1 / 13

นิยามศัพท์ทางด้านอาหารสัตว์ และการจำแนกวัตถุดิบอาหารสัตว์

นิยามศัพท์ทางด้านอาหารสัตว์ และการจำแนกวัตถุดิบอาหารสัตว์. โภชนะ (nutrients). สารเคมีหรือกลุ่มของสารเคมีที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน และเป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้ว ทำให้สัตว์ที่ได้รับสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้. วัตถุดิบอาหารสัตว์ (feedstuff)

temira
Download Presentation

นิยามศัพท์ทางด้านอาหารสัตว์ และการจำแนกวัตถุดิบอาหารสัตว์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นิยามศัพท์ทางด้านอาหารสัตว์และการจำแนกวัตถุดิบอาหารสัตว์นิยามศัพท์ทางด้านอาหารสัตว์และการจำแนกวัตถุดิบอาหารสัตว์

  2. โภชนะ(nutrients) สารเคมีหรือกลุ่มของสารเคมีที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน และเป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วทำให้สัตว์ที่ได้รับสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ วัตถุดิบอาหารสัตว์(feedstuff) สารใดก็ตามที่เกิดจากแหล่งธรรมชาติ หรือสังเคราะห์ขึ้นมาทางเคมีหรือชีววิทยา เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วจะให้คุณค่าทางอาหารกับสัตว์

  3. อาหาร(food หรือ feed) สารหรือสิ่งที่ภายหลังสัตว์กินเข้าไปแล้วสามารถถูก ย่อย(digested) ถูกดูดซึม(absorbed) และนำไปใช้ ประโยชน์ (utilized) ต่อร่างกาย วัตถุหรือสารใดๆ ซึ่งโดยปกติจะมาจากพืช หรือสัตว์ ซึ่งมีโภชนะประกอบอยู่ (Church และ Pond 1982)

  4. สูตรอาหาร (ration) อาหารที่ให้แก่สัตว์ในแต่ละวันส่วนใหญ่มักทำการคำนวณให้มีโภชนะอยู่ในสมดุล (balancedration) เหมาะสมตามความต้องการของสัตว์ซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดประเภทและอายุสัตว์ ตลอดจนวัตถุประสงค์เช่นเพื่อการดำรงชีพการเจริญเติบโตหรือให้ผลผลิต

  5. อาหารข้น (concentrate) อาหารที่มีความเข้มข้นของโภชนะต่อหน่วยน้ำหนักสูง หรือเป็นอาหารที่มีโภชนะที่สัตว์สามารถย่อยได้มาก และมีเยื่อใยต่ำกว่า 18 % อาจเป็นอาหารชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมกัน และได้ปรับปรุงให้มีคุณค่าทางอาหารเหมาะสม ซึ่งเมื่อผสมกับอาหารชนิดอื่นแล้วจะมีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนตามความต้องการของสัตว์ แบ่งออกได้ตามปริมาณโภชนะที่มีอยู่ในอาหารดังนี้:

  6. 1.แหล่งให้พลังงาน ให้พลังงานสูง และมีโปรตีนต่ำกว่า 20 % • เมล็ดธัญพืช ผลพลอยได้จากเมล็ดธัญพืช กากน้ำตาล ไขมัน • สัตว์ น้ำมันพืช • 2. แหล่งให้โปรตีน โปรตีนสูงกว่า 20 % • ปลาป่น เนื้อป่น กากเมล็ดพืชน้ำมัน กรดแอมิโนสังเคราะห์ • 3. แหล่งให้แร่ธาตุ • หินปูน กระดูกป่น เปลือกหอยป่น เกลือแกง แร่ธาตุสังเคราะห์ • 4. แหล่งให้วิตามิน • วิตามินสังเคราะห์ • 5. อาหารเสริมอื่นๆ ยาปฏิชีวนะ สารให้สี กลิ่น

  7. อาหารหยาบ ( roughage) วัตถุดิบอาหารสัตว์ หรืออาหารใดก็ตามที่มีความเข้มข้นของโภชนะต่อหน่วยน้ำหนักต่ำ แต่มีเยื่อใยสูงกว่า 18 % และเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ที่สามารถใช้ประโยชน์หรือย่อยเยื่อใยได้ดี อาหารหยาบแห้ง ( dry forage) อาหารหยาบสด (green forage) อาหารหยาบหมัก (silage)

  8. อาหารสำเร็จ( complete feed ) อาหารที่มีโภชนะครบถ้วนตามความต้องการทางสรีรวิทยาของสัตว์เฉพาะอย่าง เมื่อสัตว์กินเข้าไปในปริมาณที่พอเพียงแล้ว จะสามารถเติบโตและดำรงชีวิต และให้ผลผลิตได้โดยไม่ต้องรับอาหารอื่นอีกนอกจากน้ำ อาหารเม็ด( pelleted feed, pellet) อาหารสำเร็จที่ถูกอัดเป็นเม็ด เพื่อให้มีความน่ากิน (palatability) มากขึ้น ลดการเป็นฝุ่น ลดการสูญเสียเนื่องจากการตกหล่น และเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง

  9. อาหารแตกเป็นเสี่ยง( crumble feed ) • อาหารอัดเม็ดที่นำมาเข้าเครื่องขบให้แตกเป็นเสี่ยง มีขนาดต่างๆตามที่ต้องการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ: • ประหยัดเวลาในการอัดเม็ด • เพิ่มความน่ากิน • เพิ่มความสามารถในการย่อย • เหมาะสำหรับสัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่กระทง หรือไก่ที่มีอายุมากกว่า 4-5 สัปดาห์ขึ้นไป

  10. อาหารป่น( mash feed ) อาหารสำเร็จที่อยู่ในรูปป่นละเอียด มีอยู่ 2 รูป คือ อาหารป่นเปียก และอาหารป่นแห้ง วัตถุเติมอาหารสัตว์( feed additive) สารเคมีที่เติมลงไปในอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพของอาหาร ทำให้สัตว์สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารได้มากขึ้น เช่น ยาปฏิชีวนะ ยากันบูด เอ็นไซม์ และ สารกระตุ้นการเจริญเติบโต เป็นต้น

  11. อาหารผสมล่วงหน้า( premix ) ส่วนผสมของแหล่งอาหารปลีกย่อยหลายชนิด ( วิตามิน แร่ธาตุ เป็นต้น ) กับตัวเจือจาง ก่อนที่จะนำมาผสมกับอาหารชนิดอื่น เพื่อทำเป็นอาหารสมดุล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายอาหารเหล่านั้นให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกับอาหารส่วนอื่นได้ง่ายขึ้น

  12. อาหารผสมสำเร็จรูป (total mixed rations , TMR; complete rations, CR) อาหารที่ผลิตขึ้นมาจากการนำเอาอาหารหลักของสัตว์เคี้ยวเอื้อง 2 ชนิด คือ อาหารหยาบ และอาหารข้นมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสมแล้วจึงนำไปเลี้ยงสัตว์โดยตรง

  13. TMR ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ 1. ประกอบไปด้วยอาหารข้นและอาหารหยาบในอัตราส่วนที่เหมาะสม( คำนวณจากน้ำหนักแห้ง) โดยขึ้นกับอายุและระดับการให้ผลผลิตของสัตว์ที่เลี้ยง 2. อาหารทั้ง 2 ชนิดที่นำมาใช้ผสมต้องมีคุณภาพดี โดยเฉพาะอาหารหยาบ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด 3. ขนาดความยาวของอาหารหยาบที่ใช้ผสมควรมีขนาดพอเหมาะ ไม่สั้น หรือเล็กจนเกินไป 4. การกระจายตัวของอาหารข้นและอาหารหยาบควรสม่ำเสมอ

More Related