160 likes | 355 Views
นางพญาเสือโคร่ง. ต้นนางพญาเสือโคร่ง. ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus cerasoides, อังกฤษ: Wild Himalayan Cherry เป็นพืชดอกในสกุล Prunus ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พบทั่วไปบนดอยสูง เช่น ภูลมโล จังหวัดเลย ดอยแม่สะลอง จังหวัดเชียงราย ดอยเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียง.
E N D
ต้นนางพญาเสือโคร่ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus cerasoides, อังกฤษ: Wild Himalayan Cherry เป็นพืชดอกในสกุล Prunus ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พบทั่วไปบนดอยสูง เช่น ภูลมโล จังหวัดเลย ดอยแม่สะลอง จังหวัดเชียงราย ดอยเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียง
ต้นพญาเสือโคร่ง คำว่า ซากุระกล่าวถึงพืชที่อยู่ในสกุล Prunus โดยนางพญาเสือโคร่งเป็นหนึ่งในสกุลนั้น โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus cerasoides ในประเทศญี่ปุ่นมีซากุระอยู่หลากหลายพันธุ์ โดยพันธุ์ที่พบมากสุดคือ โซะเมโยะชิโนะ (ญี่ปุ่น: 染井吉野 somei-yoshino ?) ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus × yedoensis
ต้นพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศไทย ทางตอนใต้ของประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และถูกนิยมเรียกว่า"ซากุระเมืองไทย" เพราะมีลักษณะคล้ายซากุระ แม้จะเป็นคนละชนิดกันก็ตาม
ต้นพญาเสือโคร่ง ผลของนางพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ดอก สีขาว ชมพู หรือดง ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผล รูปไข่หรือกลม ยาว 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดง ระยะเวลาออกดอก ออกดอกระหว่างเดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอก
ต้นพญาเสือโคร่ง เป็นไม้ที่มีความเหมาะสมในการที่จะขึ้นอยู่ในพื้นที่ผ่านการทำไร่เลื่อนลอย บนพื้นที่สูงแต่ไม่ควรปลูกบนพื้นที่ซึ่งมีลมพัดจะทำให้กิ่งก้านหักได้ง่าย ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
ต้นพญาเสือโคร่ง นางพญาเสือโคร่งแตกต่างจากซะกุระญี่ปุ่น คือมีช่วงเวลาการออกดอกต่างกันคือ นางพญาเสือโคร่งออกดอกในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ซากุระในญี่ปุ่นออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น และมีการสันนิษฐานว่า นางพญาเสือโคร่งและซากุระมีบรรพบุรุษร่วมกันทางตอนใต้ของจีน และวิวัฒนาการออกไปจนมีสายพันธุ์มากมาย
ต้นพญาเสือโคร่ง นางพญาเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือไข่กลับ ออกสลับกัน ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5 -12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเขากวาง ใบร่วงง่าย ดอก สีขาว ชมพู หรือดง ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย
ต้นพญาเสือโคร่ง ต้องใช้เวลาดูแลประมาณชัก 2-3 ปี การปลูกครั้งแรก ไม่ต้องรองพื้นด้วย ปุ๋ยคอก ขี้วัว ใบไม้ และสิ่งอื่น ปลวกมันจะมากิน ใบไม้ ปุ๋ยคอก และมันก็จะมากินรากออนของต้นไม้ของเรา ทำให้ต้นไม้ของเราตายนั่นเอง ตอนที่เราปลูกใหม่ๆไม่ต้องใส่ปุ๋ยรอประมาณชัก 2 เดือนก่อนให้รากมันแขนงแรงดีก่อนแล้ว ค่อยใส่ใจเย็นๆอย่าใจร้อน นางพญาเสือโคร่งชอบปุ๋ย ขี้ไก่ เวลาเอาใส่ให้ใส่ที่โคลนต้นใส่แยะๆไม่ต้องกลัวตาย
แหล่งท่องเที่ยว ดอยขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่ ขุนช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่ ดอยสันป่าเกี๊ยะ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ ดอยขุนถาน จังหวัดน่าน ดอยแม่สะลอง จังหวัดเชียงราย ดอยเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
การเดินทาง รถประจำทาง รถไฟ เครื่องบิน รถส่วนตัว
ตัวอย่างสถานที่เที่ยวตัวอย่างสถานที่เที่ยว จังหวัดน่าน 1. อุทยานแห่งชาติขุนสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน การเดินทาง: ใช้เส้นทางจากตัวจังหวัดแพร่ได้ 2 เส้นทาง คือ 1.1 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (ถนนยนตรกิจโกศล) เป็นเส้นทางจากตัวจังหวัดแพร่ไปจังหวัดน่าน มาตามเส้นทางประมาณ 66 กิโลเมตรจะถึงหม่บ้านห้วยแก๊ต ให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวง 1216 ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร 1.2 จากจังหวัดน่าน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1026 สายอำเภอเวียงสา - อำเภอนาน้อย และจากอำเภอนาน้อยเลี้ยวขวา ไปถึงที่ทำการอุทยาน ระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร สิ่งอำนวยความสะดวก : อุทยานแห่งชาติขุนสถาน มีบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยวและลานกางเต็นท์สำหรับแคมป์ไฟ หากเดินทางมาท่องเที่ยวควรเตรียมเสื้อกันหนาวมาด้วย เนื่องจากหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : อุทยานแห่่งชาติขุนสถาน : โทร. 054-701-121, 054-731 585 , 054-731-688, 087- 173 9549, หรือ อุทยานแห่งชาติขุนสถาน ตู้ ปณ.5 อ.นาน้อย จ.น่าน 55150
นางพญาเสือโคร่ง ดอยภูคา 2. อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน การเดินทาง: จากจังหวัดน่าน เดินทางโดนรถยนต์ ทางหลวงหมายเลข 1080 สู่ อ.ปัว ระยะทาง 60 กิโลเมตร จากนั้นแยกไปตามทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว-บ่อเกลือ) ระยะทาง 25 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ระยะทางโดยส่วนใหญ่จะโค้ง ลาดชัน เพราะสภาพพื้นที่ของอุทยานฯ เป็นภูเขา สิ่งอำนวยความสะดวก : อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีบ้านพัก ร้านอาหาร อำนวยความสะดวกต่อผู้มาเยี่ยมเยือนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โทรศัพท์ 054-701-000, 081-960-0477, 089-554-1231 แฟกซ์ 054-731-1362 หรือที่ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร.0 2562 0760 หรือ ตู้ ปณ.8 ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120
ไปดูกันเยอะๆนะคะโดยนางสาวศิรัญญา โกละกะเศรฐษศาสตร์ 55520969