300 likes | 539 Views
นาย วร เดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบิน พลเรือน. การเตรียมความพร้อมด้านการ ขนส่ง ทาง อากาศเพื่อ รองรับ AEC. การดำเนินการของกรมการบิน พลเรือน เพื่อเข้าสู่ AEC การเตรียมความพร้อมของกรมการบิน พลเรือน เพื่อเข้าสู่ AEC. DCA กับ AEC.
E N D
นายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน การเตรียมความพร้อมด้านการขนส่งทางอากาศเพื่อรองรับ AEC
การดำเนินการของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC • การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC DCA กับ AEC
การให้สัตยาบันความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศเพื่อการเปิดเสรีการบิน (1) ความตกลงพหุภาคีอาเซียน (2) ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับประเทศคู่เจรจา (1) ความตกลงพหุภาคีอาเซียน 1. ความตกลงพหุภาคีอาเซียนว่าด้วยการเปิดเสรีเที่ยวบินขนส่งสินค้าและพิธีสารท้าย ความตกลงฯ 2 ฉบับ พิธีสาร 1ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 4 และ 5 อย่างเต็มที่ โดยไม่จำกัดความจุความถี่ และแบบอากาศยาน ตามที่กำหนด (แต่ละประเทศจะระบุจุดที่กำหนดไว้ ซึ่งไทยระบุ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ หาดใหญ่ ขอนแก่น ภูเก็ต อู่ตะเภา และอุบลราชธานี) พิธีสาร 2ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 4 และ 5 อย่างเต็มที่ โดยไม่จำกัดความจุความถี่ และแบบอากาศยาน ทุกจุดในอาเซียนที่มีท่าอากาศยานระหว่างประเทศ - อินโดนีเซียประเทศเดียวที่ยังไม่ให้สัตยาบันความตกลงฯ และพิธีสารทั้ง 2 ฉบับ การดำเนินการของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
2. ความตกลงพหุภาคีอาเซียนว่าด้วยบริการเดินอากาศ (เที่ยวบินขนส่งผู้โดยสาร) และพิธีสารท้ายความตกลงฯ 6 ฉบับ พิธีสาร 1ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 และ 4 อย่างไม่จำกัด ระหว่างจุดใน อนุภูมิภาค (sub-region) ที่ตนเป็นสมาชิก ได้แก่ BIMP-EAGA ประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์; CLMV ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม; IMS-GT ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ และ IMT-GT (ไทยเป็นสมาชิก IMT-GT) ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย โดยไม่จำกัดความจุความถี่ และแบบอากาศยาน พิธีสาร 2ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 อย่างไม่จำกัด ภายในอนุภูมิภาคของอาเซียนที่ตนเป็นสมาชิก โดยไม่จำกัดความจุความถี่ และแบบอากาศยาน การดำเนินการของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
พิธีสาร 3ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 และ 4 อย่างไม่จำกัด ระหว่างอนุภูมิภาคในอาเซียน โดยไม่จำกัดความจุความถี่ และแบบอากาศยาน พิธีสาร 4ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 อย่างไม่จำกัด ระหว่างอนุภูมิภาคในอาเซียน โดยไม่จำกัดความจุความถี่ และแบบอากาศยาน พิธีสาร 5ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 และ 4 อย่างไม่จำกัด ระหว่างเมืองหลวงต่างๆ ในอาเซียน โดยไม่จำกัดความจุความถี่ และแบบอากาศยาน พิธีสาร 6ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 อย่างไม่จำกัด ระหว่างเมืองหลวงต่างๆ ในอาเซียน โดยไม่จำกัดความจุความถี่ และแบบอากาศยาน - อินโดนีเซียยังไม่ให้สัตยาบันพิธีสาร 3-6 ส่วนฟิลิปปินส์ยังไม่ให้สัตยาบันพิธีสาร 5-6 การดำเนินการของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
3. ความตกลงพหุภาคีอาเซียนว่าด้วยการเปิดเสรีบริการขนส่งผู้โดยสารอย่างเต็มที่และพิธีสารท้ายความตกลงฯ 2 ฉบับ พิธีสาร 1ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 และ 4 อย่างไม่จำกัด ระหว่างจุดใดๆ ในอาเซียน โดยไม่จำกัดความจุความถี่ และแบบอากาศยาน โดยมีเงื่อนไขว่า จุดต้นทางและจุดปลายทางจะต้องไม่เป็นจุดที่เป็นเมืองหลวงในเที่ยวบินเดียวกัน พิธีสาร 2ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 อย่างไม่จำกัด ระหว่างจุดใดๆ ในอาเซียน โดยไม่จำกัดความจุความถี่ และแบบอากาศยาน โดยมีเงื่อนไขว่า การใช้สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 ที่มีจุดที่เป็นเมืองหลวงด้วยนั้น จะต้องเป็นจุดที่ไม่ใช่เมืองหลวงร่วมอยู่ด้วย -มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ให้สัตยาบันความตกลงฯ และ พิธีสารทั้ง 2 ฉบับแล้ว การดำเนินการของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
(2) ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับประเทศคู่เจรจา - ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งรัฐสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและพิธีสารท้ายความตกลงฯ 1 ฉบับ พิธีสาร 1 ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 และ 4 อย่างไม่จำกัดระหว่างจุดใดๆ ในภาคีผู้ทำความตกลงต่างๆ (มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ให้สัตยาบันความตกลงฯ และพิธีสาร 1 แล้ว) - ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการให้มีการลงนามเพื่อเป็นภาคีของพิธีสาร 2 การดำเนินการของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
หมายเหตุ: 1. ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันความตกลงฯ และพิธีสารท้ายความตกลงฯ ทุกฉบับแล้ว 2. ปัจจุบันยังไม่มีสายการบินของไทยและสายการบินของประเทศสมาชิกอาเซียนให้บริการมายัง/ไปจากประเทศไทยภายใต้ความตกลงฯ และพิธีสารท้ายความตกลงฯ การดำเนินการของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การเปิดเสรีบริการเสริมด้านการขนส่งทางอากาศการเปิดเสรีบริการเสริมด้านการขนส่งทางอากาศ ไทยเข้าร่วมประชุมรายสาขาด้านการขนส่งทางอากาศ เพื่อเจรจาเปิดตลาดบริการเสริมจนถึงปัจจุบัน ทั้งสิ้น 6 รอบ ดังนี้ • รอบที่ 1 ปี 2539 – 2541 จัดทำข้อผูกพันชุดที่ 1 และ 2 บริการซ่อมและบำรุงรักษาอากาศยาน การขายและการตลาดของบริการขนส่งทางอากาศ ซึ่งรวมบริการสำรองที่นั่งด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับ WTO • รอบที่ 2 ปี 2542 – 2544 จัดทำข้อผูกพันชุดที่ 3 ยื่นข้อผูกพันโดยแยก การขายและการตลาดของบริการขนส่งทางอากาศ และบริการสำรองที่นั่งด้วยระบบคอมพิวเตอร์ออกจากกัน พร้อมปรับปรุงเงื่อนไขในตารางข้อผูกพัน การดำเนินการของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
รอบที่ 3 ปี 2545 – 2547 จัดทำข้อผูกพันชุดที่ 4 บริการซ่อมและบำรุงรักษาอากาศยาน การขายและการตลาดของบริการขนส่งทางอากาศ และบริการสำรองที่นั่งด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยปรับปรุงเงื่อนไขในตารางข้อผูกพัน • รอบที่ 4 ปี 2548 – 2549 จัดทำข้อผูกพันชุดที่ 5 บริการให้เช่าอากาศยานโดยปราศจากลูกเรือ สำหรับการให้บริการข้ามพรมแดน (Mode 1) และการใช้บริการในต่างประเทศ (Mode 2) ขณะที่การจัดตั้งสถานประกอบการ (Mode 3) และการเข้ามาทำงานของบุคลากรผู้ให้บริการ (Mode 4) เปิดเสรีตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อผูกพันที่ใช้เป็นการทั่วไป • รอบที่ 5 ปี 2550 – 2551 จัดทำข้อผูกพันชุดที่ 6 (ไม่ยื่นเสนอเปิดบริการเพิ่มเติม) การดำเนินการของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
- รอบที่ 6 ปี 2552 – ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำข้อผูกพันชุดที่ 7 บริการซ่อมและบำรุงรักษาอากาศยาน โดยอนุญาตให้ชาวอาเซียนถือหุ้นได้ 51% สำหรับการซ่อมเครื่องยนต์ ใบพัด วิทยุสื่อสาร เครื่องวัด ฯลฯ บริการสำรองที่นั่งด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยอนุญาตให้จำหน่ายบริการโดยระบบสำรองที่นั่งด้วยคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานตัวแทนจำหน่ายได้ไม่จำกัด จากเดิมอนุญาตเพียงหนึ่งแห่ง และเสนอเปิดตลาดเพิ่มสำหรับบริการให้เช่าอากาศยานพร้อมลูกเรือ โดยอนุญาตให้ชาวอาเซียนถือหุ้นได้ร้อยละ 49% การดำเนินการของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การดำเนินการจัดตั้งตลาดการบินร่วมอาเซียน (ASEAN Single Aviation Market หรือ ASAM) มาตรการต่างๆ ใน Roadmap และกรอบเวลาของ ATEC - การจัดตั้งตลาดการบินร่วมอาเซียนประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบด้านเศรษฐกิจ และองค์ประกอบด้านเทคนิค - องค์ประกอบด้านเศรษฐกิจ (Economic elements of ASAM)ประกอบด้วย การเข้าสู่ตลาด การเช่าเหมา กรรมสิทธิ์และการควบคุม พิกัดอัตราค่าขนส่ง กิจกรรมทางพาณิชย์ กฎหมายแข่งขันทางการค้าและการคุ้มครองผู้บริโภค User Charge การระงับข้อพิพาทและกลไกในการเข้าร่วมกับประเทศคู่เจรจา การดำเนินการของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การปรับปรุงบทบาทและโครงสร้างองค์กรของภาครัฐในฐานะผู้กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจในกิจการขนส่งทางอากาศการปรับปรุงบทบาทและโครงสร้างองค์กรของภาครัฐในฐานะผู้กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจในกิจการขนส่งทางอากาศ • การปรับปรุงกฎหมาย กฎเกณฑ์ กฎ ระเบียบ ของภาครัฐ การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การปรับปรุงบทบาทและโครงสร้างองค์กรของภาครัฐในฐานะผู้กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจในกิจการขนส่งทางอากาศการปรับปรุงบทบาทและโครงสร้างองค์กรของภาครัฐในฐานะผู้กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจในกิจการขนส่งทางอากาศ แบบควบคุมโดยเคร่งครัด การเปิดเสรีแบบตามลำดับ การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การปรับปรุงกฎหมาย กฎเกณฑ์ กฎ ระเบียบ ของภาครัฐ -หลักกรรมสิทธิ์และการควบคุม (สายการบิน) แก้ไขหลักเกณฑ์การกำหนดสายการบินของรัฐสมาชิกอาเซียน การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC “กรรมสิทธิ์ในส่วนสาระสำคัญและการควบคุมอย่างแท้จริง” ซึ่งกำหนดให้สายการบินของไทยจะต้องมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลสัญชาติไทยอย่างน้อย 51% และต่างชาติ 49% นำไปสู่ หลักการเรื่อง “ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และอำนาจควบคุมเชิงกำกับดูแลอันแท้จริง” ซึ่งจะไม่จำกัดสัดส่วนผู้ถือหุ้นเหนือสายการบินที่กำหนด เพียงแต่มีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ ประเทศไทย และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เรื่องความปลอดภัยการบินของไทยครบถ้วน
การปรับปรุงกฎหมาย กฎเกณฑ์ กฎ ระเบียบ ของภาครัฐ - การคุ้มครองผู้บริโภค ออกกฎหมายหรือกฎเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ การมีกฎหมายภายในเพื่อบังคับใช้กับการคุ้มครองผู้ใช้บริการการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการที่เป็นคนไทยและผู้ประกอบการไทยมากขึ้น เช่น การออกประกาศกระทรวงคมนาคมเรื่อง การคุ้มครองสิทธิผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบินประจำระหว่างประเทศเพิ่มเติม การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การแก้ไข พ.ร.บ. การเดินอากาศ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 - แก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติเรื่องทุนและอำนาจบริหารกิจการของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสำคัญของอากาศยาน และผู้ขอรับใบรับรองหน่วยซ่อมประเภทที่หนึ่ง (บำรุงรักษาอากาศยานทั้งลำ) โดยกำหนดให้อำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติเรื่องทุน(ซึ่งกำหนดให้เป็นของบุคคลสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนทั้งหมด) และอำนาจการบริหารกิจการ (ซึ่งกำหนดให้อยู่ภายใต้การควบคุมของบุคคลผู้มีสัญชาติไทย) มาใช้บังคับกับคุณสมบัติและลักษณะของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตอากาศยาน ผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสำคัญของอากาศยาน และผู้ขอรับใบรับรองหน่วยซ่อมประเภทที่หนึ่ง (บำรุงรักษาอากาศยานทั้งลำ) ใน 3 กรณี ได้แก่ 1. กรณีมีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศ 2. กรณีมีเหตุอันสมควรในการส่งเสริมการประกอบกิจการดังกล่าว 3. กรณีต้องปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศ (เช่น ความตกลงอาเซียน) การดำเนินการของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
- เหตุผล เพื่อส่งเสริมการลงทุนในการผลิตอากาศยานและส่วนประกอบสำคัญของ อากาศยาน และการประกอบกิจการหน่วยซ่อมประเภทที่หนึ่ง รวมทั้งเพื่อเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศ (ความตกลงอาเซียน) อันจะเป็นการสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคต่อไป - สถานะ ขณะนี้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป การดำเนินการของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC เลย น่าน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย ภูเก็ต ร้อยเอ็ด แพร่ เชียงใหม่ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ สกลนคร นครราชสีมา ตรัง นราธิวาส ปัตตานี เพชรบูรณ์ ระนอง ตาก หาดใหญ่ หัวหิน อู่ตะเภา สุราษฎร์ธานี กระบี่ ขอนแก่น ตราด สุโขทัย สมุย ชุมพร อุบลราชธานี นครพนม นครศรีธรรมราช พิษณุโลก อุดรธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ แม่สอด • การพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาคของกรมการบินพลเรือน • ท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของกรมการบินพลเรือน 26 แห่ง • ประกาศเป็นสนามบินศุลกากร 17แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 แห่ง1. อุบลราชธานี2. อุดรธานี3. นครราชสีมา4. ขอนแก่น5. นครพนม ภาคเหนือ 4 แห่ง1. พิษณุโลก2. น่าน3. แม่ฮ่องสอน4. แม่สอด ภาคใต้ 8 แห่ง1. สุราษฏร์ธานี 5. ปัตตานี 2. กระบี่ 6. ระนอง3. ตรัง 7. ชุมพร 4. นราธิวาส 8. หัวหิน
การพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาคของ บพ. เพื่อรองรับ AEC - ท่าอากาศยานแม่สอด - ท่าอากาศยานเบตง - ท่าอากาศยานอุบลราชธานี - ท่าอากาศยานอุดรธานี - ท่าอากาศยานนราธิวาส -ท่าอากาศยานนครราชสีมา การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาคของ บพ. - ท่าอากาศยานแม่สอด บพ.มีแผนดำเนินโครงการปรับปรุงขยายท่าอากาศยานแม่สอดเพื่อสนับสนุนแนวทางการจัดตั้งเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 มีผลดำเนินการ ดังนี้ 1. ปี 2549 จ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น โครงการปรับปรุงขยายท่าอากาศยานแม่สอด สรุปผลในภาพรวม มีความเหมาะสมทั้งทางด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการเพื่อสนับสนุนการขนส่งทางอากาศ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของ อำเภอแม่สอด จังหวัดตากที่มีการค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่เป็นผลดีต่อประเทศโดยรวมด้วย 2. ปี 2549 ได้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ขณะนี้อยู่ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณารายงานการศึกษาฯ การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
3. ปี 2549 ได้ทำการสำรวจออกแบบสนามบินแล้วเสร็จวงเงิน 3.116 ล้านบาท 4. บพ. ได้จัดทำคำขอตั้งงบประมาณปี 2557 ดังนี้ 1) จัดซื้อที่ดินและชดเชย วงเงิน 98 ล้านบาท 2) จ้างออกแบบก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารวงเงิน 4 ล้านบาท พร้อมงานระบบอื่น ๆ 5. ปี 2558 - 2559 บพ.มีแผนดำเนินการดังนี้ 1) ปรับปรุงขยายทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน วงเงิน 550 ล้านบาท (ปี 2558 วงเงิน 110 ล้านบาท ปี 2559 วงเงิน 440 ล้านบาท) 2) ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารพร้อมงานระบบอื่น ๆ วงเงิน 210 ล้านบาท (ปี 2558 วงเงิน 42 ล้านบาท ปี 2559 วงเงิน 168 ล้านบาท) *ปัจจุบันโครงการนี้ถูกบรรจุอยู่ในรายการโครงการที่ใช้เงินกู้ตาม พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ ปี 2557, 2558, และ 2559 การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาคของ บพ. - ท่าอากาศยานเบตง 1. ปี 2549 – 2555 จัดซื้อที่ดินและชดเชย วงเงิน 293 ล้านบาท ขณะนี้ได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินแล้วเสร็จ จำนวน 108 ราย 140 แปลง รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 854–2-87.90 54 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 92.826 เป็นเงินประมาณ 221.638 ล้านบาท การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
2. บพ. ได้จัดทำคำขอตั้งงบประมาณปี 2557 ดังนี้ 1) งานก่อสร้างสนามบิน (โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง) วงเงิน 950 ล้านบาท (ปี 2557 วงเงิน 190 ล้านบาท ปี 2558 วงเงิน 380 ล้านบาท และปี 2559 วงเงิน 380 ล้านบาท) 2) ค่าควบคุมงานงานก่อสร้างสนามบิน วงเงิน16.50 ล้านบาท (ปี 2557 วงเงิน 3.30 ล้านบาท ปี 2558 วงเงิน 6.60 ล้านบาท และปี 2559 วงเงิน 6.60 ล้านบาท) 3. ปี 2558 - 2559 บพ. มีแผนดำเนินการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารประกอบ วงเงิน 250 ล้านบาท (ปี 2558 วงเงิน 50 ล้านบาท และปี 2559 วงเงิน 200 ล้านบาท) การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาคของ บพ. - ท่าอากาศยานอุบลราชธานี ตามมติการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (กรอ.ภูมิภาค) ครั้งที่ 6/2555 วันที่ 29 กรกฎาคม 2555 จังหวัดสุรินทร์ ข้อ 2.3 โครงการยกระดับสนามบินอุบลราชธานี เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการบินในอินโดจีน และผลักดันให้มีเที่ยวบินและสายการบินต่างประเทศในอินโดจีนมาลงที่สนามบินอุบลราชธานีและบินไปยังเมืองสำคัญ ๆ ของกลุ่มอินโดจีนโดยตรง - บพ. ขอตั้งงบประมาณปี 2557 วงเงินทั้งสิ้น 7.60 ล้านบาท เพื่อดำเนินการ ดังนี้ 1) จ้างที่ปรึกษาออกแบบต่อเติมลานจอดเครื่องบิน วงเงิน 3.60 ล้านบาท 2) จ้างที่ปรึกษาออกแบบก่อสร้างปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสาร พร้อมงานระบบอื่น ๆ วงเงิน4.00 ล้านบาท - บพ. จะขอตั้งงบประมาณปี 2558 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาท่าอากาศยานอุบลราชธานีในเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ วงเงิน 5 ล้านบาท การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาคของ บพ. - ท่าอากาศยานอุดรธานี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 ด้านโครงการพื้นฐานและโลจิสติกส์ การขนส่งทางอากาศ เป็นการปรับปรุงท่าอากาศยานภูมิภาค โครงการปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารเดิมพร้อมก่อสร้างทางเชื่อมท่าอากาศยานอุดรธานี บพ. ได้รับงบประมาณปี 2556 งานก่อสร้างและปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารเดิม พร้อมติดตั้งสะพานเทียบเครื่องบิน 1 ชุด ที่ท่าอากาศยานอุดรธานี วงเงินทั้งสิ้น 275 ล้านบาท (ปี 2556 วงเงิน 55 ล้านบาท ปี 2557 วงเงิน 110 ล้านบาท และปี 2558 วงเงิน 110 ล้านบาท) ขณะนี้เตรียมการจัดจ้าง การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาคของ บพ. - ท่าอากาศยานนราธิวาส -กระทรวงคมนาคมได้แต่งตั้งคระกรรมการเตรียมความพร้อมในการรับส่งผู้แสวงบุญไปประกอบพิธีฮัจญ์ จากท่าอากาศยานนราธิวาส เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ และติดตามเร่งรัดการดำเนินการเตรียมความพร้อมฯ ตามคำสั่งที่ 1/2556 โดยมีท่านปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน - ในปีงบประมาณ 2555 บพ. ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ ขนาด 1,600 ตารางเมตร รองรับผู้แสวงบุญไปประกอบพิธีฮัจญ์ จากท่าอากาศยานนราธิวาส กำหนดเวลาแล้วเสร็จในเดือน กรกฎาคม 2556 การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาคของ บพ. - ท่าอากาศยานนครราชสีมา -ท่าอากาศยานนครราชสีมามีพื้นที่ประมาณ 4,625 ไร่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน ปัจจุบันมีทางวิ่งกว้าง 45 เมตร ยาว 2,100 เมตร สามารถรองรับเครื่องบินแบบ B737 มีพื้นที่แวดล้อมเพียงพอต่อการขยายตัวในอนาคต จึงสามารถรองรับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอากาศยานและศูนย์ซ่อมอากาศยานได้ -นายกรัฐมนตรีลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 251/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอากาศยานและศูนย์ซ่อมอากาศยาน ณ ท่าอากาศยานนครราชสีมา เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) เป็นประธาน การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
การพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาคของ บพ. - ท่าอากาศยานนครราชสีมา (ต่อ) - คณะกรรมการฯ มีมติมอบหมายให้ บพ. ประสานงานการใช้พื้นที่กับกรมป่าไม้และจัดทำหนังสือขอเปลี่ยนสีผังเมืองต่อจังหวัดนครราชสีมาและเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ บพ. จะดำเนินโครงการขยายความยาวของ Runway เพื่อรองรับอากาศยานขนาดใหญ่ขึ้น และรองรับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม อากาศยานและศูนย์ซ่อมอากาศยานต่อไป - บพ. อยู่ระหว่างการแก้ไข พ.ร.บ. การเดินอากาศ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 แก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติเรื่องทุนและอำนาจบริหารกิจการของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสำคัญของอากาศยาน และผู้ขอรับใบรับรองหน่วยซ่อมประเภทที่หนึ่ง (บำรุงรักษาอากาศยานทั้งลำ) เพื่อเปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถเข้ามาประกอบกิจการผลิตและซ่อมอากาศยานได้อย่างครบวงจร การเตรียมความพร้อมของกรมการบินพลเรือนเพื่อเข้าสู่ AEC
Q and A Q & A