140 likes | 208 Views
โครงการการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียโดยชุดน้ำยาสำเร็จรูปกับวิธีตรวจฟิล์มหนาในพื้นที่จังหวัดตาก. น้องเลี้ยง นางสาวเสาวนีย์ ดีมูล หน่วยงาน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก. ความเป็นมา.
E N D
โครงการการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียโดยชุดน้ำยาสำเร็จรูปกับวิธีตรวจฟิล์มหนาในพื้นที่จังหวัดตากโครงการการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียโดยชุดน้ำยาสำเร็จรูปกับวิธีตรวจฟิล์มหนาในพื้นที่จังหวัดตาก น้องเลี้ยง นางสาวเสาวนีย์ ดีมูล หน่วยงาน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก
ความเป็นมา มาลาเรีย เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่คุกคามสุขภาพของประชาชน ซึ่งพบมาก ในจังหวัดตามแนวชายแดน และจังหวัดที่ยังมีป่าทึบ สถานการณ์ ข้อมูลการเฝ้าระวังประจำปี 2553 พบผู้ป่วย จำนวน 22,484 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 35.39 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 32 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.05 ต่อแสนประชากร จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากร มากที่สุด 5 อันดับแรกคือ จังหวัดตาก (1409.76 ต่อแสนประชากร) จังหวัดระนอง (889.11 ต่อแสนประชากร) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (455.66 ต่อแสนประชากร) จังหวัดพังงา (453.79 ต่อแสนประชากร) จังหวัดชุมพร (453.11 ต่อแสนประชากร) รายงานในระบบเฝ้าระวัง 506 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
การดำเนินงาน • การเจาะโลหิตค้นหาผู้ป่วยที่เป็นคนไทย356,928 ราย จังหวัดตากมีการเจาะโลหิตมากที่สุด คือ 237,356ราย คิดเป็นร้อยละ 66.49 ตรวจพบเชื้อทั้งสิ้น6,944 ราย จากการเจาะโลหิตค้นหาผู้ป่วยทั้งหมด • จังหวัดตาก ตรวจพบเชื้อมากที่สุดที่คือ6,845 ราย คิดเป็นร้อยละ98.57 • กิจกรรมที่พบผู้ป่วยมาลาเรียมากที่สุด คือ มาลาเรียคลินิก ร้อยละ 44.83 โรงพยาบาล ร้อยละ 35.57 ชนิดเชื้อมาลาเรีย ชนิด Plasmodium vivax (Pv) ร้อยละ 67.97 ชนิด Plasmodium falciparum (Pf) ร้อยละ 31.00 พบเชื้อมากกว่า 1 ชนิด (Mixed infection) ร้อยละ 1.00 ชนิด Plasmodium malariae (Pm) ร้อยละ 0.01 ที่มา : จากรายงาน สรว.3 ของศตม.9.1-9.3
มาตรการหลัก 3 มาตรการ • มาตรการต่อยุง > ควบคุมทั้งยุงพาหะตัวเต็มวัยและลูกน้ำยุงพาหะ • การควบคุมโดยใช้สารเคมี การควบคุมทางชีววิธี การควบคุมทางสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการป้องกันยุงกัดโดยใช้มุ้งชุบสารเคมีและยาทากันยุง • มาตรการต่อคน • ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในป้องกันควบคุมโรค • เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน • มาตรการต่อเชื้อ • การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะป่วยด้วยโรคมาลาเรียให้ได้โดยเร็ว • ให้การรักษาในทันที
คำถามการวิจัย วิธีวินิจฉัยโรคมาลาเรียโดยชุดตรวจสำเร็จรูปเป็นวิธีที่มีต้นทุนประสิทธิผลใกล้เคียงกับการตรวจฟิล์มโลหิตหนาหรือไม่
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนประสิทธิผลการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียโดยชุดน้ำยาสำเร็จรูปกับวิธีตรวจฟิล์มหนาในพื้นที่ชายแดน จังหวัดตาก
วิธีการศึกษา (1) • รูปแบบการศึกษา เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล (Cost-Effectiveness Analysis) โดยใช้ Decision Tree Model เพื่อแสดงทางเลือกของมาตรการที่ต้องการศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการที่เป็นมาตรฐาน • ประชากรกลุ่มเป้าหมาย และจำนวน ประชากรจังหวัดตาก ใน 5 อำเภอชายแดน จำนวน 245,238 ราย
วิธีการศึกษา (1) • พื้นที่ศึกษา หรือดำเนินโครงการ พื้นที่ 5 อำเภอจังหวัดตาก อำเภออุ้มผาง อำเภอพบพระ อำเภอแม่สอด อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ละมาด
วิธีการศึกษา (2) • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.3 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
• แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลตามพารามิเตอร์ต่างๆตาม Decision tree model โดยใช้วิธีทบทวนจากเอกสารรายงานการวิจัยที่เสร็จเรียบร้อย บทความ บทคัดย่อ รายงานฉบับสมบูรณ์ จากการสืบค้นทางอินเตอร์เนต วารสารมาลาเรีย และคู่มือต่างๆ ของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง การเก็บรวบรวมค่าต้นทุน โดยคิดค่าใช้จ่ายกิจกรรมที่สัมพันธ์กับวิธีการตรวจวินิจฉัยมาลาเรีย วิเคราะห์ Cost effective ratio เปรียบเทียบมาตรการทั้ง 2 มาตรการ โดยวิเคราะห์อัตราต้นทุนรวมของผู้ให้บริการและผู้รับบริการต่อประสิทธิผล (accuracy and true positive rate) โดยใช้โปรแกรม Tree Age เวอร์ชั่น 3.5
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • การนำผลไปใช้ประโยชน์ สามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปนำเสนอต่อผู้บริหารเพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินมาตรการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรีย
ระยะเวลาที่ศึกษา ระยะเวลาในการศึกษา จำนวน 11 เดือน ดังนี้
งบประมาณและแหล่งทุน งบประมาณสนับสนุนจากกรมควบคุมโรค จำนวน 114,800 บาท โดยเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้ ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 8 คน x 210 บาท x 10 วัน = 16,800 บาท ค่าที่พัก จำนวน 8 คน x 600 บาท x 10 วัน = 48,000 บาท ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง = 40,000 บาท ค่าจ้างเหมาบริการ = 10,000 บาท
ทีมงาน น้องเลี้ยงพี่เลี้ยงที่ปรึกษา ทีมงาน 1.นางสาวเสาวนีย์ ดีมูล 2.นางอุษารัตน์ ติดเทียน 3.นายณพพงษ์ บำรุงพงษ์ • 4.นายนิธิพัฒน์ มีโภคสม • 5. นายตามพงษ์พงษ์นรินทร์ • 6.นายชวลิต แก้วกก ที่ปรึกษา 1.นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ 2.ดร.พงษ์วิทย์ บัวล้อมใบ สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง 3.นายเผด็จศักดิ์ ชอบธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล 4.ร.ต.ท.(ญ)ศิรินาถ ป้อมวงศ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก