1.32k likes | 1.8k Views
The Child with Respiratory dysfunction. อ. นภิสส รา ธี ระเนตร. วัตถุประสงค์. เมื่อ นักศึกษาเรียนเรื่องนี้จบแล้ว จะมีความสามารถดังนี้
E N D
The Child with Respiratory dysfunction อ. นภิสสรา ธีระเนตร
วัตถุประสงค์ • เมื่อนักศึกษาเรียนเรื่องนี้จบแล้ว จะมีความสามารถดังนี้ 1. อธิบายความหมาย สาเหตุ พยาธิสรีรภาพ อาการและอาการแสดง การวินิจฉัยโรค การรักษาและการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจได้ 2. บอกความแตกต่างทางพยาธิสรีรภาพ อาการและอาการแสดง การวินิจฉัยโรค การรักษาและการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจได้ 3. ใช้กระบวนการพยาบาลในการวางแผนการพยาบาลได้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่กำหนดได้
บทนำ • ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับทางเดินหายใจในเด็ก ทั้งที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน ฉุกเฉิน วิกฤต และเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาสำคัญและพบบ่อย ได้แก่การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น กลุ่มอาการครูพ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น ปอดอักเสบ ความผิดปกติเรื้อรังของทางเดินหายใจเช่น หอบ ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวสามารถทำให้เด็กเกิดภาวะวิกฤตและนำไปสู่การเสียชีวิตหรือพิการได้
ปัจจัยที่ทำให้เด็กมีความผิดปกติของทางเดินหายใจได้ง่ายปัจจัยที่ทำให้เด็กมีความผิดปกติของทางเดินหายใจได้ง่าย • ปัจจัยด้านเด็ก - กายวิภาคและสรีรวิทยาทางเดินหายใจของเด็ก - ภาวะทุพโภชนาการ • ปัจจัยอื่นๆ เช่น ทารกกลืนไม่ดี • สิ่งแวดล้อม
การฟังเสียงปอด • เสียงอึ๊ด (rhonchi) เป็นเสียงผิดปกติที่เกิดจากอากาศผ่านหลอดลมที่ผิวขรุขระเนื่องจากหลอดลมบวม หรือมีเสมหะเหนียวติดอยู่ที่หลอดลมเป็นแห่งๆ เสียงจะดังต่อเนื่อง พบในรายที่มีการอักเสบของหลอดลม
2. เสียงวี๊ด(wheezing) • เกิดจากมีพยาธิสภาพในหลอดลม อาจเป็นการหดเกร็ง บวมหรือคั่งค้างของเสมหะ อากาศหายใจผ่านหลอดที่ตีบแคบได้ยินเสียงชัดในช่วงเวลาที่หายใจออก จะหายใจออกยาวกว่าหายใจเข้า เนื่องจากต้องออกกำลังให้ผ่านหลอดลมที่ตีบแคบเล็กจากการอักเสบ พบในเด็กที่เป็นหืดหรือติดเชื้อในหลอดลม
3. เสียงกรอบแกรบ (crepitation) • เป็นเสียงที่เกิดเมื่อลมหายใจผ่านน้ำเมือกในหลอดลมฝอยหรือปอดเพื่อดันให้ถุงลมโป่งออก จะได้ยินเสียงกรอบแกรบคล้ายใบไม้แห้งเสียดสีกันตรงตำแหน่งที่มีการอักเสบ จะได้ยินเสียงชัดตอนใกล้จะสุดของเสียงหายใจเข้า
3.1 เสียงกรอบแกรบแบบละเอียด (fine crepitation) เกิดในทางผ่านลมหายใจขนาดเล็ก ได้แก่ หลอดลมฝอย และถุงลมปอด ได้ยินชัดตอนสุดท้ายของการหายใจเข้า 3.2 เสียงกรอบแกรบขนาดกลาง (medium crepitation) เกิดในทางผ่านหลอดลมขนาดกลางคือ ส่วนปลายของหลอดลมขนาดใหญ่ มักได้ยินตอนสุดท้ายของหายใจเข้า 3.3 เสียงกรอบแกรบหยาบ (coarse crepitation) ได้ยินเสียงในหลอดลมคอและหลอดลมขนาดใหญ่ ได้ยินทั้งขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก
4. เสียงฮืด(stridor) • เป็นเสียงที่เกิดจากลมหายใจผ่านทางเดินหายใจขนาดใหญ่ที่แคบลง ซึ่งเกิดจากการตีบแคบของกล่องเสียงและหลอดลมขนาดใหญ่ ได้ยินชัดในช่วงหายใจเข้ามากกว่าหายใจออก (inspiratory stridor) สามารถได้ยินโดยไม่ต้องใช้หูฟัง
Nursing Care of the Child with Respiratory Tract Infection • 1. การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน (Upper respiratory tract infection : URI) 1.1 โรคหวัดหรือจมูกอักเสบ (Common cold, Acute rhinitis, Coryza)เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก และเด็กมักเป็นหวัดได้บ่อยๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยคือ Rhinovirus, Adenovirus, Parainfluenza virus และ Respiratory syncytial virus (RSV)
พยาธิสรีรภาพ • เยื่อบุจมูกจะบวมแดง โดยมี cell infiltration และมีการหลุดลอกของเยื่อบุผิวจมูก อาจจะมีคออักเสบหรือกล่องเสียงอักเสบร่วมด้วย ต่อมาเมื่ออาการดีขึ้นเยื่อบุผิวจมูกจะเจริญงอกขึ้นใหม่ อาการและอาการแสดง • ไข้ นํ้ามูกใส ต่อมาจะมีนํ้ามูกไหลมากขึ้น แน่นคัดจมูก หายใจไม่สะดวก ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เด็กเล็กมักจะมีอาการกระสับกระส่าย ไม่ยอมดูดนมและอาจพบอาการในระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะท้องเสีย สำหรับเด็กโตอาจมีเพียงไข้ตํ่าๆ ไอ จาม คัดจมูก นํ้ามูกใส และคอแห้ง
ภาวะแทรกซ้อน หูชั้นกลางอักเสบ (พบได้บ่อย)**, ไซนัสอักเสบ, ปอดอักเสบ ติดเชื้อแบคทีเรียซํ้า • การวินิจฉัย จากอาการและอาการแสดงและควรแยกจากจมูกอักเสบ จากภูมิแพ้ ซึ่งจะมีอาการคัน คัดจมูก นํ้ามูกไหลบ่อย ๆ มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว และตอบสนองได้ดีต่อยา Antihistamine และ Steroid
การรักษา 1. รักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ ลดการบวมของเยื่อบุจมูก โดยให้ Antihistamine และ Decongestant การให้ยาหยอดจมูก การล้างจมูก** 2. รักษาเฉพาะ การให้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียซํ้า เช่น Penicillin
โรคคออักเสบเฉียบพลัน (acute pharyngitis) • เป็นการติดเชื้อบริเวณคอหอย อาจรวมถึงการอักเสบที่ต่อมทอนซิล มักพบในเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป และและพบบ่อยในเด็กอายุ 6-12 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยคือ Rhinovirus, Para influenza virus และ RSV ส่วนคออักเสบเฉียบพลันจากเชื้อแบคทีเรีย มักเกิดจาก Group A β-hemolytic streptococci
พยาธิสรีรภาพ • ผู้ป่วยเด็กจะมีการอักเสบของเยื่อบุคอบริเวณ Posterior pharynx ตรวจพบว่ามีสีแดง (hyperemia) และมีการบวมโตของต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ถ้าเยื่อบุจมูกและคอแห้งมาก
อาการและอาการแสดง • แบคทีเรีย อาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันคือ ไข้สูง เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก บางครั้งเสียงแหบ อาจหนาวสั่น หรือปวดเมื่อยตามตัว กล้ามเนื้อ ปวดท้อง คัดจมูก น้ำมูกไหล พบหนองสีขาวบริเวณทอนซิลและคอหอยด้านหลัง ต่อมน้ำเหลืองที่คอโตและปวด • ไวรัสอาการจะค่อยเป็นค่อยไป มีไข้ต่ำๆ ไม่เจ็บคอมาก คอแดงแต่ไม่มีหนอง ต่อมน้ำเหลืองไม่โตและหายเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์
การวินิจฉัย อาการและอาการแสดงการตรวจร่างกาย การตรวจนับเม็ดเลือด และการเพาะเชื้อจากคอ • การรักษา 1. รักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ ยาบรรเทาอาการปวดศีรษะ 2. รักษาเฉพาะ ถ้าคออักเสบเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำลายเชื้อโดยให้ยาปฏิชีวนะ เช่นPenicillin,Erythromycin และให้ติดต่อกันนาน 10 วัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันโรคไตอักเสบ โรคไข้รูมาติกเฉียบพลัน**
หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media) • พบได้บ่อยในเด็ก โดยเฉพาะในทารกและเด็กเล็ก จากการเป็นหวัดอยู่นาน โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง การอักเสบมักจะลุกลามมาทาง Eustachian tube หรืออาจจะมาจากส่วนอื่นของระบบหายใจ เช่น ไซนัส ต่อมอะดีนอยด์ ต่อมทอนซิล • เชื้อที่พบบ่อยคือ เชื้อ Pneumococci ,Hemophilusinfluenzaeรองลงมาได้แก่ เชื้อ β-hemolytic streptococci group A. ส่วนเชื้อไวรัสอาจเกิดจาก RSV.
พยาธิสรีรภาพ • เริ่มจากมีการอักเสบ บวมแดงของเยื่อบุในหูชั้นกลาง และมีนํ้าใสๆ (serous exudate) ต่อมาเปลี่ยนเป็นหนอง ทำ ให้ Eustachian tube อุดตัน และความดันในหูชั้นกลางเพิ่มขึ้น เยื่อแก้วหูจะโป่งออก และแตกทะลุทำให้หนองไหลออกมาตลอดเวลาจนกว่าการอักเสบจะหมดไป
อาการและอาการแสดง • ผู้ป่วยจะมีไข้สูง และปวดหูมาก เด็กโตจะบอกได้ชัดเจน แต่เด็กเล็กจะแสดงโดยร้องไห้กวนกระสับ กระส่ายพักไม่ได้ ชอบเอามือดึงหูบ่อยๆ เมื่อเยื่อแก้วหูแตกทะลุและมีหนองไหลออกมา อาการปวดหู และไข้จะลดลง
ภาวะแทรกซ้อน กระดูกมาสตอยด์อักเสบ (พบได้บ่อย) สูญเสียการได้ยิน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หูชั้นในอักเสบ • การวินิจฉัย ประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน อาการและอาการแสดงการตรวจร่างกาย การเพาะเชื้อจากนํ้าหรือหนองในหู
การรักษา 1. ทำลายเชื้อโดยให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Ampicillin โดยการฉีด หยอดหรือล้างหู 2. บรรเทาอาการปวดหู โดยให้ยาแก้ปวด หรือเจาะเยื่อแก้วหู 3. เจาะเยื่อแก้วหู (Myringotomy) เพื่อระบายหนองที่อยู่ในหูชั้นกลาง 4. ลดไข้โดยให้ยาลดไข้ 5. ลดการบวมในหูชั้นกลาง โดยให้ยา Decongestant และ Antihistamine
โรคต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) • โรคต่อมทอนซิลอักเสบพบได้บ่อยในเด็กอายุตํ่ากว่า 9 ปี เชื้อที่เป็นสาเหตุได้บ่อยที่สุดคือ β hemolytic streptococi group A. • พยาธิสรีรภาพ คออักเสบ แดง ต่อมทอนซิลโต และมีหนอง
อาการและอาการแสดง • ไข้สูง อ่อนเพลีย ซึม อาเจียน เด็กโต จะบ่นว่าเจ็บคอและกลืนลำบาก เด็กเล็ก จะไม่ยอมรับประทานอาหาร ในรายที่มีอาการของต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังจะมีอาการเจ็บคออยู่เสมอ กลืนลำบาก หายใจลำบาก และต่อมนํ้าเหลืองบริเวณคอโต
การวินิจฉัย อาการและอาการแสดงการตรวจหาเชื้อโดยการทำ Throat swab culture • การรักษา 1. ให้พักผ่อนและดื่มนํ้าอย่างเพียงพอ 2. ให้ยาลดไข้ แก้ปวด 3. ให้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย 4. ทำ Tonsillectomy
การผ่าตัดทอนซิล(Tonsillectomy) ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้คือ • ภาวะการเสียเลือดมาก (Hemorrhage) • ภาวะการสูญเสียน้ำ (Dehydration)
การวินิจฉัยการพยาบาลหลังผ่าตัดTonsillectomyการวินิจฉัยการพยาบาลหลังผ่าตัดTonsillectomy เกิดความไม่สุขสบายจากการเจ็บปวดแผลบริเวณที่ทำผ่าตัด : เพื่อช่วยให้สุขสบาย บรรเทาอาการเจ็บปวด
เกิดภาวะพร่องของสารน้ำและสารอาหารในร่างกาย :เพื่อให้รับสารน้ำและอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การปฏิบัติการพยาบาล • เพื่อช่วยให้สุขสบาย บรรเทาอาการเจ็บปวด • ประเมินความเจ็บปวดและให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ ติดตามดูอาการแทรกซ้อนภายหลังให้ยา • ประคบเย็นบริเวณลำคอด้วย Ice collar หรือ Cold pack Gel เพื่อบรรเทาอาการปวดและช่วยห้ามเลือด** • ในกรณีไม่คลื่นไส้อาเจียนแนะนำให้รับประทานของเย็น เช่นไอศกรีม น้ำเย็น นมเย็น เพื่อช่วยลดอาการบวมในลำคอ และทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว จะบรรเทาอาการปวดได้ แต่ห้ามอาหารที่มีโทนสีแดง ชมพู หรือน้ำตาล เพื่อให้แยกการประเมินภาวะเลือดออกได้**
เสี่ยงต่ออันตรายจากการเสียเลือด : ไม่ให้เกิดอันตรายจากการเสียเลือดมากเกินไป ดูแลในเรื่อง V/S, Consious, N/V
เสี่ยงต่อการอักเสบติดเชื้อ :ลดภาวะการติดเชื้อ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลผู้ป่วยและการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลผู้ป่วยและการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน 1. เสี่ยงต่อทางเดินหายใจอุดกั้นจากการบวมของเยื่อบุจมูก และมีการสร้างเสมหะมากขึ้น 2. เสี่ยงต่อการได้รับสารนํ้าและอาหารไม่เพียงพอ 3. มีความไม่สุขสบายจาก ไข้ หรือเจ็บคอ หรือคัดจมูก 4. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
คำแนะนำการปฏิบัติตนเมื่อกลับบ้านคำแนะนำการปฏิบัติตนเมื่อกลับบ้าน • เสี่ยงต่ออันตรายจากภาวะแทรกซ้อนหลังกลับบ้าน 1) มีความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อกลับไปอยู่บ้าน 2) การรักษาความสะอาดปากและคอ 3) รับประทานอาหาร
หลีกเลี่ยงการใช้เสียงดังเกินไปหลีกเลี่ยงการใช้เสียงดังเกินไป • หลีกเลี่ยงจากคนที่เป็นโรค
ครูพ(croup) • เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบและบวมของกล่องเสียง และหลอดลมคอ โดยเฉพาะตำแหน่งอยู่ใต้กล่องเสียง (subglottic airway) และเป็นสาเหตุของการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลัน • มักเป็นในเด็กที่อายุระหว่าง 6 เดือน-3 ปี
พยาธิสรีรภาพ ไวรัสที่เป็นสาเหตุจะลุกลามจากเซลล์เยื่อบุผิวของจนมูกและคอหอยที่กล่องเสียงและหลอดลมคอ ทำให้มีการอักเสบและบวมทั่วๆไป เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจเฉียบพลัน • อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยเด็กมักมีอาการนำของโรคหวัด เช่น น้ำมูก ไอเล็กน้อยและไข้ต่ำ จากนั้นจะเริ่มมีอาการไอเสียงก้อง (อาการเด่นในทารกและเด็กเล็ก) เสียงแหบ (อาการเด่นในเด็กโต) และหายใจมีเสียง stridor ซึ่งมักเกิดในช่วงหายใจเข้า • ในรายที่อาการรุนแรงมากจะมีอาการหอบ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว ปีกจมูกบาน อกบุ๋ม มีเสียง stridor ทั้งในช่วงหายใจเข้าและหายใจออก กระสับกระส่าย และมีอาการเขียวได้
การวินิจฉัย 1. จากการซักประวัติ รวมทั้งอาการและอาการแสดง 2. การตรวจร่างกาย 3. การถ่ายภาพรังสีที่คอในท่า posterior-anterior พบลักษณะที่เรียนกว่า “classic steeple sign”หรือ “pencil sign”
croup score** คะแนน < 4 = ทางเดินหายใจอุดกั้นเล็กน้อย 4-7 = ทางเดินหายใจถูกอุดกั้นปานกลางถึงมาก คะแนน > 7 = มีการอุดกั้นทางเดินหายใจรุนแรงมาก มักต้องใส่ท่อหลอดลม
การรักษา croup score < 4 ไม่ต้องนอนในรพ. • รักษาตามอาการ ให้ดื่มน้ำมากๆ • อาจให้ยาแก้ไอขับเสมหะหรือยาขยายหลอดลม (ถ้ามีอาการเกร็งตัวของหลอดลมร่วมด้วย) • ให้ ATB ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ
croup score 4-7 ควรต้องรับไว้ในรพ. • ให้O2ที่มีความชื้นสูง และจัดให้อยู่ในที่อากาศเย็น** • ดูแลใกล้ชิด รบกวนผู้ป่วยให้น้อยที่สุด ให้ rest • ให้IVF • ยาขับเสมหะ ขยายหลอดลม ลดไข้ • ให้ ATB ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย • ฉีดⓥ(dexa) +พ่น adrenaline
Oxygen ที่มีความชื้นสูงและเย็น
Croup score > 7 • หรืออาการรุนแรงมากขึ้นควรพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ หรือบางรายอาจต้องเจาะคอ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ขาดประสิทธิภาพในการทำทางเดินหายใจให้โล่ง เนื่องจากมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน • ประเมินลักษณะทางคลินิก • รบกวน ptน้อยที่สุด • ดูแลรับออกซิเจนตามแผนการรักษา วัด O2 sat • ดูแลด้านจิตใจเด็กและครอบครัว
2.การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง (Lower respiratory tract infection : LRI) • หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis) เป็นการอักเสบของหลอดลมใหญ่อย่างเฉียบพลัน มักจะมีการอักเสบของทางหายใจ ส่วนอื่นร่วมด้วยเช่น จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ อาจเกิดตามหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน พบบ่อยในเด็กโตและวัยรุ่น
สาเหตุ • Allergy • Infection: RSV, Parainfluenza,Hemophilus influenza, Streptococcus pneumoniae. • Chemical irritation
พยาธิสรีรภาพ การอักเสบจะเริ่มที่หลอดลมขนาดใหญ่ โดยมีการบวมของเยื่อบุชั้น mucosa ต่อมาเซลที่สร้างmucous มีจำนวนมากขึ้นและขนาดโตขึ้นทำ ให้มีเสมหะมาก และมีลักษณะใส เม็ดเลือดขาวชนิด PMN จะเข้าไปในผนังหลอดลมและท่อหลอดลม รวมกับมีการทำลายและหลุดลอกของเยื่อบุชนิด ciliated ทำให้ลักษณะเสมหะเปลี่ยนเป็นหนอง
อาการและอาการแสดง เริ่มมีอาการหวัดนำ มาก่อน ประมาณ 2-3 วัน แล้วมีอาการไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะต่อมาไอมีเสมหะ ระยะแรกเสมหะจะมีลักษณะใส แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นหนอง บางรายอาจเจ็บบริเวณกระดูกหน้าอก และเจ็บหน้าอกด้วยถ้าไอมาก • ภาวะแทรกซ้อน การติดเชื้อแบคทีเรียซํ้า, Emphysema, ปอดแฟบ
การวินิจฉัย จากอาการทางคลินิกการตรวจร่างกาย ฟังเสียงที่หลอดลม จะได้ยินทั้ง Rhonchi /crepitation /Wheezing การย้อมและเพาะเชื้อจากเสมหะ การถ่ายภาพรังสีทรวงอก พบ hyperinflation (ปริมาตรปอดใหญ่ขึ้นสังเกตจาก AP diameter) • การรักษา 1. รักษาตามอาการเช่น ให้สารนํ้าอย่างเพียงพอ ช่วยให้เสมหะระบายได้ดีทำกายภาพบำบัดทรวงอก การให้ฝอยละอองไอนํ้า ให้ยาละลายเสมหะ ให้ยาขยายหลอดลม 2. รักษาเฉพาะ ให้ยาปฏิชีวนะที่จำเพาะต่อเชื้อที่เป็นสาเหตุ
หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchiolitis) • สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยคือ RSV พบในเด็กอายุ 6ด.- 2 ปี • พยาธิสรีรภาพ** การติดเชื้อบริเวณหลอดลมฝอย ทำให้เยื่อบุหลอดลมฝอยอักเสบ บวม มีเสมหะและเซลที่ตายแล้วคั่งค้างอยู่ในหลอดลมฝอย อาจมีการหดเกร็งของหลอดลมร่วมด้วย ทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ