1.75k likes | 2.64k Views
โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. ช่วงชั้นที่ 2. เสนอ. สื่อเสริมความรู้เพื่อการศึกษา. เรื่อง. ตัวประกอบของจำนวนนับ. คำชี้แจง. 1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน. 2. ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาจากสื่อเสริมความรู้. 3. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน.
E N D
โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 เสนอ สื่อเสริมความรู้เพื่อการศึกษา เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ
คำชี้แจง 1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน 2. ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาจากสื่อเสริมความรู้ 3. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน 4. แบบทดสอบนี้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ตลอดเวลา
จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เมื่อกำหนดจำนวนนับให้ นักเรียนสามารถหาตัวประกอบทั้งหมดของจำนวนนับนั้นได้ 2. เมื่อกำหนดจำนวนนับให้ นักเรียนสามารถบอกได้ว่าจำนวนใดเป็นจำนวนเฉพาะ 3. เมื่อกำหนดจำนวนนับให้ นักเรียนสามารถหาตัวประกอบเฉพาะทั้งหมดของจำนวนนับนั้นได้ 4. นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของจำนวนนับที่กำหนดให้ได้ 5. นักเรียนจะได้พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล 6. นักเรียนได้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
สื่อเสริมความรู้ ชุดตัวประกอบของจำนวนนับ โปรดเลือกรายการที่คุณต้องการ ทบทวนการหารลงตัวและไม่ลงตัว ผู้พัฒนาโปรแกรม ตัวประกอบ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน การหาตัวประกอบ จำนวนเฉพาะ ออกจากโปรแกรม ตัวประกอบเฉพาะ การแยกตัวประกอบ
ผู้พัฒนาโปรแกรม นางสาวขนิษฐา สุขชื่น อาจารย์ 1 ระดับ 4 โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์ 3/1 หมู่ 7 ซอยลาซาล 55 ถนนสุขุมวิท 105 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
แบบทดสอบก่อนเรียน คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว 1. จำนวนในข้อใดที่หาร 44 ได้ลงตัว ก. 2 ข. 3 ค. 5 ง. 7
2. จำนวนนับในข้อใดเป็นตัวประกอบของ 15 ก. 4 ข. 5 ค. 6 ง. 7
3. ข้อใดที่ ไม่มี 3 เป็นตัวประกอบ ข. 33 ก. 13 ค. 63 ง. 93
4. จงหาตัวประกอบทุกตัวของ 8 ก. 1, 2, 3, 4 ข. 1, 2, 4, 6 ค. 1, 2, 4, 8 ง. 1, 2, 6, 8
5. ข้อใดเป็นจำนวนเฉพาะหมดทุกตัว ก. 1, 3, 5, 7 ข. 2, 3, 5, 7 ค. 3, 5, 7, 9 ง. 5, 7, 9, 11
6. จำนวนใด ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ ก. 1 ข. 3 ค. 5 ง. 7
7. ตัวประกอบเฉพาะของ 12 คือจำนวนใด ก. 1 ข. 2 ค. 4 ง. 6
8. ตัวประกอบเฉพาะของ 24 คือข้อใด ก. 1, 2, 3 ข. 1, 2, 3, 5 ค. 2, 3 ง. 2, 3, 5
9. ข้อใดแยกตัวประกอบของ 32 ได้ถูกต้อง ก. 1 x 32 ข. 2 x 16 ค. 2 x 2 x 2 x 2 x 2 ง. 2 x 2 x 8
10. ข้อใดแยกตัวประกอบ ไม่ถูกต้อง ก. 22 = 2 x 11 ข. 30 = 2 x 3 x 5 ค. 32 = 2 x 2 x 2 x 2 x 2 ง. 40 = 4 x 10
ทบทวนการหารลงตัวและการหารไม่ลงตัวทบทวนการหารลงตัวและการหารไม่ลงตัว พิจารณาการหารต่อไปนี้ 7 5 ก. 6) 42 ข. 8) 43 4240 03 42 ÷ 6 ได้ผลลัพธ์ 7 ไม่มีเศษ หรือ เศษเป็น 0 กล่าวได้ว่า 42 หารด้วย 6 ลงตัว 43 ÷ 8 ได้ผลลัพธ์ 5 เศษ3 กล่าวได้ว่า 43 หารด้วย 8 ไม่ลงตัว การหารที่ไม่มีเศษ หรือ เศษเป็น 0 เรียกว่า การหารลงตัว
ตัวประกอบ ตัวประกอบของจำนวนนับใดๆ คือจำนวนนับที่หารจำนวนนับนั้นได้ลงตัว 2 เป็นตัวประกอบของ 4 เพราะ 2 หาร 4 ลงตัว 3 เป็นตัวประกอบของ 6 เพราะ 3 หาร 6 ลงตัว 5 เป็นตัวประกอบของ 15 เพราะ 5 หาร 15 ลงตัว 2 ไม่เป็นตัวประกอบของ 3 เพราะ 2 หาร 3 ไม่ลงตัว 3 ไม่เป็นตัวประกอบของ 5 เพราะ 3 หาร 5 ไม่ลงตัว 5 ไม่เป็นตัวประกอบของ 6 เพราะ 5 หาร 6 ไม่ลงตัว
การหาตัวประกอบ การหาตัวประกอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 พิจารณาจำนวนนับที่เป็นตัวประกอบของ 8 8 หารด้วย 1 ลงตัว ดังนั้น 1 เป็นตัวประกอบของ 8 8 หารด้วย 2 ลงตัว ดังนั้น 2 เป็นตัวประกอบของ 8 8 หารด้วย 3 ไม่ลงตัว ดังนั้น 3 ไม่เป็นตัวประกอบของ 8 8 หารด้วย 4 ลงตัว ดังนั้น 4 เป็นตัวประกอบของ 8 8 หารด้วย 5 ไม่ลงตัว ดังนั้น 5 ไม่เป็นตัวประกอบของ 8 8 หารด้วย 6 ไม่ลงตัว ดังนั้น 6 ไม่เป็นตัวประกอบของ 8 8 หารด้วย 7 ไม่ลงตัว ดังนั้น 7 ไม่เป็นตัวประกอบของ 8 8 หารด้วย 8 ลงตัว ดังนั้น 8 เป็นตัวประกอบของ 8 จำนวนนับที่หาร 8 ลงตัว ได้แก่ 1, 2, 4 และ 8 ดังนั้น 8 มีตัวประกอบสี่ตัว คือ 1, 2, 4 และ 8
จำนวนเฉพาะ จำนวนนับที่มากกว่า 1 ซึ่งมีตัวประกอบเพียงสองตัว คือ 1 และตัวมันเอง เรียกว่า จำนวนเฉพาะ จำนวนนับที่เป็นจำนวนเฉพาะที่น้อยที่สุด คือ 2 เช่น 2 เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะมีค่ามากกว่า 1 และมีตัวประกอบ 2 ตัว คือ 1, 2 3 เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะมีค่ามากกว่า 1 และมีตัวประกอบ 2 ตัว คือ 1, 3 4 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะมีตัวประกอบมากกว่า 2 ตัว คือ 1, 2, 4 5 เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะมีค่ามากกว่า 1 และมีตัวประกอบ 2 ตัว คือ 1, 5 8 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะมีตัวประกอบมากกว่า 2 ตัว คือ 1, 2, 4, 8 1 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 1 มีตัวประกอบเพียง 1 ตัว คือตัวมันเอง
ตัวประกอบเฉพาะ ตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะ เรียกว่า ตัวประกอบเฉพาะ 12 1 2 3 4 6 12 ตัวประกอบของ 12 มีหกตัว คือ 1, 2, 3, 4, 6, 12 ตัวประกอบของ 12 ที่เป็นจำนวนเฉพาะคือ 2 และ 3 เรียก 2 และ 3 ว่า ตัวประกอบเฉพาะของ 12
การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ คือ การเขียนจำนวนนับใด ๆ ในรูปการคูณ ของตัวประกอบเฉพาะ 24 = 4 x 6 ไม่เรียกว่าการแยกตัวประกอบของ 24 เพราะ 4 และ 6 ไม่เป็นตัวประกอบเฉพาะ 24 = 2 x 2 x 2 x 3 เรียกว่าการแยกตัวประกอบของ 24 เพราะเขียนอยู่ในรูปการคูณของตัวประกอบเฉพาะ
การแยกตัวประกอบโดยการเขียนแผนภาพการแยกตัวประกอบโดยการเขียนแผนภาพ การแยกตัวประกอบวิธีนี้ เป็นการเขียนจำนวนนับในรูปการคูณ ของตัวประกอบสองตัว จนได้ตัวประกอบทุกตัวเป็นจำนวนเฉพาะ 42 6x 7 7 เป็นจำนวนเฉพาะ แต่ 6 ยังไม่เป็นจำนวนเฉพาะ 2 x 3 2, 3 และ 7 เป็นจำนวนเฉพาะ ดังนั้น การแยกตัวประกอบของ 42 คือ 42 = 2 x 3 x 7
การแยกตัวประกอบโดยวิธีการตั้งหารการแยกตัวประกอบโดยวิธีการตั้งหาร จำนวนที่เลือกมาหารจำนวนนับที่กำหนดต้องเป็นจำนวนเฉพาะ และหา ผลหารต่อไปเรื่อย ๆ จนได้ผลหารจำนวนสุดท้ายเป็นจำนวนเฉพาะ แล้วเขียน จำนวนนับนั้นในรูปการคูณของตัวหารทุกตัวกับผลหาร เช่น ต้องการแยกตัว ประกอบของ 36 วิธีคิด เลือกจำนวนเฉพาะที่หาร 36 ได้ลงตัว 2 ) 36 2 ) 18 3 ) 9 3 ดังนั้น การแยกตัวประกอบของ 36 คือ 36 = 2 x 2 x 3 x 3 2, 3, ...
แบบทดสอบหลังเรียน คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว 1. จำนวนในข้อใดที่หาร 44 ได้ลงตัว ข. 3 ก. 2 ค. 5 ง. 7
2. จำนวนนับในข้อใดเป็นตัวประกอบของ 15 ก. 4 ข. 5 ค. 6 ง. 7
3. ข้อใดที่ ไม่มี 3 เป็นตัวประกอบ ข. 33 ก. 13 ค. 63 ง. 93