430 likes | 579 Views
นโยบายเศรษฐกิจทางเลือกในประเทศกำลังพัฒนา. สฤณี อาชวานันทกุล Fringer | คนชายขอบ http://www.fringer.org/ ปรับปรุงจากชุดสไลด์ที่นำเสนอในงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “ นโยบายเศรษฐกิจทางเลือกภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่: บทสำรวจองค์ความรู้ และประสบการณ์ ”
E N D
นโยบายเศรษฐกิจทางเลือกในประเทศกำลังพัฒนานโยบายเศรษฐกิจทางเลือกในประเทศกำลังพัฒนา สฤณี อาชวานันทกุล Fringer | คนชายขอบ http://www.fringer.org/ ปรับปรุงจากชุดสไลด์ที่นำเสนอในงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “นโยบายเศรษฐกิจทางเลือกภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่: บทสำรวจองค์ความรู้ และประสบการณ์” วันที่ 29 พฤษภาคม 2551 จัดโดย โครงการส่งเสริม พัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนา ศูนย์ศึกษานโยบายเพื่อการพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) • งานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบ Attribution Non-commercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำซ้ำ แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณีที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น
หัวข้อนำเสนอ • นโยบายพัฒนาในอุดมคติ • นโยบายพัฒนาที่ตั้งอยู่บนความสุข : กรณีภูฏาน • บทบาทของอิสลามในการพัฒนา • นโยบายประชานิยมในละตินอเมริกา
GDP เป็นองค์ประกอบเดียวของ “ความสุข” ที่มา: Deutsche Bank Research, 2007
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ความจำเป็นของ “ทางเลือก” ที่มา: Carol King, “Will we always be more capable in the future?”; Worldchanging.com - http://www.worldchanging.com/archives/007962.html
เหตุใดจึงควรคำนึงถึง “ความยุติธรรมทางสังคม” • การเติบโตของเศรษฐกิจที่มี “ฐานกว้าง” นั่นคือ เติบโตในทางที่คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ ไม่ใช่ในทางที่ความมั่งคั่งกระจุกตัวอยู่ในมือชนชั้นนำนั้น เป็นการเติบโตที่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น และเอื้ออำนวยต่อกระแสประชาธิปไตย ซึ่งจะผลักดันให้คนในสังคมรู้จักอดทนอดกลั้นต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง แทนที่จะทะเลาะเบาะแว้งจนนำไปสู่ความรุนแรง หรือถูกกดขี่โดยผู้ครองอำนาจ • การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ “ดี” ที่มีฐานกว้าง จึงช่วยให้สังคมมีระดับ “คุณธรรม” สูงขึ้นกว่าเดิม และระดับคุณธรรมที่สูงขึ้นนั้นก็จะทำให้สังคมยั่งยืน มีสันติสุขและเสถียรภาพมากกว่าในสังคมที่ความเจริญกระจุกตัวอยู่ในมือคนเพียงไม่กี่คน
ลักษณะของนโยบายพัฒนาในอุดมคติลักษณะของนโยบายพัฒนาในอุดมคติ • ตั้งเป้าหมายที่การส่งเสริมและดำรง “ความอยู่ดีมีสุข” ของประชาชนในสังคม • ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน • “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development) หมายความว่า ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในอัตราที่เร็วกว่าความสามารถของมนุษย์ในการผลิตทรัพยากรทดแทน และไม่ทิ้งทรัพยากรธรรมชาติในอัตราที่เร็วกว่าอัตราที่ธรรมชาติจะสามารถดูดซับมันกลับเข้าไปในระบบ • ประเมินผลดีและผลเสียจากการดำเนินนโยบายอย่างรอบคอบ สำหรับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมหรือธำรงความอยู่ดีมีสุขของผู้ด้อยโอกาสที่สุดในโครงการนั้นๆ เป็นหัวใจสำคัญ • มองทรัพยากรที่มีวันหมดต่างๆ รวมทั้งผลกระทบภายนอกว่าเป็น “ต้นทุน” ที่ต้องจ่ายหรือกำจัดโดยไม่ให้ประชาชนเป็นผู้รับภาระ
ลักษณะของนโยบายพัฒนาในอุดมคติ (ต่อ) • มุ่งเน้นการพัฒนา “ศักยภาพ” ของมนุษย์ มากกว่า “ระดับรายได้” • ส่งเสริม “ความยุติธรรมทางสังคม” โดยรัฐต้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชน จัดบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ได้คุณภาพ ดำเนินนโยบายที่มีจุดมุ่งหมายที่การลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน • สามารถรองรับความหลากหลายของแต่ละวัฒนธรรมท้องถิ่นในทุกระดับได้ เพราะการใช้ชุดนโยบายพัฒนาที่ยัดเยียดแบบ “สำเร็จรูป” อาจนำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคม และดังนั้นจึงไม่อาจเรียกว่าเป็นระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนได้
รายได้ต่อหัวของกลุ่มประเทศพัฒนาที่ยกเป็นกรณีศึกษารายได้ต่อหัวของกลุ่มประเทศพัฒนาที่ยกเป็นกรณีศึกษา 9
นโยบายพัฒนาที่ตั้งอยู่บนความสุข : กรณีภูฏาน
นิยามและประเภทของ “ความสุข” • ความสุข (happiness) • เป็นคุณสมบัตินามธรรม เป็นอัตตวิสัย (subjective) และมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยและสภาวะทางอารมณ์ของแต่ละคน • อรรถประโยชน์ (utility) • เป็นภววิสัย (objective) และบางประเภทสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลข (เช่น รายได้) • ความอยู่ดีมีสุข (wellbeing) • คือสภาวะที่ดำรงอยู่ต่อเนื่องยาวนานกว่า “ความสุข” ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ยามเท่านั้น และเป็น “ภววิสัย” มากกว่า “ความสุข” เพราะระดับความสุขที่คนแต่ละคน “รู้สึก” อาจมีไม่เท่ากันถึงแม้ว่าจะอยู่ในภาวะ “อยู่ดีมีสุข” ทัดเทียมกัน เช่น คนหนึ่งที่มีฐานะ ความเป็นอยู่ เสรีภาพ ฯลฯ ค่อนข้างดีอาจรู้สึกมีความสุขดีกับชีวิต ในขณะที่อีกคนหนึ่งที่มีปัจจัยเหล่านี้เท่ากันอาจรู้สึกไม่มีความสุขเลย เพราะมีความทะเยอทะยานอยากได้ใคร่มีมากกว่าคนแรก • ดังนั้น “ความอยู่ดีมีสุข” จึงสามารถนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนโยบายพัฒนาได้
ข้อถกเถียงของอมาตยา เซน ต่อมุมมองเสรีนิยมใหม่ • การมี “เสรีภาพทางเศรษฐกิจ” เพียงมิติเดียว ไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงหรือประเมินระดับความอยู่ดีมีสุข • แนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ที่เชื่อว่าทุกคนสามารถแสดงออกถึงระดับอรรถประโยชน์ที่พวกเขาได้รับนั้น เป็นสมมุติฐานที่ไม่ถูกต้อง เพราะคนยากจนมักไม่สามารถแสดงความต้องการและความไม่พึงพอใจของพวกเขาออกมาได้ เนื่องจากถูกสภาพสังคม วัฒนธรรม หรือความเชื่อทางศาสนากดทับเอาไว้ • คนที่มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจระดับหนึ่ง อาจไม่มีความสุขก็ได้เพราะขาดคุณภาพชีวิตที่ดี
ดัชนีพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) • ประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 ตัวหลัก ได้แก่ • ความยืนยาวของอายุประชากร สะท้อนแนวโน้มที่ประชากรจะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี และสะท้อนคุณภาพของระบบสาธารณสุขในประเทศ • อัตราการรู้หนังสือและจำนวนปีที่ประชากรได้รับการศึกษา สะท้อนความสามารถในการเข้าถึงโอกาสต่างๆ • รายได้ต่อหัวประชากร สะท้อนระดับเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
Human Development Index ของกลุ่มประเทศกรณีศึกษา 14
ดัชนีความสุขของโลก (Happy Planet Index) • จัดทำโดยสถาบันวิจัยอิสระชื่อ New Economics Foundation • เป็นดัชนีชุดแรกในโลกที่นำดัชนีวัดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมารวมกับดัชนีวัดความอยู่ดีมีสุขของประชากร HPI วัด “ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ”(ecological efficiency) ของแต่ละประเทศในการ “แปลงสภาพ” ทรัพยากรธรรมชาติให้ประชากรมีชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุข HPI = ความพึงพอใจในชีวิต x ความยืนยาวของอายุ • รอยเท้านิเวศ
ดัชนีความสุขของโลก (Happy Planet Index) ปี 2006
ดัชนีความสุขของโลก (Happy Planet Index) ปี 2006 (ต่อ)
นโยบาย “Gross National Happiness” ของภูฏาน • การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (sustainable economic development) • การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (conservation of the environment) • การส่งเสริมวัฒนธรรมประจำชาติ (promotion of national culture) • ธรรมาภิบาลที่ดี (good governance)
ตัวอย่างนโยบาย GNH ที่เป็นรูปธรรม • “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” ควบคู่ไปกับนโยบายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม • กฎหมายสิ่งแวดล้อมระบุว่าต้องมีพื้นที่ป่าไม้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งประเทศ และพื้นที่สงวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 • แบนอุตสาหกรรมป่าไม้ อนุญาตให้คนตัดไม้ไปสร้างบ้านเรือนและอาคารเท่านั้น แต่ต้องขออนุญาตจากรัฐและต้องปลูกต้นไม้ชดเชย • มาตรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวทางอ้อมด้วยการเก็บภาษีท่องเที่ยว • แคมเปญ “ชาติเดียว ชาติพันธุ์เดียว”: บังคับใช้ชุดจริยธรรมแบบจารีตเก่าแก่ (driglam namzha), ภาษา (Dzongka), ใส่ชุดประจำชาติ และให้บ้านเรือนและอาคารทุกหลังใช้สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม • พัฒนาระบบราชการที่เข้มแข็งและสามารถกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น
ปัญหาและความท้าทาย • ยังพึ่งพาอินเดีย (โดยเฉพาะการขายไฟฟ้า - ร้อยละ 88 ของมูลค่าส่งออก) และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศในอัตราสูง เนื่องจากภาคเอกชนยังมีขนาดเล็กมาก • การพัฒนาภาคธุรกิจเอกชนเป็นไปอย่างเชื่องช้า และมีต้นทุนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลให้แนวโน้มอัตราว่างงานสูงขึ้นเนื่องจากมีหนุ่มสาวที่จบการศึกษาเร็วกว่าตำแหน่งงานในภาคเอกชน ภาครัฐต้องรับภาระในการจ้างงานค่อนข้างสูง • การให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับสูงมากอาจเพิ่มแรงตึงเครียดต่อการพัฒนาประเทศในช่วงต่อไป • ความพยายามที่จะอนุรักษ์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างแข็งขืนกำลังส่งผลกระทบเชิงลบต่อชนกลุ่มน้อยในประเทศ โดยเฉพาะชาวเนปาลอพยพที่ถูกกีดกัน • หลังจากเพิ่งเปลี่ยนผ่านระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐบาลจำเป็นจะต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมากในการจัดตั้งและทำนุบำรุงโครงสร้างเชิงสถาบันใหม่ๆ ที่จำเป็นในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นระบบราชการ สถาบันตุลาการ และองค์กรอิสระอื่นๆ
บทบาทของอิสลามในการพัฒนาบทบาทของอิสลามในการพัฒนา
“ความล้าหลัง” ทางเศรษฐกิจของทวีปตะวันออกกลาง สัดส่วน GDP ต่อหัวในประเทศอาหรับ 8 ประเทศ (จอร์แดน, อิรัก, ซีเรีย, เลบานอน, ปาเลสไตน์, อียิปต์, ตูนิเซีย, โมร็อกโก) ต่อค่าเฉลี่ยโลก, 1820-2006
“เศรษฐกิจในอุดมคติ” ตามหลักอิสลาม • มนุษย์ทุกคนมีหน้าที่ทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ • พระอัลเลาะห์เป็นเจ้าของสุดท้ายของสรรพสิ่งทุกอย่างบนโลก • มนุษย์ควรแสวงหาความมั่งคั่งอย่างชอบธรรมได้ด้วยการทำงานหนักและรับมรดกตกทอด • สังคมมีหน้าที่ดูแลคนจนและคนด้อยโอกาส : ซากัต • ราคาในการทำธุรกรรมต่างๆ ต้องเป็นราคาที่ “ยุติธรรม” หมายความว่าเป็นผลลัพธ์ของตลาดที่มีการแข่งขันอย่างเสรีจริงๆ การผูกขาดและกักตุนสินค้านำไปสู่การฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้อื่น และดังนั้นจึงต้องถูกต่อต้านหรือกำจัด • เป้าหมายของนโยบายการเงินของรัฐควรอยู่ที่การรักษาเสถียรภาพของราคา • เป้าหมายของนโยบายการคลังของรัฐควรอยู่ที่การสร้างสมดุลระหว่างรายได้ (จากการเก็บภาษี) และรายจ่าย (เพื่อสาธารณประโยชน์) ในทางที่งบประมาณไม่ขาดดุล
ประสบการณ์การพัฒนาของประเทศมุสลิมประสบการณ์การพัฒนาของประเทศมุสลิม • “เศรษฐศาสตร์อิสลาม” ที่ตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์ (normative economics) ที่มีมิติทางอุดมการณ์สูง เริ่มปรากฏเพียงเมื่อกลางทศวรรษ 1970 เท่านั้น • สาเหตุของความล้าหลังในการพัฒนาเศรษฐกิจไม่ใช่หลักอิสลาม หากเป็นปัจจัยอื่นๆ เช่น ความบกพร่องเชิงโครงสร้างเชิงสถาบัน เช่น การปกครองแบบเผด็จการทหาร • ความเสื่อมสลายของอาณาจักรอ็อตโตมันทั้งทางด้านการทหารและเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 19 เดินสวนทางกับกระแสการปฏิวัติอุตสาหกรรมในขณะนั้น • ถึงแม้ว่าหลักชาริอะฮ์จะไม่มีเนื้อหา “ต่อต้าน” พัฒนาการทางเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์และผู้สังเกตการณ์จำนวนไม่น้อยที่มองว่า อิสลามส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม • ข้อสรุปของงานวิจัยที่ว่าอิสลามในฐานะศาสนาส่งผลกระทบน้อยมากต่อโครงสร้างเชิงสถาบัน ระบอบเศรษฐกิจ หรืออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น ไม่น่าแปลกใจเนื่องจากหลักคำสอนของศาสนาอื่นๆ ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบในสาระสำคัญต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ เช่นเดียวกัน
อิสลามไม่มีความสัมพันธ์เชิงสถิติต่อความเจริญทางเศรษฐกิจอิสลามไม่มีความสัมพันธ์เชิงสถิติต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ • งานวิจัยของ มาร์คัส โนแลนด์ (Marcus Noland, 2006) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ไม่มีความสัมพันธ์เชิงสถิติที่มีนัยยะสำคัญใดๆ ระหว่างความเชื่อทางศาสนากับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะในระดับระหว่างประเทศ (cross-national) หรือในระดับระหว่างภูมิภาคต่างๆ ในประเทศ (subnational) • ในทางตรงกันข้าม โนแลนด์รายงานว่า “ค่าสัมประสิทธิ์ที่มีความสำคัญทางสถิติแทบทุกตัวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสัดส่วนประชากรที่เป็นมุสลิม บ่งชี้ว่าอิสลามส่งเสริมความเจริญ ไม่ใช่อุปสรรค” • ระดับความเป็นอิสลาม” (ซึ่งสะท้อนในสัดส่วนประชากรที่เป็นมุสลิม) ของแต่ละประเทศ ไม่มีความสัมพันธ์เชิงสถิติใดๆ กับ “ระดับความเจริญทางเศรษฐกิจ” ของประเทศนั้นๆ
ชาวมุสลิมมองเห็นความบกพร่องของโครงสร้างเชิงสถาบันชาวมุสลิมมองเห็นความบกพร่องของโครงสร้างเชิงสถาบัน • ข้อเท็จจริงที่ว่าหลักอิสลามไม่ใช่สาเหตุของความล้าหลังทางเศรษฐกิจ มีนัยยะที่สำคัญยิ่งต่อการดำเนินนโยบายพัฒนาในประเทศมุสลิม รัฐบาลประเทศมุสลิมควรมุ่งเน้นการส่งเสริมโครงสร้างเชิงสถาบันต่างๆ
ระบบการเงินอิสลาม : “คู่ขนาน” กับการเงินกระแสหลัก • การทำธุรกรรมการเงินแบบอิสลามมีมาตั้งแต่ยุคแรกๆ ของอารยธรรมอิสลาม(คริสต์ศตวรรษที่ 9-14) • หลังจากที่ได้รับเอกราชจากประเทศเจ้าอาณานิคม ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 ประเทศมุสลิมหลายแห่งก็เริ่มเกิดความสนใจที่จะนำรูปแบบการเงินอิสลามกลับมาใช้ใหม่ นำไปสู่การจัดตั้งสถาบันการเงินมุสลิม • อุปสงค์ที่สูงขึ้นตลอดช่วงทศวรรษ 1980 ทำให้ระบบการเงินอิสลามเติบโตขึ้นและดึงดูดให้ธนาคารพาณิชย์จากโลกตะวันตกเข้ามาเสนอบริการด้านบริหารความมั่งคั่ง รวมทั้งขยายตลาดไปสู่ชาวมุสลิมหมู่มากผ่าน “หน้าต่างธนาคารอิสลาม” • ระบบการเงินอิสลามและตลาดทุนอิสลามแสดงให้เห็นความยืดหยุ่นของหลักชาริอะฮ์ในการสนับสนุนระบบการเงินและตลาดทุนที่นอกจากจะสามารถดำรงอยู่ “ควบคู่” ไปกับระบบการเงินและตลาดทุนกระแสหลักแล้ว ยังสามารถ “ต่อยอด” ระบบการเงินกระแสหลักในทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม
หลักการของระบบการเงินอิสลามหลักการของระบบการเงินอิสลาม • ระบบการเงินแบบอิสลาม (Islamic financial system) หมายถึงระบบการเงินที่ให้ซื้อขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ไม่ขัดต่อหลักชาริอะฮ์ • หลักการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดคือการห้าม “ริบา” (ดอกเบี้ย) และห้ามการควบคุมราคาและการบิดเบือนราคา แต่ไม่ได้ห้ามการเก็งกำไรใดๆ ทั้งสิ้น • แก่นแท้ของระบบการเงินอิสลามอยู่ที่การส่งเสริมทักษะและทัศนคติแบบ “ไม่เสี่ยงเกินตัว” ของผู้ประกอบการ การปกป้องสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล ความโปร่งใสและความเท่าเทียมกัน (level playing field) ของผู้เล่นในระบบ ตลอดจนความศักดิ์สิทธิ์ของสัญญาทางการเงิน • แนวคิดเรื่องการเงินอิสลามเป็นแนวคิดที่พัฒนาไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลาและนวัตกรรมในโลกการเงินกระแสหลัก ปัจจุบันแตกแขนงออกไปเป็นสำนักคิดสี่แห่งหลักๆ ได้แก่ ฮานาฟี (Hanafi) มาลิกี (Maliki) ชาเฟย์ (Shafei) และ ฮันบาลี (Hanbali) แต่ละสำนักคิดมีการตีความรายละเอียดปลีกย่อยในชาริอะฮ์แตกต่างกันไปตามมุมมองของตน
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินในระบบอิสลามผลิตภัณฑ์ทางการเงินในระบบอิสลาม • การขายแบบต้นทุนบวกส่วนต่าง (cost-plus-sale) หรือทุนเพื่อการขาย (purchase finance) เรียกว่า มูราบาฮา (Murabaha) • การเช่าซื้อ เรียกว่า อิจารา (Ijara) • การแบ่งผลกำไรจากธุรกิจ เรียกว่า มูดาราบา (Mudaraba) มีลักษณะคล้ายคลึงกับการลงทุนแบบร่วมลงทุน (venture capital) ในระบบการเงินกระแสหลัก • การร่วมทุนทำธุรกิจ เรียกว่า มูชาริกา (Musharika) • จากงานวิจัยพบว่า ธุรกรรมมูชาริกา และมูราบาฮาของธนาคารอิสลาม สามารถใช้กำหนดนโยบายการเงินของธนาคารได้ค่อนข้างดี ใช้แทนที่นโยบายดอกเบี้ยได้ (เช่น อิหร่าน)
ความท้าทายและนโยบายที่จำเป็นความท้าทายและนโยบายที่จำเป็น • ถึงแม้สถาบันการเงินอิสลามจะมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ แต่สถานการณ์ตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย ปัญหาขาดแคลนสภาพคล่อง พอร์ตลงทุน เครื่องมือบริหารความเสี่ยง สินทรัพย์สภาพคล่องสูง ตลอดจนข้อจำกัดอื่นๆ ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของสถาบันการเงินอิสลามอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่และสินทรัพย์เหล่านั้นส่วนใหญ่ก็เป็นตราสารการเงินระยะสั้น • ปัจจุบันธุรกรรมการเงินแบบอิสลามมักจะเสียเปรียบตราสารหนี้กระแสหลักในด้านความคุ้มค่าของต้นทุน (cost-efficiency) • อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งที่กีดขวางการเติบโตของการเงินอิสลามคือการขาดความเข้าใจในสภาวะตลาดการเงินสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดจนรายละเอียดของกฎเกณฑ์ที่ตรงตามหลักชาริอะฮ์ • การผ่อนคลายกฎระเบียบในภาคการเงิน และการเปิดให้ทุนไหลเวียนระหว่างประเทศโดยเสรีในหลายๆ ประเทศ ทำให้สถาบันการเงินอิสลามและสถาบันการเงินกระแสหลักเริ่มร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อหาหนทางเพิ่มสภาพคล่องและบริหารจัดการพอร์ตลงทุน
ปรัชญาและเบื้องหลัง • แนวคิดประชานิยมมีรากฐานทางปรัชญาเกี่ยวพันกับลัทธิประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ของ เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham) • การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบ “เปิดเสรีสุดขั้ว” ภายใต้อุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ของ “ตะวันตก” ซึ่งถูก “นำเข้า” มาใช้อย่างเร่งรีบและรุนแรง เป็นสาเหตุหนึ่งของการเลือกดำเนินนโยบายประชานิยม • ผู้ปกครองภายใต้แนวคิดประชานิยมพยายามนำเสนอแนวนโยบายที่มีลักษณะเป็นปฏิกิริยาโต้กลับ (Reactionary) นโยบายเดิม โดยมีสาระต่อต้านแนวคิดแบบ “ตะวันตก” และลิดรอนอำนาจทางเศรษฐกิจของชนชั้นนำ (Establishment) ทั้งชนชั้นนำระดับท้องถิ่นและระดับชาติที่มีบรรษัทต่างชาติคอยหนุนหลัง
รูปแบบและหลักการของนโยบายประชานิยมรูปแบบและหลักการของนโยบายประชานิยม • หลักการพื้นฐานของนโยบายประชานิยม คือการระดมทรัพยากรทางการคลังของรัฐบาล ทั้งเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ และรายได้จากการค้าขายของรัฐบาล มาใช้จ่ายอย่างเต็มที่ในนโยบายประชานิยมรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการทำให้สถาบันการเงินของรัฐให้เป็นแหล่งเงินทุนในการใช้จ่ายงบประมาณไปในนโยบายประชานิยม โดยเน้นหนักไปในการใช้นโยบายกึ่งการคลัง • รัฐบาลมักอ้างว่าการดำเนินนโยบายประชานิยมเป็นไปเพื่อช่วยเหลือคนยากจนที่เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ภายในประเทศให้มีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น และมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น • นโยบายประชานิยมมีหลากหลายมาตรการ • มาตรการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในระดับรากหญ้า • มาตรการสร้างสวัสดิการสังคม • มาตรการแก้ไขปัญหาความยากจนและการยกหนี้/พักชำระหนี้
ที่มาของนโยบายประชานิยมในละตินอเมริกาที่มาของนโยบายประชานิยมในละตินอเมริกา • ในยุคล่าอาณานิคมภูมิภาคละตินอเมริกาตกเป็นเมืองขึ้นและถูกประเทศแม่ขูดรีดทรัพยากรไปเป็นจำนวนมาก หลังจากได้รับเอกราช ประเทศส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ระบบสังคมนิยมและเผด็จการ ปกครองโดยรัฐบาลทหาร เนื่องจากรัฐบาลทหารต้องการแสวงหาความชอบธรรมเพื่อจะได้อยู่ในอำนาจนานๆ จึงเริ่มใช้นโยบายประชานิยม • การใช้นโยบายประชานิยมก่อปัญหามากมาย องค์กรโลกบาลต่างๆ จึงเข้ามามีบทบาทในละตินอเมริกา โดยเสนอให้ดำเนินนโยบายตามฉันทมติวอชิงตัน ซึ่งเป็น “ยาแรง” ที่ส่งผลเสียต่อประเทศไม่น้อยไปกว่ากัน นำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจทั่วทั้งภูมิภาค ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกันทั่วหน้า • หลังจากวิกฤติ ประเทศเริ่มมีปฏิกิริยาต่อต้านการชักนำและนโยบายแทรกแซงของสหรัฐอเมริกา นำไปสู่การดำเนินนโยบายประชานิยมอีกครั้ง ซึ่งมีรูปแบบแตกต่างออกไปจากเดิมในรายละเอียด 35
โครงสร้างเชิงสถาบันกับนโยบายประชานิยมโครงสร้างเชิงสถาบันกับนโยบายประชานิยม • โดยรวม การใช้นโยบายประชานิยมเป็น “ปฏิกิริยา” (reactionary policies) ของประเทศละตินต่อผลเสียจากอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ และการกดขี่แทรกแซงของบรรษัทข้ามชาติและรัฐบาลอเมริกัน • ประชากรในละตินอเมริกามีหลากหลายเชื้อชาติ มีภาษาและวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเอง และมีแนวโน้มที่จะต่อต้านต่างชาติ เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ถูกขูดรีดและแทรกแซงจากต่างชาติเสมอมา ทำให้การดำเนินนโยบายประชานิยมสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ เอื้อให้เกิดการดำเนินนโยบายในลักษณะนี้อยู่เสมอ • รูปแบบและความสำเร็จของนโยบายประชานิยม มักขึ้นอยู่กับ • อุดมการณ์ทางการเมืองที่ผู้นำยึดถือ เช่น ประชาธิปไตย สังคมนิยม หรือเผด็จการทหาร • ลัทธิความเชื่อทางเศรษฐกิจว่าเชื่อในลัทธิเสรีนิยมใหม่ หรือต่อต้านเสรีนิยมใหม่ • ระดับความแข็งแกร่งของโครงสร้างเชิงสถาบันในละตินอเมริกา ซึ่งในหลายประเทศยังอ่อนแออยู่ • ระดับทรัพยากร เช่น ประเทศที่มีรายได้จากการขายพลังงานที่ราคากำลังพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ (เวเนซุเอลา โบลิเวีย และเอกวาดอร์) ย่อมสามารถใช้เงินดำเนินนโยบายประชานิยมอย่าง “ยั่งยืน” มากกว่าประเทศที่ไม่มี 36
หนี้สาธารณะ : หนึ่งในข้อจำกัดของขอบเขตประชานิยม สัดส่วนหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูงของอาร์เจนตินาและบราซิล ประกอบกับการที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เท่าไรนักทำให้สองประเทศนี้มีความคล่องตัวในการดำเนินนโยบายประชานิยมต่ำกว่าประเทศอื่นๆ อย่างเวเนซุเอลา ชิลี หรือเอกวาดอร์ 37
รูปแบบของประชานิยมในละตินอเมริการูปแบบของประชานิยมในละตินอเมริกา • ประชานิยมแบบดั้งเดิม มีฐานเสียงส่วนใหญ่อยู่ที่กลุ่มสหภาพแรงงาน มีนโยบายจัดสรร กระจายและแจกจ่ายสินค้าและบริการต่าง ๆ ให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งเป็นคนจนและชนชั้นกลางให้เป็นธรรมมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ตั้งใจต่อต้านทุนนิยมเสียทีเดียว นโยบายแบบนี้มีลักษณะต้องการกระจายอำนาจในการบริโภคมากกว่าต้องการปฏิวัติระบอบเศรษฐกิจ • ประชานิยมเสรีนิยมใหม่เลือกดำเนินนโยบายประชานิยมควบคู่ไปกับนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ปล่อยให้กลไกตลาดเป็นตัวกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และลดบทบาทของรัฐลง แล้วใช้นโยบายเอาใจฐานเสียงที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนระดับล่างในเศรษฐกิจนอกระบบซึ่งจะใช้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การแยกตัวเองออกจากกลุ่มนักการเมืองรุ่นเก่า หรือ กลุ่มอำนาจเก่า • ประชานิยมชาตินิยมมีนโยบายซื้อคืนกิจการของเอกชน โดยเฉพาะกิจการผูกขาดในสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ตกอยู่ในมือบรรษัทข้ามชาติ ให้กลับมาเป็นของรัฐ และดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างสถาบัน 38
ผลดี-ผลเสียของนโยบายประชานิยมรูปแบบต่าง ๆ • ประชานิยมแบบดั้งเดิมส่งผลให้รายได้ที่แท้จริงและการบริโภคอยู่ในระดับดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ประชาชนได้สินค้าและบริการมาอุปโภคบริโภคโดยไม่ต้องแบกรับต้นทุน ทำให้เศรษฐกิจในระยะแรกเติบโต แต่จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในระยะยาว โดยเฉพาะการบั่นทอนวินัยทางการคลังของรัฐ และวินัยทางการเงินของประชาชน • ประชานิยมเสรีนิยมใหม่ ทำให้เกิดผลกระทบคล้ายคลึงกับประชานิยมแบบแรก ต่างกันที่ • มีผลดีจากการที่นักลงทุนจากในและต่างประเทศจะมีความเชื่อมั่นที่จะเข้ามาลงทุนภายในประเทศ มากกว่าประเทศที่ใช้ประชานิยมแบบดั้งเดิมและประชานิยมชาตินิยม • เมื่อใช้นโยบายควบคู่กับเสรีนิยมใหม่ที่เน้นกลไกตลาด จะทำให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น หากประเทศมีโครงสร้างเชิงสถาบันที่ดี • ประชานิยมชาตินิยม ส่งผลให้รายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น ระบบบริการสุขภาพและระบบการศึกษามีคุณภาพดีกว่าเดิม แต่ก็ส่งผลให้รัฐบาลมีภาระในการใช้จ่ายมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบในระยะยาวไม่ต่างกันกับนโยบายประชานิยมแบบอื่น ๆ นอกจากนี้ ก็มีข้อกังขาว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินธุรกิจผูกขาดได้ดีกว่าเอกชนหรือไม่ 39
รูปแบบของประชานิยมในประเทศละตินอเมริการูปแบบของประชานิยมในประเทศละตินอเมริกา 40
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับนโยบายประชานิยมข้อถกเถียงเกี่ยวกับนโยบายประชานิยม • การดำเนินนโยบายประชานิยมช่วยแก้ปัญหาให้กับคนยากจนได้หรือไม่ • การดำเนินนโยบายกระตุ้นอุปสงค์ระยะสั้นแบบเคนส์ (Keynes) ส่งผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน • การดำเนินนโยบายประชานิยมอยู่ภายใต้อุดมการณ์สังคมนิยมหรือไม่ • แนวนโยบายประชานิยมต่อต้านอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่จริงหรือไม่ • การดำเนินนโยบายประชานิยม ทำให้กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยและประชาสังคมต้องติดขัดจริงหรือไม่ • การดำเนินนโยบายประชานิยมมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือคนจนจริงหรือไม่ 41
การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ • การปรับตัวตอบสนองและสนับสนุนโลกาภิวัตน์ • แสดงให้เห็นว่าหลักการของทุนนิยมนั้นไม่ได้ขัดต่อการดำเนินนโยบายประชานิยมแต่อย่างใด แม้ว่าอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เฉพาะเจาะจงกว่าประชานิยมโดยทั่วไปบ้าง • เช่น รัฐบาลประชานิยมเสรีนิยมใหม่ของประธานาธิบดี อัลเบอร์โต ฟูจิโมริ แห่งเปรู เลือกที่จะไม่ดำเนินนโยบายปฏิรูปที่ดิน นโยบายกระจายรายได้ แต่เน้นส่งเสริมการบริโภคของประชาชน กระตุ้นอุปสงค์ระยะสั้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมหภาค • การปรับตัวตอบสนองและต่อต้านโลกาภิวัตน์ในรูปแบบต่าง ๆ • “เขตเศรษฐกิจของประชาชน” (Bolivarian Alternative for the Americas, ALBA) ลงนามร่วมกันระหว่างโบลิเวีย คิวบา และเวเนซุเอลา • นโยบายควบคุมเงินทุนไหลเข้า เช่น อาร์เจนตินาในยุคประธานาธิบดี เนสเตอร์ คิชเนอร์ • โครงการ “เปโตรคาริป” (Petro Caribe) ขายน้ำมันราคาถูก, “เปโตรชัว” (Petro Sur)น้ำมันแลกลูกวัว, และ “เทเลซัว” (Tele Sur) ผลิตรายการทางเลือก