160 likes | 340 Views
ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการจัดการภาครัฐละเอกชน The e-Learning Readiness of PhD. Students in Public and Private Management. ไพศาล จันทรังษี 5 August 2013. The e-Learning Readiness.
E N D
ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการจัดการภาครัฐละเอกชนThe e-Learning Readiness of PhD. Students in Public and Private Management ไพศาล จันทรังษี 5 August 2013
The e-Learning Readiness การเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เป็นการจัดการการศึกษา รูปแบบใหม่ ที่ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้จากเนื้อหาบทเรียนที่จัดเตรียมไว้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่และทุกเวลา เป็นการเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology-based learning) การจัดการการเรียนรู้ ยุคใหม่ตามแนวคิดของศาสตราจารย์แบรนด์สัน (Robert K Branson)
The e-Learning Readiness รูปแบบของการเรียนรู้จำแนกออกเป็นหลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้เนื้อหาวิชาด้วยตนเองตามระดับความสามารถทางการเรียนของแต่ละบุคคลจากการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารเพื่อการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน (Horton, 2012)
The e-Learning Readiness วัตถุประสงค์ของงานวิจัย 1. เพื่อศึกษาความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา ระดับปริญญาเอกสาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน 2. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาการจัดการภาครัฐละเอกชน ต่างชั้นปี แต่ละช่วงอายุและเพศ
The e-Learning Readiness ขอบเขตการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษา ระดับปริญญาเอก ชั้นปีที่ 1-6 สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 20 คน
The e-Learning Readiness เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้เป็นการนำแบบประเมินความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่ง เพื่อศึกษาความพร้อมของผู้เรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Watkins, Leigh and Triner, 2006)
The e-Learning Readiness ผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองหรืออีเลิร์นนิ่งทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเข้าถึงเทคโนโลยี ด้านความสัมพันธ์และทักษะออนไลน์ ด้านการสร้างแรงจูงใจในการเรียน ด้านการจัดเก็บข้อมูลด้วยภาพและเสียงออนไลน์ ด้านการอภิปรายบนอินเตอร์เน็ต และด้านการสนับสนุนที่สำคัญต่อความสำเร็จในการเรียนของนักศึกษา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 6 ชั้นปี ไม่ว่าจะระดับอายุเท่าไหร่หรืออยู่ในเพศใด
The e-Learning Readiness ผลการวิจัย
The e-Learning Readiness ผลการวิจัย
The e-Learning Readiness ผลการวิจัย
The e-Learning Readiness ผลการวิจัย
The e-Learning Readiness การอภิปรายผล นักศึกษาระดับปริญญาเอกรับรู้ถึงประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยตนเองหรืออีเลิร์นนิ่ง และเห็นความสำคัญของการเข้าถึงเทคโนโลยีที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเพราะสามารถค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันการสนับสนุนที่สำคัญต่อความสำเร็จในการเรียนก็มีค่าเฉลี่ยในระดับรองลงมาเพราะสามารถสนับสนุนงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาเอกซึ่งจะเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่
The e-Learning Readiness การอภิปรายผล ผลการวิจัยเป็นไปตามรูปแบบของ การเรียนรู้ด้วยตนเองหรืออีเลิร์นนิ่งของฮอร์ตันที่กล่าวว่า อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ทางการเรียนรู้ (Horton, 2012)
The e-Learning Readiness บทสรุป นักศึกษาระดับปริญญาเอกมีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองหรืออีเลิร์นนิ่ง นักศึกษาอยู่ในระดับผู้บริหารมีประสบการณ์และมีความรับผิดชอบสูงซึ่งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีและสื่ออิเล็คทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อทำวิจัยเป็นหลักเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านการจัดการ