1.01k likes | 2.49k Views
สรุปหลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป. โดย ผศ.ดร.มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์. 2. ห้ามใช้กม.จารีตฯ ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “ บัญญัติ ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตฯ เป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน ป.พ.พ. Nullum crimen nulla poena sine lege
E N D
สรุปหลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไปสรุปหลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป โดย ผศ.ดร.มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์
2. ห้ามใช้กม.จารีตฯ ลงโทษทางอาญาแก่บุคคลเพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “บัญญัติ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตฯเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน ป.พ.พ. Nullum crimen nulla poena sine lege ม.2 ว.1 และ รธน. ม.32 หลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย กม. ในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร 4. กม. อาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ในขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ 1. กม. อาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ “ถ้อยคำ” ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี 3. ห้ามใช้กม.ที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง(การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน)ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล 5. กม.อาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด และโดย 1. จะต้องตีความตามตัวอักษรก่อน2. หากตัวอักษรอ่านแล้วข้อความไม่ชัดเจนก็ต้องค้นหาเจตนารมณ์ของกม. และตีความไปตามเจตนารมณ์ของกม.Ex ลักกระแสไฟฟ้า
ข้อยกเว้น ใช้กม.จารีตในทางที่เป็นคุณกับผู้กระทำผิดได้ ใช้กม.ที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในการที่เป็นคุณกับผู้กระทำผิดได้ ใช้กม.อาญาย้อนหลังในทางที่เป็นคุณกับผู้กระทำผิดได้ • ใช้กม.อาญาย้อนหลังเพื่อการตีความ , อธิบายถ้อยคำ,บทบัญญัติกม.ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว (ถือเป็นส่วนหนึ่งของกม.ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนนั้น) - กม.อาญาที่ใช้ย้อนหลังนั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัย (ม.12) เพราะมิใช่เรื่องโทษ • กม.อาญาที่ใช้ย้อนหลังนั้นเป็น กม.วิธีสบัญญัติ เพราะเนื้อหาไม่ได้เป็นกม.ที่บัญญัติถึงการกระทำความผิดและโทษ แต่เป็นเรื่องการที่จะนำกฎหมายสารบัญญัติไปบังคับใช้ให้เกิดผล แต่หากเป็น ป.วิ.อ. ที่เป็นผลร้ายแก่จำเลย ที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดทางอาญา ไม่นำ ป.วิ.อ. ดังกล่าวมาใช้ • (ฎ 3221/22) เช่นการแก้ไข ป.วิ.อ. มาตรา 192 • กม.อาญาที่ใช้ย้อนหลังไม่ใช่เรื่องโทษ
ผล : ให้ใช้กม.ที่บัญญัติในภายหลัง 1) คดียังไม่ถึงที่สุด ให้ผู้กระทำพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดทันที 2) คดีถึงที่สุดแล้ว 2.1) ผู้กระทำยังไม่ได้รับโทษ ให้ถือว่าไม่เคยต้องคพพ.ถึงที่สุดว่าได้ กระทำความผิด 2.2) ผู้กระทำกำลังรับโทษอยู่ ก็ให้การลงโทษสิ้นสุดลง และให้ถือว่ายังไม่เคยต้องคพพ.ถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิด 2.3) ผู้กระทำรับโทษจนพ้นโทษแล้ว มีผลเพียงถือว่าไม่เคยต้องคพพ.ถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิด การใช้กม.อาญาย้อนหลังในทางที่เป็นคุณกับผู้กระทำผิดได้ กม.บัญญัติในภายหลังเป็นคุณกับผู้กระทำความผิด ทั้งหมด คือ ยกเลิกความผิดม.2 ว.2
ผล : 1) คดียังไม่ถึงที่สุด ให้ใช้กม.ในส่วนที่เป็นคุณกับผู้กระทำความผิด ไม่ว่าส่วนที่เป็นคุณนั้นจะอยู่ใน กม.ใหม่หรือกม.เก่า (ฎ.780/40) 2) คดีถึงที่สุดแล้ว(คดีต้องถึงที่สุดก่อนวันใช้กม.ใหม่ 478/02) “โทษตามคพพ.หนักกว่าโทษตามกม.ที่บัญญัติในภายหลัง” (แสดงว่ากม.ที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณจึงใช้ส่วนนี้ หากกม.เก่าเป็นคุณก็ใช้ ม.2 ว.1) การใช้กม.อาญาย้อนหลังในทางที่เป็นคุณกับผู้กระทำผิดได้ กม. ที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดบางส่วน คือ กรณีบทบัญญัติของกม.มีความแตกต่างกัน ม.3
2.1) กรณีผู้กระทำยังไม่ได้รับโทษ ให้กำหนดโทษใหม่ตามกม.ที่บัญญัติในภายหลัง 2.2) กรณีผู้กระทำกำลังรับโทษอยู่ - ให้กำหนดโทษใหม่โดยจะลดน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กม.บัญญัติในภายหลังกำหนด ก็ได้ - หากเห็นว่ารับโทษพอแล้ว ปล่อยตัว 2.3) กรณีโทษตามคพพ.เป็นโทษประหารชีวิต และโทษตามกม.ที่บัญญัติในภายหลังไม่ถึงประหารชีวิต ให้ศาลงดเว้นโทษประหาร + เปลี่ยนเป็นโทษสูงสุดตามกม.ที่บัญญัติในภายหลัง การใช้กม.อาญาย้อนหลังในทางที่เป็นคุณกับผู้กระทำผิดได้ กม. ที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดบางส่วน คือ กรณีบทบัญญัติของกม.มีความแตกต่างกัน ม.3
เขตอำนาจศาล ม. 4 ว. 1 - ราชอาณาจักรไทย ม. 4 ว. 2 – เรือไทย / อากาศยานไทย ม. 5 ว. 1 ส่วนที่ 1 – ส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดในไทย ม. 5 ว. 1 ส่วนที่ 2 - ผลของการกระทำเกิดในไทย ม. 5 ว. 2 – ผลอาจจะเกิดในไทย ถ้าทำจนตลอด เจตนารมณ์– เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิด มาลงโทษในราชอาณาจักรไทย การกระทำ ทั้งหมด การกระทำ บางส่วน หรือ นอกอาณาจักร ใช้กับ ม. 4 – 5 ทั้งหมด ม. 6 – ตัวการ / ผู้ใช้ / ผู้สนับสนุน ม. 7 ความผิดสากล ม. 8 ผู้ทำผิด/ ผู้เสียหายเป็นคนไทย ม. 9 จพง.ของรัฐบาลไทย
ลับสมอง – ลองทำโจทก์ (1) Ex 1 : ชิงทรัพย์ในเรืออังกฤษ ในน่านน้ำมาเลเซีย ผู้กระทำผิดเป็นคนจีน ผู้ถูกชิงทรัพย์เป็นคนเกาหลี Ex 2 :ผู้ใช้อยู่ที่นครปฐม สั่งให้ฆ่าผู้เสียหายคนสัญชาติพม่าที่อยู่ในประเทศพม่า โดยผู้ลงมือฆ่าเป็นคนไทยที่อยู่ในประเทศพม่า
ลับสมอง – ลองทำโจทก์ (2) Ex 3:คนเปรูถูกคนอีรักชก ขณะกำลังเดินขึ้นบันไดเครื่องบินไทยที่จอดอยู่ที่สนามบินประเทศฝรั่งเศส Ex 4 :คนไทยถูกคนเยอรมันขับรถชนโดยประมาทได้รับอันตรายสาหัส ในประเทศเยอรมัน ศาลเยอรมันลงโทษผู้กระทำผิดแล้ว 3 ปี ต่อมาหลบหนีเข้าในประเทศไทย Ex 5 :คนอิตาลี่เผาสถานฑูตไทยในประเทศฝรั่งเศส
โครงสร้างความรับผิดทางอาญาโครงสร้างความรับผิดทางอาญา เจตนารมณ์ – เพื่อพิจารณาความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำ โครงสร้างที่ 1 การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ (มี 4 ส่วนย่อยที่ต้องพิจารณา) โครงสร้างที่ 2 อำนาจกระทำ (กฎหมายยกเว้นความผิด) โครงสร้างที่ 3กฎหมายยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ
1. มีการกระทำ ม.59 คือ เคลื่อนไหว หรือ ไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก 2. ครบองค์ประกอบภายนอกของการกระทำความผิดในเรื่องนั้น 3. ครบองค์ประกอบภายในของการกระทำความผิดในเรื่องนั้น 4. ผลของการกระทำสัมพันธ์กับการกระทำตามหลักเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างการกระทำและผล ความยินยอม กม.ยกเว้นความผิดที่เป็นลายลักษณ์อักษร จารีต กม.ยกเว้นความผิดที่มิได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร โครงสร้างความรับผิดทางอาญา บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา ต่อเมื่อ.. โครงสร้างข้อที่ 1. การกระทำครบ “องค์ประกอบ” ที่กม.บัญญัติ โครงสร้างข้อที่ 2. การกระทำไม่มีกม.ยกเว้นความผิด
โครงสร้างความรับผิดทางอาญา(ต่อ)โครงสร้างความรับผิดทางอาญา(ต่อ) โครงสร้างข้อที่ 3. การกระทำไม่มีกม.ยกเว้นโทษ • เหตุยกเว้นโทษตามปอ. • การกระทำความผิดโดยจำเป็น (ม.67) • การกระทำความผิดของเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี และไม่เกิน 14 ปี (ม.73 และ ม.74) • การกระทำความผิดของคนวิกลจริต (ม.65 ว.1) • การกระทำความผิดของผู้มึนเมาที่เข้าข้อยกเว้น (ม.66) • การกระทำความผิดตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกม. ของ จพง. (ม.70) • การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในบาง ความผิดระหว่างสามีและภรรยา (ม.71 ว.แรก) บุคคลต้องรับผิดตามที่กม.บัญญัติ เป็นเหตุที่อยู่นอกโครงสร้างความรับผิดทางอาญา ซึ่งกม. ให้อำนาจศาลใช้ ดุลพินิจ ลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่ กม. มาตรานั้นๆ บัญญัติเพียงใดก็ได้ เหตุลดโทษ
เคลื่อนไหวร่างกาย ละเว้น ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย งดเว้น ม.59 ว.ท้าย โครงสร้างความรับผิดทางอาญา โครงสร้างข้อที่ 1 การกระทำครบองค์ประกอบที่กม.บัญญัติ • มีการกระทำ (ม.59 ว.1) คือการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวโดยรู้สำนึก • “รู้สำนึก” คือ อยู่ภายใต้บังคับ 1. คิด 2. ตกลงใจของจิตใจ 3. ได้กระทำตามที่ตกลงใจ
ละเว้น หน้าที่โดยทั่วไป (ไม่มีความผิดฐานพยายาม) ต้องเป็นการงดเว้นการกระทำ หน้าที่โดยเฉพาะเพื่อป้องกันผล+ผู้กระทำต้องรู้ว่าตนมีหน้าที่ในการป้องกันผลนั้นด้วย ซึ่งมี 4 กรณี 1. หน้าที่ตามที่กม.บัญญัติ (ม.1564 , ม.1461) 2. หน้าที่ที่เกิดจากการยอมรับโดยเฉพาะเจาะจง(คือ ผู้กระทำยอมรับโดยตรงที่จะกระทำการอย่างใด ก็มีหน้าที่ต้องกระทำ) 3. หน้าที่ที่เกิดจากการกระทำครั้งก่อนของตน (ผู้กระทำได้กระทำการอย่างใดๆ ไปแล้ว ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยกับผู้อื่น ผู้นั้นก็มีหน้าที่กระทำต่อไปเพื่อป้องกันเท่านั้น) 4. หน้าที่ที่เกิดจากความสัมพันธ์พิเศษเฉพาะเรื่อง(เป็นหน้าที่ตามความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงและ ไม่มีกฎหมายบัญญัติ) งดเว้น ม.59 ว.ท้าย
2. การกระทำครบองค์ประกอบภายนอก • ผู้กระทำความผิดเองเจตนาหรือประมาทก็ได้ • -ใช้สัตว์ • -ใช้คนที่ไม่มีการกระทำ • ผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อมเจตนาเท่านั้น และผู้ถูกหลอกมีการกระทำแต่ไม่มีเจตนา • ผู้กระทำความผิดหลายคน คือตัวการ,ผู้ใช้,ผู้สนับสนุนเจตนาเท่านั้นและผู้ถูกหลอกมีเจตนา ผู้กระทำ การกระทำ คือการกระทำถึงขั้นที่เป็นความผิดตามกม. (ลงมือ ม.80 , ตระเตรียม) โดย พิจารณาจากความผิดฐานนั้นๆ วัตถุที่ถูกกระทำ
3. การกระทำครบองค์ประกอบภายใน • รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด (ม.59 ว.3) และ • “ประสงค์ต่อผล” หรือ “เล็งเห็นผล” (ม.59 ว.2) (คือ เล็งเห็นว่าผลจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน เท่าที่จิตใจบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักเล็งเห็นได้ บุคคลที่ยกขึ้นเปรียบเทียบมิใช่ วิญญูชน แต่ให้ถือเอาบุคคลในสถานะเช่นเดียวกับผู้กระทำ) เป็นเจตนาตามความเป็นจริง หรือ “พลาด” (ม.60) เป็นเจตนาโดยผลของกม. เจตนา ประมาท (ม.59 ว.4) • กระทำโดยไม่เจตนา • เป็นการกระทำที่ขาดความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลใน “ภาวะ” (ในขณะกระทำการนั้นๆ) เช่นนั้นต้องมีตาม“วิสัย” (สาเหตุภายในตัวผู้กระทำ) และ “พฤติการณ์”(สาเหตุภายนอกตัวผู้กระทำ) • ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังได้แต่ไม่ใช้ให้เพียงพอ ระดับความระมัดระวัง คือ“วิญญูชน” ไม่เจตนา ไม่ประมาท(ความผิดโดยเด็ดขาด) เช่น ม.380 ทำให้เกิดปฏิกูล (ดู ม.104)
องค์ประกอบภายใน เจตนารมณ์– เพื่อกำหนดฐานความผิด (เจตนา – ประมาท – ความรับผิดเด็ดขาด) ผู้กระทำต้องประสงค์ต่อผล หรือเล็งเห็นผล เจตนา ผู้กระทำต้องรู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิด (รู้การกระทำ – รู้วัตถุแห่งการกระทำ) ไม่รู้ (ไม่รู้เลย) = ไม่มีเจตนา รู้เท่าใด (รู้บ้าง) = เจตนาเท่านั้น แต่ต้องไม่เกินความจริง ประมาท 1. ต้องไม่มีเจตนา(ไม่รู้ อปก.ภายนอก / รู้แต่ไม่ประสงค์-ไม่เล็งเห็น) 2. ปราศจากความระมัดระวังในภาวะวิสัยและพฤติการณ์เช่นนั้น 3. อาจใช้ความระมัดระวังได้ แต่ไม่ใช้(หมายถึง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย) เด็ดขาด แม้ไม่เจตนา ไม่ประมาท ก็ต้องรับผิด
ลับสมอง – ลองทำโจทก์ (1) Ex 1 :ยิงคน เข้าใจว่าเป็นศพ ยิงศพ เข้าใจว่าเป็นคน Ex 2 :ลักสร้อยคอของคนอื่น เข้าใจว่าเป็นของตน ลักสร้อยคอของตนเอง เข้าใจว่าเป็นของผู้อื่น Ex 3 :จะฆ่าพ่อ แต่ยิงคนธรรมดา จะฆ่าคนธรรมดา แต่ยิงพ่อ
ลับสมอง – ลองทำโจทก์ (2) Ex 4 :ตามหาวัวที่หายไป เข้าใจว่าเป็นวัวตนเอง จึงไล่ต้อนเพื่อนำกลับบ้าน เจ้าของเข้าใจว่าเป็นขโมย ตรงเข้าทำร้ายได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย Ex 5 :กำนันทำรายงานเท็จยื่นต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้จับนายเต๋าพนักงานสอบสวนเชื่อโดยไม่ตรวจสอบให้ดีเสียก่อนและเข้าจับกุมนายเต๋า
4. ผลแห่งการกระทำสัมพันธ์กับการกระทำตามหลักในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล 1. ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลาย ถ้าผลนั้นเป็น“ผลโดยตรง”(ทฤษฎีเงื่อนไข) มาจากการกระทำของผู้กระทำ คือ ถ้าไม่ทำ ผลไม่เกิด ผลที่เกิดนั้นถือว่าเป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำของผู้กระทำ แต่ถ้าไม่ทำผลก็เกิด ผลที่เกิดไม่ใช่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำของผู้กระทำ 2. ถ้าผลแห่งการกระทำทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลายก็ต่อเมื่อ ผลนั้นเป็น “ผลโดยตรง” และเป็น “ผลธรรมดา” (ม.63)”ผลธรรมดา” คือ ผลที่ผู้กระทำคาดเห็นความเป็นไปได้ของผลนั้น ไม่จำต้องถึงขนาดเล็งเห็นผล ระดับการวินิจฉัยคือ “วิญญูชน” หากวิญญูชนไม่สามารถคาดเห็นได้ แม้ผู้กระทำจะคาดเห็นได้ ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลายนั้น 3. ถ้าผลแห่งการกระทำเกิดขึ้นโดยมีเหตุแทรกแซง (คือ:เหตุที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังการกระทำของผู้กระทำในตอนแรก และเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดผลในบั้นปลายขึ้น) ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลาย ก็ต่อเมื่อเหตุแทรกแซงนั้นเป็นสิ่งที่ “วิญญูชน” คาดหมายได้ แต่ถ้าวิญญูชนคาดหมายไม่ได้ ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลาย แต่ต้องรับผิดเพียงเท่าที่ตนได้กระทำไปแล้วก่อนมีเหตุแทรกแซง
ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล เจตนารมณ์ เพื่อให้เกิด ความเป็นธรรม ในการลงโทษ ผู้กระทำความผิด ใช้กับการกระทำที่ต้องการผลเท่านั้น (กระทำโดยเจตนา – ประมาท – ความรับผิดเด็ดขาดซึ่ง ไม่เจตนาและไม่ประมาท # การกระทำที่ไม่ต้องการผล) ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม - ใช้กับกรณีต้องรับโทษหนักขึ้น(ผลธรรมดา ม.63) - ใช้กับกรณีไม่ต้องรับโทษหนักขึ้น แต่มีเหตุแทรกแซง ทฤษฎีเงื่อนไข -ใช้กับกรณีที่เป็นผลโดยตรง
หลักการใช้ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม กรณีไม่ต้องรับโทษหนักขึ้น แต่มีเหตุแทรกแซง กรณีรับโทษหนักขึ้น (ผลธรรมดา ม. 63) ต้องเป็นผลโดยตรงมาก่อนแล้ว 1. เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ 2. หลังจากการกระทำในเบื้องต้น 3. เป็นเหตุที่ก่อให้เกิดผลบั้นปลายนั้น เกิดผลในบั้นปลายนอกเหนือเจตนา หรือนอกเหนือการกระทำในเบื้องต้น 1. เป็นเหตุการณ์ธรรมชาติ 2. เป็นการกระทำของผู้กระทำเอง 3. เป็นการกระทำของผู้เสียหาย 4. เป็นการกระทำของบุคคลที่สาม ผลนั้นจะทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ก็ต่อเมื่อเป็นผลที่วิญญูชนคาดเห็นผลได้
ลับสมอง – ลองทำโจทก์ (1) ...ต้องให้ยาพิษ 6 กรัมจึงจะตาย... Ex 1 :ผู้กระทำ 3 คน ให้ยาพิษคนละ 2 กรัม - อาศัยเงื่อนไขซึ่งกันและกัน (จากการกระทำทั้งหมด) Ex 2 :ผู้กระทำ 3 คน ให้ยาพิษคนละ 3 กรัม - ไม่ได้อาศัยเงื่อนไขซึ่งกันและกันทั้งหมด Ex 3 :ผู้กระทำ 3 คน ให้ยาพิษคนละ 6 กรัม - ไม่ต้องอาศัยเงื่อนไขอื่นมาประกอบเลย
ลับสมอง – ลองทำโจทก์ (2) Ex 4 : ให้ยาพิษ คนละ 2 g ให้ 3 คน ต้องกิน 6 g จึงตาย - ต่างคนต่างให้ แต่ คนแรกให้แล้วไม่ตาย ต่อมา คนที่ 2,3 มาให้เพิ่ม จึงตาย - ใช้ทฤษฎีเหตุแทรกแซง (ในการพิจารณาความผิดคนแรก) - ไม่ใช้ ทฤษฎีเงื่อนไข เพราะ... 1.เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาใหม่ หลังจากการกระทำของคนแรก 2. เหตุการณ์หลังนี้ ก่อให้เกิดผลในบั้นปลาย = ความตาย - กรณีนี้คนแรกจึงรับผิดฐานพยายามฆ่า
ลับสมอง – ลองทำโจทก์ (3) Ex 5 : แต่ถ้าคนแรกให้ 2 g แล้วไม่ตาย ต่อมาคนที่สอง ให้อีก 2 g แล้วยังไม่ตายท้ายสุด คนที่สาม ให้อีก 2 g แล้วจึงตาย
ลับสมอง – ลองทำโจทก์ (4) Ex 6 : คนแรกให้ 2 g แล้วไม่ตาย ต่อมา คนที่สองและสาม ให้เพิ่มคนละ 2 g พร้อม ๆกัน จึงตาย(โดย #ตัวการร่วม)
ลับสมอง – ลองทำโจทก์ (5) Ex 7 : - ตั้งใจฆ่า แทงด้วยเหล็กแหลมขึ้นสนิมต่อมาตายเพราะบาดทะยัก - ตั้งใจฆ่า แทงด้วยเหล็กแหลม ต่อมาตายเพราะโรคซาร์ส ติดเชื้อขณะรักษาตัวอยู่ รพ. - ตั้งใจทำร้าย ต่อมาตายเพราะ 1,2
ลับสมอง – ลองทำโจทก์ (6) Ex 8 : คนแรกยิงได้รับบาดเจ็บ เกือบตายอยู่แล้ว ต่อมาคนที่สองมาแทงซ้ำ ตายทันที
ความแตกต่างระหว่างผู้กระทำความผิดประเภทต่างๆ มีผลในทางกฎหมาย กล่าวคือ จะถือว่าการกระทำในขั้นใดเป็น “การลงมือ” หรือ “พยายาม” กระทำความผิดตามมาตรา 80 ผู้กระทำความผิดด้วยตนเอง ผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อม ผู้ใช้ เมื่อการกระทำถึงขั้นลงมือตาม ม.80 เมื่อหลอก Innocent Agent ให้กระทำความผิด เมื่อผู้ถูกใช้ได้กระทำการถึงขั้นลงมือตาม ม.80 เพราะ ม.84 ว.2 บัญญัติให้ผู้ใช้รับโทษเสมือนเป็นตัวการ ข้อสังเกต กรณีผู้ใช้นี้เมื่อการใช้ไปถึงผู้ถูกใช้ (ผู้ลงมือ) แม้จะเป็น Last Act ของผู้ใช้ ผู้ใช้คงรับโทษ 1/3 ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเท่านั้น
ประสงค์ต่อผล (เจตนาโดยตรง) คือ มุ่งหมายให้ผลเกิด กรรมเป็น เครื่องชี้เจตนา (พิจารณาระหว่างเจตนา ฆ่าและเจตนาทำร้าย) 1. เจตนาตามความเป็นจริง (เจตนาธรรมดา)(ส่วน “ต้องการ” ) 2. เจตนาโดยผลของกฎหมาย เจตนาโดยพลาด ม.60 (เจตนาโอน) คือ มิได้ประสงค์ต่อผลหรือมิได้เล็งเห็นผล ต่อผู้ที่ได้รับ “ผล”ร้ายจากการกระทำนั้น แต่กม. “ให้ถือว่า” ผู้กระทำได้กระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น ข้อสังเกต : - เรื่องลำดับการพิจารณาพลาดและประมาท - เรื่องขอบเขตการใช้เรื่องพลาด22
3 สำคัญผิดในตัวบุคคล ม.61 เป็นบทบัญญัติปิดปากเพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดปฏิเสธว่าไม่มีเจตนามิใช่บทบัญญัติเรื่องเจตนา สำคัญผิดในข้อเท็จจริงม.62 เป็นบทบัญญัติปที่ก.ม. ยอมรับฟังเป็นข้อแก้ตัวให้ไม่ต้องรับผิด หรือไม่ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลงได้
การเปลี่ยนใจในช่วงนี้เป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิด เพราะยังไม่ถึงขั้นที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด คือ ยังไม่ถึงขั้นลงมือ หรือพยายาม ม.80 เว้นแต่ในความผิดบางฐานที่การตระเตรียมกระทำความผิดเป็นความผิด เช่น ม.107 ว.3 , ม.108 ว.3 , ม.109 ว.3 , ม.110 ว.3 , ม.144 , ม.128 , ม.219 เป็นต้น และในกรณีความผิดที่การตระเตรียมเป็นความผิดก็น่าจะอนุโลมใช้ ม.82 ได้ เหตุผล เพราะเมื่อถึงขั้นลงมือแล้วยังยับยั้งได้ เพียงขั้นตระเตรียม ถ้าการตระเตรียมกระทำความผิดนั้นเป็นความผิดเหตุใดจึงยับยั้งไม่ได้ คิด ตกลงใจ ตระเตรียม
ยับยั้งหรือกลับใจ ภายหลัง ความผิดสำเร็จแล้วเป็นเพียงเหตุบรรเทาโทษ ตาม ม.78 --> ศาลใช้ดุลพินิจลดโทษได้ไม่เกิน 1/2 ยับยั้งหรือกลับใจของผู้ลงมือ, ตัวการ ตาม ม.82 หรือ ยับยั้งหรือกลับใจ (ตัวบทใช้คำว่าเข้าขัดขวาง) ของผู้ใช้ , ผู้โฆษณา, ผู้สนับสนุน ตาม ม.88 ภายหลัง ลงมือกระทำความผิดแล้ว ลงมือ ความผิดสำเร็จ
การพยายามกระทำความผิดการพยายามกระทำความผิด พยายามกระทำความผิด ศาลไทยใช้ หลักใกล้ชิดต่อผลกล่าวคือผู้กระทำได้กระทำ “ขั้นสุดท้าย”ซึ่งจำต้องกระทำเพื่อให้ความผิดสำเร็จ ถือว่าถึงขั้นเป็นการลงมือกระทำความผิดแล้ว ไม่บรรลุผลโดยบังเอิญ มาตรา 80 1.มีเจตนากระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งมาก่อนแล้ว 2.ได้กระทำถึงขั้นลงมือกระทำความผิด 3.กระทำไปไม่ตลอด หรือ กระทำไปตลอดแล้วแต่ไม่อาจบรรลุผลได้โดยเหตุบังเอิญ ผลรับโทษ 2 /3 ส่วน ของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ไม่บรรลุผลโดยแน่แท้ มาตรา 81 1.มีเจตนากระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งมาก่อนแล้ว 2.ได้กระทำถึงขั้นลงมือกระทำความผิด 3.กระทำไปไม่ตลอด หรือ กระทำไปตลอดแล้วแต่ไม่อาจบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ เช่น เครื่องมือไม่พร้อม ปืนกระสุนไม่มี เป็นต้น เพราะเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อเช่น ยิงตอไม้ ผลรับโทษไม่เกิน 1/2 ของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หรือ ถ้าทำไปด้วยความเชื่ออย่างงมงายศาลอาจไม่ลงโทษเลย
ผล การยับยั้งหรือกลับใจ มาตรา 82 1.กระทำถึงขั้นลงมือกระทำความผิดแล้ว 2.ความผิดที่กระทำยังไม่สำเร็จผลตามที่ผู้กระทำเจตนาเพราะ ผู้กระทำยับยั้งเองไม่กระทำไปตลอดหรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล หลักเกณฑ์ของการยับยั้ง หรือกลับใจ 1.ต้องกระทำโดยตั้งใจหรือโดยเจตนา 2.เป็นการกระทำโดยสมัครใจ 3.การยับยั้งหรือกลับใจนั้นต้องเป็นเหตุให้การกระทำความผิดนั้นไม่บรรลุผล 1.ไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดนั้น 2. แต่อาจต้องรับโทษสำหรับการที่ได้กระทำไปแล้วหากมีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด
ผู้กระทำความผิดหลายคนผู้กระทำความผิดหลายคน ตัวการร่วม มาตรา 83 เป็นการกระทำความผิดโดยเจตนาในระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการกระทำร่วมกัน คือ “ร่วมมือ” ในขณะกระทำความผิดนั้น • ลักษณะของการร่วมมือ • ร่วมกระทำส่วนหนึ่งของการกระทำทั้งหมดที่รวมกันเป็นความผิดขึ้น • แบ่งหน้าที่กันทำ • อยู่ใกล้ที่กระทำความผิดในลักษณะพร้อมจะช่วยเหลือกันได้ทันที • อยู่ร่วมในที่เกิดเหตุและก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด มีเจตนาร่วมกัน คือ “ร่วมใจ” ในขณะกระทำความผิดนั้น ผล แต่ละคนต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ ของผู้กระทำคนอื่น ๆ ด้วย ในฐานะที่เป็น ตัวการ
มีการก่อให้ผู้อื่นคิดที่จะกระทำความผิดมีการก่อให้ผู้อื่นคิดที่จะกระทำความผิด เป็นการก่อตามมาตรา 84 กระทำการก่อโดยมีเจตนาให้ผู้อื่นกระทำผิด เป็นการโฆษณา หรือประกาศแก่บุคคลโดยทั่วไป ความผิดที่ได้ก่อนั้นมีกำหนดโทษไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ผู้ใช้ ผู้ก่อให้กระทำความผิด โดยการโฆษณา หรือ ประกาศ มาตรา 85 ผู้ก่อให้กระทำผิดโดยวิธี การทั่วไป มาตรา 84 กรณีผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิด ผล ทั้งสองมาตรา ผู้ใช้รับโทษเสมือนเป็นตัวการ กรณีความผิดยังมิได้กระทำลง ผล มาตรา 84 รับโทษ 1/3 และมาตรา 85 รับโทษ 1/2 ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ผู้สนับสนุน มาตรา 86 มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น กระทำด้วยประการใด ๆ โดยเจตนาอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด สนับสนุนก่อนหรือขณะกระทำความผิด ไม่ว่าผู้กระทำความผิดจะได้รู้ถึงการช่วยเหลือนั้นหรือไม่ก็ตาม ผล รับโทษ ๒/๓ ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้นแต่หากสนับสนุนในความผิดลหุโทษไม่ต้องรับโทษเลย ตามมาตรา ๑๐๖
ข้อสังเกต (1) จะมีผู้ใช้ในความผิดฐานใดได้ จะต้องมีผู้ลงมือในความผิดฐานนั้นเสียก่อน หากผู้ถูกใช้ไม่อาจเป็นผู้ลงมือในความผิดฐานนั้นได้ ก็ไม่อาจเป็นผู้ใช้ได้ แต่อาจเป็นผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อม และตัวผู้ถูกใช้ก็อาจเป็นผู้สนับสนุน (2) เพียงการใช้“ไปถึง” ตัวผู้ลงมือ และผู้ลงมือ “ทราบ” การก่อให้กระทำความผิด แม้ผู้ลงมือจะยังมิได้ตอบรับหรือปฏิเสธ และความผิดที่ใช้ยังมิได้กระทำ ผู้ใช้ระวางโทษ 1/3 ของความผิดที่ใช้ทันที (3) การ“พยายามเป็นผู้ใช้มีไม่ได้” แต่การเป็นผู้ใช้ในการพยายามกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งมีได้
ข้อสังเกต (ต่อ) (4) หากผู้ใช้ได้บอกเลิกหรือให้ผู้ถูกใช้งดเว้นการกระทำตามที่ใช้ “ก่อน” ผู้ถูกใช้ลงมือกระทำความผิดตามที่ใช้ แต่ผู้ถูกใช้ยังคงกระทำความผิดตามที่ใช้จนความผิดสำเร็จ ต้องแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี (4.1) ผู้ถูกใช้กระทำความผิดต่อไปเพราะการใช้ การบอกเลิกของผู้ใช้ไม่มีผลทำให้ผู้ถูกใช้กลับใจ ผู้ใช้คงต้องรับโทษเสมือนตัวการ (4.2) ผู้ถูกใช้กระทำความผิดต่อไปเพราะความประสงค์ของตนเอง ผู้ใช้คงเป็นผู้สนับสนุนในความผิดที่ผู้ถูกใช้กระทำลง ข้อสังเกต อ.จิตติ กรณีตาม (4) นี้ มิใช่ กรณีตาม ม.88 เพราะกรณีตาม ม.88 ต้องเป็นการขัดขวางทำให้การกระทำไม่เป็นความผิดสำเร็จเท่านั้น (5) ใช้ให้ผู้ถูกใช้ไปกระทำการที่ไม่เป็นความผิด ผู้ใช้ก็ไม่มีความผิด แม้ 1/3 ตาม ม.84 ว.2 ก็ไม่ต้องรับ เพราะเท่ากับว่า มิได้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ผู้ใช้มิใช่ผู้ใช้ตาม ม.84 เพราะจะเป็นผู้ใช้ตาม ม.84 ต้องเป็นการใช้ให้ไปกระทำการที่กม.บัญญัติเป็นความผิดเท่านั้น (เช่น ใช้ให้ผู้อื่นไปข่มขืนภรรยาตนโดยที่ภรรยาตนยินยอมร่วมประเวณีกับผู้อื่นนั้น)
ผู้สนับสนุน ม.86 • “ข้อสังเกต” • ผู้ใช้ผู้สนับสนุน คือ ผู้สนับสนุนลงมือ • ผู้สนับสนุนผู้ใช้ คือ ผู้สนับสนุนผู้ลงมือ • ผู้สนับสนุนกลายมาเป็นตัวการก็รับผิดฐานะตัวการ ม.83 ผล • รับโทษ 2/3 ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น • คางกรณีผู้สนับสนุนไม่ต้องรับโทษ เช่น ผู้สนับสนุนเข้าขัดขวางมิให้การกระทำบรรลุผลตาม ม.88 , ผู้สนับสนุนในความผิดลหุโทษตาม ม.106 • หากผู้ลงมือ กระทำการยังไม่ถึงขั้นที่กม.บัญญัติเป็นความผิด ในกรณีให้ความช่วยเหลือหรือความสะดวก“ก่อน” การกระทำความผิด ---> ไม่มีความผิด + ยังไม่เป็นผู้สนับสนุน • บางกรณีผู้สนับสนุนรับโทษเท่าความผิดสำเร็จ เช่น ม.111 , 129 , 314
ขอบเขตความรับผิดของผู้ใช้ ผู้สนับสนุนมาตรา 87 หลัก รับผิดเพียงสำหรับความผิดที่เจตนาใช้ หรือสนับสนุนเท่านั้น เว้นแต่ ถ้าผลของการกระทำความผิดทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ก็ต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่มีกำหนดโทษสูงขึ้นนั้นด้วย ถ้าเล็งเห็นผลได้ ก็ต้องรับผิดตามผลที่เกิดขึ้น
การขัดขวางของผู้ใช้ ผู้สนับสนุน มาตรา 88 • หลักเกณฑ์ • ความผิดที่ใช้ หรือสนับสนุนได้กระทำถึงขั้นลงมือแล้ว • ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนนั้นขัดขวาง และหรือตลอดแล้วแต่ไม่บรรลุผล • การขัดขวางเป็นเหตุให้ผู้กระทำได้กระทำไปไม่ตลอด โทษ กรณีเป็นผู้ใช้ รับผิดเสมือนหนึ่งความผิดที่ใช้มิได้กระทำลง ตามมาตรา 84 วรรคสอง กรณีเป็นผู้สนับสนุนไม่ต้องรับโทษ กรณีเป็นผู้โฆษณา หรือ ประกาศรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตามมาตรา ๘๕ วรรคแรก
เจตนาเดียวกันอันเกิดจากการกระทำอันเดียวเจตนาเดียวกันอันเกิดจากการกระทำอันเดียว เจตนาเดียวกันอันเกิดจากการกระทำหลายอัน ความผิดที่ยืดออกไป ความผิดต่อเนื่อง เป็นการกระทำหลายอันที่ ซึ่งต่างฐานความผิดกัน ผล ลงโทษบทหนักที่สุด เป็นการกระทำหลายอัน ฐานความผิดเดียวกัน แต่มีเจตนาต่างกัน การกระทำหลายอันต่างฐานความผิดกันนั้น แม้ว่าการกระทำความผิดฐานหนึ่งมีความ มุ่งหมายเพื่อกระทำความผิดอีกฐานหนึ่งในทีทันทันใด ก็ถือว่ามีเจตนาต่างกัน เป็นหลายกรรมได้ ผล ลงโทษเรียงกระทงความผิด การกระทำความหลายบทหรือหลายกระทง การกระทำความผิดหลายบท มาตรา 90 การกระทำความผิดหลายกระทงมาตรา 91
1. ความยินยอมอันบริสุทธิ์ 1. มีภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย 2. ไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดี 2. ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง 3. มีอยู่จนกระทั่งมีการกระทำความผิด 3. ผู้กระทำจำต้องกระทำ โดยมีเจตนาเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่น 4. การกระทำไม่เกินขอบเขต โครงสร้างข้อ 2 กฎหมายยกเว้นความผิด แม้ผู้กระทำจะได้กระทำการครบโครงสร้างข้อที่ 1 แต่ถ้าหากมีกฎหมาย ยกเว้นความผิด ก็ถือว่าการกระทำของผู้กระทำไม่เป็นความผิด ป้องกัน (มาตรา 68) ความยินยอม
อาจจะเป็นภยันตรายที่อาจละเมิดต่อกฎหมายอาญาหรือกฎหมายแพ่งก็ได้ โดยผู้ก่อภยันตราย ไม่มีอำนาจกระทำได้ ผู้กระทำต้องไม่มีส่วนในการก่อให้เกิดภยันตรายนั้นเอง ภัยยังไม่เกิดแต่ใกล้จะเกิด ภัยเกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ผ่านพ้นไป การป้องกันไว้ล่วงหน้า พิจารณาขณะเกิดเหตุ มีการป้องกันหรือไม่ 1. มีภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย 2. ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
ไม่ได้เป็นการใช้สิทธิป้องกันภยันตรายที่ยังมาไม่ถึงไม่ได้เป็นการใช้สิทธิป้องกันภยันตรายที่ยังมาไม่ถึง 1. ผู้กระทำได้กระทำการป้องกันให้พ้นภยันตรายนั้น ด้วยวิถีทางน้อยที่สุดเท่าที่จำต้องกระทำ คือเลือกวิธีการขั้นต่ำที่สุดที่ทำให้ตนเองพ้นภัย ไม่ได้เป็นการใช้สิทธิป้องกันภยันตรายที่ผ่านพ้นไปแล้ว มีความจำเป็นต้องกระทำเพื่อป้องกัน, จำเป็นต้องตอบโต้ 2. ผู้กระทำได้กระทำการป้องกัน โดยได้สัดส่วนกับภยันตราย ก่อให้เกิดภยันตรายกับผู้ก่อน้อยที่สุด หากไม่ใช้มาตรการดังกล่าวจะไม่มีทางพ้นภัย หรือไม่มีทางเลือกที่จะป้องกันโดยวิธีอื่น 4. การกระทำไม่เกินขอบเขต ไม่เกินกรณีแห่งการที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ไม่เกินสมควรแก่เหตุ
โครงสร้างข้อ 2 ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด แม้ผู้กระทำจะได้กระทำการครบโครงสร้างข้อที่ 1 แต่ถ้าหากมีกฎหมาย ยกเว้นความผิด ก็ถือว่าการกระทำของผู้กระทำไม่เป็นความผิด ข้อสังเกต 1. การป้องกันโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ม.62 ว.1 หรือป้องกันโดยพลาด ก็ยังถือว่าเป็นการป้องกันอยู่ 2. การกระทำโดยป้องกันต้องเป็นการกระทำต่อผู้ที่ก่อภยันตรายนั้น
โครงสร้าง ข้อ 3 กฎหมายยกเว้นโทษ แม้ผู้กระทำจะได้กระทำครบโครงสร้างข้อที่ 1 และที่ 2 กล่าวคือ ครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติและไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด แต่ถ้ามีกฎหมายยกเว้นโทษให้กับผู้กระทำ ก็ถือว่าผู้กระทำมีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ