630 likes | 944 Views
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริกาญจน์ จันทร์เรือง สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
E N D
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริกาญจน์ จันทร์เรือง สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • การจัดการศึกษาที่ยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยกระบวนการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตาม ศักยภาพ
บทบาทของครูผู้สอน (ผศ.อาภรณ์ ใจเที่ยง)
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน คือ วิธีการสอนที่ได้รับการจัดอย่างเป็นระบบ มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี / หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดม่งหมายของรูปแบบนั้น ๆ เทคนิคการสอน คือ กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือการดำเนิน การทางการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
รูปแบบหรือเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหรือเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) • การเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research–based Learning) • การเรียนแบบโครงงาน (Project-based Learning) • การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative/Collaborative Learning) • เทคนิคการใช้ Concept Mapping • เทคนิคหมวก 6 ใบ
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) • สร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษาด้วย • ลักษณะที่สำคัญของ PBL ก็คือ • ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning) • การเรียนรู้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) • ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ (guide) • ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ • ปัญหาที่นำมาใช้มีลักษณะคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ปัญหา 1 ปัญหาอาจมีคำตอบได้หลายคำตอบหรือแก้ไขปัญหาได้หลายทาง (illed- structure problem) • ผู้เรียนเป็นคนแก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning) • ประเมินผลจากสถานการณ์จริง โดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ (authentic assessment)
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(จาก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(จาก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(จาก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(จาก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
การเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research-based Learning) • ลักษณะใหญ่ ๆ ของการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ • การสอนโดยใช้วิธีวิจัยเป็นวิธีสอน • การสอนโดยผู้เรียนร่วมทำโครงการวิจัยกับอาจารย์หรือเป็นผู้ช่วยโครงการวิจัยของอาจารย์ • การสอนโดยผู้เรียนศึกษางานวิจัยของอาจารย์และของนักวิจัยชั้นนำในศาสตร์ที่ศึกษา • การสอนโดยใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน
รูปแบบของการจัดการศึกษาแบบ RBL(ผศ.ดร.กฤษดา กรุดทอง ) • RBL ที่ใช้ผลการวิจัยเป็นสาระการเรียนการสอน • เรียนรู้ผลการวิจัย/ใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน • เรียนรู้จากการศึกษางานวิจัย/การสังเคราะห์งานการวิจัย • RBL ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน • เรียนรู้วิชาวิจัย/วิธีทำวิจัย • เรียนรู้จากการทำวิจัย/รายงานเชิงวิจัย • เรียนรู้จากการทำวิจัย/ร่วมทำโครงการวิจัย • เรียนรู้จากการทำวิจัย/วิจัยขนาดเล็ก • เรียนรู้จากการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์
ตัวอย่างวิธีการจัดกิจกรรมการศึกษาแบบ RBL การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผลการวิจัย • วัตถุประสงค์ • ให้ผู้เรียนเรียนรู้เนื้อหาสาระของศาสตร์จากผลงานวิจัย • กิจกรรมการเรียนการสอน • ผู้สอนรวบรวมบทคัดย่องานวิจัย • ผู้สอนแนะนำวิธีการอ่าน การจับประเด็นสำคัญ • ให้นักศึกษาศึกษาสาระของศาสตร์จากบทคัดย่องานวิจัยและสรุปความรู้ • ให้นักศึกษาค้นคว้างานวิจัยเพิ่มเติม
ตัวอย่างวิธีการจัดกิจกรรมการศึกษาแบบ RBL • การประเมิน • ประเมินการแสวงหาแหล่งความรู้ • ประเมินความสามารถในการสรุปสังเคราะห์ความรู้ • ประเมินสาระความรู้ของศาสตร์
การเรียนรู้แบบโครงงานการเรียนรู้แบบโครงงาน • เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกัน ได้แก่ กระบวนการกลุ่ม การฝึกคิด การแก้ปัญหา การเน้นกระบวนการ การสอนแบบปริศนาความคิด และการสอนแบบร่วมกันคิด • เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลักการพัฒนาการคิดของบลูม (Bloom) ทั้ง 6 ขั้น กล่าวคือ ความรู้ความจำ (Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehension) การนำไปใช้ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) การประเมินค่า (Evaluation)
การเรียนรู้แบบโครงงานการเรียนรู้แบบโครงงาน
การเรียนรู้แบบโครงงานการเรียนรู้แบบโครงงาน
การเรียนรู้แบบโครงงานการเรียนรู้แบบโครงงาน
การเรียนรู้แบบโครงงานการเรียนรู้แบบโครงงาน
การเรียนรู้แบบโครงงานการเรียนรู้แบบโครงงาน • เทคนิคการตั้งคำถาม • สนใจเรื่องอะไรบ้าง (กำหนดเนื้อหา) • ทำไมถึงสนใจอยากเรียนเรื่องนี้ (แนวคิด) • ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้ในเรื่องนี้ (กำหนดวิธีการศึกษา/กิจกรรม) • จะไปศึกษาที่ใดบ้าง (กำหนดแหล่งความรู้/ข้อมูล) • ผลที่ผู้เรียนคาดว่าจะได้รับคืออะไร (สรุปความรู้/สมมติฐาน) • ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าผลงานดีหรือไม่ดี จะให้ใครเป็นผู้ประเมิน (กำหนดการวัดและประเมินผล) • เผยแพร่ผลงานให้ผู้อื่นรู้ได้อย่างไร (นำเสนอผลงาน รายงาน)
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) • การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) หรือนักวิชาการบางท่านได้แปล Collaborative Learning ว่าคือ การเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย และเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ทำให้สามารถปรับตัวอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข(สุภิดา ปุสุรินทร์คำ)
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) แนวคิดสำคัญ 6 ประการ (Kagan) • เป็นกลุ่ม (Team) ซึ่งเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ประมาณ 2-6 คน เปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน ภายในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่แตกต่างกัน • มีความตั้งใจ (Willing) เป็นความตั้งใจที่ร่วมมือในการเรียนและทำงาน โดยช่วยเหลือกันและกัน มีการยอมรับซึ่งกันและกัน • มีการจัดการ (Management) การจัดการเพื่อให้การทำงานกลุ่มเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ • มีทักษะ (Skills) เป็นทักษะทางสังคมรวมทั้งทักษะการสื่อความหมาย การช่วยสอนและการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งทักษะเหล่านี้จะช่วยให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) 5.มีหลักการสำคัญ 4 ประการ (Basic principles) เป็นตัวบ่งชี้ว่าเป็นการเรียนเป็นกลุ่มหรือการเรียนแบบร่วมมือ การเรียนแบบร่วมมือต้องมีหลักการ 4 ประการ ดังนี้ • การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเชิงบวก (Positive interdependence) การช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกันเพื่อสู้ความสำเร็จและตระหนักว่าความสำเร็จของแต่ละคนคือความสำเร็จของกลุ่ม • ความรับผิดชอบรายบุคคล (Individual accountability) ทุกคนในกลุ่มมีบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบในการค้นคว้าทำงาน สมาชิกทุกคนต้องเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนเหมือนกันจึงถือว่าเป็นความสำเร็จของกลุ่ม • ความเท่าเทียมกันในการมีส่วนร่วม (Equal participation) ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทำงาน ซึ่งทำได้โดยกำหนดบทบาทของแต่ละคน • การมีปฏิสัมพันธ์ไปพร้อม ๆ กัน (Simultaneous interaction) สมาชิกทุกคนจะทำงาน คิด อ่าน ฟัง ฯลฯ ไปพร้อม ๆ กัน
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) 6. มีเทคนิคหรือรูปแบบการจัดกิจกรรม (Structures) รูปแบบการจัดกิจกรรมหรือเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือเป็นสิ่งที่ใช้เป็นคำสั่งให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน เทคนิคต่าง ๆ จะต้องเลือกใช้ให้ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการแต่ละเทคนิคนั้นออกแบบได้เหมาะกับเป้าหมายที่ต่างกัน
เทคนิคที่ใช้ในการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคที่ใช้ในการเรียนแบบร่วมมือ • เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือมีอยู่ 2 แบบ • เทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดคาบเรียนหรือตั้งแต่ 1 คาบเรียนขึ้นไป • เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ในขั้น ตอนใดขั้นตอนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละคาบ คือ ใช้ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน โดยสอดแทรกในขั้นตอนใด ๆ ของการสอน ขั้นทบทวนหรือขั้นวัดผลงานของคาบเรียนใดคาบเรียนหนึ่ง โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ เป็นวิธีที่ใช้เวลาช่วงสั้นประมาณ 5-10 นาที จนถึง 1 คาบเรียน
เทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ (Student Teams Achievement Divisions หรือ STAD) • จัดสมาชิกในกลุ่ม 4 คน ระดับสติปัญญาต่างกัน เช่น เก่ง 1 คน ปานกลาง 2 คน และอ่อน 1 คน • ผู้สอนกำหนดบทเรียนและการทำงานของกลุ่มไว้แล้ว • ผู้สอนทำการสอนบทเรียนให้ผู้เรียนทั้งชั้น • กลุ่มทำงานตามที่กำหนด ผู้เรียนในกลุ่มช่วยเหลือกัน ผู้เรียนเก่งช่วยเหลือและตรวจงานของเพื่อนให้ถูกต้องก่อนนำส่งผู้สอน • ผู้เรียนต่างคนต่างทำข้อสอบแล้วนำคะแนนของทุกคนมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม • ผู้สอนจัดลำดับคะแนนของทุกกลุ่มปิดประกาศให้ทุกคนทราบ
เทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคการตรวจสอบเป็นกลุ่ม (Group Investigation) • สมาชิกในกลุ่มมี 2-6 คน • แต่ละกลุ่มเลือกหัวเรื่องที่ต้องการศึกษาค้นคว้า • สมาชิกในกลุ่มแบ่งงานกันทั้งกลุ่ม มีการวางแผน การดำเนินงานตามแผน การวิเคราะห์และสังเคราะห์งานที่ทำ • นำเสนอผลงาน หรือรายงานต่อหน้าชั้น • ให้รางวัลหรือคะแนนให้เป็นกลุ่ม
เทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคจิกซอ (Jigsaw) เป็นเทคนิคที่ใช้กับบทเรียนที่หัวข้อที่เรียน แบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ • ผู้สอนแบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อย ๆ ให้เท่ากับจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม • จัดกลุ่มผู้เรียน โดยให้มีความสามารถคละกันภายในกลุ่ม เป็นกลุ่มบ้าน (home group) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ตนได้รับมอบหมายเท่านั้น โดยใช้เวลาตามที่ผู้สอนกำหนด • จากนั้นผู้เรียนที่อ่านหัวข้อย่อยเดียวกันมานั่งด้วยกัน เพื่อทำงาน ซักถาม และทำกิจกรรม ซึ่งเรียกว่ากลุ่มเชี่ยวชาญ (expert group) สมาชิกทุก ๆ คนร่วมมือกันอภิปรายหรือทำงานอย่างเท่าเทียมกันโดยใช้เวลาตามที่ผู้สอนกำหนด
เทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับมายังกลุ่มบ้าน (home group) ของตน จากนั้นผลัดเปลี่ยนกันอธิบายให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง เริ่มจากหัวข้อย่อย 1,2,3 และ 4 เป็นต้น • ทำการทดสอบหัวข้อย่อย 1-4 กับผู้เรียนทั้ง ห้อง คะแนนของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มรวมเป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับการติดประกาศ
เทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือร่วมกลุ่ม (Co-op Co-op) • ผู้เรียนช่วยกันอภิปรายหัวข้อที่จะศึกษาแบ่งหัวข้อใหญ่เป็นหัวข้อย่อย • จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มตามความสามารถที่แตกต่างกัน • กลุ่มเลือกหัวข้อที่จะศึกษาตามความสนใจของกลุ่ม • กลุ่มแบ่งหัวข้อย่อยเป็นหัวข้อเล็ก เพื่อผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มเลือกไปศึกษาและมีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคนภายในกลุ่ม • ผู้เรียนศึกษาเรื่องที่ตนเลือกและนำเสนอต่อกลุ่ม • กลุ่มรวบรวมหัวข้อต่าง ๆ จากผู้เรียนทุกคนในกลุ่ม • รายงานผลงานต่อชั้น • ประเมินผลงานของกลุ่ม
เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคคู่ตรวจสอบ (Pairs check : Kagan 1995 : 32-33) • สมาชิกในกลุ่มจับคู่กันทำงาน • รับคำถามหรือปัญหาจากผู้สอน • ผู้เรียนคนหนึ่งจะเป็นคนทำและอีกคนหนึ่งทำหน้าที่เสนอแนะ • หลังจากที่ทำข้อที่ 1 เสร็จ ผู้เรียนคู่นั้นจะสลับหน้าที่กัน เ • เมื่อทำเสร็จครบแต่ละ 2 ข้อ แต่ละคู่จะนำคำตอบมาแลกเปลี่ยนและตรวจสอบคำตอบของคู่อื่น
เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคร่วมกันคิด (Numbered heads together : Kagan 1995 : 28-29) • แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มด้วยกลุ่มละ 4 คน ที่มีความสามารถคละกัน แต่ละคนมีหมายเลขประจำตัว • ผู้สอนถามคำถาม หรือมอบหมายงานให้ทำ • ผู้เรียนอภิปรายในกลุ่มย่อยจนมั่นใจว่าสมาชิกในกลุ่มทุกคนเข้าใจคำตอบ • ผู้สอนเรียกผู้เรียนตามหมายเลขประจำตัว หมายเลขที่ผู้สอนเรียกจะเป็นผู้ตอบคำถามดังกล่าว (Kagan 1995 : 28-29)
เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคแบบมุมสนทนา (Corners : Kagan 1995 : 20-21) • ผู้สอนเสนอปัญหา และประกาศมุมต่าง ๆ ภายในห้องเรียนแทนแต่ละข้อ • ผู้เรียนแต่ละกลุ่มย่อยเขียนหมายเลขข้อที่ชอบมากกว่า และเคลื่อนเข้าสู่มุมที่เลือกไว้ • ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายภายในกลุ่มตามมุมต่างๆ • ผู้เรียนในมุมใดมุมหนึ่งอภิปรายเรื่องราวที่ได้ศึกษาให้เพื่อนในมุมอื่นฟัง
เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคการคิดเดี่ยว คิดคู่ ร่วมกันคิด (Think - pair - share Kagan. 1995 : 46-47) • ผู้สอนกำหนดปัญหา • ผู้เรียนแต่ละคนคิดหาคำตอบด้วยตนเองก่อน • ผู้เรียนนำคำตอบไปอภิปรายกับเพื่อนที่เป็นคู่ • แต่ละคู่นำคำตอบมาอภิปรายพร้อมกัน 4 คน เมื่อมั่นใจว่าคำตอบของตนถูกต้องหรือดีทีสุด จึงนำคำตอบเล่าให้เพื่อนทั้งชั้นฟัง
เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคโครงงานเป็นทีม (Team project : Kagan. 1995 : 42-43) • ผู้สอนอธิบายโครงงานให้ผู้เรียนเข้าใจก่อน • กำหนดเวลา และกำหนดบทบาทที่เท่าเทียมกันของสมาชิกในกลุ่มและมีการหมุนเวียนบทบาท • แจกอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำโครงงานที่ได้รับมอบหมาย • นำเสนอโครงงานของแต่ละกลุ่ม
เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคแลกเปลี่ยนปัญหา (Trade-a-problem : Kagan. 1995 : 59) • ผู้เรียนแต่ละคู่ตั้งคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่เรียนและเขียนคำตอบเก็บไว้ • ผู้เรียนแต่ละคู่แลกเปลี่ยนคำถามกับเพื่อนคู่อื่น • ผู้เรียนแต่ละคู่จะช่วยกันแก้ปัญหาจนเสร็จ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับวิธีการแก้ปัญหาของเพื่อนเจ้าของปัญหานั้น
เทคนิคการใช้ Concept Mapping • มโนทัศน์ หมายถึง ความคิด ความเข้าใจที่สรุปเกี่ยวกับการจัดกลุ่ม สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เรื่องใด เรื่องหนึ่งที่เกิดจากการสังเกต หรือการได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งนั้น หรือเรื่องนั้น แล้วใช้คุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จัด เข้าเป็นกลุ่มเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจสิ่งต่างๆได้ง่ายขึ้น • กรอบมโนทัศน์ หมายถึง แผนผังหรือแผน ภาพ ที่แสดงความสัมพันธ์ของมโนทัศน์ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างมีระบบ และเป็นลำดับขั้น โดยอาศัยคำหรือข้อความเป็นตัวเชื่อมให้ความสัมพันธ์ ของมโนทัศน์ต่างๆเป็นไปอย่างมีความหมาย ซึ่งอาจจะมีทิศทางเดียว สองทิศ ทาง หรือมากกว่าก็ได้ กรอบมโนทัศน์ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ แผนภาพโครงเรื่อง”
เทคนิคการใช้ Concept Mapping • การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์ เป็น กระบวนการที่ให้ผู้เรียนนำมโนทัศน์ในเนื้อหาสาระที่ได้เรียนรู้มาจัด ระบบ จัดลำดับ และเชื่อมโยงความสัมพันธ์แต่ละมโนทัศน์ที่มีความเกี่ยวข้อง เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นกรอบมโนทัศน์ขึ้น
เทคนิคการใช้ Concept Mapping รูปแบบของกรอบมโนทัศน์ • Concept Map ผังมโนทัศน์ • Mind Map แผนที่ความคิด • Web Diagram แผนผังใยแมงมุม • Tree Structure แผนภูมิโครงสร้างต้นไม้ • Venn Diagram แผนภูมิเวนน์ • Descending Ladder แผนภูมิขั้นบันได • Cycle Graph แผนภาพวงจร • Flowchart Diagram แผนผังการดำเนินงาน • Matrix Diagram แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ • Fishbone Map แผนผังก้างปลา • Interval Graph แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ • Order Graph แผนภาพแสดงลำดับเหตุการณ์ • Classification Map แผนผังแสดงความสัมพันธ์แบบจำแนกประเภท
การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์
การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์
การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์
เทคนิคหมวก 6 ใบ • เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก “การคิด” เป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด (Edward de Bono )
เทคนิคหมวก 6 ใบ • เปรียบเสมือนความเป็นกลาง หมายถึง การคิดแบบอิงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงข้อมูล และตัวเลข โดยไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง • ตัวอย่างของคำถาม เช่น • ได้ข้อเท็จจริงอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน • ได้ข้อมูลที่ต้องการมาด้วยวิธีใด • สังเกตเห็นอะไรบ้างจากการทดลอง
เทคนิคหมวก 6 ใบ • เปรียบเสมือนไฟ ความโกรธ ความรู้สึก หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์และความรู้สึก ลางสังหรณ์ สัญชาตญาณ ความประทับใจ สิ่งที่ไม่ต้องการข้อพิสูจน์ สิ่งที่ไม่ต้องเหตุหรือผลหรือหลักฐานมาอ้างอิง • ตัวอย่างของคำถาม เช่น • เรารู้สึกอย่างไร เมื่ออ่านบทความนี้จบ • มีความพอใจกับผลงานที่ทำหรือไม่ • ผลงานใดที่ประทับใจมากที่สุด