150 likes | 423 Views
สัมมนา. เรื่อง การตอบสนองทางการเจ็บป่วย กายภาพ ความดันสูงในปอด เมื่อได้รับสารพิษ endotoxin ในไก่ โดย นายคธาชัย นิรัติศยวานิช รหัส 45103405 สาขาสัตวศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร. สุกิจ ขันธปราบ . บทนำ.
E N D
สัมมนา เรื่อง การตอบสนองทางการเจ็บป่วย กายภาพ ความดันสูงในปอด เมื่อได้รับสารพิษ endotoxin ในไก่ โดย นายคธาชัย นิรัติศยวานิช รหัส 45103405 สาขาสัตวศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร. สุกิจ ขันธปราบ
บทนำ การผลิตสัตว์ปีกได้มีการขยายตัวอย่างมากเพื่อให้ตรงกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประชากรในปัจจุบัน สายพันธุ์ไก่ที่เลี้ยงในปัจจุบันได้เลือกมาเพื่อให้มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่บางระบบการผลิตอาจทำให้สัตว์ได้รับความเครียดขึ้นอย่างเช่น การเลี้ยงไก่ไข่ภายใต้สภาพความหนาแน่นสูง ซึ่งมันจะมีผลกระทบต่อสภาพ การเป็นอยู่ของสัตว์และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียด หนึ่งในวิธีแก้ไขคือการปรับปรุงความสามารถของสัตว์ในการดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมโดยการปรับปรุงพันธุกรรมของสัตว์ เนื่องจากสัตว์มีความแตกต่างกันทั้งด้านความสามารถในการรักษาสมดุลพฤติกรรมและกระบวนการทางสรีรวิทยาในอันที่จะตอบสนองต่อการได้รับเชื้อโรคและความเครียด ดังนั้นการคัดเลือกสายพันธุ์ของไก่เนื้อให้มีลักษณะทางพฤติกรรมและ สรีรวิทยาตามต้องการจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ และช่วยในการปรับปรุงความเป็นอยู่ของไก่ได้ดีขึ้น
Endotoxin lipopolysaccharide ( LPS ) เป็นสารประกอบที่อยู่ด้านนอกของเซลล์แบคทีเรียชนิดกรัมลบ ( gram – negative ) มักถูกใช้เป็นตัวบ่งชี้ในการทดสอบความอ่อนแอของสัตว์ต่อการได้รับเชื้อโรคอันตรายและความสามารถในการปรับตัวทางระบบภูมิคุ้มกันเมื่อได้รับความเครียด การให้ LPS แก่สัตว์จะทำให้สัตว์เกิดการเจ็บป่วย เช่น เป็นไข้, อัตราการเพิ่มน้ำหนักลดลง อัตราการกินอาหารลดลง และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แม้ว่าในปัจจุบันจะพบว่าได้จะมีการตอบสนองต่อ LPS ในรูปแบบคล้ายกับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าปัจจัยทางพันธุกรรมมีผลต่อลักษณะของไก่ในการที่จะตอบสนองต่อความเครียดของสิ่งแวดล้อมและการรับเชื้ออย่างไร การทดสอบอาการเจ็บป่วยที่ถูกชักนำโดย LPS ในสัตว์ชนิดเดียวกันแต่มีลักษณะทางพฤติกรรม , กายภาพ และสรีรวิทยาต่างกัน จะสามารถใช้ได้ดีในการอธิบายถึงผลของความผันแปรทางพันธุกรรมที่มีต่อการตอบสนองต่อความเครียดของสัตว์และความต้านทานต่อเชื้อโรค (Cheng et al., 2004) คุณสมบัติของ Endotoxin เป็นสารประกอบที่มีความคงทนต่อสภาพอุณหภูมิสูงได้ดี แต่ก็สามารถที่จะทำลายฤทธิ์ของมันได้เมื่อใช้วิธีความร้อนแบบแห้ง ( Dry heat ) ที่อุณหภูมิสูงกว่า 250 องศาเซลเซียส นานไม่น้อยกว่า 30 นาที (ปกรณ์, 2546)
เนื้อเรื่อง การตอบสนองต่อความเครียดเมื่อได้รับสารพิษชนิด endotoxin ในไก่ที่มีไลน์ทางพันธุกรรมที่ต่างกัน โดย Cheng et al., (2004) ความแตกต่างพันธุกรรมในการที่จะตอบสนองต่อการได้รับ LPS ในไก่ไลน์ที่คัดเลือกให้มีอัตราการผลิตและการรอดชีวิตสูง ( HGPS ) และอัตราการผลิตและการลอดชีวิตต่ำ ( LGPS ) เมื่อเลี้ยงในเล้ารวม ร่วมกับไลน์ที่เลี้ยงทางการค้า ( Dekalb XL ; DXL ) แบ่งออกเป็น ชุดควบคุมและชุดทดลองในไก่อายุ 6 สัปดาห์ ชุดทดลองฉีด ( LPS ) สังเกตอาการเจ็บป่วย น้ำหนักตัว น้ำหนักอวัยวะ อุณหภูมิ ของไก่ ในเวลา 6,12,24,48 และ 72 ชั่วโมงหลังฉีด
การเปลี่ยนแปลงที่ถูกชักนำจากการฉีด LPS ในด้านน้ำหนักตัวและน้ำหนักอวัยวะในไก่แต่ละไลน์ จากการทดลองชี้ว่าไก่แต่ละไลน์มีการตอบสนองต่อ LPS ทางด้านการเติบโตที่ไม่เหมือนกัน โดยในไก่ไลน์ DXL พบว่าการเปลี่ยนแปลงด้านการเพิ่มน้ำหนักตัวจะแบ่งเป็น 2 ช่วง กล่าวคือ ช่วงแรกไก่จะมีการลดค่าการเพิ่มน้ำหนักลงอย่างมากในช่วง 6 ชั่วโมงหลังฉีด จากนั้นจะมีการลดลงอีกเพียงเล็กน้อยเมื่อถึง 24 ชั่วโมงหลังฉีด แล้วจึงมีการฟื้นตัวเมื่อ 48 ชั่วโมงหลังฉีด ส่วนไก่ไลน์ LGPS จะมี 2 ช่วงเช่นกัน แต่การลดลงของค่าการเพิ่มน้ำหนักตัวจะมากกว่าไลน์ DXL ทั้งเมื่อ 6 ชั่วโมงและ 24 ชั่วโมงหลังการฉีดและค่านี้ยังคงติดลบอยู่หลังการฉีด 72 ชั่วโมง ขณะที่ในไลน์ HGPS พบว่าไก่จะไม่มีการลดลงในด้านการเพิ่มน้ำหนักตัวจนกระทั่ง 24 ชั่วโมงหลังฉีด และไก่จะฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์เมื่อ 48 ชั่วโมงหลังฉีด จากนั้นในช่วง 48–72 ชั่วโมงหลังฉีดไก่จะมีการเพิ่มน้ำหนักตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ
ผลของพันธุกรรมต่อการตอบสนองต่อ LPS ยังพบในด้านการพัฒนาของอวัยวะด้วย โดยเมื่อเทียบกับชุดควบคุม พบว่า พบว่าน้ำหนักของม้ามในไลน์ DXL จะเพิ่มขึ้น 48 ชั่วโมงหลังฉีดและมีระดับสูงสุดเมื่อ 72 ชั่วโมงหลังฉีด ขณะที่ในไลน์ HGPS และ LGPS จะไม่พบการตอบสนองในด้านการเพิ่มน้ำหนักของม้ามแต่อย่างใดจนกระทั่งถึง 72 ชั่วโมงหลังฉีด การฉีด LPS ยังส่งผลต่อความแตกต่างทางด้านการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของตับในไลน์ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน โดยเมื่อเทียบกับชุดควบคุม จะพบว่าการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตับอันเกิดจาการตอบสนอง LPS จะมีเฉพาะในไลน์ LGPS ในช่วง 12–48 ชั่วโมงหลังฉีดเท่านั้น ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในด้านน้ำหนักของหัวใจในไก่ไลน์ DXL หรือ HGPS ในทุกช่วงเวลาทดสอบ แต่พบว่าไก่ในไลน์ LGPS มีน้ำหนักของหัวใจเพิ่มตลอดจนช่วงการทดลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ 72 ชั่วโมงหลังฉีด ไก่ในไลน์ LGPS ยังพบการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักของต่อมหมวกไตเมื่อ 6 ชั่วโมงหลังฉีด ขณะที่ในในไลน์ HGPS และ DXL ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงทดลอง
การเปลี่ยนแปลงทางด้านอุณหภูมิของร่างกายที่ตอบสนองต่อ LPS ในไก่ไลน์ต่าง ๆ ไก่อันถูกชักนำจากการได้รับ LPS จะแปรตามพันธุกรรมและช่วงเวลา พบว่าการฉีด LPS จะทำให้เกิดสภาพ hypothermia (อุณหภูมิต่ำกว่าปกติ) ในไก่ทุกตัวหลังถูกฉีด 6 ชั่วโมงไม่ว่าจะอยู่ในไลน์ใดก็ตาม แต่การลดลงของอุณหภูมินี้จะพบมากที่สุดในไก่ HGPS (อุณหภูมิ HGPS< LGPS< DXL) เมื่อหลังฉีด 12 ชั่วโมง พบว่า LPS จะชักนำให้เกิดสภาพ hyperthermia (อุณหภูมิสูงกว่าปกติ) ในทั้งไลน์ DXL และ LGPS ตั้งแต่ 12-72 ชั่วโมงหลังฉีด พบว่าอุณหภูมิจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติทั้งในไลน์ DXL และ HGPS ขณะที่ไลน์ LGPS จะเกิดสภาพ hypothermia ในช่วง 48–72 ชั่วโมง
ไก่ในไลน์ HGPS จะตอบสนองต่อการได้รับ LPS ในน้ำหนักตัวและการพัฒนาของอวัยวะน้อยกว่า LGPS และ DXL การฉีด LPS ชักนำให้มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของไก่โดยไม่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของไก่ Hyperthremai Hypothermai
การฉีด สาร endotoxin เข้าทางเส้นเลือดดำในไก่เพื่อกระตุ้นการหดตัวของเส้นเลือดที่ไปปอด โดย Wideman et al., (2001) การฉีด endotoxin เข้าทางเส้นเลือดดำ 1 mg จะกระตุ้นให้มีการเพิ่มแรงดันที่ปอด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มแรงดันของเส้นเลือดอาร์เทอรี่ของปอดมีสาเหตุมาจากการหดตัวของเส้นเลือดนี้ ไก่ส่วนใหญ่จะไม่มีการตอบสนองโดยทันที แต่จะมีการตอบสนองหลังถูกฉีดไป 15 นาที และมีการตอบสนองสูงสุด 20 – 25 นาทีหลังฉีด การฉีด endotoxin เพิ่มเติมในระดับความเข้มข้นสูงกว่า 4 เท่าภายหลังจากไก่มีการตอบสนองสูงสุดไปแล้วพบว่าไม่มีผลการตอบสนองเพิ่มเติมแต่อย่างใด
จากการทดลองในการฉีดสาร endotoxin เพิ่มเติมในระดับความเข้มข้นสูงกว่า 4 เท่าภายหลังจากไก่มีการตอบสนองสูงสุดไปแล้วพบว่าไม่มีผลการตอบสนองเพิ่มเติมแต่อย่างใด แสดงว่า การให้ endotoxin ในระดับที่ชักนำให้การตอบสนองเล็กน้อยไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านการหดตัวเมื่อได้รับในครั้งต่อไปเท่านั้นมันยังช่วยเสริมความสามารถทางการตอบสนองเป็นลำดับขั้นตอนที่ชะลอผลการเกิดแรงดันสูงที่ปอดได้
สรุป ในการให้ LPS จะชักนำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเจ็บป่วยและกายภาพในไก่ทั้ง 3 ไลน์แต่จะพบได้ชัดเจนที่สุดในไลน์ LGPS กลไกของเซลล์ในการควบคุมการตอบสนองต่อ LPS จะแปรตามชนิดและสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การได้รับ LPS สามารถใช้ได้ดีในการเป็นดัชนีสำหรับประเมินประสิทธิภาพทางระบบภูมิคุ้มกันและความสามารถในการปรับตัวต่อการได้รับเชื้อได้ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างทางด้านการตอบสนองที่หลากหลายต่อ endotoxin จะสามารถช่วยให้เรามีความกระจ่างมากขึ้นเกี่ยวกับการเกิดโรค PHS ในไก่กระทงได้