260 likes | 429 Views
การเปลี่ยนจากระบบปีฐานสู่ Chain Volume Measure. ปัญหาของการประมวลผลแบบ fixed-weighted volume measures ในปัจจุบันรายได้ประชาชาติ ณ ราคาคงที่ใช้ดัชนีปริมาณที่มีตัวถ่วงน้ำหนักคงที่ (fixed-weighted volume index) แบบ Laspeyres index โดยใช้ราคาในปี พ . ศ .2531 ซึ่งเป็นปีฐานที่เก่ามาก
E N D
การเปลี่ยนจากระบบปีฐานสู่ Chain Volume Measure • ปัญหาของการประมวลผลแบบ fixed-weighted volume measures • ในปัจจุบันรายได้ประชาชาติ ณ ราคาคงที่ใช้ดัชนีปริมาณที่มีตัวถ่วงน้ำหนักคงที่ (fixed-weighted volume index) แบบ Laspeyres index โดยใช้ราคาในปี พ.ศ.2531 ซึ่งเป็นปีฐานที่เก่ามาก • อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP growth rate) ที่คำนวณได้จากการใช้ราคาปีฐานที่ “เก่า”เกินไปมักจะมีค่าที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น เพราะจะให้น้ำหนักมากเกินไป (น้อยเกินไป) แก่สินค้าที่มีราคาถูกลง (แพงขึ้น) และที่มีปริมาณมากขึ้น (ลดลง) [“substitution bias”]
การเปลี่ยนจากระบบปีฐานสู่ Chain Volume Measure • ปัญหาของการประมวลผลแบบ fixed-weighted volume measures • การใช้ปีฐานที่ย้อนหลังไปมากๆ การปรับเปลี่ยนปีฐานใหม่แต่ละครั้งจะทำให้ต้องปรับลดผลการคำนวณอัตราการเติบโตในอดีตลงจากเดิมในสัดส่วนที่มากจนอาจไม่เป็นที่ยอมรับได้ • ผลการคำนวณอัตราการเติบโตแบบ Laspeyres index มักจะให้ค่าที่สูงกว่าผลการคำนวณแบบ Paasche index ความแตกต่างระหว่างผลการคำนวณ 2 แบบนี้ เรียกว่า “Laspeyres–Paasche gap”
Laspeyres - Passche Volume Index Gap ปีฐาน 1988 ปีฐาน 2005 Laspeyres เส้นที่ควรจะเป็น Gap Passche
การเปลี่ยนจากระบบปีฐานสู่ Chain Volume Measure • ปัญหาของการประมวลผลแบบ fixed-weighted volume measures • ผลการคำนวณอัตราการเติบโตแบบ Laspeyres index มักให้ค่าที่สูงกว่าอัตราการเติบโตที่แท้จริง (true growth) ในทางตรงกันข้ามผลการคำนวณแบบ Paasche index มักให้ค่าที่ต่ำกว่าอัตราการเติบโตที่แท้จริงและการคำนวณแบบ Fisher จะให้ค่าที่ใกล้เคียงกับอัตราการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงมากที่สุด
chained volume measures ดีกว่า fixed-weighted volume measures • ดัชนีแบบ chained (หรือดัชนีลูกโซ่) ใช้ชุดราคาที่เปลี่ยนไปในทุกช่วงเวลาของการคำนวณ โดยการเชื่อมโยงดัชนีสำหรับช่วงเวลาต่างๆ ที่อยู่ติดกัน เช่น CI5,1 = DI5,4 x DI4,3 x DI3,2 x DI2,1 • โดย CIj,i คือดัชนีลูกโซ่สำหรับปีที่ j เทียบกับปีที่ i • DIj,i คือ ดัชนีโดยตรง (direct index) สำหรับปีที่ j เทียบ • กับปีที่ i
แนวคิดเกี่ยวกับปีฐาน • chained volume measures ดีกว่า fixed-weighted volume measures • ดัชนีแบบ chained มีคุณสมบัติที่ดีกว่าดัชนีแบบ fixed–weighted โดย คำนวณอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจได้แม่นยำกว่า เพราะมีการเพิ่มข้อมูลราคาที่ทันสมัยเพื่อใช้เป็นน้ำหนักในการคำนวณทุกๆ ปีทำให้ลด L-P gap ลง • ดัชนีแบบ chained สามารถเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม/สินค้าชนิดใหม่ๆ เข้าไปได้ตลอดช่วงอนุกรม • แต่ดัชนีแบบ chained ก็มีข้อบกพร่องหนึ่ง คือ ค่าของส่วนประกอบ (components) รวมกันจะไม่จำเป็นต้องเท่ากับค่าของยอดรวม (aggregates) เรียกว่า non–additivity
พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher คำนวณรายได้ประชาชาติ ณ ราคาคงที่ชุดใหม่ ปรับค่าด้วยดัชนีปริมาณต่อไปนี้ • Fixed-weight Index ซึ่งใช้ราคาของปีต่างๆ เป็นตัวถ่วงน้ำหนัก • Annual Chain Index แบบ Laspeyres • Annual Chain Index แบบ Paasche • Annual Chain Index แบบ Fisher คำนวณอัตราการเติบโตของ GDP และส่วนประกอบสำคัญ ทั้ง Production Approach (สาขาการผลิต 16 สาขา)และ Expenditure Approach ( Private consumption expenditure, Government consumption expenditure และGross fixed capital formation)
พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher เพื่อหาคำตอบว่า • การเปลี่ยนปีฐาน ทำให้ Growth rate ในการคำนวณด้วย Fixed-weighted Index เปลี่ยนไปอย่างไร • Annual chain index ลด L-P gap ได้หรือไม่ เมื่อเทียบกับ Fixed-weighted Index • Fixed-weighted index แตกต่างจาก Annual chain index แบบ Fisher หรือไม่ • Annual chain index แบบ Laspeyres แตกต่างจาก Annual chain index แบบ Fisher หรือไม่
พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher • การเปลี่ยนปีฐาน ทำให้ Growth rate ในการคำนวณด้วย Fixed-weighted Index เปลี่ยนไปอย่างไร การใช้ปีฐานที่ทันสมัยขึ้น มีแนวโน้มที่จะทำให้ผลการคำนวณ Growth rate มีค่าลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง GDP รวมและสาขาการผลิตสำคัญ
พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher • Annual chain index ลด L-P gap ได้หรือไม่ เมื่อเทียบกับ Fixed-weighted Index การใช้ Annual chain index สามารถลด L-P gap ได้เมื่อเทียบกับ Fixed-weighted Index สำหรับ GDP และ สาขาการผลิตส่วนใหญ่ ยกเว้น สาขาเกษตรกรรม สาขาขนส่ง และ สาขาการเงิน Expenditure Approach ผลการคำนวณไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน ซึ่งเป็นเพราะข้อมูล Inventory Change มีค่าเป็นลบค่อนข้างมากในปี 2540-2542 บิดเบือนการคำนวณดัชนีปริมาณ แต่เมื่อตัดออกก็ให้ผลการคำนวณในทิศทางเดียวกันกับ Production Approach
พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher • Fixed-weighted index และ Annual chain index แบบ Laspeyres แตกต่างจาก Annual chain index แบบ Fisher หรือไม่
พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher • Fixed-weighted index และ Annual chain index แบบ Laspeyres แตกต่างจาก Annual chain index แบบ Fisher หรือไม่
พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher • ค่าความแตกต่างระหว่างผลรวมของส่วนประกอบของ GDP และ GDP ที่คำนวณได้โดยตรงโดยใช้ Annual Chained Index
การปรับปีฐานสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทยการปรับปีฐานสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทย ปีฐาน พ.ศ. 2499:ชุดอนุกรม พ.ศ. 2494-2506 เป็นปีฐานแรกของประเทศไทยที่ใช้ในการคำนวณรายได้ประชาชาติ ณ ราคาคงที่ ปีฐาน พ.ศ. 2505:ชุดอนุกรม พ.ศ. 2503-2518 เป็นชุดแรกที่มีการนำเสนอค่าสถิติตามระบบมาตรฐาน (1953 SNA) ปีฐาน พ.ศ. 2515:ชุดอนุกรม พ.ศ. 2513-2533 เป็นชุดแรกที่มีการประมวลผลทางด้านรายได้ ทำให้มีการคำนวณครบถ้วนทั้ง 3 ด้าน ปีฐาน พ.ศ. 2531:เป็นปีฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซี่งมีการเพิ่มรายการคำนวณใหม่ ปรับปรุงวิธีการคำนวณ และเปลี่ยนแปลงแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ รวมทั้งปีฐานที่ห่างจากเดิมมาก ทำให้รายได้ประชาชาติ ณ ราคาคงที่สูงขึ้นถึงปีละ 864,300 ล้านบาท แต่ไม่ได้ทำให้ทิศทางและโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ
แนวทางการคัดเลือกปีฐานแนวทางการคัดเลือกปีฐาน ปีที่เป็นปัจจุบันหรือใกล้เคียงปีปัจจุบัน ปีที่ภาวะเศรษฐกิจปกติ ปีเริ่มต้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่มีข้อมูลการสำมะโน สำรวจหรือการใช้ระบบข้อมูลใหม่ ปีที่เป็นปีฐานของดัชนีราคาผู้ผลิตหรือดัชนีราคาผู้บริโภค ปีที่มีการจัดทำตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต
การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด น่าจะพิจารณาเฉพาะ 5 ปีล่าสุด คือ ปี พ.ศ. 2544-2548 • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ • ค่อนข้างต่ำในปี 2544 (2.2%) • อยู่ในเกณฑ์ปกติในปี 2545-2547 (ระหว่าง 4%-7%) • ยังไม่แน่นอนสำหรับปี 2548 (คาดว่า 3%-4%)
การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ อัตราเงินเฟ้อ (ทั้ง headline และ core) • ต่ำตามปกติในปี 2544-2546 (ไม่เกิน 2%) • เริ่มสูงขึ้นบ้างในปี 2547 (headline inflation =2.7%) • สูงเกินปกติในปี 2548 (headline inflation ประมาณ 4%)
การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ ฐานะทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ • เกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดทุกปี ยกเว้นปี 2548 • มูลค่าการนำเข้าและส่งออกลดลงในปี 2544 • เงินทุนสุทธิไหลออกทุกปียกเว้นปี 2547 และ 2548 • บัญชีชำระเงินระหว่างประเทศ (Balance of Payment) เกินดุลทุกปี (ต่ำสุดในปี 2546 และสูงสุดในปี 2547) • ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง • หนี้ต่างประเทศคงค้างลดลงอย่างต่อเนื่อง
การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ นโยบายการคลัง • งบประมาณขาดดุลในปี 2544-2545 • งบประมาณเกินดุลเล็กน้อยในปี 2546-2547 • งบประมาณขาดดุลเล็กน้อยในปี 2548 • หนี้สาธารณะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ลดลงเมื่อเทียบกับ GDP
การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ การเงิน • ปริมาณเงินขยายตัวไม่มาก • สภาพคล่องสูง • อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ มีแนวโน้มลดลง แต่เพิ่มขึ้นในปี 2548 • เงินบาทมีแนวโน้มแข็งขึ้น เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีเริ่มต้นของแผนพัฒนาฯ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 : 2545-2549 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 : 2550-2554
การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่มีข้อมูลสำมะโน/สำรวจ หรือการใช้ข้อมูลระบบใหม่
การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่เป็นปีฐานของดัชนีราคาฯ ปีฐานของดัชนีราคาผู้บริโภค : 2541 และ 2545 ปีฐานของดัชนีราคาผู้ผลิต : 2543
การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่มีการจัดทำข้อมูลตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต ปีล่าสุด คือ 2543 • ปีที่ลงท้ายด้ยเลขศูนย์ หรือเลขห้า (นับตาม ค.ศ.) ค.ศ. 2005 (พ.ศ.2548)
การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • สรุป ปี พ.ศ. 2545 สอดคล้องกับหลักเกณฑ์มากที่สุด • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะค่อนข้างปกติ • ปีเริ่มต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 • ปีที่มีข้อมูลสำมะโน/สำรวจ เกือบทุกสาขา (เกษตร อุตสาหกรรมการผลิต การค้าและบริการ) • ปีฐานของดัชนีราคาผู้บริโภค
แผนงานการปรับเปลี่ยนปีฐานแผนงานการปรับเปลี่ยนปีฐาน ระยะที่ 1: ในปี 2548 ศึกษาแนวทางการประมวลผล คัดเลือกปีฐานที่เหมาะสม ศึกษาและรวบรวมข้อมูลกิจกรรมใหม่ ศึกษาและปรับปรุงวิธีการคำนวณรายกาต่างๆ วางแนวทางระบบประมวลผลให้มีประสิทธิภาพ ระยะที่ 2: ในปี 2549 ประมวลผลรายได้ประชาชาติปีฐานให้เสร็จสมบูรณ์เป็นเบื้องต้น ระยะที่ 3: ในปี 2550 จัดทำสมดุลระหว่างรายได้ประชาชาติปีฐานใหม่ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการผลิต ด้านรายจ่าย และด้านรายได้ และจัดสัมมนาเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ