340 likes | 610 Views
อาจารย์ วรพจน์ พรหมจักร ติดต่อที่ ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ คณะ ศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เบอร์โทรศัพท์ 0872354434 ( เฉพาะกรณีเกี่ยวกับรายวิชาที่เรียนเท่านั้น) อีเมล์ worapojpromjuk@gmail.com หรือ shypoj.wordpress.com หรือ LERT Information Science RERU. GEL1103
E N D
อาจารย์ วรพจน์ พรหมจักร ติดต่อที่ ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เบอร์โทรศัพท์ 0872354434 (เฉพาะกรณีเกี่ยวกับรายวิชาที่เรียนเท่านั้น) อีเมล์ worapojpromjuk@gmail.com หรือ shypoj.wordpress.com หรือ LERT Information Science RERU
GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า Information and Education บทที่ 2 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ อ.วรพจน์ พรหมจักร
วัตถุประสงค์ • ผู้เรียนเข้าใจและสามารถกำหนดความต้องการสารสนเทศได้ • ผู้เรียนสามารถเข้าใจและกำหนดคุณลักษณะของข้อมูลที่ต้องการได้ • ผู้เรียนสามารถวางแผนการค้นหาสารสนเทศได้
ความหมายของความต้องการสารสนเทศความหมายของความต้องการสารสนเทศ • ความต้องการสารสนเทศ (Information needs) • คือ การที่เราอยากรู้ อยากเห็น หรือต้องการหาคำตอบหรือข้อเท็จจริง เพื่อตอบสนองความต้องการ ด้านต่างๆ เช่น • ความต้องการพื้นฐานด้านร่างกายจิตใจ หรืออารมณ์ • ความต้องการหน้าที่การงาน • ต้องการด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม
ความหมายของความต้องการสารสนเทศความหมายของความต้องการสารสนเทศ ความต้องการสารสนเทศ (Information needs) • ความต้องการสารสนเทศเกิดขึ้นเมื่อ ? • เมื่อบุคคลอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ หรือต้องการหาคำตอบ ข้อเท็จจริง เพื่อแก้ปัญหาหรือทำความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยที่ตนเองยังไม่มีความรู้ ในเรื่องนั้นเพียงพอ • ความต้องการสารสนเทศแบบรีบด่วน (ต้องการสารสนเทศไปใช้ทันที) และความต้องการแบบไม่รีบด่วน (เก็บรวบรวมสารสนเทศไว้ใช้ในอนาคต)
ความสำคัญของสารสนเทศ 1. ใช้ในการวางแผนการบริหาร 2. ใช้ประกอบการตัดสินใจ 3. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 4. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน ฯลฯ
การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ เป็นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ มี 3 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ 2. ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 3. กำหนดแหล่งสารสนเทศและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อวางแผนในการค้นหาสารสนเทศ
การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ เป็นการกำหนดความต้องการ โดยพิจารณาจากความสนใจส่วนตัว ความสงสัยเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และการพยายามหาทางแก้ไขให้เกิดความกระจ่างในเรื่องนั้นๆ โดยกำหนดความต้องการสารสนเทศออกมาเป็นมีขั้นตอน ดังนี้ 1. กำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง (Topic) 2. ขยายแนวคิด/ประเด็น 3. กำหนดขอบเขต
การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ 1. กำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง (Topic) คือการกำหนดเรื่องที่จะทำ มีวิธีการ คือ ค้นหาความสนใจ/ความต้องการของตนเองที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งความสนใจ/ความต้องการนั้นยังอาจยังไม่ได้รับคำตอบหรือไม่ได้รับคำตอบเพียงพอ เช่น นักศึกษาสนใจเรื่อง “ไอติมผัด” ต้องการทำธุรกิจขายไอติมผัด จึงต้องศึกษารายละเอียดและวิธีการผลิตไอติมผัด รวมถึงข้อมูลอื่นๆ มาประกอบการวางแผนธุรกิจ
การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) กำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง (Topic) มีขั้นตอนดังนี้ • กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อ......... • กำหนดหัวข้อ/ชื่อเรื่อง โดยหัวข้อ/ชื่อเรื่อง มาจาก ปัญหา เรื่องราวที่ต้องการแก้ไขหรือต้องการคำตอบ • ทำความเข้าใจกับปัญหา หรือ เรื่องราวนั้นๆ ในเรื่อง สาเหตุ/ความเป็นมา ความสำคัญ/ความจำเป็น มีผลต่อชีวิตประจำวันอย่างไร ทำไมจึงต้องการคำตอบ ฯลฯ โดยวิธีการครุ่นคิด หรือ อภิปรายกลุ่ม • ค้นหาคำ (Words) ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาษาไทย และ ภาษาสากล หาคำนิยามหรือคำจำกัดความ • ค้นหาประเด็นย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง/ชื่อเรื่อง(Topic) โดยการค้นคว้าอย่างคร่าวๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) การเลือกหัวข้อ • หัวข้อวิจัยอาจเกิดจากความสนใจ ประสบการณ์ส่วนตัว ภูมิหลัง และปัญหาในการทำงาน • การอ่านเอกสาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) หลักเกณฑ์การเลือกหัวข้อปัญหา • เลือกจากความสนใจของตนเองเป็นที่ตั้ง • เลือกปัญหาที่ตรงกับความสามารถของตนเอง • คำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของเวลา • คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยในการทำวิจัย เช่น - ปัญหานั้นจะได้รับความร่วมมือมากน้อยเพียงใด - มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือไม่ หรือผู้วิจัยต้องสร้างขึ้นเอง - ปัญหานั้นมีแหล่งค้นคว้าหรือไม่
การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) ลักษณะของปัญหาที่ดี • เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ มีประโยชน์ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆและนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆได้ • เป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการวิจัยได้ • เป็นปัญหาที่หาข้อมูลมาตรวจสอบสมมติฐาน เพื่อหาข้อสรุปได้ • เป็นปัญหาที่ให้คำนิยามปัญหาได้ • สามารถวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆไว้ล่วงหน้า และเห็นลู่ทางที่จะทำได้สำเร็จ • ปัญหาที่สนใจต้องไม่เกินกำลังความสามารถของตนเองที่จะทำให้สำเร็จ แม้จะมีอุปสรรคบางอย่างก็จะสามารถแก้ไขได้ • สามารถหาเครื่องมือหรือสร้างเครื่องมือที่มีคุณภาพเพื่อใช้รวบรวมข้อมูลได้
การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) การตั้งหัวข้อ/ปัญหา • ชื่อปัญหาควรกะทัดรัด และมีความชัดเจน ทำให้ทราบว่า จะศึกษาเรื่องอะไรกับใคร • ชื่อหัวข้อปัญหาที่ดีจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปัญหานั้นๆ • ภาษาที่ใช้ต้องมีความชัดเจน อ่านเข้าใจได้ง่าย ถ้ามีศัพท์เทคนิคต้องเป็นศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ • การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาจะต้องระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น แม้ว่าจะศึกษาในประเด็นที่คล้ายๆ กันก็ตาม
การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) 2. ขยายแนวคิด/ประเด็นที่จำเป็นจากวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ต้องการศึกษาค้นคว้า • ใช้แหล่งสารสนเทศ เพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษาค้นคว้า • ใช้ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่เดิมขยายไปสู่ความรู้ใหม่
การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการกำหนดความต้องการสารสนเทศ (ต่อ) 3. กำหนดขอบเขตหรือกรอบความต้องการสารสนเทศ โดยให้หัวข้อ หรือประเด็นที่ศึกษามี ความสัมพันธ์กัน อาจทำในรูปแบบของ แผนที่ความคิดหรือผังความคิด (Conceptual Mapping หรือ MindMap)
แผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (MindMap) หัวข้อ “ธูปหอม”
แผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (MindMap) หัวข้อ “กาแฟร้านป้าทอง”
กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ • เมื่อได้หัวข้อ และ ขอบเขต ของสารสนเทศที่ต้องการแล้ว ต้องกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ โดยจะต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของความต้องการสารสนเทศว่าจะใช้เพื่อกิจกรรมใด กิจกรรมนั้น มีลักษณะที่พิเศษ มีคุณค่าอย่างไร • หากต้องการสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นหัวข้อพูดคุยกับเพื่อน คุณลักษณะของสารสนเทศอาจจะไม่จำเป็นต้องลงลึกในเชิงวิชาการ สามารถใช้แหล่งสารสนเทศง่ายๆ ในชีวิตประจำวันได้ เช่น สื่อมวลชน ประเภท โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ • แต่หากมีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียน เพื่อการทำงาน หรืออื่นๆ ที่มีคุณค่าสูง อาจต้องเลือกแหล่งสารสนเทศที่สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการ เช่น สถาบัน (ห้องสมุด) อินเทอร์เน็ต ในเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นต้น
กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) คุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องพิจารณา 1) ความแคบหรือกว้างของเนื้อหา 2) ลักษณะหรือธรรมชาติของข้อมูล 3) ปริมาณข้อมูล 4) ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ 5) อายุของข้อมูล 6) คุณภาพของข้อมูล 7) ภาษาของข้อมูล
กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 1) ความแคบหรือกว้างของเนื้อหา (Content) ต้องการสารสนเทศครอบคลุมสาขาใดและ/หรือแขนงใดบ้าง หรือต้องการสารสนเทศเฉพาะบางสาขา/แขนง
กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 2) ลักษณะหรือธรรมชาติของข้อมูล (Nature) ในสารสนเทศเรื่องเดียวกันนั้น ต้องการสารสนเทศที่มีลักษณะแบบใด หลากหลายหรือไม่ เช่น เป็นรูปภาพ ตัวเลข หรือข้อความ เป็นต้น
กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 3) ปริมาณข้อมูล สารสนเทศที่ใช้ประกอบต้องการมีปริมาณมากหรือน้อย จำนวนเท่าไหร่ ปริมาณข้อมูลขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้
กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 4) ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ ต้องการสารสนเทศประเภทใด เช่น อินเทอร์เน็ต บทความวารสาร บทความวิจัย สื่อประสม บทความในสารานุกรม ซีดี-รอม สื่อโสตทัศน์ เทปเสียง เป็นต้น
กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 4) ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (ต่อ)
กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 5) อายุของข้อมูล สารสนเทศที่ต้องการมีอายุอยู่ในช่วงระยะเวลาใด(Data Range)เป็นสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันหรือสารสนเทศเชิงประวัติศาสตร์ พิจารณาจาก วันเดือนปี ที่พิมพ์ วันเดือนปี ที่เผยแพร่
กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 6) คุณภาพของข้อมูล แม้ว่าสารสนเทศนั้นจะต้องมีคุณภาพอยู่แล้ว แต่วัตถุประสงค์จะทำให้การคัดสรรคุณภาพเข้มข้นมากขึ้น คุณภาพสารสนเทศ หมายถึง ความถูกต้องของเนื้อหา ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา เป็นต้นต้องการสารสนเทศที่มีความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือหรือไม่ซึ่งสามารถ พิจารณาจากผู้เขียน และสำนักพิมพ์ ที่เป็นผู้จัดทำสารสนเทศนั้นๆ
กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ ขั้นตอนการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ (ต่อ) 7) ภาษาของข้อมูล ข้อมูลที่ต้องการเป็นภาษาใด ภาษาไทยหรือต่างประเทศ ข้อมูลที่เป็นศัพท์เทคนิค หรือศัพท์เฉพาะทาง เช่น ศัพท์ทางการแพทย์ ศัพท์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ประเด็นนี้ทักษะและความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ มีส่วนเกี่ยวข้องและมีความจำเป็นในการพิจารณาเลือกข้อมูลด้วย
การวางแผนการค้นหาสารสนเทศการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ การวางแผน หมายถึง กระบวนการของการพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร อย่างไร มีการเลือกวัตถุประสงค์ นโยบาย โครงการ และวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร • ในการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ ต้องพิจารณาสิ่งที่เกี่ยวข้องในการค้นหา ได้แก่ 1. แหล่งสารสนเทศ 2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
การวางแผนการค้นหาสารสนเทศการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ 1. แหล่งสารสนเทศ โดยการคิดคำนึงและวิเคราะห์ว่า หัวข้อ ขอบเขต คุณลักษณะ ของสารสนเทศที่กำหนดขึ้นนั้น ควรที่จะใช้แหล่งสารสนเทศใด ที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการ เช่น สถาบัน(ห้องสมุด) อินเทอร์เน็ต เป็นต้น2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ โดยคำนึงถึงและวิเคราะห์ว่าแหล่งสารสนเทศที่เลือกนั้น จะใช้ทรัพยากรประเภทใดบ้าง เช่น แหล่งห้องสมุด ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ ตำรา บทความวารสาร พจนานุกรม เป็นต้น หรือ หากใช้แหล่งอินเทอร์เน็ต ต้องใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ จำพวก เว็บเพจ เว็บไซต์ ฐานข้อมูล เอกสารในรูปแบบต่างๆ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
การวางแผนการค้นหาสารสนเทศการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ จากลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ ทำให้ผู้เรียนสามารถกำหนดหรือคาดการณ์ได้ว่าจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการได้จาก แหล่งสารสนเทศประเภทใด หรือจากทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด
การวางแผนการค้นหาสารสนเทศการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ ขั้นตอนการวางแผนการค้น 1. กำหนดประเด็นที่ต้องการจะค้นหา เช่น เรื่อง หรือ ขอบเขตเนื้อหา ที่ต้องการจะสืบค้น 2. กำหนดคำ คำสำคัญและหัวเรื่องที่จะใช้สืบค้น 3. กำหนดแหล่งสารสนเทศที่จะไปค้นหาข้อมูล 4. กำหนดเครื่องมือที่จะใช้ในการสืบค้นข้อมูล
การวางแผนการค้นหาสารสนเทศการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ ประโยชน์ของการวางแผน 1. ได้รับสารสนเทศที่ต้องการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน 2. สามารถกำหนดคำค้นได้ตรงกับความต้องการ 3. ช่วยให้เลือกเครื่องมือช่วยค้นได้อย่างรวดเร็ว