantic Web) คือส่วนขยายของเว็บปัจจุบันเพื่อทำให้การใช้ข้อมูลบนเว็บสามารถนำมาใช้ใหม่ (Reuse)ได้ และเอื้อต่อเครื่องจักรในการสืบค้น (Query) อย่างเป็นอัตโนมัติ • ข้อมูลในเว็บปัจจุบัน ขาดโครงสร้างและเป็นเพียงชิ้นส่วนของข้อความ (Text) ซึ่งมนุษย์สามารถเข้าใจความหมาย แต่เครื่องจักรไม่สามารถเข้าใจความหมายหรือตีความได้ • เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงมีแนวคิดในการพัฒนาเว็บที่มีความหมายเชิงเนื้อหา (เครื่องจักรสามารถประมวลความสัมพันธ์และตีความได้)
ความหมาย Social Network หมายถึงการที่มนุษย์สามารถเชื่อมโยงถึงกัน ทำความรู้จักกัน สื่อสารถึงกันได้ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็นเว็บ (Social Network) ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง โดยเว็บไซต์เหล่านี้จะมีพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามารู้จักกัน มีการให้พื้นที่ บริการเครื่องมือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างเครือข่าย สร้างเนื้อหาตามความสนใจของผู้ใช้ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ประเภท (Social Network) เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งที่มีเป้าหมายเชิงพาณิชย์ และไม่แสวงหากำไร