1 / 31

การจัดการน้ำในระบบเกษตร

การจัดการน้ำในระบบเกษตร. อ.ธีระพงษ์ ควรคำนวน สาขาวิชาวิศวกรรมชลประทานและการจัดการน้ำ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร มทร.ธัญบุรี. การหมุนเวียนของน้ำ. การวัดปริมาณน้ำฝน. -หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนนิยมใช้เป็นความลึกในหน่วย มิลลิเมตร

tassone
Download Presentation

การจัดการน้ำในระบบเกษตร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการน้ำในระบบเกษตรการจัดการน้ำในระบบเกษตร อ.ธีระพงษ์ ควรคำนวน สาขาวิชาวิศวกรรมชลประทานและการจัดการน้ำ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร มทร.ธัญบุรี

  2. การหมุนเวียนของน้ำ

  3. การวัดปริมาณน้ำฝน -หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนนิยมใช้เป็นความลึกในหน่วยมิลลิเมตร -หากต้องการคำนวณปริมาตรน้ำให้แปลงความลึกเป็นหน่วยเมตร แล้วคูณด้วยพื้นที่ในหน่วยตารางเมตร ได้ปริมาตรในหน่วยลูกบาศก์เมตร ตัวอย่าง ฝนตกจำนวน 100 มิลลิเมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ปริมาตรน้ำฝนเท่าไร (1 ไร่ = 1,600 ตารางเมตร) ปริมาตรน้ำฝน = x1600 =160 ลูกบาศก์เมตร

  4. การวัดปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำฝนวัดโดย หน่วยงาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน - ข้อมูลเป็นรายวัน รายเดือน และรายปี - สถิติข้อมูลน้ำฝนรวบรวมไว้เป็นระยะเวลานานเพื่อคำนวณปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยเพื่อกำหนดแนวโน้มของปริมาณฝน และวางแผนในการบริหารจัดการน้ำ - ข้อมูลน้ำฝนที่สามารถนำไปใช้งานได้ - กรมอุตุนิยมวิทยา www.ubonmet.tmd.go.th - กรมชลประทาน http://hydro-4.rid.go.th

  5. ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ

  6. ความต้องการใช้น้ำ ประกอบด้วย 1 ความต้องการน้ำในนาข้าว น้ำที่ใช้เพื่อการปลูกข้าว โดยเฉลี่ยตั้งแต่ระยะไถคราด เตรียมแปลง แล้วปล่อยน้ำขังในนาตอนเริ่มปักดำ ถึงระยะเก็บเกี่ยว จะต้องการรวมทั้งหมด เป็นความลึกประมาณ 1,300 มิลลิเมตร ในพื้นที่เกษตรกรรมน้ำฝนใช้น้ำขั้นต่ำ 900 มิลลิเมตร 2 ความต้องการน้ำสำหรับ พืชไร่ ผัก และต้นไม้ผล ระยะแรกปลูก พืชมีความต้องการน้ำน้อย และจะต้องการเพิ่มมากขึ้น จนต้องการน้ำมากที่สุด ในระยะที่พืชออกดอก และมีผล จนกระทั่งผลเริ่มแก่เต็มที่ จึงต้องการน้ำน้อยมาก เช่น ผักที่ปลูกในประเทศไทย โดยเฉลี่ยจะต้องการน้ำ รวมตลอดอายุของผัก เป็นความลึกประมาณ 400-500 มิลลิเมตร ส่วนพืชไร่ เช่น ข้าวโพด จะต้องการน้ำรวมตลอดอายุที่ปลูกประมาณ 350-400 มิลลิเมตร ฯลฯ

  7. ความต้องการใช้น้ำ ประกอบด้วย 3 ความต้องการน้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์ วัวและควายต้องการน้ำตัวละประมาณ 50 ลิตรต่อวัน หมูตัวละประมาณ 20 ลิตรต่อวัน และไก่ตัวละประมาณ 0.15 ลิตรต่อวัน เป็นต้น 4 ความต้องการน้ำของราษฎรในหมู่บ้าน โดยทั่วไปราษฎรในชนบทที่ขาดแคลนน้ำ จะต้องการน้ำประมาณวันละ 60 ลิตร ต่อคน

  8. ปริมาณการใช้น้ำของพืช(Consumptive Use or Evapotranspiration) ปริมาณการใช้น้ำของพืช หมายถึง ปริมาณน้ำทั้งหมดที่สูญเสียจากพื้นที่เพาะปลูกสู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำประกอบด้วย 2 ส่วนคือ • การคายน้ำ (Transpiration: T) เป็นปริมาณน้ำที่พืชดูดไปจากดิน เพื่อนำไปใช้สร้างเซลล์และเนื้อเยื่อ แล้วคายออกทางใบสู่บรรยากาศ • การระเหย (Evaporation:E) เป็นปริมาณน้ำที่ระเหยจากผิวดินบริเวณรอบๆต้นพืช • ค่าทั้งสองรวมเรียกว่า“ค่าการคายระเหย (Evapotranspiration,ET)”

  9. ค่าการคายระเหย(Evapotranspiration )หรือET จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญได้แก่ • สภาพภูมิอากาศรอบๆ ต้นพืช ซึ่งได้แก่ พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือรังสีอาทิตย์ อุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ และความเร็วลม • พืชซึ่งได้แก่ ชนิดและอายุของพืช พืชแต่ละชนิดมีความต้องการน้ำที่แตกต่างกันสำหรับพืชชนิดเดียวกัน การใช้น้ำจะน้อยเมื่อเริ่มปลูกและจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมากที่สุดเมื่อถึงช่วงเจริญเติบโตเต็มที่ (ออกดอก-ออกผล) จากนั้นจะค่อยๆลดลงเมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว (ช่วงผลสุก-ผลแก่) • ดิน ได้แก่ ความชื้นของดิน ลักษณะเนื้อดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน • องค์ประกอบอื่นๆ เช่น วิธีการให้น้ำแก่พืชและความลึกที่ให้แต่ละครั้ง ฤดูการเพาะปลูก การไถพรวนดิน การคลุมดิน เป็นต้น

  10. การคำนวณหาค่าปริมาณการใช้น้ำของพืช ( ETc) ค่าการใช้น้ำของพืชอ้างอิง ETpและค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช(ที่ต้องการเพาะปลูก) Kcนำไปสู่ การคำนวณหาค่า ETcดังสมการ ETc = ETp x Kc ETc = ปริมาณการใช้น้ำของพืชที่ต้องการทราบ (มม./วัน) ETp= ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง (มม./วัน) Kc = สัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช

  11. สถานีตรวจอากาศเกษตร กรมอุตุนิยมวิทยา

  12. การคำนวณหาค่าปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง ( ETp) การใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยใช้ถาดวัดการระเหย

  13. การคำนวณหาค่าปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง ( ETp) ใช้ข้อมูลการระเหยจากถาดวัดการระเหย (Epan) จากสถานีตรวจอากาศเกษตร สำหรับกรมอุตุนิยมวิทยาใช้ถาดวัดแบบ Class A ใช้ค่า ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย (RH), ความเร็วลมเฉลี่ยที่ระดับความสูง 2 เมตร(กม./วัน) และการปลูกพืชโดยรอบถาดวัดการระเหย เพื่อทำการหาค่า สัมประสิทธิ์ของถาดวัดการระเหย(Kp) คำนวณค่า ETp ตามสมการดังนี้ ETp= Epan x Kp ETp= ปริมาณการใช้น้ำของพืช (มม./วัน) Epan = ปริมาณการระเหยน้ำจาก Class A Pan (มม./วัน) Kp = สัมประสิทธิ์ของถาดวัดการระเหย

  14. ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิงของ จ.ศรีสะเกษ (มม./วัน)

  15. ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิงของ จ.ศรีสะเกษ (มม./วัน)

  16. สัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช (Kc) สำหรับสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืชมีค่าเปลี่ยนไปตามชนิดและอายุได้มีผู้ทดลองไว้มากมาย สามารถนำไปใช้โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานที่ที่ทำการเพาะปลูกนอกจากนี้ยังมีผู้ศึกษาค่าสัมประสิทธิ์ของถาดวัดการระเหยแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นผลคูณระหว่าง Kp และ Kc เพื่อให้สะดวกในการใช้งาน

  17. ค่าสัมประสิทธิ์พืช(Kc)

  18. ค่าสัมประสิทธิ์พืช(Kc)

  19. การจัดทำปฏิทินการเพาะปลูกการจัดทำปฏิทินการเพาะปลูก

  20. การจัดทำปฏิทินการเพาะปลูกการจัดทำปฏิทินการเพาะปลูก องค์ประกอบของปฏิทินการเพาะปลูก 1. ชนิดของพืชที่ทำการเพาะปลูก 2. จำนวนพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูก 3. วันที่เริ่มเพาะปลูก ประโยชน์ของจัดทำปฏิทินการเพาะปลูก 1. ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. การใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

  21. การจัดทำปฏิทินการเพาะปลูกโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์การจัดทำปฏิทินการเพาะปลูกโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

  22. การจัดทำปฏิทินการเพาะปลูกโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์การจัดทำปฏิทินการเพาะปลูกโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ต้องใช้ 1. ชนิดของพืชที่ทำการเพาะปลูก 2. จำนวนพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูก 3. วันที่เริ่มเพาะปลูก 4. ข้อเกี่ยวกับลักษณะดิน 5. ข้อมูลภูมิอากาศ ผลการคำนวณ 1. ปริมาณความต้องการน้ำชลประทาน 2. ปริมาณความชื้นในดิน

  23. ระบบการเกษตรตามแนว โคกหนองนาโมเดล โคก-หนอง-นา โมเดลคือ การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคก-หนอง-นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ

  24. ระบบการเกษตรตามแนว โคกหนองนาโมเดล 1. โคก-ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก "ป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ-ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย-ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ -ปลูกไม้ที่มีความลึกรากขนาดต่างๆ

  25. ระบบการเกษตรตามแนว โคกหนองนาโมเดล 2. หนอง-ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)-ขุด "คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้-ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง-พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก

  26. ระบบการเกษตรตามแนว โคกหนองนาโมเดล 3. นา-พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน-ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา

  27. หนอง

  28. โคก

  29. นา

More Related