1 / 63

การปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

การปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม. กลุ่มนิติการ สำนักบริหารกลาง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. หลักการและเหตุผล.

Download Presentation

การปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กลุ่มนิติการ สำนักบริหารกลาง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

  2. หลักการและเหตุผล เนื่องจากการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมซึ่งแต่เดิมเคยจำกัด อยู่เฉพาะในระหว่างเครือญาติและผู้รู้จักคุ้นเคยกันนั้น บัดนี้ได้แพร่ขยายออกไปสู่บุคคลภายนอกอื่นๆ ทั้งคนไทยและคนต่างด้าว จึงสมควรกำหนดเงื่อนไขและวิธีการในการรับเด็กเป็น บุตรบุญธรรมไว้ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญและป้องกันการค้าเด็กในรูปของการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมและเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของบิดามารดา ที่แท้จริงของเด็ก ตลอดจนประโยชน์ของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

  3. คำนิยาม (มาตรา ๔) • - เด็ก หมายความว่าผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ซึ่งก็คือบุคคลซึ่งอายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์ • - องค์การสวัสดิภาพเด็ก หมายความว่า มูลนิธิ สมาคม หรือองค์การที่ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายโดยมีวัตถุประสงค์ในการสงเคราะห์ และปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม • - ศาล หมายความว่า ศาลคดีเด็กและเยาวชนตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน หรือศาลจังหวัดในท้องที่ที่ไม่มีศาลคดีเด็กและเยาวชน

  4. - พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ - อธิบดี หมายความว่า อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ - คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการการรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรม - รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

  5. สาระสำคัญ - เพื่อคุ้มครองเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม การขอรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรม การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และการเลิกรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้มีการเตรียมความพร้อมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแก่ผู้ขอรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรมและเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด(มาตรา ๕)

  6. - การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในต่างประเทศซึ่งเป็นประเทศ ที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเด็กและความร่วมมือ ในการรับรองบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ โดยหน่วยงานซึ่งมีอำนาจของประเทศดังกล่าวรับรองว่าได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาข้างต้นแล้ว และการรับบุตรบุญธรรมนั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้ถือว่าเป็นการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศรายชื่อประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเด็กและความร่วมมือในการรับรอง บุตรบุญธรรมระหว่างประเทศในราชกิจจานุเบกษา(มาตรา ๕/๑)

  7. - ห้ามมิให้บุคคลใดนอกจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ส่วนราชการที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมอบหมาย หรือองค์การสวัสดิภาพเด็กที่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีดำเนินการเพื่อให้มีการ รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม(มาตรา ๖)

  8. ห้ามมิให้ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด หรือเป็นคนกลางกระทำการชักจูง โดยให้ค่าจ้างหรือค่าตอบแทนหรือประโยชน์อย่างอื่นที่มิควรได้ เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (มาตรา ๑๘/๑) ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวังโทษจำคุกตั้งแต่ ๔ ปี ถึง ๑๐ ปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  9. คณะกรรมการ - ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม” ประกอบด้วย อธิบดีเป็นประธานกรรมการผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทน กรมการปกครอง ผู้แทนกรมตำรวจ ผู้แทนกรมอัยการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินแปดคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ (มาตรา ๙)

  10. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (มาตรา ๑๔) ออกระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรม เพื่อให้ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม องค์การสวัสดิภาพเด็กที่ได้รับใบอนุญาต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติ (๒) พิจารณา และมีมติในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (๓) พิจารณาเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (๔) ให้คำแนะนำในเรื่องการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแก่ศูนย์อำนวยการ รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม องค์การสวัสดิภาพเด็กที่ได้รับใบอนุญาต และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

  11. ในการปฏิบัติงาน คณะกรรมการได้ตั้งคณะอนุกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมประจำจังหวัด ประกอบด้วย - ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าฯ ได้มอบหมาย เป็นประธานอนุกรรมการ - ปลัดจังหวัดหรือผู้แทน อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวหรือผู้แทน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหรือผู้แทน ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์หรือหัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว เป็นอนุกรรมการ - สตรีผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้คัดเลือก จำนวนไม่เกิน ๒ คน เป็นอนุกรรมการ

  12. - โดยมีพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์จังหวัด - หัวหน้ากลุ่มสวัสดิการสังคมและพิทักษ์คุ้มครองสิทธิ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นอนุกรรมและผู้ช่วยเลขานุการ - และเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

  13. คณะอนุกรรมการดังกล่าว มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี โดยมีอำนาจหน้าที่พิจารณา และมีมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติ หรือขอทราบผล การทดลองเลี้ยงดูเพิ่มเติม ก่อนพิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมไปจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีดังต่อไปนี้ ๑. ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเป็นคนสัญชาติไทยที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ซึ่งขอรับเด็กสัญชาติไทย ที่มีบิดามารดา หรือบิดาหรือมารดา เป็นผู้ให้ความยินยอม หรือที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอม และได้ผ่านการทำลองเลี้ยงดูครบกำหนดแล้ว ๒. ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเป็นคนสัญชาติไทยที่มีภูมิลำเนา ในประเทศไทย ซึ่งขอรับเด็กสัญชาติไทย ที่ได้รับการยกเว้นการทดลองเลี้ยงดู ในกรณีดังต่อไปนี้

  14. ๒.๑ ผู้ซึ่งเป็นพี่ร่วมบิดามารดา หรือพี่ร่วมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครองตามกฎหมายของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ๒.๒ ผู้ซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตทางฝ่ายบิดาของเด็กที่ผู้นั้นจะรับ เป็นบุตรบุญธรรม ได้แก่ ทวด ปู่ ย่า ลุง ป้า หรือ อาของเด็ก ในกรณีที่บิดามารดา ของเด็กไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันและบิดาของเด็กไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร ๒.๓ ผู้ซึ่งเป็นคู่สมรสของญาติสืบสายโลหิตทางฝ่ายบิดาหรือมารดา ของเด็ก ซึ่งคู่สมรสนี้ได้จดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน ในกรณีที่ญาติสืบสายโลหิตดังกล่าวได้ยื่นคำขอรับเด็กนั้นเป็นบุตรบุญธรรมด้วย ๒.๔ ผู้ซึ่งขอรับบุตร หรือบุตรบุญธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็น บุตรบุญธรรมและคู่สมรสนี้ได้จดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือ จดทะเบียนสมรสน้อยกว่าหกเดือน แต่เด็กเคยอยู่ร่วมกับคู่สมรสดังกล่าวมาแล้ว ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

  15. ๒.๕ ผู้อุปการะเลี้ยงดูเด็กที่ถูกทอดทิ้งไว้กับตน โดยได้อุปการะเลี้ยงดูเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และศาลได้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของบิดามารดา ในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

  16. - การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุม เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการ คนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด (มาตรา ๑๒)

  17. หลักเกณฑ์การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหลักเกณฑ์การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมนั้นจะต้องมีการทดลองเลี้ยงดูและ ได้รับอนุมัติให้รับเป็นบุตรบุญธรรม แต่ถ้าผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เป็นพี่ร่วมบิดามารดา พี่ร่วมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครองของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม หรือเป็นบุคคลอื่น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงไม่ต้องทดลองเลี้ยงดูก่อน (มาตรา ๑๙)

  18. - ผู้ที่ประสงค์จะขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม จะต้องยื่นคำขอพร้อมทั้งหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย โดยในกรณี ที่ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครหรือต่างประเทศให้ยื่นต่ออธิบดีส่วนในจังหวัดอื่นให้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด (มาตรา ๒๐) - เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ จะสอบสวนคุณสมบัติและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ และความเหมาะสมของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม บุคคลผู้มีอำนาจ ให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมและเด็กที่จะเป็นบุตร บุญธรรม ดังนี้

  19. ข้อ ๑ กรณีผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมให้สอบคุณสมบัติ และข้อเท็จจริง ดังนี้ (๑) ประวัติและข้อมูลเกี่ยวกับพื้นฐานครอบครัว (๒) สภาพที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม (๓) การประกอบอาชีพและสถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัว (๔) สภาพจิตตามกระบวนการทดสอบทางจิตวิทยา (๕) ประวัติทางอาชญากรรม (๖) ทัศนคติและความเหมาะสมในการอุปการะเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่เด็ก (๗) เหตุผลในการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

  20. ข้อ ๒ กรณีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมให้สอบคุณสมบัติ และข้อเท็จจริง ดังนี้ (๑) ประวัติและข้อมูลเกี่ยวกับพื้นฐานครอบครัว (๒) เหตุผลในการมอบเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรม ยกเว้น กรณีผู้มีอำนาจให้ความยินยอม คือ ศาล, กรม, และองค์การสวัสดิภาพเด็ก

  21. ข้อ ๓ กรณีเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ให้สอบคุณสมบัติ และข้อเท็จจริง ดังนี้ (๑) ประวัติและข้อมูลเกี่ยวกับพื้นฐานครอบครัว (๒) สภาพความเป็นอยู่และการได้รับการอุปการะเลี้ยงดู (๓) ความประสงค์และความเห็นในการที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่เด็กจะเป็นบุตรบุญธรรมไม่สามารถให้ถ้อยคำได้ ให้สอบคุณสมบัติและข้อเท็จจริงตาม (๑) และ (๒) จากบุคคลตอไปนี้ - ผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ได้แก่ บิดา มารดา หรือ - ผู้อุปการะเลี้ยงดูเด็ก เชน ปู่ย่า - ตายาย

  22. การพิจารณาว่าควรจะให้ผู้ขอรับเด็กไปทดลองเลี้ยงดูต่อไปหรือไม่ (มาตรา ๒๑) ซึ่งจะแยกเป็น ๒ กรณี ดังนี้ (๑)ในกรณีที่อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งว่าไม่ควรให้นำเด็ก ไปทดลองเลี้ยงดู ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยทำเป็นคำร้องยื่น ต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนหรือศาลจังหวัดในท้องที่ ที่ไม่มีศาลคดีเด็กและเยาวชน ภายในหกสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง โดยคำสั่งของศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด (มาตรา ๒๒) (๒) ในกรณีที่อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้ทดลองเลี้ยงดูเด็กได้ ให้ผู้ขอรับเด็กรับมอบเด็กที่จะรับเป็นบุตรบุญธรรมไปทดลองเลี้ยงดูได้ และในการทดลองเลี้ยงดูนั้นต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการทดลองเลี้ยงดูให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา ๒๓)

  23. ในระหว่างการทดลองเลี้ยงดูอาจมีกรณีที่จะทำให้เลิกการทดลอง เลี้ยงดูนั้นได้ถ้า (๑)ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมถอนคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ให้ผู้ขอรับเด็กมอบเด็กคืนแก่บุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ การมอบคืนต้องกระทำโดยไม่ชักช้า เป็นไปตามกำหนดระยะเวลาตามคำสั่งของอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยคำนึงถึงระยะทาง ความสะดวกในการนำเด็กไปมอบ และสวัสดิภาพของเด็ก (มาตรา ๒๔)

  24. (๒) บิดาหรือมารดาไม่ว่าจะเป็นผู้ให้ความยินยอมหรือไม่ ขอให้เลิก คำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม โดยยื่นคำขอต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ถ้าอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ยกเลิกคำขอรับเด็ก ให้ผู้ขอรับเด็ก มอบเด็กคืนบิดามารดาซึ่งเป็นผู้ขอยกเลิก แต่ถ้าอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าการขอยกเลิกคำขอรับเด็กเป็นบุตร บุญธรรมเป็นปฏิปักษ์ ต่อสวัสดิภาพของเด็ก หรือบิดาหรือมารดาที่เป็นผู้ขอยกเลิกนั้นได้ถูกศาล สั่งถอนอำนาจปกครองแล้ว ให้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมทดลองเลี้ยงดูเด็กต่อไป ผู้ยื่นคำขอดังกล่าวอาจอุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งดังกล่าว คำสั่งของศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด (มาตรา ๒๕)

  25. (๓) พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ว่าผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมไม่เหมาะสมที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เมื่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้เลิกการทดลองเลี้ยงดู ให้ผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมอบเด็กแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ผู้ขอรับเด็กเป็น บุตรบุญธรรมอาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าวได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด (มาตรา ๒๖)

  26. เมื่อได้มีการทดลองเลี้ยงดูครบกำหนดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ขอรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรมไม่เหมาะสมที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และคณะกรรมการ สั่งไม่อนุมัติให้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี สั่งให้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมอบเด็กนั้นคืนแก่บุคคล ผู้มีอำนาจให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต้องมอบเด็กคืน โดยผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอาจอุทธรณ์คำสั่ง ของคณะกรรมการโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว และในระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้ขอรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรมอาจร้องต่อศาลให้เด็กอยู่ในความเลี้ยงดูของตนก็ได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด (มาตรา ๒๘)

  27. แต่ถ้าเป็นกรณีที่คณะกรรมการอนุมัติให้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหรือพิจารณา อุทธรณ์ของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วศาลมีคำสั่งอนุญาตให้มีการ รับบุตรบุญธรรมได้แล้ว หากผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมไม่ดำเนินการ จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมภายในกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ ได้รับแจ้งคำอนุมัติของคณะกรรมการ หรือนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และให้มอบเด็กคืนแก่บุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๒๙)

  28. ในกรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่ทำให้มิอาจดำเนินการจดทะเบียนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งได้ ให้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมยื่นคำร้องแสดงพฤติการณ์พิเศษต่อคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่คณะกรรมการกำหนด และคณะกรรมการอาจพิจารณาขยายระยะเวลา การดำเนินการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมออกไปอีกไม่เกิน สามเดือนนับแต่วันที่พฤติการณ์พิเศษนั้นได้สิ้นสุดลง(มาตรา ๒๙ วรรค๒)

  29. ในกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรม หากบุตรบุญธรรมนั้นยังเป็นเด็ก ก่อนที่จะมีการขอจดทะเบียนเลิกรับ บุตรบุญธรรมหรือก่อนที่จะยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา ๑๕๙๘/๓๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องแจ้ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาความสัมพันธ์ในเบื้องต้น และจะต้องเข้าสู่กระบวนการให้คำปรึกษาเยียวยาก่อน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา ๓๑/๑)

  30. ในกรณีที่มีการเลิกรับบุตรบุญธรรม หากบุตรบุญธรรมนั้นยังเป็นเด็ก และเด็กนั้นเคยอยู่ในความปกครองของสถานสงเคราะห์ในขณะที่มีการ จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหรือไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ที่จะดูแลเด็กนั้นต่อไป ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเพื่อจัดให้เด็กได้รับ การสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก โดยผู้รับบุตรบุญธรรมที่เลิกรับบุตรบุญธรรมนั้นยังคงมีหน้าที่ในการ เสียค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาตามสมควรและ ตามความสามารถของตนจนกว่าเด็กนั้นจะบรรลุนิติภาวะและจำต้อง เสียค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูต่อไปหากเด็กนั้นเป็นคนพิการหรือ ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้แม้ว่าจะบรรลุนิติภาวะแล้ว

  31. เว้นแต่ในกรณีที่บุตรบุญธรรมกระทำการต้องด้วยมาตรา ๑๕๙๘/๓๓ (๑) (๒) (๓) หรือ(๖) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือมี ผู้รับบุตรบุญธรรมผู้อื่นรับอุปการะเลี้ยงดู บุตรบุญธรรมผู้นั้นไม่มีสิทธิ ได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามความในมาตรานี้ ทั้งนี้ ในการเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการและพนักงานอัยการจะฟ้องคดีแทนก็ได้(มาตรา๓๑/๑ วรรค ๒)

  32. อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยอธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๗ มีอำนาจดังต่อไปนี้ (มาตรา ๑๖) (๑) เข้าไปในสถานที่อยู่อาศัยของบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้ขอรับ เด็กเป็นบุตรบุญธรรม สถานสงเคราะห์ สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานอันเป็นที่อยู่ของเด็ก หรือสำนักงานขององค์การสวัสดิภาพเด็ก ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เพื่อพบ สอบถาม สืบเสาะข้อเท็จจริง รวบรวมเอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่และการเลี้ยงดูเด็ก หรือตรวจตราการปฏิบัติงานขององค์การสวัสดิภาพเด็ก

  33. กับมีอำนาจตรวจค้นสถานที่ดังกล่าวเพื่อพบตัวเด็กหรือนำเด็กกลับคืน แต่การตรวจค้นเช่นว่านี้จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด และได้แสดงหนังสือนั้นให้เจ้าของ หรือผู้รักษาสถานที่ซึ่งจะค้นตรวจดูแล้ว ถ้าอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดค้นด้วยตนเอง ไม่ต้องมีหนังสืออนุญาตให้ค้น (๒) สั่งเป็นหนังสือให้บิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้ขอรับเด็กเป็น บุตรบุญธรรม หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การสวัสดิภาพเด็ก ตลอดจนบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่จำเป็นมาให้หรือ ให้นำเด็กมาพบหรือมอบเด็กคืน

  34. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคดีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคดี ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล ให้ศาล ส่งสำเนาคำร้องและแจ้งวันนั่งพิจารณาให้อธิบดี ประธานกรรมการหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ (มาตรา ๓๐) ซึ่งการพิจารณาคดีและการอ่านคำสั่งศาล ให้กระทำโดยลับและ ให้เฉพาะบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมและทนายความ ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมและทนายความ พนักงานศาล พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ ขององค์การสวัสดิภาพเด็กที่เกี่ยวข้อง พยาน ผู้เชี่ยวชาญและล่าม บุคคล ที่ศาลเรียกให้มาแถลงข้อเท็จจริง และบุคคลอื่นที่ศาลเห็นสมควรเท่านั้น ที่อยู่ในห้องพิจารณาได้ (มาตรา ๓๑) 

  35. บทกำหนดโทษ - พระราชบัญญัตินี้ได้มีการกำหนดโทษแก่ผู้ที่ดำเนินการเรื่อง การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ที่พาหรือจัดส่งเด็กออกไป นอกราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์ให้มีการรับ เด็กเป็นบุตรบุญธรรมไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง - ผู้ที่ขัดขวางการดำเนินงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ - ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมฝ่าฝืนไม่ส่งมอบเด็กคืน

  36. - ผู้ที่โฆษณารูป ชื่อ หรือข้อความใดซึ่งจะทำให้รู้จักตัวเด็ก ที่จะเป็นหรือเป็นบุตรบุญธรรม บิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กที่จะเป็นหรือเป็นบุตรบุญธรรม หรือผู้ขอรับหรือรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมและห้ามมิให้โฆษณาคำสั่งศาลตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณี ที่จำเป็นต้องกระทำเพื่อประโยชน์ของทางราชการไว้ด้วย - รวมถึงผู้กระทำผิดซึ่งเป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นก็จะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย

  37. กฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒

  38. มีทั้งหมด ๔ หมวด ๒๗ ข้อ บังคับใช้เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓ • หมวด ๑ องค์การสวัสดิภาพเด็ก • หมวด ๒ การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในประเทศไทย • หมวด ๓ การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในต่างประเทศ • หมวด ๔ การทดลองเลี้ยงดูเด็ก

  39. สาระสำคัญ • หมวด ๑ องค์การสวัสดิภาพเด็ก • องค์การสวัสดิภาพเด็กที่ประสงค์จะดำเนินการเพื่อให้มี การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่ออธิบดี ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ตามแบบ บธ. ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนด (ข้อ๒) • โดยจะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ขององค์การสวัสดิภาพเด็กดังต่อไปนี้ (ข้อ๓)

  40. (๑) ผู้รับผิดชอบบริหารงานประจำ ซึ่งมีประสบการณ์ในงานสงเคราะห์เด็กและครอบครัวมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และ (๒) เจ้าหน้าที่สวัสดิภาพเด็ก ซึ่งมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จิตวิทยา หรือสังคมวิทยา ทำหน้าที่พิจารณาประเมินความเหมาะสมของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมและผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

  41. ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและหลักฐานดังกล่าว แล้วส่งคำขอรับใบอนุญาต เอกสารและหลักฐานพร้อมทั้งความเห็นไปให้อธิบดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาตพร้อมเอกสารและหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้อง (ข้อ๔) • เมื่ออธิบดีพิจารณาเห็นสมควรอนุญาต ให้ออกใบอนุญาตให้องค์การสวัสดิภาพเด็กโดยใบอนุญาตให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาตซึ่งในการต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่ออธิบดีก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน (ข้อ๕) • ใบอนุญาตต้องแสดงไว้ ณ ที่เปิดเผยให้เห็นได้ง่ายภายในสำนักงานขององค์การสวัสดิภาพเด็ก (ข้อ๘)

  42. องค์การสวัสดิภาพเด็กใดย้ายสำนักงานหรือเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบบริหารงานประจำ ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้อธิบดีทราบภายในสิบห้าวันนับแต่ วันย้ายสำนักงานหรือเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบบริหารงานประจำ (ข้อ๙) • และหากเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์แผนการดำเนินงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์เด็กและการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต้องแจ้งเป็นหนังสือพร้อมด้วยเอกสาหรือหลักฐานให้อธิบดีทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันเปลี่ยนแปลง (ข้อ๑๐)

  43. หมวด ๒ การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในประเทศไทย • - กรณีผู้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนา ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขอต่ออธิบดี ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็น บุตรบุญธรรม • - กรณีที่ผู้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ณ สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอ โดยให้ยื่นพร้อมหนังสือแสดง ความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็น บุตรบุญธรรม และต้องแนบเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย (ข้อ ๑๑)

  44. -กรณีที่ผู้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนา ในต่างประเทศซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยและมีระยะเวลาสำหรับการทดลองเลี้ยงดูในประเทศไทย ไม่น้อยกว่าหกเดือน ให้ยื่นคำขอต่ออธิบดี ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม โดยให้ยื่นพร้อมเอกสารตามที่กำหนดเพื่อประกอบ การพิจารณา (ข้อ๑๒) • โดยผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจะยื่นคำขอรับเด็กเป็น บุตรบุญธรรมได้ครั้งละหนึ่งคน เว้นแต่ผู้ขอฯ เป็นทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้าหรืออาของเด็ก หรือเด็กนั้นเป็นบุตรหรือบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม หรือเด็กนั้นเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน และต้องได้รับอนุมัติให้จดทะเบียน รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามคำขอครั้งก่อนแล้ว (ข้อ๑๓)

  45. พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบคุณสมบัติและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่และความเหมาะสมของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม บุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมและเด็ก ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเสนอต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณีเพื่อมีคำสั่งว่าสมควรจะให้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมนำเด็กไปทดลองเลี้ยงดูหรือไม่

  46. ในกรณีที่เด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้ถูกทอดทิ้งและ อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์หรือมิได้ถูกทอดทิ้งแต่อยู่ใน ความอุปการะเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์เด็กดังกล่าว โดยบิดาและมารดาหรือบิดาหรือมารดาในกรณีที่มารดาหรือบิดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง ทำหนังสือมอบอำนาจให้สถานสงเคราะห์เด็กดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจให้ความยินยอมให้การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแทนตน โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอต่ออธิบดีไม่ว่าจะได้มีการยื่น คำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ณ ท้องที่ใด (ข้อ๑๔)

  47. หมวด ๓ การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในต่างประเทศ • - กรณีผู้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ • ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย ให้ยื่นคำขอต่ออธิบดี ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดซึ่งต้องได้รับการรับรองจากสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทย ในประเทศนั้น และเอกสารตามที่กำหนด • การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งอาจยื่นผ่านสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา หรือยื่นผ่านหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือได้รับมอบหมายจากรัฐบาลของประเทศที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา หรือองค์การสวัสดิภาพเด็กของประเทศนั้นซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศดังกล่าวให้ดำเนินการเพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในต่างประเทศก็ได้ (ข้อ ๑๕)

  48. -กรณีผู้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ -กรณีผู้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ • ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย แต่ไปมีถิ่นที่อยู่ในประเทศอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย และจะมีระยะเวลาสำหรับการทดลองเลี้ยงดูในประเทศที่มีถิ่นที่อยู่นั้นไม่น้อยกว่าหกเดือน ให้ยื่นคำขอต่ออธิบดี ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ตามแบบ บธ. ๕ ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานซึ่งต้องได้รับการรับรองจากสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทย ในประเทศที่มีถิ่นที่อยู่นั้น และเอกสาร ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๘ ด้วย

  49. การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งอาจยื่นผ่านสถานทูตไทยหรือ สถานกงสุลไทยในประเทศที่ผู้นั้นมีถิ่นที่อยู่หรือยื่นผ่านหน่วยงาน ที่รับผิดชอบหรือได้รับมอบหมายจากรัฐบาลของประเทศที่ผู้นั้นมีถิ่นที่อยู่หรือองค์การสวัสดิภาพเด็กของประเทศนั้นซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศดังกล่าวให้ดำเนินการ เพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในต่างประเทศ ก็ได้ (ข้อ๑๖) • การยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามข้อ ๑๕ ต้องมีเอกสาร • ตามที่กำหนดจากหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือได้รับมอบหมายจากรัฐบาลของประเทศที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาหรือองค์การสวัสดิภาพเด็กของประเทศนั้นซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศดังกล่าวให้ดำเนินการเพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในต่างประเทศ (ข้อ๑๗)

  50. การยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามข้อ ๑๖ นอกจากต้องมี เอกสารตามที่ระบุในข้อ ๑๗ (๑)(๒) และ (๓) แล้วยังต้องมีหนังสือรับรองถิ่น ที่อยู่ของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมและหนังสือรับรองว่าผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีระยะเวลาการทดลองเลี้ยงดูเด็กในประเทศนั้นไม่น้อยกว่า หกเดือนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศที่ผู้นั้นมีถิ่นที่อยู่ (ข้อ๑๘) • พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำความเห็นในการตรวจสอบเสนอต่ออธิบดีเพื่อมีคำสั่งว่าจะสมควรให้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมนำเด็กไปทดลองเลี้ยงดูหรือไม่ • เมื่ออธิบดีมีคำสั่งให้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมนำเด็กไปทดลองเลี้ยงดูแล้วก็จะเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ขอรับเด็กเป็น บุตรบุญธรรมพาหรือจัดส่งเด็กออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อวัตถุประสงค์ให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ข้อ๒๐)

More Related