170 likes | 403 Views
คณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน (Institutional Biosafety Committee – IBC). รุจ วัลยะเสวี รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. IBC คืออะไร?.
E N D
คณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน(Institutional Biosafety Committee – IBC) รุจ วัลยะเสวี รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
IBC คืออะไร? IBC คือ คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยสถาบันหรือหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับ GMOs เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลงานด้านพันธุวิศวกรรม ได้แก่ การพิจารณาอนุมัติโครงการฯ การสั่งซื้อ การผลิต การเคลื่อนย้ายหรือการปลดปล่อย GMOs สู่สิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบของ IBC • บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ (ประเมิน ประมวลผล ติดตามตรวจสอบงาน) • 2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ • 3. วิศวกร • 4. บุคคลจากภายนอกสถาบัน
หน้าที่ของ IBC • ประเมินและตรวจสอบงานวิจัยต่างๆ ที่ได้รับ • ประสานงานกับคณะกรรมการกลางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (National Biosafety Committee – NBC) และ IBC ของสถาบันอื่นๆ • ดูแลให้การดำเนินงานวิจัยต่างๆ ภายในสถาบันเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพฯ
ความเป็นมาของการจัดตั้ง IBC • พ.ศ. 2536 สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง IBC จำนวน 10 สถาบัน • พ.ศ. 2541 สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง IBC เพิ่มเติมอีก 2 สถาบัน รวมเป็น 12 สถาบัน • พ.ศ. 2545 สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง IBC เพิ่มเติมอีก 5 สถาบัน รวมเป็น 17 สถาบัน • พ.ศ. 2545 สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง IBC เพิ่มเติมอีก 7 สถาบัน รวมเป็น 24 สถาบัน • พ.ศ. 2545 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “แนวทางความร่วมมือในการบริหารจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน” • พ.ศ. 2546 สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง IBC เพิ่มเติมอีก 1 สถาบัน (ม.แม่โจ้)รวมเป็น 25 สถาบัน
กรมประมง กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บ.อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สถาบันที่มีการจัดตั้ง IBC
ความเป็นมาของการจัดทำแนวทางปฏิบัติฯความเป็นมาของการจัดทำแนวทางปฏิบัติฯ • พ.ศ. 2535 แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ • สำหรับการทดลองทางพันธุวิศวกรรมและ • เทคโนโลยีชีวภาพ ระดับห้องปฏิบัติการ • และภาคสนาม • พ.ศ. 2547 แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ • สำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ • สมัยใหม่หรือพันธุวิศวกรรม
สาระสำคัญในแนวทางปฏิบัติฯสาระสำคัญในแนวทางปฏิบัติฯ • ขอบเขตแนวทางการปฏิบัติการวิจัยและทดลองในห้องปฏิบัติการ • ประเภทของการวิจัยและทดลองเกี่ยวกับการดัดแปลงพันธุกรรม • บทบาทและความรับผิดชอบขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ • ระดับของการป้องกันภัยอันตรายทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการ • การขนส่งและการนำเข้า GMOs • ขอบเขตแนวทางปฏิบัติสำหรับการทดลองในระดับใหญ่ที่มีความจุถังหมักหรือ ถังปฏิกรณ์ชีวภาพมากกว่า 10 ลิตร ขึ้นไป • ขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนาม • การจำแนกประเภทของพืชและจุลินทรีย์ GMOs • การป้องกันและควบคุมพืชและจุลินทรีย์ GMOs • หลักการประเมินความเสี่ยงทั่วไป
ขอบเขตแนวทางการปฏิบัติการวิจัยและทดลองในห้องปฏิบัติการขอบเขตแนวทางการปฏิบัติการวิจัยและทดลองในห้องปฏิบัติการ การวิจัยและทดลองในห้องปฏิบัติการของรัฐ องค์กรรัฐวิสาหกิจ สถาบันวิจัยอิสระและบริษัทเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง และ/หรือ การขยายจำนวนไวรอยด์ ไวรัส เซลล์ หรือสิ่งมีชีวิตที่มีสารพันธุกรรมใหม่ อันเกิดจากกระบวนการดัดแปลงสารพันธุกรรม ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ประเภทของการวิจัยและทดลองเกี่ยวกับการดัดแปลงพันธุกรรมประเภทของการวิจัยและทดลองเกี่ยวกับการดัดแปลงพันธุกรรม • งานประเภทที่ 1 งานที่ไม่มีอันตราย • งานประเภทที่ 2 งานที่อาจเป็นอันตรายในระดับต่ำ • งานประเภทที่ 3 งานที่อาจมีอันตราย หรือเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วย โดยการดัดแปลงพันธุกรรม และงานที่อาจมีอันตรายในระดับที่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด • งานประเภทที่ 4 งานที่อาจมีอันตรายร้ายแรง และ/หรือขัดต่อศีลธรรม
งานประเภทที่ 1 งานที่ไม่มีอันตราย • งานทาง Molecular Genetics ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้สิ่งมีชีวิตหรือไวรัสโดยตรง เช่น PCR, northern หรือ Southern blotting, in vitro fertilization เป็นต้น • การเชื่อมของ protoplast ที่มาจากจุลินทรีย์ที่ไม่ก่อโรค • การเชื่อม protoplast หรือ embryo-rescue ของเซลล์พืช • การวิจัยและทดลองเกี่ยวกับ DNA ของไวรัสที่ไม่ได้นำไปทำการตัดต่อหรือเปลี่ยนแปลงลำดับเบส เพื่อให้เข้าไปในจีโนมของไวรัสเอง และรวมไปถึง DNA จากแหล่งอื่นด้วย • ฯลฯ อนุมัติได้โดย IBC
งานประเภทที่ 2 งานที่อาจเป็นอันตรายในระดับต่ำ • งานดัดแปลงพันธุกรรมสัตว์ที่มีชีวิต สารพันธุกรรมของไข่ หรือ ไข่ที่ผสมแล้วในช่วงตัวอ่อน เพื่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ • งานดัดแปลงพันธุกรรมพืชที่มีลักษณะต่างออกไป • งานที่เกี่ยวกับระบบเจ้าบ้าน/พาหะที่ไม่ได้อนุญาตไว้ • งานที่เกี่ยวกับระบบเจ้าบ้าน/พาหะที่อนุญาตไว้แล้ว แต่ยีนที่จะนำมาเชื่อมมีลักษณะเป็นตัวกำหนดทำให้เกิดพิษภัย หรือเป็น DNA หรือ RNA จากจุลินทรีย์ก่อโรค หรือมียีนที่สร้างโปรตีนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือการแบ่งเซลล์ เช่น เซลล์มะเร็ง อนุมัติได้โดย IBC
งานประเภทที่ 3 งานที่อาจมีอันตราย หรือเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโดยการดัดแปลงพันธุกรรม และงานที่อาจมีอันตรายในระดับที่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด • งานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่ผลิตสารพิษ หรือเกี่ยวข้องกับ DNA และการโคลน DNA ที่ควบคุมการสร้างสารพิษ • งานทดลองที่ใช้พาหะไวรัส ซึ่งทำให้เซลล์มนุษย์ติดเชื้อได้ • งานที่เกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยด้วยการดัดแปลงพันธุกรรมทุกชนิด • การวิจัยและทดลองที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มใดๆ ของงานประเภทที่ 1, 2 หรือ 3 แต่อยู่ในประเด็นของแนวทางตามที่กำหนดไว้ • ฯลฯ อนุมัติได้โดย NBC
งานประเภทที่ 4 งานที่อาจมีอันตรายร้ายแรง และ/หรือ ขัดต่อศีลธรรม • งานที่ไม่มีมาตรการ และ/หรือข้อมูลที่ใช้ในการพิสูจน์และควบคุมป้องกันในเชิงวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน • งานที่มุ่งเน้นผลิตสิ่งมีชีวิตก่อโรค และ/หรือ สารพิษเพื่อเป้าหมายทางสงครามและการทำลายล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ • งานที่มุ่งจะดัดแปลงพันธุกรรมของมนุษย์ ด้วยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม ไม่อนุญาตให้ดำเนินการอย่างเด็ดขาด
กลไกการบริหารจัดการ • คณะกรรมการกลางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (NBC) • คณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน (IBC) • หัวหน้าโครงการ
ประเภทที่ 3 (BL 3-4) ประเภทที่ 2 (BL 1-2) คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ (NBC) ประเภทที่ 1 และ 2 “เพื่อทราบและรวบรวม” ประเภท 3 “เพื่อขอความเห็นชอบ” คณะกรรมการระดับสถาบัน (IBC) ขอยกเว้น ขอยกเว้น เพื่อประเมิน ดำเนินการสุ่ม ตรวจดำเนินงาน ประเภทที่ 1 (BL-1) แหล่งทุน (ภายใน) หัวหน้าโครงการ แหล่งทุน (ภายนอก) ดำเนินการทดลอง ส่งรายงานความก้าวหน้า ปีละ 1 ครั้ง สิ้นสุดโครงการ