590 likes | 853 Views
การบรรยายพิเศษ. “ แนวนโยบายการพัฒนาสตรีและการส่งเสริม ความเสมอภาคหญิงชายในประเทศไทย ”. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ณ โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช จ.ชลบุรี โดย นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
E N D
การบรรยายพิเศษ “แนวนโยบายการพัฒนาสตรีและการส่งเสริม ความเสมอภาคหญิงชายในประเทศไทย” วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ณ โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช จ.ชลบุรี โดย นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว วิสัยทัศน์ เป็นหน่วยงานหลักระดับชาติ ในการเสริมสร้างความเสมอภาคหญิงชายและความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว
ภารกิจของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวภารกิจของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (ด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย) • เสนอแนะ ผลักดันกฎหมาย นโยบาย มาตรการ และกลไก • ส่งเสริมการบูรณาการมิติหญิงชายในนโยบาย แผน / โครงการ • ส่งเสริมการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิสตรี • เป็นศูนย์ประสานข้อมูลและสารสนเทศมิติหญิงชาย • ส่งเสริมการรวบรวม การใช้ และวิเคราะห์ข้อมูลแยกเพศ • ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน
ความเสมอภาค.....หมายถึง ไม่ใช่ความเหมือนกัน หรือเท่ากัน ... แต่ หมายถึง การคำนึงถึง ความแตกต่าง ในปัญหา ความต้องการ โอกาส ศักยภาพ ของเพศหญิงและเพศชาย เพื่อให้ทั้งสองเพศอยู่ด้วยกัน อย่างปรองดองและได้รับประโยชน์อย่างสมดุลกัน
ความเสมอภาค คือ..... ความเท่าเทียมกัน ใน..... สิทธิ โอกาส การเข้าถึง การได้รับประโยชน์ ทางเลือก
สถานการณ์ด้านสตรีในประเทศไทยสถานการณ์ด้านสตรีในประเทศไทย การเลือกปฏิบัติ ขาดสิทธิและโอกาส อคติทางเพศ ปัญหาความไม่เสมอภาค ขาดการมีส่วนร่วม ในการพัฒนา ถูกกระทำความรุนแรง กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
กระแสสากล :พันธกรณี ที่เกี่ยวข้อง • อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • ในทุกรูปแบบ CEDAW • ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่ง • เพื่อความก้าวหน้าของสตรี Beijing • เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ MDG
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ของสหประชาชาติ(Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women – CEDAW) ปี 2522 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี 2528 เสมอภาคด้านโอกาส ตระหนักว่าหญิงชายแตกต่าง ต้องมีมาตรการที่แตกต่าง เพื่อให้ได้รับประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน เสมอภาคในการเข้าถึง เสมอภาคในผลที่ได้รับ
หลักการของอนุสัญญา CEDAW มีหลักการพื้นฐาน 3 ประการ 1. ความเสมอภาค 2. การไม่เลือกปฏิบัติ 3. พันธกิจของรัฐ
พันธกรณีระหว่างประเทศ (ต่อ) • ปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการ เพื่อความก้าวหน้าของสตรี • เป็นผลมาจากการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องสตรีครั้งที่ 4 ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อปี 2538
ประเด็นห่วงใย 12 ประเด็น จากปฏิญญาปักกิ่ง
ประเด็นห่วงใยเพิ่ม ปี 2543 โลกาภิวัฒน์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเคลื่อนย้ายแรงงาน ภาวะประชากรผู้สูงอายุ การแพร่ระบาดของโลกเอดส์ ภัยพิบัติธรรมชาติ การแบ่งภาระความรับผิดชอบระหว่างหญิงชาย
พันธกรณีระหว่างประเทศ (ต่อ) • เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ • (Millennium Development Goal – MDG)
เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals– MDGs) ปี 2543เพื่อลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างประเทศต่างๆให้บรรลุเป้าหมายในปี 2558 1) ขจัดความยากจนและหิวโหย 2) ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา 3)ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและส่งเสริมบทบาทสตรี*(ประเทศไทยกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย เพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในรัฐสภา อบต. และตำแหน่งผู้บริหารสตรีในระดับสูง เป็น 2 เท่า)* 4) ลดอัตราการตายของเด็ก 5) พัฒนาสุขภาพสตรีมีครรภ์ 6) ต่อสู้กับโรคเอดส์ มาเลเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ 7) รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 8) ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก
การขับเคลื่อนความเสมอภาคหญิงชายในหน่วยงานภาครัฐการขับเคลื่อนความเสมอภาคหญิงชายในหน่วยงานภาครัฐ • ศูนย์ประสานงานด้าน การส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (Gender Focal Point - GFP) • ผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาท หญิงชาย (Chief Gender Equality Officer - CGEO) คณะกรรมการ กยส. และ กสส. • แผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๔ • มาตรฐานการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย • ข้อมูลจำแนกเพศ/งานวิจัย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) แผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) นโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา 29 ธันวาคม 2551
รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 • มาตรา 30 ... ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ... การเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องเพศ จะกระทำมิได้ • มาตรา 80 รัฐต้อง ... ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย • มาตรา 87 รัฐต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นและการจัดทำบริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในมาตรานี้ให้คำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน • มาตรา 114 (เรื่อง ส.ว.)... ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ดำเนินการสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสม ... ในการสรรหา ให้คำนึงถึงองค์ประกอบจากบุคคลที่มีความรู้ โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ
แผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) ยุทธศาสตร์หลักการเสริมสร้างและปรับเปลี่ยนเจตคติในสังคมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างเจตคติด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรี ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจทางการเมืองและการบริหาร เป้าประสงค์ สังคมไทยเป็นสังคมที่มี ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมสุขภาวะและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์สตรี
แผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) ยุทธศาสตร์หลัก สร้างสังคม เสมอภาค เป็นธรรม และยุติธรรม ที่สตรีไทยอยู่อย่าง มีศักดิ์ศรี มั่นคงปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างเจตคติและการยอมรับด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพกลไกและองค์กรสตรีทุกระดับ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มศักยภาพและเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ และสังคมของสตรีไทย เป้าประสงค์ สังคมไทยเป็นสังคมที่มี ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาศักยภาพสตรีเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าร่วมทางการเมือง การบริหารและการตัดสินใจในระดับต่างๆ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาสุขภาวะคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความมั่นคง ในชีวิต
มติคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 ดังนี้ 1. รับทราบการมีผลใช้บังคับของอนุสัญญา CEDAW 2. เห็นชอบ ดังนี้ 2.1 ให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม มอบหมายผู้บริหารระดับ รองปลัดกระทรวงหรือรองอธิบดีขึ้นไป จำนวน 1 คน ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย (CGEO) 2.2 มอบหมายหน่วยงานระดับสำนัก / กอง ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (Gender Focal Point) และจัดทำแผนแม่บทการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย
บทบาทหน้าที่ของ CGEO • ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชายในส่วนราชการ • ริเริ่มและจัดให้มีกิจกรรมสร้างความเข้าในแนวคิดบทบาทหญิงชายให้กับข้าราชการ • ติดตาม ตรวจสอบ รับฟังและให้คำปรึกษาแนะนำในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการให้เป็นไปตามหลักความเสมอภาค • สร้างเครือข่ายการดำเนินการเกี่ยวกับบทบาทหญิงชายระหว่างส่วนราชการ 21
บทบาทหน้าที่ ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย มีหน้าที่ดำเนินการให้แก่ผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย (CGEO) ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับแผนแม่บทด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่าหญิงชาย ติดตามประเมินผลและจัดทำรายงานการดำเนินการด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย และความเสมอภาคระหว่างหญิงชายของส่วนราชการ 22
นโยบายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชายที่นายกรัฐมนตรีมอบให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติจำนวน 3 ข้อ ข้อ 1. การสร้างความตื่นตัว ความเข้าใจในเรื่องมิติ หญิงชาย ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ภายในหน่วยงาน และให้นำไปใช้ประกอบการทำงาน
นโยบายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (ต่อ) ข้อ 2. การกำหนดเป็นนโยบายของหน่วยงานในเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยคำนึงถึงมิติหญิงชาย เช่น การจัดให้มีศูนย์รับเลี้ยงเด็ก (Day Care Center) ห้องให้นมแม่ในที่ทำงาน จัดให้มีอุปกรณ์สำหรับคนพิการ เป็นต้น
นโยบายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (ต่อ) ข้อ 3. การดูแลปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบไว้ในกฎ ก.พ.
แนวทางการดำเนินงานที่นายกรัฐมนตรีมอบให้ CGEO นำไปดำเนินการ จำนวน 4 ข้อ 1. การนำมิติหญิงชายไปใช้เป็นหลักในการบริหารจัดการภายในองค์กร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความโปร่งใส
แนวทางการดำเนินงาน (ต่อ) 2. การกำหนดภารกิจและนโยบายที่มีผลกระทบต่อประชาชน ให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบที่แตกต่างกันจากความหลากหลายทางเพศหรือสถานะทางสังคม เพื่อให้เป็นการสอบทานอยู่ตลอดเวลา และทำให้มีผลในการลดช่องว่างระหว่างหญิงชาย รวมทั้งไม่เป็นการตอกย้ำ ในเรื่องเหลื่อมล้ำ
แนวทางการดำเนินงาน (ต่อ) 3. การจัดทำแผนงานและงบประมาณ ต้องมีการปรับหรือกำหนดให้สอดคล้องกับความต้องการของหญิงและชาย ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกัน และโดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
แนวทางการดำเนินงาน (ต่อ) 4. การสร้างความชัดเจนในการกำหนดนโยบายของหน่วยงาน ขอให้มีการประกาศเจตนารมณ์ที่ชัดเจน มีการสร้างผู้เชี่ยวชาญในเรื่องมิติหญิงชายของหน่วยงาน เพื่อเป็นผู้ผลักดันในเรื่องความเสมอภาคระหว่างหญิงชายต่อไป
การดำเนินงานของ สค. • 1. การพัฒนาบุคลากรให้มีความตระหนักและมีองค์ความรู้เรื่องความเสมอภาคภาคระหว่างหญิงชาย • 2. การสนับสนุนผลักดันการดำเนินการตามแผนแม่บทการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย
การดำเนินงานของ สค. (ต่อ) 3. การยกย่องประกาศเกียรติคุณหน่วยงานภาครัฐดีเด่นด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย 4. โครงการจัดทำงบประมาณที่มีมุมมองมิติหญิงชาย (Gender Budgeting)
การดำเนินงานของ สค. (ต่อ) 5. โครงการ CGEO Visitเพื่อประชุมหารือร่วมกันระหว่าง CGEOสค. กับ CGEOกรมต่างๆ
แผนการดำเนินการในปีงบประมาณ 2555 เป้าหมาย : สร้างสังคม เสมอภาค เป็นธรรม และยุติธรรม ที่สตรีอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มั่นคงปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี • การติดตามการดำเนินการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย • การจัดทำสื่อ สารสนเทศ • การจัดประชุม/สัมมนา ที่ส่งเสริมการดำเนินงานด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย • การพัฒนาศักยภาพแกนนำสตรีในชุมชน • เพื่อเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ • การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในทางการเมือง • การขับเคลื่อนการวางระบบป้องกันและช่วยเหลือสตรี • การผลักดันการดำเนินการตามอนุสัญญา • CEDAW • นายกพบ CGEO • พัฒนามาตรฐาน • การขับเคลื่อนแผนสตรีฯ • การประชุมสมัชชาสตรี • การประชุมระหว่างประเทศ • การส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในหน่วยงาน • การส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในครอบครัว • จัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญของสตรี การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การพัฒนากลไก วิจัย พัฒนา และองค์ความรู้ เสริมพลังสตรี เพื่อพัฒนา การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ
ภาพกิจกรรม การดำเนินงานด้านสตรีของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
1. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในทางการเมือง
2. การฝึกอบรมหลักสูตรสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
3. การจัดคาราวานด้านสตรีและครอบครัว
4. การส่งเสริมความรู้เรื่องกฎหมาย
5.การวางระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในชุมชน5.การวางระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในชุมชน
6. วางระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น
7.การขับเคลื่อนอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี7.การขับเคลื่อนอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี - การจัดทำรายงานการอนุวัติอนุสัญญา CEDAW - การจัดประชุมระดมความคิดเห็น ยกเลิกข้อสงวน ข้อที่ ๑๖
8. ผลักดันในการแก้ไขกฎหมายที่เลือกปฏิบัติ และยกร่าง พ.ร.บ.ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ พ.ศ. ...
กลไกระดับชาติในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายกลไกระดับชาติในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย 1. การประชุมคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ (กยส.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน (พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ)
กลไกระดับชาติในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายกลไกระดับชาติในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย 2. การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาสถานภาพสตรี (กสส.) ซึ่งมีรองศาสตราจารย์จุรี วิจิตรวาทการ เป็นประธาน
การขับเคลื่อนการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายการขับเคลื่อนการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย 3. การจัดประชุมมอบนโยบายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย “นายกรัฐมนตรี พบ CGEO” 45
4.กิจกรรม CGEO VISIT เพื่อประชุมหารือร่วมกับระหว่าง CGEO สค. กับ CGEO กรมต่างๆ
MOU ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ในการบูรณาการเรื่องความเสมอภาคหญิงชายในหลักสูตร การเรียนการสอน
MOU ระหว่าง สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่องการจัดการภัยพิบัติ : มุมมองมิติหญิงชาย
การพัฒนาบุคลากรให้มีความตระหนักและมี องค์ความรู้เรื่องความเสมอภาคภาคระหว่างหญิงชาย
การสนับสนุนผลักดันการดำเนินการตามแผนแม่บทการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย 50