240 likes | 625 Views
การเปรียบเทียบผลการออกแบบพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงด้วยวิธีโครงข้อแข็งเสมือนสองมิติและ วิธีไฟไนท์อิลิเมนต์แบบแผ่นสามมิติ. อาจารย์ ดร.ฉัตร สุจินดา มหาวิทยาลัยศรีปทุม. การวิเคราะห์ - ออกแบบแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง. Equivalent Frame Method (EFM) ACI318-05 หัวข้อ 13.7
E N D
การเปรียบเทียบผลการออกแบบพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงด้วยวิธีโครงข้อแข็งเสมือนสองมิติและวิธีไฟไนท์อิลิเมนต์แบบแผ่นสามมิติการเปรียบเทียบผลการออกแบบพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงด้วยวิธีโครงข้อแข็งเสมือนสองมิติและวิธีไฟไนท์อิลิเมนต์แบบแผ่นสามมิติ อาจารย์ ดร.ฉัตร สุจินดา มหาวิทยาลัยศรีปทุม
การวิเคราะห์-ออกแบบแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงการวิเคราะห์-ออกแบบแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง • Equivalent Frame Method (EFM) • ACI318-05 หัวข้อ 13.7 • มองโครงสร้างที่เป็น 3 มิติ ให้เป็น 2 มิติ • สร้างแบบจำลองแยกกันในแต่ละแนวของเสา • สร้างแบบจำลองแยกกันในแต่ละทิศทางของการถ่ายแรง • แนว เหนือ-ใต้ ของแปลน • แนว ตะวันออก-ตะวันตก ของแปลน • โปรแกรม Adapt PT 7.0 และโปรแกรมอื่น ๆ
การวิเคราะห์-ออกแบบแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงการวิเคราะห์-ออกแบบแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง • วิธี 3D Plate Finite Element • มองโครงสร้าง 3 มิติ เป็น 3 มิติตามจริง • สร้างแบบจำลองรวมเป็นชิ้นเดียวกันทั้งชิ้น • ได้ Moment ของการถ่ายแรงทั้งสองทิศทาง Mx, My, Mxy • คำนวณ Stress ได้จาก Moment Mx, My, Mxy • โปรแกรม Adapt Floor Pro, RAM Comcept
เปรียบเทียบการวิเคราะห์แบบ 2D กับ 3D
การเปรียบเทียบกรณีควบคุมการเปรียบเทียบกรณีควบคุม
สรุป • สำหรับกรณี A ซึ่งเป็นการแปรเปลี่ยนความกว้างของแถบของการออกแบบ ค่าหน่วยแรงจากวิธีทั้งสองมีค่าใกล้เคียงกันมากตลอดช่วงของการแปรเปลี่ยน ซึ่งเป็นการยืนยันว่าในกรณีทั่วไปที่มีการจัดเรียงเสาอย่างเป็นระเบียบ คำตอบของสองวิธีควรจะมีค่าใกล้เคียงกัน • สำหรับกรณี B ถึง F เป็นการทดลองแปรเปลี่ยนตำแหน่งของเสาในแถบของการออกแบบให้แตกต่างไปจากแถบข้างเคียง ซึ่งจะมีผลทำให้ผลของการวิเคราะห์แบบสามมิติ แตกต่างไปจากแบบสองมิติ หน่วยแรงที่วิเคราะห์ได้จาก วิธีไฟไนท์อิลิเมนต์สามมิติ (FEM 3D) มีค่าน้อยกว่าวิธีโครงข้อแข็งเสมือน ซี่งเป็นวิธีแบบสองมิติ (EFM 2D) สำหรับทุก ๆ กรณี
สรุป (ต่อ) • ในกรณีที่การจัดเรียงของเสาไม่อยู่ในแนวที่ตั้งฉากกัน หากเป็นไปได้จึงควรใช้วิธีไฟไนท์อิลิเมนต์สามมิติ (FEM 3D) มากกว่าวิธีโครงข้อแข็งสองมิติ (EFM 2D) แต่หากไม่มีโปรแกรมที่ใช้วิธีไฟไนท์อิลิเมนต์สามมิติ เช่น Adapt Floor Pro หรือ RAM Concept แล้ว การออกแบบโดยใช้วิธีโครงข้อแข็งสองมิติเช่น Adapt PT ก็ให้ค่าหน่วยแรงที่ Conservative ซึ่งเป็นวิธีที่ยอมรับได้ • ในกรณีที่การจัดเรียงของเสาอยู่ในแนวที่ตั้งฉากกัน วิธีโครงข้อแข็งสองมิติจะให้คำตอบใกล้เคียงกับวิธีไฟไนท์อิลิเมนต์สามมิติ ซึ่งสำหรับกรณีนี้วิธีโครงข้อแข็งสองมิติน่าจะใช้เวลาในการเตรียมข้อมูลน้อยกว่า