1 / 20

พันธุกรรม เรื่อง พันธุวิศวกรรม จัดทำโดย นางสาวกุหลาบ รักษา นางสาวพนิดา ประกาสิทธิ์

พันธุกรรม เรื่อง พันธุวิศวกรรม จัดทำโดย นางสาวกุหลาบ รักษา นางสาวพนิดา ประกาสิทธิ์ นาย ณัฐวัฒน์ ใจอาจ นาย วีนัส คุณา รูป ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ. พันธุวิศวกรรม ( genetic engineering).

tiger-byers
Download Presentation

พันธุกรรม เรื่อง พันธุวิศวกรรม จัดทำโดย นางสาวกุหลาบ รักษา นางสาวพนิดา ประกาสิทธิ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พันธุกรรม เรื่อง พันธุวิศวกรรม จัดทำโดย นางสาวกุหลาบ รักษา นางสาวพนิดา ประกาสิทธิ์ นายณัฐวัฒน์ ใจอาจ นายวีนัสคุณารูป ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

  2. พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) คือกระบวนการที่ได้นำความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาชีววิทยาระดับโมเลกุล หรือ อณูชีววิทยา (molecular biology) นำมาประยุกต์ใช้ใน การปรับเปลี่ยน, ดัดแปลง, เคลื่อนย้าย, ตรวจสอบ สารพันธุกรรม ดีเอ็นเอ (DNA)], ยีน(gene) และผลิตภัณฑ์ของสารพันธุกรรมอย่างพวกอาร์เอ็นเอ(RNA)และโปรตีนของสิ่งมีชีวิต เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์

  3. โดยปกติแล้ว พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) จะเป็นการตัดต่อยีน(gene)หรือเป็นการเคลื่อนย้ายยีน(transgenesis)จากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งใส่เข้าไปกับยีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง คือทำให้เกิดการถ่ายทอดของยีน(gene)และลักษณะที่ยีน(gene)นั้นได้ทำการควบคุมอยู่ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตที่ถูกนำยีน(gene)ใส่เข้าไป มียีน(gene)ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ โดยอาจทำการเพิ่มปริมาณยีน(gene)ขึ้นอีกเพื่อให้มีปริมาณที่มากเพียงพอที่จะนำไปทำให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดีขึ้น และทำให้ได้ปริมาณของผลผลิตที่สูงขึ้นอีกด้วย โดยที่พันธุวิศวกรรม (genetic engineering)อาจจะทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่(novel)ที่อาจไม่เคยปรากฏในธรรมชาติมาก่อน

  4. ตัวอย่าง ที่ทำพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เช่น การใส่ยีน(gene)ที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน(insulin)เข้าไปในแบคทีเรียหรือยีสต์ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน(insulin)ได้ แล้วทำการเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ให้ได้ในปริมาณที่มากเพื่อจะได้ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน(insulin)ได้มากตามที่สามารถนำมาทำการสกัดให้บริสุทธิ์เพื่อใช้ทำการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ เป็นต้น

  5. การใช้ประโยชน์จาก พันธุวิศวกรรม (Applications of genetic engineering) พันธุวิศวกรรม(genetic engineering)เป็นกระบวนการปรับปรุงพันธุ์สิ่งมีชีวิต โดยนำยีน(gene)จากสิ่งมีชีวิตพันธุ์หนึ่ง (species) ถ่ายฝากเข้าไปอีกพันธุ์หนึ่ง เพื่อจุดประสงค์ที่จะปรับปรุงสายพันธุ์ให้ดีขึ้น กระบวนการดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า LMO (living modified organism) หรือ GMO (genetically modified organism)

  6. การใช้ประโยชน์ของพันธุวิศวกรรมทางด้านต่างๆการใช้ประโยชน์ของพันธุวิศวกรรมทางด้านต่างๆ ได้แก่ -ทางด้านการเกษตรและอาหาร -ทางการพัฒนาพันธุ์สิ่งมีชีวิตให้มีคุณภาพผลผลิตดี -ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข -ทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม -ทางด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม

  7. โรคทางพันธุกรรม(genetic disorder) โรคทางพันธุกรรม(genetic disorder) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีน(gene)หรือของโครโมโซม (chromosome) ตั้งแต่แรกเกิดหรือตั้งแต่ปฏิสนธิ หรืออาจเกิดการผิดปกติได้ในภายหลัง ทำให้มีผลเกิดภาวะผิดปกติทางร่างกาย หรือ เกิดภาวะเจ็บป่วยได้ ซึ่งโรคทางพันธุกรรม(genetic disorder)อาจสามารถหรือไม่สามารถถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้แล้วแต่กรณี โรคทางพันธุกรรม(genetic disorder)อาจมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของพ่อและแม่ หากยีน(gene)หรือของโครโมโซม(chromosome)ของพ่อและแม่มีความผิดปกติแฝงอยู่

  8. ตัวอย่าง ของโรคทางพันธุกรรม(genetic disorder) โรคทางพันธุกรรม(genetic disorder)ที่เกิดจากความผิดปกติจากจำนวนของออโตโซม(autosome) เช่น ดาวน์ซินโดรม( Down’s syndrome), เอ็ดเวิร์ดซินโดรม( Edward’s Syndrome), พาทัวซินโดรมหรือพาเทาซินโดรม (Patau’s syndrome)

  9. โรคทางพันธุกรรม(genetic disorder)ที่เกิดจากความผิดปกติของรูปร่างออโตโซม(autosome) เช่น คริดูชาต์ หรือ แคทครายซินโดรม(cri-du-chat or cat cry syndrome), เพรเดอร์-วิลลีซินโดรม(Prader-Willi syndrome)

  10. โรคทางพันธุกรรม(genetic disorder)ที่เกิดจากความผิดปกติของหรือในโครโมโซมเพศ(sex chromosome) เช่น ตาบอดสี(Color blindness), ฮีโมฟีเลีย(Hemophilia), ภาวะพร่องเอนไซม์ จี- 6- พีดี(G-6-PD : Glucose-6-phosphate dehydrogenase), เทอร์เนอร์ซินโดรม( Turner’s syndrome), ไคลน์เฟลเตอร์ซินโดรม(Klinefelter’s syndrome), ทริปเปิ้ลเอ็กซ์ซินโดรม(Triple X syndrome), ดับเบิ้ลวายซินโดรม (Double Y syndrome), โรคกล้ามเนื้อลีบดูเชน(Duchenne muscular dystrophy, DMD), กลุ่มอาการต่อต้านแอนโดรเจน (androgen insensitivity syndrome; AIS, androgen resistance syndrome)

  11. โรคทางพันธุกรรม(genetic disorder)เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมอื่น ๆ เช่น ฟีนิลคีโตนูเรีย(Phenylketonuria) หรือ (Phenylpyruvic oligophrenia), สไปโนซีรีเบลลาร์อะแท็กเซีย (spinocerebellar ataxia), โรคทาลัสซีเมีย(Thalassemia), โรคซีสติกไฟโบรซีส(Cystic fibrosis), โรคคนเผือก (Albinos), โรคดักแด้, โรคท้าวแสนปม (neurofibromatosis), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลิวคีเมีย (Leukemia), โรคเบาหวาน, โรคซิกเกิลเซลล์(Sickle-cell), แองเกลแมนซินโดรม(Angelman syndrome, AS),ลองคิวทีซินโดรม(Long QT syndrome), โรคฮันติงตัน(Huntington’s disease/disorder), โรคกระดูกเจริญผิดเพี้ยนแบบไม่สามารถรอดชีวิตได้(thanatophoric dysplasia) หรือ โรคตัวเตี้ยแบบไม่สามารถรอดชีวิตได้(thanatophoric short stature, thanatophoric dwarfism)

  12. การโคลนนิ่ง (Cloning) การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ การสร้างสัตว์ตัวใหม่ขึ้นมาโดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศผู้หรืออสุจิของสัตว์เพศผู้ แต่ใช้นิวเคลียสจากเซลล์เต็มวัยของเซลล์ร่างกายของสัตว์เพศอะไรก็ได้ใส่ลงไปที่เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศเมียหรือเซลล์ไข่โดยนำสารพันธุกรรม หรือ DNA ที่มีอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียหรือเซลล์ไข่ออกก่อน แล้วนำเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียหรือเซลล์ไข่ใส่ไปในตัวเพศเมียเพื่อให้คลอดออกมา เมื่อคลอดออกมาทำให้ได้สัตว์ตัวใหม่ที่มี รูปร่าง หน้าตา ลักษณะภายนอก เหมือนกับสัตว์ตัวที่เป็นเจ้าของเซลล์เดิมทุกประการ และมีพันธุกรรมเหมือนกับสัตว์ตัวที่เป็นเจ้าของเซลล์เดิมทุกประการ ถ้าเจ้าของเซลล์เป็นเพศเมียก็จะได้สัตว์ใหม่เป็นเพศเมีย ถ้าเจ้าของเซลล์เป็นเพศผู้จะได้สัตว์ใหม่เป็นเพศผู้ เหมือนกับเจ้าของเซลล์เดิมทุกประการ

  13. จบการนำเสนอ ค่ะ/ครับ

  14. คำถาม 1.พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) คือ อะไร ก. กระบวนการที่มีการปรับเปลี่ยน, ดัดแปลง, เคลื่อนย้าย, ตรวจสอบ สารพันธุกรรม ดีเอ็นเอ (DNA)], ยีน(gene) ข. การตัดต่อยีน(gene)หรือเป็นการเคลื่อนย้ายยีน ค. การถ่ายทอดของยีน ง. ถูกทุกข้อ

  15. 2.กระบวนการปรับปรุงพันธุ์สิ่งมีชีวิต โดยถ่ายฝากเรียกว่าอะไร ก. ยีน(gene) ข. LMO หรือ GMO ค. การถ่ายทอดของยีน ง. ถูกทุกข้อ

  16. 3. การสกัดฮอร์โมนอินซูลินเพื่อไปรักษาโรคอะไร ก.โรคเบาหวาน ข. โรคธารัสซีเมีย ค. โรคดัดแด้ ง. โรคตาบอดสี

  17. 4.โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของหรือในโครโมโซมเพศ(sexchromosome) ก.ตาบอดสี ข. ทริปเปิ้ลเอ็กซ์ซินโดรม ค. ฮีโมฟีเลีย ง. ถูกทุกข้อ

  18. 5. การโคลนนิ่ง (Cloning) คืออะไร ก.การสร้างสัตว์ตัวใหม่ขึ้นมาโดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศผู้ ข. การตัดต่อยีน(gene)หรือเป็นการเคลื่อนย้ายยีน ค. การถ่ายทอดยีน(gene) ง. ถูกทุกข้อ

More Related