200 likes | 403 Views
การชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการตามตัวชี้วัด. เรื่อง “ ระดับความสำเร็จของการตรวจสอบภายใน ”. ให้แก่ ผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการ. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2551. เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550.
E N D
การชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการตามตัวชี้วัดการชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการตามตัวชี้วัด เรื่อง “ ระดับความสำเร็จของการตรวจสอบภายใน ” ให้แก่ ผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการ
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2551 เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
ประเด็นที่ค.ต.ป.เสนอต่อคณะรัฐมนตรี : การตรวจสอบภายใน
ประเด็นที่ค.ต.ป.เสนอต่อคณะรัฐมนตรี : การตรวจสอบภายใน คณะรัฐมนตรี มีมติให้ ค.ต.ป. กรมบัญชีกลาง และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน เสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 3 เดือน
มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ ประเด็นการประเมินผล : ประสิทธิภาพการตรวจสอบภายใน ตัวชี้วัดที่ 9 ระดับความสำเร็จของการตรวจสอบภายใน ( น้ำหนักร้อยละ 3 )
ตัวชี้วัดที่ 9 “ ระดับความสำเร็จของการตรวจสอบภายใน ” ( น้ำหนักร้อยละ 3 ) คำอธิบาย: การตรวจสอบภายใน หมายถึง กิจกรรมการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระ ซึ่งจัดให้มีขึ้น เพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการให้ดีขึ้น การตรวจสอบภายในจะช่วยให้ส่วนราชการบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ
ตัวชี้วัดที่ 9 “ ระดับความสำเร็จของการตรวจสอบภายใน ” ( น้ำหนักร้อยละ 3 ) คำอธิบาย: ความสำเร็จของการตรวจสอบภายในภาคราชการ พิจารณาจาก ความสามารถของหน่วยตรวจสอบภายในในการปฏิบัติตามระเบียบ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติการตรวจสอบภายในภาคราชการที่ กรมบัญชีกลางกำหนด
ระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) ขั้นตอนที่ 1 จัดทำกฎบัตรการตรวจสอบภายในและเสนอหัวหน้าส่วนราชการเห็นชอบ รวมทั้งเผยแพร่กฎบัตรการตรวจสอบภายในให้ทุกหน่วยงาน ในส่วนราชการ/จังหวัด ทราบอย่างน้อย 2 ช่องทาง
ระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) ขั้นตอนที่ 1 (ต่อ) • มีการกำหนดวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของ งานตรวจสอบภายในไว้ในกฎบัตรการตรวจสอบภายใน • เสนอหัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบในกฎบัตรการตรวจสอบภายใน ที่กำหนดขึ้น • มีการเผยแพร่กฎบัตรการตรวจสอบภายในให้ทุกหน่วยงานในส่วนราชการ/จังหวัด ทราบอย่างน้อย 2 ช่องทาง
ระดับขั้นของความสำเร็จ ( Milestone ) ขั้นตอนที่ 2 ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในตามแนวทางการประเมินตนเอง ของหน่วยตรวจสอบภายในของส่วนราชการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ระดับขั้นของความสำเร็จ ( Milestone ) ขั้นตอนที่ 2 (ต่อ) • ประเมินผลการปฏิบัติงานฯ ตามมาตรฐานด้านคุณสมบัติ • ประเมินผลการปฏิบัติงานฯ ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน • ประเมินผลด้านจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน • ดำเนินการให้ผู้ตรวจสอบภายในได้มีส่วนร่วมในการประเมินผลฯ • จัดส่งแบบประเมินตนเองภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระดับขั้นของความสำเร็จ ( Milestone ) ขั้นตอนที่ 3 จัดทำแผนการตรวจสอบตามผลการประเมินความเสี่ยงของ กิจกรรม/หน่วยงาน และเสนอหัวหน้าส่วนราชการอนุมัติ โดยมี เรื่องตรวจสอบอย่างน้อยประกอบด้วย 1. การตรวจสอบทางการเงิน (Financial Auditing) 2. การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ (Compliance Auditing) 3. การตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Auditing) อย่างน้อย 2 เรื่อง
ระดับขั้นของความสำเร็จ ( Milestone ) ขั้นตอนที่ 3 (ต่อ) • มีการประเมินความเสี่ยงเพื่อวางแผนการตรวจสอบ • กำหนดให้มีเรื่องตรวจสอบการเงิน • กำหนดให้มีเรื่องตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ • กำหนดให้มีเรื่องตรวจสอบการดำเนินงาน (อย่างน้อย 2 เรื่อง) • เสนอหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาและอนุมัติแผนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระดับขั้นของความสำเร็จ ( Milestone ) ขั้นตอนที่ 4 จัดทำรายงานผลการตรวจสอบครบถ้วนตามที่กำหนดในแผนการตรวจสอบ และเสนอหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติ
ระดับขั้นของความสำเร็จ ( Milestone ) ขั้นตอนที่ 4 (ต่อ) • มีการรายงานผลการตรวจสอบการเงิน • มีการรายงานผลการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ • มีการรายงานผลการตรวจสอบการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ • เสนอหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสั่งการตามข้อเสนอแนะในรายงานฯ
ระดับขั้นของความสำเร็จ ( Milestone ) ขั้นตอนที่ 5 รายงานผลการตรวจสอบการดำเนินงาน มีการตรวจสอบและประเมินผล โดยวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน รวมทั้ง การให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน
ระดับขั้นของความสำเร็จ ( Milestone ) ขั้นตอนที่ 5 (ต่อ) • วิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการ • วิเคราะห์ประสิทธิผลการดำเนินงานของแผนงาน/โครงการ • มีการให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานให้แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน
เอกสารหลักฐานที่จะต้องจัดส่งให้กรมบัญชีกลางเอกสารหลักฐานที่จะต้องจัดส่งให้กรมบัญชีกลาง ธันวาคม 2551 ให้จัดส่งทันทียกเว้นมีการตรวจสอบใน ก.ย. 52 ให้จัดส่งในเดือน ต.ค.52
หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก : สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง