220 likes | 1.24k Views
สัมมนาสัตว์ปีก. ผลกระทบของระดับวิตามิน A ในอาหารต่อภูมิคุ้มกัน โรคนิวคาสเซิลและการให้ผลผลิตในไก่ไข่. โดย นายไกรสร เทศสุวรรณ์ รหัส 45103404 สาขาสัตวศาสตร์ (สัตว์ปีก) อาจารย์ที่ปรึกษาสัมมนา ผศ.ดร. มานิตย์ เทวรักษ์พิทักษ์. บทนำ.
E N D
สัมมนาสัตว์ปีก ผลกระทบของระดับวิตามิน A ในอาหารต่อภูมิคุ้มกัน โรคนิวคาสเซิลและการให้ผลผลิตในไก่ไข่ โดย นายไกรสร เทศสุวรรณ์ รหัส 45103404 สาขาสัตวศาสตร์ (สัตว์ปีก) อาจารย์ที่ปรึกษาสัมมนา ผศ.ดร. มานิตย์ เทวรักษ์พิทักษ์
บทนำ วิตามิน A มีบทบาทที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การมองเห็น และระบบการสืบพันธุ์ ในสัตว์ปีกมีความต้องการวิตามิน A มากกว่าสัตว์อื่น การขาดวิตามิน A จะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งเป็นเหตุผลในการทำลายชั้นเยื่อบุผิวที่ช่วยในการป้องกันเชื้อโรคขั้นแรก อย่างไรก็ตาม ผลในหลายการทดลอง พบว่ามีการเพิ่มอัตราการตายในไก่ที่ติดเชื้อ Newcastle Disease Virus (NDV) ซึ่งเลี้ยงด้วยอาหารที่ไม่มีวิตามิน A
Vitamin A โครงสร้าง (Structure) อาหารสัตว์ทุกชนิดจำเป็นต้องมีวิตามินชนิดนี้อยู่ด้วย โดยอาจอยู่ในรูปของวิตามินสังเคราะห์ หรือ Precursor เช่น Carotene, Vitamin A alcohol และ เบต้า-คาโรทีน โครงสร้างของวิตามิน A
หน้าที่ของวิตามิน A 1. ช่วยป้องกันโรคตาบอดกลางคืน 2. วิทยาที่เกี่ยวกับการมองเห็น 3. วิตามิน A มีความจำเป็นสำหรับทำให้ผิวปกติ โดยเคลือบผิวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นผิวที่มีเยื่อเมือก (Mucous membrane) ผิวตามช่องว่างในร่างกาย ระบบหายใจ ระบบขับถ่ายปัสสาวะ และระบบย่อยอาหาร 4. ร่างกายต้องการวิตามิน A สำหรับการเจริญเติบโตของกระดูกให้เป็นปกติ 5. สำหรับการเจริญเติบโต 6. สนับสนุนด้านการเจริญเติบโต 7. ทำให้ความดันของของเหลวใน Cerebrospinal fluid
อาการขาด (Deficiency signs) วิตามินชนิดนี้มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยในการสร้างสาร โรดอปซินในดวงตา การขาดเป็นสาเหตุให้เกิดโรคตาบอดกลางคืน แม่ไก่ที่มีสายตาไม่ดีจากการขาดวิตามิน A หลังจากได้รับวิตามินเข้าไปเพียง 2 วัน สายตาจะกลับเป็นปกติ ยังมีผลต่อการสืบพันธุ์ ในสัตว์ปีกมักทำให้เกิดการตายโคมในไข่ฟัก และหากฟักออกเป็นตัวก็จะทำให้อ่อนแอ เจริญเติบโตช้า เซื่องซึม เดินโซเซ ซูบซีด น้ำตาไหล หน้าแข้งซีดขาว ในไก่โตทำให้ขนยุ่ง ผอมแห้ง ปริมาณไข่ลด ตาบวม เปอร์เซ็นต์การฟักออกเป็นตัวต่ำ นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลต่อการสร้างกระดูกอีกด้วย
ความต้องการของวิตามิน A ในไก่แต่ละประเภท
ความเป็นพิษ (Toxicity) สัตว์ได้รับและเกิดอาการเป็นพิษขึ้นได้คือ 50-500 เท่าของความต้องการของร่างกาย ในไก่และสัตว์อื่นแม้ได้รับวิตามิน A 1,000,000-1,500,000 IU/kg อาการเป็นพิษของวิตามิน A ขั้นรุนแรงแสดงออกให้เห็นคือ ลักษณะอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวหนังหยาบกร้าน ผิวหนังอักเสบ อาการบวม และมีสะเก็ดแข็งที่เปลือกตา ขนร่วงเป็นหย่อม ๆ มีจุดเลือดออกตามร่างกาย กระดูกสั้นหรือผิดปกติ โดยเกิดรอยแตกแยกทั่วไป ร่างกายบอบบางไปจนกระทั่งเกิดอาการตาย มีการสร้างน้ำเมือก และ keratin ในปริมาณมาก สัตว์ที่รับมากเกินไปเป็นเหตุให้เม็ดเลือดแดงสลายตัว และเป็นเหตุให้ Lipoprotein membrane แตกแยกอีกด้วย
NewcastleDisease โรคนิวคาสเซิลเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Newcastle Disease Virus หรือParamyxovirus 1อยู่ในตระกูลParamyxoviridae ในสัตว์ปีกก่อให้เกิดอัตราการตายสูงถึง 100 % เป็นโรคที่สามารถแพร่เชื้อได้ในสัตว์ปีกเกือบทุก species สัตว์ปีกพวกไก่ (domestic chicken) ไก่งวง (turkey) นกพิราบ (pigeons) นกแก้ว (parrot) จะไวต่อโรคนี้มากที่สุด พบน้อยในเป็ด (duck) ห่าน (geese) ไก่ฟ้า (pheasant) นกกระทา (quail) ไก่ต๊อก (guinea) และนกขมิ้น (canaries) เป็นต้น โรคนี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจการเลี้ยงไก่เป็นอย่างมากทั้งทางตรงและทางอ้อม การสูญเสียที่เห็นได้ชัดเจนจากลักษณะความรุนแรงของโรคที่ทำให้ไก่ป่วยตาย ผลผลิตไข่และเนื้อลดน้อยลง
กลไกสารอาหารเพื่อต่อต้านโรคติดต่อ โดย Klasing (1998) ลักษณะของอาหารสามารถบ่งชี้ความอ่อนแอของสัตว์ปีกต่อการติดเชื้อ ผลของอาหารต่อการติดเชื้ออาจเกิดเนื่องจากระดับของสารอาหาร ในงานวิจัยนี้ศึกษาถึงการใช้สารอาหารผ่านกลไก 7 กลไกเพื่อให้สัตว์ปีกเกิดความต้านทานต่อการเกิดโรค ซึ่งกลไกที่ 4 สารอาหารบางชนิด เช่น กรดไขมัน และวิตามิน A, D และ E มีบทบาทควบคุมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวโดยตรง โดยสารอาหารนั้นจะไปเกาะกับ receptor ที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์หรือมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการปล่อยสัญญาณ
ผลของการเสริมระดับวิตามิน A ในอาหารต่อการผลิตไข่และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของไก่ไข่ในภาวะเกิด Heat stressed โดย Lin et al. (2002) The laying performance of hens abMeans with different superscripts in the same column differed significantly (P<0.05)
The effects of supplemental vitamin A levels on antibody titers of Newcastle disease virus (log2)
ในการทดลองที่ 2 ผลของการเสริมระดับวิตามิน A ที่ 4 ระดับคือ 3,000, 6,000, 9,000 และ 12,000 IU/kg ต่อภูมิคุ้มกันโรค Newcastle และอัตราส่วนของเม็ดเลือดขาวชนิด T cell ไก่ในการทดลองถูกนำไปเลี้ยงในที่ที่มีอุณหภูมิสูง (31.50C) เป็นเวลา 15 วัน หลังจากให้วัคซีนป้องกัน NDV ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่า น้ำหนักไข่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งในการเสริมระดับวิตามิน A ที่ 6,000 และ 9,000 IU/kg แต่การกินอาหาร อัตราการออกไข่และการสูญเสียน้ำหนักตัวไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญ ใน Treatment 1 วิตามิน A ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อภูมิคุ้มกันโรค NDV ในสภาพแวดล้อมทั่ว ๆ ไป หรือมีอากาศร้อน แต่จะมีผลต่ออัตราส่วนของ ά-naphthyl acetate esterase อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ การเสริมวิตามิน A มีผลอย่างมีนัยสำคัญยิ่งต่อภูมิคุ้มกันโรค NDV และอัตราส่วนของ ANAE (ά-naphthyl acetate esterase) เชิงบวก ใน Treatment 2
ผลของการเสริมระดับวิตามิน A ในอาหารต่อการผลิตไข่และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของไก่ไข่ โดยCoskun et al. (1998) จากการศึกษาถูกออกแบบและแบ่งการทดลองที่มีความต่อเนื่องกัน 2 ส่วน เพื่อตรวจสอบผลของการเสริมระดับวิตามิน A ที่ 4 ระดับ (0, 4,000, 12,000 และ 24,000 IU/kg) ต่อผลผลิตไข่ ระดับวิตามิน A ในส่วนของของเหลวในน้ำเหลืองและเลือด รวมทั้งการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในไก่ไข่ การถ่ายโอนภูมิคุ้มกันจากแม่ไปสู่ลูก
Results of analyses of the performance parameters of experimental groups1 abMean within rows with on common superscript differ significantly (P<0.05) 1Data are means of six replicates of 36 hens each
Serum vitamin A levels of experimental group a-cMeans within rows with no common superscript differ significantly (P<0.05)
Serum antibody titers at different phases of the first experiment a-cMeans within rows with no common superscript differ significantly (P<0.05)
สรุป การให้ระดับวิตามิน A มีบทบาทควบคุมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวโดยตรง ซึ่งในการทดลองกับแม่ไก่ไข่อาจส่งผลต่อภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ที่แม่ไก่ควรจะได้รับ และเมื่อมีการเสริมวิตามิน A ในอาหารจะเป็นประโยชน์ต่อผลผลิตไข่ของแม่ไก่ การสร้างภูมิคุ้มกันโรค NDV และอัตราส่วนของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T cell แต่เมื่อมีการเสริมระดับวิตามิน A ปริมาณมากลงในอาหารของพ่อแม่ไก่ จะไม่ทำให้ภูมิคุ้มกันของแม่ไก่ถูกถ่ายโอนไปสู่ลูกไก่ได้โดยผ่านทางไข่แดง ทั้งนี้ความต้องการวิตามิน A ต่อผลผลิตไข่ของแม่ไก่จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีปัจจัยของสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง และยังจะมีผลต่อการเพิ่มอัตราส่วนของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Tcell