450 likes | 1.11k Views
บทที่ 12 : เงิน นโยบายการเงิน VS การคลังสาธารณะ. เงิน (Money) และนโยบายการเงิน (Monetary Policy). เงิน (money): เป็นสิ่งที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นสื่อกลางในการ แลกเปลี่ยน และถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่อง (Liquidity) สูงสุด ทำไมเราจึงใช้เงิน????.
E N D
บทที่ 12: เงิน นโยบายการเงินVS การคลังสาธารณะ
เงิน (Money) และนโยบายการเงิน (Monetary Policy) เงิน (money):เป็นสิ่งที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นสื่อกลางในการ แลกเปลี่ยน และถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่อง(Liquidity)สูงสุด ทำไมเราจึงใช้เงิน????
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) หน้าที่การเงิน - เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (A Medium of Exchange) - เป็นมาตรฐานในการวัดค่า (A Standard for the Measurement of Value) - เป็นเครื่องสะสมค่า (A Store of Value) - เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ (A Standard of Deferred Payment)
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) เงินสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก: 1. ธนบัตร (Paper Currency) หน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย 2. เหรียญกษาปณ์ (Coin) หน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตคือ กรมธนารักษ์ , กระทรวงการคลัง 3. เงินฝากเผื่อเรียก (Demand Deposit) หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูและเงินฝากเผื่อเรียกคือ ธนาคารพาณิชย์
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) ปริมาณเงิน หรือ อุปทานของเงิน (Money Supply: Ms) ปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในมือของประชาชนในขณะใดขณะหนึ่ง ประกอบด้วยสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุด
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) ธนาคารแห่งประเทศไทยแบ่งปริมาณเงินออกเป็น 3 ชนิด: 1. ปริมาณเงินตามความหมายแบบแคบ(Narrow Money: M1) M1 = ธนบัตร + เหรียญกษาปณ์ + เงินฝากเผื่อเรียก 2. ปริมาณเงินตามความหมายแบบกว้าง(Broad Money: M2) M2 = ปริมาณเงินแบบแคบ + เงินฝากออมทรัพย์ + เงินฝากประจำ M2A = M2 + ตั๋วสัญญาใช้เงิน 3. ปริมาณเงินตามความหมายแบบกว้างที่สุด(Broad Money: M3) M3 = M2 + เงินฝากทุกประเทศที่ประชาชนฝากไว้กับสถาบันการเงิน + ตั๋วสัญญาใช้เงิน
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) นโยบายการเงิน (การควบคุมปริมาณเงินหรืออุปทานเงิน:Ms) ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ใช้นโยบายการเงินในการเพิ่มปริมาณเงิน (ทำให้ เศรษฐกิจขยายตัว) หรือลดปริมาณเงิน (ทำให้เศรษฐกิจหดตัว) มี 3 มาตรการหลัก ในการดำเนินการ: 1. การซื้อขายหลักทรัพย์ (เช่น พันธบัตรรัฐบาล, ตั๋วเงินคลัง) 2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (Legal reserve) 3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วแลกเงิน (Rediscount rate)
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) Ex. การซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาล เช่น การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล • รัฐบาลซื้อคืนพันธบัตร เป็นการเพิ่มอุปทานเงิน (เพิ่ม Ms) เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ • รัฐบาลขายพันธบัตร เป็นการลดอุปทานเงิน (เพิ่ม Ms) ถ้ารัฐฯต้องการระดมเงินเพื่อใช้จ่าย หรือเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) Ex. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย ธ.ชาติใช้ควบคุมธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยสินเชื่อ • ลดอัตราเงินสดสำรองฯ เป็นการเพิ่มอุปทานเงิน (เพิ่ม Ms) เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ • เพิ่มอัตราเงินสดสำรองฯ เป็นการลดอุปทานเงิน (เพิ่ม Ms) เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) Ex. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วแลกเงิน แบ็งค์ชาติใช้ควบคุมธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยสินเชื่อ ขบวนการรับช่วงซื้อลดตั๋วแลกเงิน ประกอบด้วย 2 ส่วน: 1. อัตรารับช่วงซื้อลด (Rediscount rate): อัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดกับ ธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายลดที่ธนาคาร 2. อัตราหักลด (Discount Rate): อัตราที่ธนาคารพาณิชย์คิดกับลูกค้าที่นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายให้ธนาคารพาณิชย์ ธ.แห่งประเทศไทย ธ.พานิชย์ ผู้ขายตั๋วสัญญาใช้เงิน Rediscount rate 5% Discount rate 10%
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) Ex. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วแลกเงิน(ต่อ) • ลดอัตรารับช่วงซื้อลดฯ เป็นการเพิ่มอุปทานเงิน (เพิ่ม Ms) เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ • เพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลดฯ เป็นการลดอุปทานเงิน (เพิ่ม Ms) เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) ตัวอย่าง ณ.วันที่ 1 ธ.ค. 50 นายสมชายส่งออกข้าวไปขายบริษัทUSA ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มูลค่าคิดเป็นเงินบาท = 100,000 บาท โดยมีกำหนดรับชำระเงินใน 3 เดือนข้างหน้า(1 มี.ค. 51) บริษัท USA ได้จ่ายชำระค่าสินค้าโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note : P/N) ให้กับนายสมชาย ลงวันที่ 1 มี.ค. 51 จำนวน 100,000 บาท ถ้านาย สมชาย ต้องการได้เงินก่อนตั๋วครบกำหนด นาย สมชาย จะนำตั๋วไปขายลดที่ธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ย (อัตราหักลด)จากนาย สมชาย 10 % ถ้าธนาคารพาณิชย์ต้องการได้เงินก่อนตั๋วครบกำหนด ธนาคารพาณิชย์จะนำตั๋วไปขายลดที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) โดย BOT จะคิดอัตราดอกเบี้ย (อัตรารับช่วงซื้อลด) จากธนาคารพาณิชย์ในอัตรา 5%
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) การควบคุมปริมาณเงิน (Ms) อัตราดอกเบี้ย (i %) MS MS’ 0 อุปทานเงิน (Ms)
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) อุปสงค์ของเงิน (Money Demand: Md) ปริมาณเงินทั้งหมดที่ประชาชนในระบบเศรษฐกิจหนึ่งๆต้องการถือไว้ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ทฤษฎีที่นิยมใช้ในการศึกษาอุปสงค์ของเงิน ได้แก่ ทฤษฎีของเคนส์
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) ทฤษฎีของเงินตามทรรศนะของเคนส์ เงินทำหน้าที่อื่นด้วยนอกเหนือจากการแลกเปลี่ยน เคนส์กล่าวว่าบุคคลต้องการ ถือเงินด้วยเหตุผล 3 ประการคือ 1. ถือเงินเพื่อการใช้จ่ายประจำวัน 2. ถือเงินเพื่อสำรองใช้จ่ายเมื่อยามฉุกเฉิน 3. ถือเงินเพื่อเก็งกำไร
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) ความสัมพันธ์ของการถือเงินกับรายได้และดอกเบี้ย • การถือเงินเพื่อการใช้จ่ายประจำวันและการถือเงินเพื่อสำรองใช้จ่ายยามฉุกเฉิน จะมีความสัมพันธ์ขึ้นกับรายได้ (Y) ในทิศทางเดียวกัน • การถือเงินเพื่อเก็งกำไร จะมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ย (i) ในทิศทาง ตรงข้าม ดังนั้น อุปสงค์ต่อการถือเงินจึงมีความสัมพันธ์กับรายได้(Y) และอัตราดอกเบี้ย(i)
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) ดังนั้น อุปสงค์เงิน (Md) จึงเป็นฟังค์ชันของรายได้ (Y) และอัตราดอกเบี้ย (i) Md = f (Y, i) อัตราดอกเบี้ย (i) Md = f (Y,i) 0 อุปสงค์เงิน (Md)
เงิน และนโยบายการเงิน (ต่อ) การกำหนดอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ อุปสงค์เงิน (Md) และอุปทานเงิน (Ms) จึงเป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยใน ระบบเศรษฐกิจ โดยอัตราดอกเบี้ยที่ทำให้อุปสงค์เงินมีค่าเท่ากับอุปทานเงิน เรียกว่าอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ (ie) อัตราดอกเบี้ย (i) Ms ie Md 0 ปริมาณเงิน Md = Ms
การคลังสาธารณะ (Public Finance) สิ่งที่เกี่ยวข้องกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาล งบประมาณแผ่นดิน: แผนเกี่ยวกับการใช้จ่าย และแผนเกี่ยวกับการจัดหา รายรับให้เพียงพอในรอบระยะเวลาหนึ่ง ปีงบประมาณ:จะเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ตุลาคม - 30 กันยายน เช่น งบประมาณปี 2552 จะเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2551 - 30 กันยายน 2552 หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ในการจัดทำงบประมาณแผ่นดินคือ สำนักงาน งบประมาณ
การคลังสาธารณะ (ต่อ) ประเภทของงบประมาณแผ่นดิน • งบประมาณสมดุล ( Balanced Budget ) : งบประมาณที่รายได้ของรัฐบาล เท่ากับ รายจ่ายของรัฐบาล • งบประมาณไม่สมดุล ( Unbalanced Budget ) : -งบประมาณเกินดุล รายได้ > รายจ่าย -งบประมาณขาดดุล รายได้ < รายจ่าย
การคลังสาธารณะ : รายรับ ประมาณการรายรับ รายรับของรัฐบาลแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก คือ รายได้ , เงินกู้ และเงินคงคลัง 1. รายได้ของรัฐบาล - รายได้จากภาษีอากร รายได้จากการขายสินค้า - รายได้จากรัฐพาณิชย์ รายได้อื่นๆ ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ 2. เงินกู้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ (หนี้สาธารณะ) 3. เงินคงคลัง : เงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในปีก่อนๆซึ่งรัฐบาลสะสมไว้
การคลังสาธารณะ : รายรับ (ต่อ) รายได้ของรัฐบาล
การคลังสาธารณะ : รายรับ (ต่อ) ฐานะการคลังของรัฐบาลปี 2545-2549
การคลังสาธารณะ : รายรับ (ต่อ) ฐานะการคลังของรัฐบาลปี มกราคม –กรกฎาคม 2551
การคลังสาธารณะ : รายรับ (ต่อ) ประเภทของภาษีอากร 1. ภาษีทางตรง ( Direct Tax )ภาษีที่ผู้เสียภาษีจะต้องรับภาระภาษีที่เสียไว้เอง ผลักให้ผู้อี่นได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก 2. ภาษีทางอ้อม ( Indirect Tax )ภาษีที่ผู้เสียสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้โดยง่าย เช่น ภาษีสินค้าเข้า ภาษีสินค้าออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม
การคลังสาธารณะ : รายรับ (ต่อ) อัตราภาษีแบ่งได้ 3 ประเภท 1. อัตราภาษีคงที่ ( flat rate ): อัตราภาษีที่จัดเก็บในอัตราที่เท่ากันโดยไม่คำนึงถึงขนาดของฐานภาษี 2. อัตราก้าวหน้า ( progressive rate ) : อัตราภาษีที่เก็บหลายอัตรโดยอัตราภาษีจะสูงขึ้นเมื่อฐานภาษีสูงขึ้น 3. อัตราถ้อยหลัง ( regressive rate ) : อัตราภาษีที่จัดเก็บหลายอัตราโดยอัตราภาษีจะต่ำลงเมื่อฐานสูงขึ้น
การคลังสาธารณะ : รายรับ (ต่อ) วัตถุประสงค์ของการเก็บภาษีอากร • เพื่อจัดหารายได้ • เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรของประเทศ • เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ • เพื่อเร่งรัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
การคลังสาธารณะ : รายรับ (ต่อ) หลักในการจัดเก็บภาษีอากร • หลักความยุติธรรม • หลักความมีประสิทธิภาพ • หลักความแน่นอน • หลักประหยัด
การคลังสาธารณะ : รายจ่าย ประมาณการรายจ่าย จำแนกรายจ่ายเป็นประเภทต่างๆ เช่น • จำแนกตามลักษณะงาน เป็นการจำแนกเป็นหมวดหมู่ตามหน้าที่งานที่รัฐบาลจะดำเนินการ เช่น การบริหาร การป้องกันประเทศ เป็นต้น • จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ (เงินเดือน ดอกเบี้ย เป็นต้น) • จำแนกตามส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ • จำแนกตามแผนงาน 12 ด้าน เช่น ด้านเกษตร ด้านอุตสาหกรรม ด้านคมนาคมการวิทยาศาสตร์ การศึกษา การสาธารณสุข เป็นต้น)
การคลังสาธารณะ : รายจ่าย (ต่อ) รายจ่ายของรัฐบาล
การคลังสาธารณะ : รายจ่าย (ต่อ) หนี้ของรัฐบาล
นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการจัดหารายได้ ได้แก่ การจัดเก็บ ภาษีอากร และนโยบายที่เกี่ยวกับการใช้จ่าย การก่อหนี้ และการ บริหารหนี้สาธารณะ ตัวอย่าง มาตรการของนโยบายการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพทาง เศรษฐกิจ เช่น การจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า , เงินประกันสังคม , โครงการพยุงราคาสินค้าเกษตรกรรม ฯลฯ
นโยบายการคลัง (ต่อ) รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพื่อให้มีผลกระทบต่ออุปสงค์รวม (AD) ระดับรายได้ประชาชาติ และระดับการจ้างงาน เพื่อรักษา เสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ
แบบขยายตัว แบบหดตัว นโยบายการคลัง (ต่อ) นโยบายการคลัง
นโยบายการคลัง (ต่อ) นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary fiscal policy) • ใช้ในกรณีเศรษฐกิจตกต่ำ • เครื่องมือ : เพิ่มรายจ่ายและลดอัตราภาษี • งบประมาณรายได้ < งบประมาณรายจ่าย • การใช้งบประมาณขาดดุล
นโยบายการคลัง (ต่อ) นโยบายการคลังแบบหดตัว (Contractionary fiscal policy) • ใช้ในกรณีเศรษฐกิจมีการขยายตัวมากเกินไป • เครื่องมือ : ลดรายจ่ายและ เพิ่มอัตราภาษี • งบประมาณรายได้ > งบประมาณรายจ่าย • การใช้งบประมาณเกินดุล
นโยบายการคลัง (ต่อ) สรุปการใช้นโยบายการคลัง