230 likes | 351 Views
สุดยอดวิธีอ่านตำรา. จากหนังสือ TEXT BOOK-Speed Reading สุดยอดวิธีอ่านตำรา สรุปย่อโดย พรทิพย์ แสงระยับ. สุดยอดวิธีอ่านตำรา. หัวข้อสำคัญ. วิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผล 8 เทคนิคในการอ่านให้เร็วและได้ใจความ อ่านแล้ว...ไม่ลืม จะทำอย่างไร. วิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผล.
E N D
สุดยอดวิธีอ่านตำรา จากหนังสือ TEXT BOOK-Speed Reading สุดยอดวิธีอ่านตำรา สรุปย่อโดย พรทิพย์ แสงระยับ
สุดยอดวิธีอ่านตำรา หัวข้อสำคัญ • วิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผล • 8 เทคนิคในการอ่านให้เร็วและได้ใจความ • อ่านแล้ว...ไม่ลืม จะทำอย่างไร
วิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผลวิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผล
วิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผลวิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผล • เรื่องที่ชัดเจนก่อนลงมืออ่าน 1. วัตถุประสงค์ของการอ่าน หนังสือแต่ละประเภทจะมีวัตถุประสงค์ในการอ่านและวิธีอ่านที่แตกต่างกัน เช่น - การอ่านให้เข้าใจในรายละเอียด ตั้งแต่ต้นจนจบโดยรวดเร็ว เป็นการอ่านเพื่อการ ทำงานและเพื่อการศึกษา - การอ่านเพื่อทบทวนในสิ่งที่เรียนรู้และได้เคยอ่านไปแล้ว - การอ่านเพื่อค้นหาข้อมูลและความเป็นจริงของเรื่องราวบางอย่าง ผู้อ่านจึงมีหน้าที่กำหนดวัตถุประสงค์ในการอ่านทุกครั้งให้ชัดเจนว่าต้องการจะได้รับอะไรจากการอ่านในครั้งนั้น 2. วิธีการอ่านและเทคนิคในการอ่านหนังสือแต่ละประเภท
วิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผลวิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผล • ความเข้าใจในโครงสร้างของหนังสือ โครงสร้างของหนังสือตำราวิชาการ (Text Book) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 : ส่วนเกริ่นนำ แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อย่อย คือ - คำนิยม (Foreword) - คำนำ (Preface) - สารบัญ (Contents) - กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) ส่วนที่ 2 : ส่วนเนื้อหา แบ่งออกเป็น 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ - บทนำ (Introduction) เป็นการปูพื้นฐานให้แก่ผู้อ่านในการที่จะอ่านในบทต่อ ๆ ไป ผู้เขียนบางคนอาจนำเรื่องสรุปของเนื้อหาแต่ละบทมาแสดงไว้ที่บทนำ - เนื้อหา-สาระ (Text) จะแบ่งออกเป็นบท (Chapters) ต่าง ๆ แล้วแต่วิธีการของ ผู้เขียนในการที่จะนำเสนอให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย
วิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผลวิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผล • ความเข้าใจในโครงสร้างของหนังสือ ในแต่ละบทจะแบ่งเป็นย่อหน้ามากมาย ถ้าจะอ่านให้เร็ว ไม่ว่าจะเป็นทีละ 1 ย่อหน้า หรือทีละหน้า ก็ควรเข้าใจว่า สาระสำคัญของแต่ละย่อหน้าจะถูกนำเสนอมาในลักษณะใดบ้าง เมื่อเราทราบวัตถุประสงค์ของการอ่าน ทราบว่ากำลังอ่านหนังสือที่นำเสนออะไรรวมถึงทราบเจตนารมณ์ของผู้เขียน ก็จะสามารถเลือกอ่านตรงตำแหน่งของสาระสำคัญที่ปรากฏอยู่ในแต่ละย่อหน้าได้โดยง่าย ตำแหน่งของสาระสำคัญ- ลำดับต้น ๆ ของย่อหน้า- ลำดับต้น ๆ หรือท้ายย่อหน้า- ลำดับกลาง หรือท้ายย่อหน้า ประเภทของการเขียน- เขียนเพื่อแจ้งให้ทราบ หรือแสดงข้อเท็จจริง- เขียนเพื่อชักชวน โน้มน้าว- เขียนเพื่อให้ความเพลิดเพลิน และความบันเทิง รื่นรมย์
วิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผลวิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผล • วิธีอ่านให้เร็วและได้ผล มี 2 ประการ คือ 1. อ่านแบบสอบแนม (Previewing)ลำดับแรกก่อนลงมืออ่านหนังสือ ต้องสำรวจดูก่อนว่าหนังสือเล่มนั้นมีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง โดยสำรวจตั้งแต่ - ชื่อเรื่องของหนังสือ - สารบัญ (Contents) และคำนำ (Preface) - บทนำหรือความเบื้องต้นหรืออารัมภบท (Introduction) ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้นับว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของผู้แต่ง สาระของหนังสือ และจุดที่เราควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ รวมถึงวิธีการใช้ นอกจากเข้าใจในสาระและแนวคิดของหนังสือแล้ว สิ่งที่ควรสำรวจต่อไป คือ วิธีการนำเสนอและความยาก-ง่าย โดยพิจารณาได้จาก - รูปภาพ ตารางข้อมูล รูปกราฟ การใช้สีหรือสกรีนต่าง ๆ - การใช้รูปแบบและขนาดของตัวอักษร ทั้งในหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย
วิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผลวิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผล • วิธีอ่านให้เร็วและได้ผล มี 2 ประการ คือ 2. อ่านแบบรวดเร็ว แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ 2.1 การอ่านแบบผาด ๆ (Skimming) เป็นการอ่านที่เน้นความรวดเร็วและคัดแต่ใจความสำคัญ ๆ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้ - เลือกวิธีอ่านด้วยเทคนิคที่มีความถนัดสูงสุด เช่น การอ่านเป็นช่วง อ่านกลางบรรทัด ในแนวดิ่ง หรืออ่านทีละหนึ่งย่อหน้า - ไม่ต้องกังวลหรือลังเลใจกับคำศัพท์บางคำที่อาจจะยังไม่เข้าใจความหมาย - ใช้ดินสอขีดเส้นใต้ข้อความหรือคำที่สำคัญ รวมถึงจุดที่ยังไม่เข้าใจ - พยายามอ่านต่อไปข้างหน้าให้ได้อย่างสม่ำเสมอ การหยุดหรือสะดุดจากการขีด เขียนสิ่งใด ควรเป็นไปให้น้อยที่สุด (เป็นการอ่านเพื่อเก็บรายละเอียดให้มากที่สุด) - เมื่ออ่านจบทั้งเล่มแล้ว ให้หาเวลาที่เหมาะสม เพื่อกลับมาอ่านอีกครั้ง โดยเฉพาะจุด ที่ขีดเส้นใต้ไว้ หรือบันทึกข้อความสั้น ๆ ไว้
วิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผลวิธีอ่านตำราให้เร็วและได้ผล • อ่านแบบรวดเร็ว 2. อ่านแบบรวดเร็ว แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ 2.2 การอ่านแบบค้นหา (Scanning) เป็นการกวาดสายตา เพื่อค้นหาสาระ หรือข้อความที่ต้องการ เป็นการอ่านเพื่อเติมหรือหาในส่วนที่เราขาดสรุป - การอ่านแบบผาด ๆ เป็นการอ่านเพื่อให้ได้สาระสำคัญมากที่สุด ในเวลาที่สั้นที่สุด - การอ่านแบบค้นหา เป็นการอ่านเฉพาะเรื่อง หรือ เฉพาะประเด็น เพื่อพิเคราะห์หา สาระที่ต้องการเท่านั้น การอ่านแบบนี้จึงง่ายกว่าการอ่านแบบแรก
8 เทคนิคในการอ่านให้เร็วและได้ใจความ “ วิธีการอ่านทั้ง 8 วิธี เป็นแนวทางในการฝึกจากระดับที่ง่ายไปสู่ยากไม่จำเป็นต้องฝึกทุกวิธี แต่หากฝึกด้วยวิธีแรก ๆ ก็สามารถจะช่วยให้มีความเร็วในการอ่านเพิ่มขึ้นเป็น 200-300 คำต่อนาทีได้โดยง่าย ”
8 เทคนิคในการอ่านให้เร็วและได้ใจความ 1. ห้ามอ่านออกเสียง การอ่านออกเสียงทั้งการเปล่งเสียงดังออกมาหรือการอ่านออกเสียงในใจ ล้วนแต่เป็นข้อห้าม-ไม่ควรปฏิบัติ เพราะเท่ากับว่าเรากำลังอ่านหนังสือด้วยความเร็วของการออกเสียงหรือการพูด แทนที่จะอ่านด้วยการใช้ความเร็วของสายตาและสมอง 2. ใช้ตาให้สัมพันธ์กับมือ การใช้มือกับนัยน์ตาให้สัมพันธ์กัน (Guiding) จะมีประโยชน์ ดังนี้- เมื่อเราใช้ปลายนิ้วมือชี้ลงไปยังบรรทัดที่อ่าน จะช่วยให้สายตาโฟกัสได้ถูกจุด- ช่วยให้การอ่านเดินไปข้างหน้า ไม่ย้อนไปย้อนมา และช่วยรักษาสมาธิการอ่านได้อย่างต่อเนื่อง(นอกจากการใช้ปลายนิ้วมือแล้ว อาจใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีรูปทรงเป็นแท่งเล็ก ๆ ยาวประมาณ6-10 นิ้ว เช่น ดินสอ ปากกา และไม้ถักนิตติ้ง ก็สามารถใช้เป็นช่วยเครื่องช่วยชี้ (Guide) ได้)
8 เทคนิคในการอ่านให้เร็วและได้ใจความ 3. อ่านไปข้างหน้า-อ่านเป็นช่วง ๆ วิธีการอ่านที่ถูกต้อง คือ การอ่านไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว และอ่านเป็นช่วง ๆ ตรงจุดใดที่มีสาระที่สำคัญ หรือไม่เข้าใจก็อาจใช้ดินสอขีดเส้นใต้ไว้ก่อน Fixations This is the example of the experiment to speed up your reading skill. Group of words covered แผนภาพ : วิธีการใช้สายตาที่ถูกต้อง
8 เทคนิคในการอ่านให้เร็วและได้ใจความ 4. อ่านทีละสองบรรทัด การวางปลายนิ้วไว้ใต้บรรทัดที่สอง พร้อมกับกำหนดสายตาไว้ที่ข้างหน้าปลายนิ้ว แล้วให้อ่านทีละ 2 บรรทัด ตามปลายนิ้วที่เลื่อนไปทางด้านขวา จะช่วยเพิ่มสมาธิในการอ่าน 5. อ่านกลางบรรทัดในแนวดิ่ง ท่านสามารถลองฝึกการอ่านแบบทีละ 1 บรรทัดในแนวดิ่ง ด้วยการอ่านเฉพาะช่วงกลางของแต่ละบรรทัดลงมา โดยมีกรอบสายตาเป็นแนวอยู่ด้านซ้ายและขวาสุดของแต่ละบรรทัด ศูนย์กลาง ของสายตา กรอบสายตา(ด้านซ้าย) กรอบสายตา(ด้านขวา) When the worm turns Scientists have charted a complete genetic map of a tiny worm – and their achievement is being hailed as A great leap forward in unraveling the genetic mys teries of life.
8 เทคนิคในการอ่านให้เร็วและได้ใจความ 6. อ่านทีละหนึ่งย่อหน้า การอ่านทีละหนึ่งย่อหน้า ต้องกำหนดกรอบสายตาในการอ่านเป็น 2 ชั้น คือ - ชั้นในสุด (Clear Vision) โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 นิ้ว และมีจุดศูนย์กลางอยู่ตรงกลางย่อหน้า- ชั้นนอก (Peripheral Vision) คือ ส่วนที่เหลือจนถึงขอบซ้ายและขวาของย่อหน้าในหน้าหนังสือ But the Fed’s aggressive moves have also boosted the spirits of already exuberant con- sumers and fed a rally in stock prices that observers inside and outside the Fed say have reached levels simply not justifiable by the economic outlook. วงกลมด้านใน คือ Clear Vision วงกลมด้านนอก คือ Peripheral Vision
8 เทคนิคในการอ่านให้เร็วและได้ใจความ 7. อ่านทีละหนึ่งหน้า (เป็นวิธีที่ยากที่สุด) วิธีการอ่านมีเทคนิค ดังนี้- ใช้กรอบสายตา เป็น - เมื่อโฟกัสสายตาไว้ตามวิธีข้างต้น นานประมาณ 10 วินาทีแล้ว ให้กวาดสายตาในลักษณะของการอ่านทแยงมุม จากด้านบนลงล่างอีก 2 ครั้ง • วงกลมด้านใน (Clear Vision) มีเส้นผ่าน-ศูนย์กลางประมาณ2 นิ้ว โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ตรงหน้ากระดาษ • วงกลมด้านนอก (Peripheral Vision)ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่ส่วนที่เหลือของหน้าหนังสือ
8 เทคนิคในการอ่านให้เร็วและได้ใจความ 8. การใช้ระบบจำภาพ (Photographic Memory) ข้อเปรียบเทียบระหว่างการขับรถกับการอ่านหนังสือให้เป็นรูปธรรม สรุปได้ดังนี้- ในการขับรถนั้น ขณะที่เรากำลังอ่านเส้นทางแนวถนนอย่างมีสมาธินั้น เปรียบได้กับการมี Clear Vision ที่ใช้สายตาจับจ้องอยู่กลางหน้าหนังสือ และเดินหน้าไปในแนวดิ่ง (Vertical Reading) - การได้เห็นทิวทัศน์ข้างทาง เปรียบได้กับการมี Peripheral Vision ที่เป็นการเก็บภาพ หรือถ่ายภาพเข้าสู่สมองไว้เป็นครั้ง ๆ มิใช่ภาพต่อเนื่อง เช่น Clear Vision แต่ถือว่าเป็นภาพที่เราจดจำได้ การใช้ระบบจำภาพ จะให้ประโยชน์แก่การอ่านใน 4 ลักษณะ คือ1. การอ่านไปข้างหน้าและอ่านเป็นช่วง ๆ 2. การอ่านกลางบรรทัดในแนวดิ่ง3. การอ่านทีละหนึ่งย่อหน้า 4. การอ่านทีละหน้า
อ่านแล้ว....ไม่ลืม จะทำอย่างไร
อ่านแล้ว....ไม่ลืม จะทำอย่างไร • การเขียนข้อสรุปหลังการอ่าน การเขียนข้อสรุปหลังการอ่าน มีประโยชน์ 2 ประการ คือ1. ทำให้เกิดความเข้าใจได้อย่างชัดเจนมากขึ้น2. ใช้อ่านทบทวน รวมทั้งประหยัดเวลาในการอ่านเรื่องนั้นอีกครั้งวิธีการจัดทำข้อสรุป คือ การถามและตอบตนเองด้วยสูตร W5Hดังนี้ ลักษณะของข้อสรุป ควรมีองค์ประกอบดังนี้- เป็นข้อความสั้น ๆ กระชับ- อย่าสอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวหรือขยายความออกไป- ควรมีสาระที่เป็นการตอบคำถามตามสูตร W5H What Who Where When Why How
อ่านแล้ว....ไม่ลืม จะทำอย่างไร • การทำแผนภูมิความคิด (Mind Mapping) เป็นการเรียบเรียงความเข้าใจในสาระที่ได้จากเนื้อเรื่องที่อ่าน ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของแผนภูมิหรือแผนภาพ และในการเขียนควรใช้คำสั้น ๆ เครื่องหมาย รูปภาพ ตัวเลขและสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาประกอบกัน เพื่อให้การเขียนแผนภูมิเป็นไปโดยง่ายและรวดเร็ว
อ่านแล้ว....ไม่ลืม จะทำอย่างไร • การทำแฟ้มภูมิปัญญา (Knowledge File) ทุกครั้งที่อ่านหนังสือจนจบเรื่อง และทำข้อสรุปหรือ Mind Mapping เสร็จแล้ว ควรนำมาจัดเป็นแฟ้มภูมิปัญญา (Knowledge File) โดยแยกเป็นเรื่อง ๆ เฉพาะที่อยู่ในหมวดหมู่ หรือสาขาเดียวกัน