720 likes | 820 Views
พื้นฐานไอทีสำหรับผู้ตรวจสอบภายใน. ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต. เนื้อหาคำบรรยาย. องค์ประกอบของระบบไอที การประยุกต์ไอทีที่สำคัญ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย ข้อมูลและฐานข้อมูล สารสนเทศ และ ระบบสารสนเทศ การพัฒนาระบบสารสนเทศ การจัดการศูนย์ไอที. องค์ประกอบของระบบไอที. ฮาร์ดแวร์
E N D
พื้นฐานไอทีสำหรับผู้ตรวจสอบภายในพื้นฐานไอทีสำหรับผู้ตรวจสอบภายใน ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต
เนื้อหาคำบรรยาย • องค์ประกอบของระบบไอที • การประยุกต์ไอทีที่สำคัญ • ฮาร์ดแวร์ • ซอฟต์แวร์ • เครือข่าย • ข้อมูลและฐานข้อมูล • สารสนเทศ และ ระบบสารสนเทศ • การพัฒนาระบบสารสนเทศ • การจัดการศูนย์ไอที
องค์ประกอบของระบบไอทีองค์ประกอบของระบบไอที • ฮาร์ดแวร์ • ซอฟต์แวร์ • เครือข่ายสื่อสาร • ข้อมูล • บุคลากร • กฎหมายและระเบียบปฏิบัติ
การประยุกต์ไอทีที่สำคัญการประยุกต์ไอทีที่สำคัญ • ไอที หรือ ไอซีที ได้รับการพัฒนามากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว และ มีบทบาททั้งในภาครัฐและเอกชน • ไอที ประกอบด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม • คอมพิวเตอร์ มีความสามารถทางด้านการคำนวณและประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็ว (เช่น บวกเลขได้วินาทีละหลายร้อยล้านจำนวน) และ เก็บข้อมูล (ทั้งตัวเลข, ตัวอักษร, ภาพกราฟิกส์, ภาพถ่าย, พิมพ์เขียว ได้เป็นจำนวนมหาศาล) • ระบบสื่อสาร ช่วยในการส่งข้อมูลจำนวนมากจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้รวดเร็ว
ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ • Processor หรือ ตัวประมวลผล ทำหน้าที่คำนวณหรือแปลงข้อมูล • Memory ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลให้เครื่องใช้ • Main memory (Read only Memory) ทำหน้าที่เป็นสมองเพื่อคิดคำนวณต่าง ๆ • Secondary memory ทำหน้าที่เหมือนสมุดบันทึก มีทั้งจานแม่เหล็ก, ซีดี, ดีวีดี, เทป, แฟลช • Input Device ใช้ป้อนคำสั่งและข้อมูลเข้าเครื่อง ได้แก่ แป้นพิมพ์, สแกนเนอร์, เมาส์, ไมโครโฟน, กล้อง, เครื่องอ่านรหัสแท่ง, • Output Device ใช้แสดงผล เช่น จอภาพ, ลำโพง, เครื่องพิมพ์
ประเภทคอมพิวเตอร์ • เมนเฟรม (Mainframe) เครื่องขนาดใหญ่ สมรรถนะสูง ส่วนมากใช้กับหน่วยงานขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร และ กระทรวง • Server หรือ เครื่องแม่ข่าย อาจเป็นเมนเฟรม หรือ เครื่องขนาดย่อมลงมา ทำหน้าที่ให้บริการงานต่าง ๆ เช่นทางด้านการพิมพ์, การค้นหาข้อมูล, การคำนวณ • พีซี (Personal computer) มีทั้งเครื่องตั้งโต๊ะ, Notebook หรือ laptop, PDA, Netbook etc.
ปัญหาของฮาร์ดแวร์ • เทคโนโลยีก้าวหน้ารวดเร็ว เครื่องที่มีใช้ล้าสมัย ไม่สามารถบำรุงรักษาซ่อมแซมได้ ไม่สามารถขยายสมรรถนะให้สูงได้ • ฮาร์ดแวร์ถูกโยกย้ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้เมื่อเร่งด่วน ผลคือติดตามไม่ได้ว่าขณะนี้มีอุปกรณ์อะไรอยู่ที่ไหน • ผู้ใช้ขาดทักษะในการใช้และบำรุงรักษาเบื้องต้น เมื่อเครื่องเสียก็แก้ไขไม่ได้ • อุปกรณ์บางส่วนถูกโจรกรรมไป • อุปกรณ์ใหม่ไม่สามารถใช้งานกับอุปกรณ์เดิม • ไม่มีงบบำรุงรักษา
การใช้คอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์การใช้คอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์ • การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์สำหรับสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ • ซอฟต์แวร์ที่สำคัญ ประกอบด้วย • ซอฟต์แวร์ระบบ (System SW) ใช้สำหรับควบคุมสั่งการคอมพิวเตอร์ในระดับลึกถึงอุปกรณ์และละเอียดมาก เช่น ระบบปฏิบัติการ (Operating System) เช่น Windows และ Linux, ระบบจัดการฐานข้อมูล, ระบบจัดการเครือข่าย, ระบบตรวจจับไวรัส • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application SW) ใช้สำหรับสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานประยุกต์ตามที่เราต้องการ การสั่งงานของซอฟต์แวร์นี้อยู่ในระดับสูงและไม่ได้ลงลึกถึงระดับอุปกรณ์
เราได้ซอฟต์แวร์ระบบมาจากไหนเราได้ซอฟต์แวร์ระบบมาจากไหน • บางอย่างต้องเสียเงินซื้อมาใช้พร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น Windows ของไมโครซอฟต์, ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ของ ไมโครซอฟต์หรือออราเคิล, ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสจาก Trend Micro • บางอย่างได้มาฟรี เพราะเป็น SW ประเภท Open Source SW เช่น ระบบ Linux (ในไทย ทาง SIPA สร้างระบบ สุริยัน จันทรา แจก) • Open Source เป็นแหล่ง SW ฟรี หรือ ราคาถูกที่มีให้ใช้มากมาย
เราได้ซอฟต์แวร์ประยุกต์มาจากไหนเราได้ซอฟต์แวร์ประยุกต์มาจากไหน • พัฒนาเอง ถ้าหากเรามีบุคลากร เช่น นักเขียนโปรแกรม, นักวิเคราะห์ระบบ, นักทำเว็บ • จ้างคนอื่นทำให้ เช่น จ้างนักโปรแกรมอิสระ, จ้างบริษัทซอฟต์แวร์, จ้างมหาวิทยาลัย • ซื้อสิทธ์ในการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จ (License) และว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาตกแต่งให้ตรงกับงานที่เราต้องการ เช่น SAP • ซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จมาใช้โดยตรง เช่น Microsoft Office • หาซอฟต์แวร์ฟรีมาใช้ เช่น Open Office
หน่วยงานบางแห่งใช้ SW โดยไม่มีสิทธิ์ • ซื้อแผ่นซีดี SW ที่แอบ copy ของจริงมาขายในราคาถูก โดยเราไม่มีสิทธิ์ในการใช้อย่างแท้จริง • ขอให้เพื่อนที่มี SW ส่งมาให้ทางเครือข่าย • ดาวน์โหลด มาจากแหล่งแจกจ่ายในเครือข่าย • SW ที่ได้มาโดยไม่ถูกต้อง (คือไม่มีสิทธิ์ในการใช้) อาจมีปัญหาได้ คือ • มีโปรแกรมอันตราย (Malware) ติดมาทำให้เกิดปัญหากับเครื่องของเรา • เจ้าของ SW อาจตรวจสอบพบ และ ดำเนินการทางกฎหมายต่อเรา ทำให้ถูกปรับ หรือเสียชื่อเสียง
ทำไมจึงต้องมีลิขสิทธิ์ทำไมจึงต้องมีลิขสิทธิ์ • การพัฒนา SW ในเชิงอุตสาหกรรม เป็นงานที่ต้องใช้คนจำนวนมาก • เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทำให้ต้องปรับแก้ SW ที่จำหน่ายไปแล้วอยู่เสมอ • SW มักจะมีที่ผิดพลาด เมื่อตรวจพบภายหลังก็ต้องแก้ไข และ แจ้งผู้ใช้ทราบ • หากการใช้มีปัญหา บริษัทต้องให้คำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุง • ทั้งหมดนี้เป็นเงินทุนซึ่งต้องใช้จ่ายอยู่เสมอ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ • การต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารส่งข้อมูลกันได้ • ระบบประกอบด้วย เครื่องแม่ข่าย และ เครื่องลูกข่าย • การต่อเชื่อมกันต้องใช้เกณฑ์วิธี (Protocol), รหัสข้อมูล, รหัสอักขระ,รูปแบบตัวอักษร (Font) แบบเดียวกัน • ต้องมีอุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ เช่น • โมเด็ม (Modem) • เราเตอร์ (Router) • สวิตช์ (Switch) • วงจรเครือข่าย (Network card)
การทำงานของเครือข่าย ผู้ใช้เชื่อมต่อสายเครือข่ายเข้ากับอุปกรณ์โมเด็ม ซึ่งจะต่อกับระบบโทรศัพท์ปกติ หรือ ต่อกับสายสัญญาณเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งสายโทรศัพท์หรือสายสัญญาณจะต่อไปยังชุมสายสื่อสาร สัญญาณที่ส่งออกจะมีหมายเลขผู้รับ ซึ่งระบบจะตรวจสอบและส่งไปให้ถึงอย่างครบถ้วน - นั่นคือมีการตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนให้ด้วย
เครือข่ายมีหลายแบบ • เครือข่ายขนาดเล็ก ใช้ในสำนักงานเดียว เรียกว่า LAN = Local Area Network ส่วนใหญ่มีไว้สำหรับใช้ภายในหน่วยงานเท่านั้น • เครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้หลายสำนักงาน เรียกว่า WAN = Wide Area Network อาจใช้สำหรับงานภายในหน่วยงานเดียว หรือ ข้ามหน่วยงานก็ได้ • การเรียกชื่อแบบนี้เน้นที่ขนาด และ จำนวนเครื่องลูกข่ายที่เข้ามาต่อเชื่อม บางครั้งระบบ WAN อาจประกอบด้วยระบบ LAN หลายระบบมารวมกัน
ปัญหาที่เกี่ยวกับเครือข่ายปัญหาที่เกี่ยวกับเครือข่าย • บางส่วนคล้ายกับปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์ • ระบบสื่อสารโทรคมนาคมช้า • การขยายเครือข่ายทำได้ยาก เพราะต้องใช้งบประมาณจัดหาอุปกรณ์ และ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ในการออกแบบระบบ และ การจัดการเครือข่าย • ขาดซอฟต์แวร์ระบบจัดการเครือข่าย • ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะรวมระบบโทรศัพท์ไว้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องเรียนรู้ระบบการทำงานและการดูแลรักษาใหม่
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเครือข่ายอินเทอร์เน็ต • เครือข่ายที่เกิดจากความจำเป็นด้านการวิจัยทางการทหาร และ ใช้ระหว่างนักวิจัยในมหาวิทยาลัย จนกระทั่งเติบโตกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทั่วโลกให้สามารถสื่อสารกันได้ • งานประยุกต์อินเทอร์เน็ต คือ • การสื่อสารข่าวสารทางอีเมล • การสื่อสารส่งข้อมูลภาพ, ภาพวีดิทัศน์, เสียง ฯลฯ • การสืบค้นข้อมูลข้ามเครือข่าย • การทำงานข้ามเครือข่าย • การทำงานในแบบข้อความหลายมิติ (Hypertext)
World Wide Web • การประยุกต์อินเทอร์เน็ต โดยสร้างทรัพยากรที่เรียกว่าเว็บให้มีชื่อเรียกเฉพาะตัว เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ทรัพยากรนั้นได้ทั่วโลก • ทรัพยากร ประกอบด้วยหน้าเว็บ (Web page) ซึ่งประกอบด้วยหน้าแรก (Home page) และ หน้าอื่น ๆ • หน้าเว็บประกอบด้วยแฟ้มข้อความหลายมิติ,แฟ้มภาพ, แฟ้มภาพกราฟิกส์, แฟ้มภาพวีดิทัศน์, แฟ้มเสียง • เมื่อผู้ใช้ ใช้ โปรแกรมเบราเซอร์เรียกชื่อเว็บนั้น โปรแกรมจะไปนำหน้าเว็บแรกมาแสดงบนเครื่องผู้ใช้ และ ผู้ใช้สามารถเรียกดูทรัพยากรต่าง ๆ ได้
ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับเว็บซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับเว็บ • เบราเซอร์ (Browser) เป็นโปรแกรมสำหรับเรียกเว็บที่ต้องการให้มาแสดงบนจอภาพ ตัวอย่างเช่น Internet Explorer ของไมโครซอฟต์ • Search Engine เป็นโปรแกรมสืบค้นหาข้อมูล หรือ ทรัพยากรต่าง ๆ ที่อยู่ในเว็บ เช่น Google, Altavista, Yahoo • โปรแกรมสร้างเว็บ ใช้สำหรับสร้างเว็บต่าง ๆ แล้วนำไปติดตั้งเป็นเว็บไซต์ในเครื่องแม่ข่ายที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต โดยเครื่องนี้จะต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
ฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวกับเว็บฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวกับเว็บ • Host computer หมายถึงเครื่องแม่ข่ายที่ติดตั้งเว็บ (หรือเว็บไซต์) เมื่อติดตั้งแล้วเครื่องนี้จะเป็น Web server เครื่องบริการเว็บ • บริการ Hosting คือ บริการให้เช่าเครื่องแม่ข่ายสำหรับติดตั้งเว็บไซต์ • Mail server คือ เครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการอีเมล • Database server คือ เครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการจัดเก็บและค้นคืนข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล • Server ทั้ง 3 อาจเป็นเครื่องเดียวกันก็ได้
การประยุกต์เว็บในปัจจุบันการประยุกต์เว็บในปัจจุบัน • งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน • งานจัดเก็บข้อมูลให้ลูกค้านำไปใช้ เช่น ข้อมูลสินค้า • งานส่งข้อมูล/อีเมลผ่านเว็บ เช่น เว็บเมล • งานซื้อขายสินค้าผ่านเว็บ คือ e-commerce • งานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) • งานบันทึกและแลกเปลี่ยนความเห็น เช่น Blog • งานเครือข่ายสังคม (Social Network) เช่น Facebook • งานนันทนาการเช่น การให้บริการเกม
ปัญหา อันตรายของเว็บ = เป็นช่องทาง... • ให้ผู้ร้ายแทรกซึมเข้าสู่ระบบเครือข่ายของหน่วยงาน เพื่อโจรกรรม, จารกรรม, ก่อวินาศกรรม ฯลฯ • ให้โปรแกรมอันตรายเข้ามาได้ • เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวลวงต่าง ๆ • หลอกลวงผู้บริสุทธิ์ให้หลงเชื่อ (phising, Pharming) • สื่อสารระหว่างอาชญากร
โปรแกรมอันตรายมีอะไรบ้างโปรแกรมอันตรายมีอะไรบ้าง • Virus โปรแกรมที่ก๊อปปีตัวเองเข้าไปฝังตัวในโปรแกรมอื่น ๆ และ ก่อกวนผู้ใช้ • Worm โปรแกรมหนอนที่ส่งตัวเองผ่านเครือข่ายโดยส่งไปตามชื่อที่อยู่ในแฟ้มชื่อผู้รับ • Logic Bomb โปรแกรมที่จะก่อกวนเมื่อถึงกำหนดเวลาหรือเงื่อนไขที่ตั้งไว้ • Spyware โปรแกรมที่คอยสอดส่องการทำงานกับคอมพิวเตอร์ของเรา แล้วส่งไปให้เจ้าของทราบ • Trojan horse โปรแกรมที่ฝังตัวไว้ในโปรแกรมปกติเพื่อทำงานตามที่เจ้าของสั่งโดยผู้ใช้ไม่รู้
แฮกเกอร์มีอันตรายอย่างไรแฮกเกอร์มีอันตรายอย่างไร • แฮกเกอร์ (Hacker) เดิมหมายถึงคนที่เก่งด้านคอมพิวเตอร์มาก จนสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรต่าง ๆ ได้ทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะทำได้ เช่น เปิดอ่านแฟ้มที่ไม่ได้รับอนุญาต • แฮกเกอร์จำนวนมากเป็นนักศึกษาที่อยากลอง • ต่อมาความหมายกลายเป็นคนที่ชอบบุกรุกเข้าสู่คอมพิวเตอร์ของคนอื่นทางเครือข่าย เพื่อเข้าไปอ่านแฟ้มข้อมูล, โจรกรรมข้อมูล, ทำลายข้อมูล หรือ สร้างความสับสนอื่น ๆ • แฮกเกอร์ปัจจุบันกลายเป็นอาวุธของบางประเทศไปก็มี
แฟ้มข้อมูล • ข้อมูลคอมพิวเตอร์อาจจะเป็นข้อมูลตัวเลข เช่น เงินเดือน, ข้อมูลตัวอักษร เช่น ข่าว, หนังสือราชการ, ข้อมูลภาพถ่าย, ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว, ข้อมูลเสียง • ข้อมูลทุกรายการจะเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้ม ซึ่งจะมีนามสกุลต่างกันไป เช่น .doc หมายถึงแฟ้มเอกสาร .jpg หมายถึงแฟ้มภาพ .mve หมายถึงแฟ้มภาพวีดิทัศน์ • โปรแกรมเองก็จัดเก็บในรูปแบบของแฟ้ม เช่น .exe หมายถึงแฟ้มโปรแกรมที่พร้อมใช้งาน .xls หมายถึงแฟ้มแผ่นกระดาษทำการของโปรแกรม Excel
ข้อมูลในงานราชการ • ข้อมูลในงานราชการมีมากด้วยกันเช่น • ข้อมูลทะเบียนต่าง ๆ เป็นข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งต้องเก็บรักษาอย่างมั่นคงและเปิดเผยไม่ได้ • ข้อมูลงบประมาณและการใช้จ่าย เป็นข้อมูลการปฏิบัติงานซึ่งต้องเก็บรักษาอย่างมั่นคง และ เปิดเผยได้ในบางหน่วยงาน (ดูเกณฑ์ สขร.) • ข้อมูลการปฏิบัติงานราชการ เป็นข้อมูลซึ่งต้องเก็บรักษาอย่างมั่นคงและเปิดเผยได้บางเรื่อง • ข้อมูลสถิติต่าง ๆ เป็นข้อมูลซึ่งต้องเก็บรักษาอย่างมั่นคงและเปิดเผยได้ • ข้อมูลสารบรรณเป็นข้อมูลดัชนีเอกสาร และ เอกสาร ซึ่งต้องเก็บรักษาอย่างมั่นคง เปิดเผยได้บางรายการ
ลักษณะข้อมูลที่ดี • Relevancy มีความเกี่ยวข้องกับงานนั้นจริง • Automatic Recorded บันทึกเก็บได้โดยอัตโนมัติ • Completeness จัดเก็บได้ครบถ้วนตามที่ต้องการ • Currency เป็นข้อมูลปัจจุบัน • Correctness จัดเก็บมาได้อย่างถูกต้อง • Traceability คือตรวจสอบแหล่งที่มาได้ • Availability คือมีสภาพพร้อมใช้งาน นั่นคือ อยู่ในฐานข้อมูลที่เรียกใช้ได้ • Auditability สามารถตรวจสอบได้
ฐานข้อมูลคืออะไร • ฐานข้อมูล (Database) เป็นที่รวมของข้อมูลที่จัดเก็บไว้เป็นหมวดเป็นหมู่ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นคืนข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ครบถ้วน และ ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเข้าถึงหรือค้นคืนข้อมูลได้ตามสิทธิ์ที่กำหนดเท่านั้น การจ้ดเก็บและใช้งานข้อมูลนี้ต้องอาศัยระบบจัดการฐานข้อมูล (หรือระบบที่ใกล้เคียงกัน) เท่านั้น • ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูลเกษตรกร, ฐานข้อมูลบุคลากร, ฐานข้อมูลผู้ป่วย, ฐานข้อมูลครุภัณฑ์, ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ
วัฏจักรข้อมูล • การวางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูล • การจัดเก็บข้อมูล (Data acquisition) • การเข้ารหัสข้อมูล (Data coding) • การบันทึกข้อมูล (Data entry) • การสืบค้นข้อมูล (Data searching) • การค้นคืนข้อมูล (Data retrieval) • การปรับปรุงข้อมูล (Data updating) • การสำรองข้อมูล (Data backup) • การกู้ข้อมูล (Data recovery) • การยกเลิกการใช้ข้อมูล (Data disposition)
ปัญหาข้อมูลที่เกิดจากบุคลากรภายใน • กำหนดให้จัดเก็บข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องใช้ • การจัดเก็บข้อมูลผิดพลาด, คลาดเคลื่อน, ผิดเวลา, ผิดเงื่อนไข • การลงรหัสข้อมูลผิดพลาด • การบันทึกข้อมูลผิดพลาด เช่น สลับตัวเลข, อ่านข้อมูลผิด, บันทึกไม่ครบ, บันทีกเกิน ฯลฯ • การใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ผิดพลาด • การจัดทำรายงานผิดพลาด • การส่งข้อมูลผิดพลาด • การแปลความหมายผิดพลาด
ปัญหาข้อมูลที่เกิดจากหน่วยงานภายนอกปัญหาข้อมูลที่เกิดจากหน่วยงานภายนอก • ไม่ส่งข้อมูลให้ตามกำหนดที่ตกลงไว้ • ข้อมูลที่ส่งมามีความผิดพลาดคลาดเคลื่อน • ส่งข้อมูลไปให้ผิดคน • ข้อมูลถูกบิดเบือนหรืดดักรับไปโดยบุคคลที่สามก่อนถึงหน่วยงาน • ไม่มีการควบคุมข้อมูล ทำให้มีผู้แอบยัดไส้แทรกข้อมูลเข้าไปได้ • ถูกบุคคลภายนอกบุกรุกมาโจรกรรม, ทำลาย, บิดเบือน ข้อมูลในฐานข้อมูล
สารสนเทศคืออะไร • ข้อมูลเป็นตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือ ของสถานที่, สิ่งของ, คน, สัตว์, (entity) • ข้อมูลมีมากจนกระทั่งผู้รับไม่สามารถเข้าใจภาพรวมของเหตุการณ์หรือสิ่งนั้น ๆ • สารสนเทศ (Information) คือสาระที่ได้จากการกลั่นกรองประมวลผลข้อมูล และ ทำให้ผู้รับเข้าใจเหตุการณ์หรือ entity นั้น ๆ ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด • การรู้สารสนเทศทำให้ผู้รับสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและทันกาล
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ ปัญญาคือสิ่งที่เราตระหนักอย่างลึกซึ้งถึงความเป็นไปของโลก ปัญญา ความรู้คือความตระหนักถึงความจริงที่เราได้รับทราบผ่านข้อมูลและสารสนเทศ ความรู้ สารสนเทศ ก็คือข้อมูลที่กลั่นกรองและให้ความหมายเพื่อให้เราเข้าใจความจริงนั้น สารสนเทศ ข้อมูลคือตัวแทนของความจริงที่เราสังเกตเห็นและบันทึกไว้ ข้อมูล - Data
ทำความเข้าใจระบบงานประยุกต์ทำความเข้าใจระบบงานประยุกต์ ประชาสัมพันธ์ ปชช ส่วนหน้า ให้บริการประชาชน สนับสนุนงานบริการ ส่วนหลัง ผู้บริหาร ธุรการ. บุคลากร,บัญชี งปม, พัสดุ, ครุภัณฑ์ ส่วนฐานราก ข้อมูล & สารสนเทศ
ทำความเข้าใจระบบงานประยุกต์ทำความเข้าใจระบบงานประยุกต์ Internet, WWW, email ส่วนหน้า บันทึกข้อมูล, ให้บริการ GFMIS, PIS, MIS, EIS ส่วนหลัง Record Mngt, Inventory HW, SW, NW ส่วนฐานราก Database, Data Warehouse
รูปแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์รูปแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ • ทำงานแบบเอกเทศ (Stand Alone) คือ คอมพิวเตอร์ตั้งทำงานเดี่ยว ๆ ไม่ได้ต่อเชื่อมกับเครื่องอื่น ๆ เลย ตัวอย่างที่เห็นชัดคือคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กที่นำมาฉายคำบรรยายนี้ • ใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย (Network) โดยเครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องปลายทางให้กับเครื่องใหญ่ คอยส่งข้อมูลให้เครื่องใหญ่ รอให้เครื่องใหญ่ทำงานให้ แล้วจึงนำผลลัพธ์มาแสดงให้ผู้ใช้ทราบ ยกตัวอย่าง เช่นระบบ ATM ของธนาคาร การใช้งานแบบนี้เรียกกันทั่วไปว่าระบบ Online
รูปแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ 2 • ใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายแบบออนไลน์ แต่ทำงานได้รวดเร็วมาก เมื่อรับข้อมูลได้ หรือ เมื่อรับรู้เหตุการณ์บางอย่างแล้ว คอมพิวเตอร์ดำเนินการทันที เรียกว่า ระบบ Realtimeเช่นระบบนักบินกล, ระบบดูแลผู้ป่วยใน ICU • ใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจำนวนมาก ๆ ที่เก็บเอาไว้ตลอดวัน จากนั้นส่งไปให้เครื่องใหญ่คำนวณ เรียกว่าระบบแบบ Batch
การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคใหม่การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคใหม่ • พยายามเปลี่ยนงานทุกอย่างให้เป็นงานอัตโนมัติ • การเก็บข้อมูล เช่น การบันทึกเวลาเข้าออกของพนักงาน การเข้าพักแรมในโรงแรม • การคำนวณ เช่น การคำนวณค่าที่พักในโรงแรมสำหรับเบิก • การเตือนสิ่งผิดปกติ เช่น เตือนว่าระดับพัสดุเหลือน้อยแล้ว • การช่วยงานส่วนตัว เช่น การบันทึกและเตือนการนัดหมาย การเรียนรู้เพิ่มเติม
การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคใหม่ 2 • การจัดเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว • พยายามลดงานบันทึกข้อมูลให้เหลือเพียงครั้งเดียว ทั้งที่เป็นข้อมูลที่ใช้ในหน่วยงานเดียว กับที่ใช้ในหลายหน่วยงาน เป็นการลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล ข้อมูลถูกต้องเสมอ และ ลดค่าใช้จ่าย • เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน และ ภายนอกหน่วยงาน ทำให้เกิดบริการแบบ One Stop Service • ช่วยทำให้การป้องกันรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยเป็นเรื่องง่าย • ช่วยทำให้การตรวจสอบง่าย
การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคใหม่ 3 • ผู้บริหาร พนักงานวิชาชีพ พนักงานธุรการ จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ทุกคน อาจเป็นแบบ 1:1 • ผู้บริหารอาจต้องใช้เครื่องเล็ก เช่น PDA, Smart Phone หรือ Notebook • พนักงาน และ ข้าราชการอื่น ๆ ในหน่วยงานอาจใช้คอมพิวเตอร์ ในแบบหมุนเวียน หรือเป็น Pool กันก็ได้ เมื่อมีความพร้อมมากขึ้นอาจจำเป็นต้องมีใช้เกือบทุกคน
การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคใหม่ 4 • ผู้บริหารและพนักงานยุคใหม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ต • หน่วยงานควรเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตด้วยช่องทางสื่อสารความเร็วสูง และมีเว็บไซต์ของตนเอง เพื่อนำเสนอสารสนเทศ • สนับสนุนให้หน่วยงานและบริษัทที่เกี่ยวข้องสร้างเว็บไซต์ และ มีโฮมเพจของตนเอง หน่วยงานรัฐส่วนมากมีแล้ว และคิดว่าการมีเว็บคืองานคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ซึ่งไม่จริง
ระบบสารสนเทศ • ระบบที่สร้างขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูล และ นำข้อมูลมาจัดทำเป็นสารสนเทศเพื่อเสนอต่อผู้ใช้ • ระบบสารสนเทศอาจมีชื่อแตกต่างกัน เช่น • ระบบ Transaction Processing System • ระบบ Management Information System • ระบบ Executive Information System • ระบบ Strategic Information System • ระบบ Enterprise Resource Planning • หรือ อาจตั้งชื่อตามลักษณะของงาน เช่น PIS, HRIS, GIS, AIS, Hotel Information System, School Information System
ระบบสารสนเทศที่จำเป็นระบบสารสนเทศที่จำเป็น • หน่วยงานทั่วไปจำเป็นต้องมีระบบต่อไปนี้ • ระบบสารสนเทศลูกค้า • ระบบบันทึกการสั่งสินค้า (และบริการ) • ระบบบัญชีเจ้าหนี้, ลูกหนี้ • ระบบสินค้าคงคลัง • ระบบสารบรรณ • ระบบบุคลากร และ ระบบบัญชีเงินเดือน • ระบบพัสดุครุภัณฑ์ • ระบบสำนักงาน • ระบบยานพาหนะ • ระบบควบคุมการผลิต
ฐานข้อมูลที่จำเป็น • ฐานข้อมูลลูกค้า • ฐานข้อมูลรายการขายสินค้า • ฐานข้อมูลคู่ค้าและซัพพลายเออร์ • ฐานข้อมูลสินค้า • ฐานข้อมูลผู้จัดส่งสินค้า • ฐานข้อมูลตัวแทนจำหน่ายสินค้า • ฐานข้อมูลชิ้นส่วนและวัตถุดิบ • ฯลฯ
การได้มาซึ่งระบบสารสนเทศการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ • พัฒนาโดยใช้บุคลากรในศูนย์ไอที ซึ่งต้องมีคนที่มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ระบบ, การออกแบบ และ เขียนโปรแกรม. วิธีนี้ได้ระบบที่ตรงกับความต้องการ แต่เสียเวลานานมาก และ อาจไม่สมบูรณ์. • ผู้ใช้พัฒนาเอง มักจะทำได้เพียงระบบเล็ก ๆ และมีปัญหาในการเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ และ อาจไม่ยั่งยืนเมื่อเปลี่ยนตำแหน่ง • จ้างบริษัทที่ปรึกษาพัฒนาให้. วิธีนี้อาจได้ระบบที่ทำงานดี แต่ไม่ค่อยตรงกับที่ต้องการ. หากไม่รู้วิธีกำกับดูแล ระบบอาจจะปรับแก้ไม่ได้. • ซื้อระบบสำเร็จมาใช้โดยมีการปรับตั้งแต่ระดับเล็กน้อย จนถึงการปรับขนาดใหญ่. ต้องเสียค่าบำรุงรักษาแพงและต้องจ่ายเป็นประจำ.
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนการพัฒนาระบบสารสนเทศสิ่งที่ต้องรู้ก่อนการพัฒนาระบบสารสนเทศ • ต้องรู้ความต้องการในการใช้สารสนเทศ • ต้องรู้ขั้นตอนในกระแสงาน, ข้อมูลที่ส่งผ่านในกระแสงาน, การตรวจและอนุมัติงานในจุดต่าง ๆ ของกระแสงาน, การวิเคราะห์และเงื่อนไขในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ, ระดับความลับของข้อมูลและรายงาน • ต้องรู้ว่าข้อมูลมาจากไหน, การเกิดข้อมูล, ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และจะจัดเก็บข้อมูลอะไรได้บ้าง • ต้องรู้ว่าจะต้องส่งข้อมูลและสารสนเทศไปให้ผู้ใด (ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน) บ้าง • ต้องรู้ปริมาณข้อมูล, เอกสาร และรายงานที่ต้องใช้หรือดำเนินการเป็นประจำ รวมทั้งอัตราการขยายตัว • ต้องรู้ความสัมพันธ์ของงานนี้กับงานอื่น ๆ
Systems Development Life Cycle วัฏจักรพัฒนาระบบงาน
งานสำคัญในการพัฒนาระบบ • การศึกษาความเป็นไปได้ หรือ ความเหมาะสม (Feasibility Study) คือการศึกษาอย่างกว้าง ๆ ว่าสมควรพัฒนาระบบขึ้นใช้หรือไม่ โดยดูทางด้านเทคโนโลยี, การใช้งาน, ผลตอบแทน, และ ด้านความจำเป็นของกฎหมาย. • งานนี้ใช้เวลาทำสั้น ๆ แต่ควรพิจารณาความเหมาะสมให้ครบถ้วน และ จัดทำเป็นรายงานที่แสดงระบบที่จะพัฒนาว่าจำเป็นเพียงใด เกี่ยวกับใครบ้าง ถ้าไม่ทำจะเกิดผลอย่างไร รวมทั้งควรประมาณการค่าใช้จ่ายให้ด้วย • ผู้บริหารรับรายงานแล้ว ควรตัดสิน go/no go
เตรียมการเริ่มงานโครงการ • เริ่มต้นเมื่อถึงกำหนดต้องทำโครงการ • หัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้งทีมงานโครงการ และ หัวหน้าโครงการซึ่งรู้วิธีจัดการโครงการจริง • จัดเตรียมงบประมาณตามที่ได้กำหนดไว้ • วางแผนงานและเตรียมงานต่าง ๆ ให้พร้อม โดยเฉพาะแผนกที่จะเป็นผู้ใช้ระบบ จะต้องเตรียมผู้ประสานงาน, เตรียมการจัดหาข้อมูลต่าง ๆ ที่จะส่งมอบให้แก่ทีมงาน เช่น ความต้องการทางด้านเทคนิค, ลักษณะกระแสงาน, เงื่อนไขการปฏิบัติงาน, ความต้องการด้านสารสนเทศ, ความต้องการในการใช้งาน ฯลฯ
การวิเคราะห์ระบบ • การศึกษาว่าผู้ใช้มีวิธีการทำงานอย่างไร, เก็บและบันทึกข้อมูลอย่างไร, ประมวลผลอย่างไร, จัดทำรายงานอะไรบ้าง, และ จัดทำแฟ้มข้อมูลอะไรบ้าง จากนั้นจึงพิจารณาว่างานปัจจุบันมีปัญหาอะไรบ้าง และ ระบบใหม่ควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะไม่มีปัญหาเหมือนเดิมอีก • อีกชื่อหนึ่งคือ การกำหนดความต้องการของระบบ (Requirement Definition) คือกำหนดว่าระบบใหม่จะต้องทำอะไรได้บ้าง • งานขั้นนี้เป็นการสัมภาษณ์, สอบถาม, สังเกต, และ อาจจะจัดสัมมนาสรุปประเด็น