500 likes | 2.76k Views
กลุ่มสร้างคุณภาพ. (Quality Control Circle : QCC). กลุ่มสร้างคุณภาพ. (Quality Control Circle : QCC). Q=Quality: คุณภาพ ซึ่งเน้นไปที่หลักๆ 3 ด้าน คือ คุณภาพชีวิต , คุณภาพสภาพแวดล้อม , คุณภาพงาน C=Control : คือการควบคุม หรือบังคับ หรือกระทำให้คุณภาพ 3
E N D
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC)
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) Q=Quality: คุณภาพ ซึ่งเน้นไปที่หลักๆ 3 ด้าน คือ คุณภาพชีวิต , คุณภาพสภาพแวดล้อม , คุณภาพงานC=Control : คือการควบคุม หรือบังคับ หรือกระทำให้คุณภาพ 3 ด้านข้างต้น อยู่ในระดับที่คาดหวัง หรืออยู่ในระดับ มาตรฐานที่ควรจะเป็น C=Circle : มี 2 ความหมาย คือ วงจร ซึ่งหมายถึงกระบวนการ หรือวงจรควบคุมคุณภาพ ซึ่งจะมีขั้นตอนต่างๆ (7ขั้นตอน)
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) (7ขั้นตอน) หมุนวนกันอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยวงจรหลักคือ วงจรเดมมิ่ง ( P-D-C-A) ในที่นี้จึง หมายถึง วงจรที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) เครื่องมือ 7 ประเภท ( QC 7 Tool )ในการทำกิจกรรมกลุ่ม คิวซีมีรายละเอียดดังนี้ 1. ในตรวจสอบ (Check Sheet) 2. แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram) 3. แผนภูมิการกระจายกลุ่ม (Scatter Diagram) 4. ฮิสโตแกรม (Histogrem) 5. แผนภูมิก้างปลา (Fish – bone : Cause – Effect : Ishikawa Diagram) 6. แผนภูมิควบคุม (Control Chart) 7. กราฟ (Graph)
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) กลุ่มสร้างคุณภาพ คืออะไร? กิจกรรมที่ต้องการให้พนักงานทุกคนมารวมกลุ่มกันด้วยความสมัครใจเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาสาเหตุของปัญหา การแก้ไขปัญหาและปรับปรุงงานทางด้านคุณภาพให้ดีขึ้นตามแนวความคิดของกลุ่มโดยไม่ขัดต่อนโยบายขององค์กร
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) กลุ่มสร้างคุณภาพในองค์กรจะให้ประโยชน์อะไร? กลุ่มสร้างคุณภาพจะช่วยให้โอกาสของการแก้ไขปัญหาต่างๆในองค์กรประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเกิดจากการประสานความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจในการช่วยกันคิด ช่วยกันทำงานของสมาชิกในกลุ่ม นอกจากนี้กลุ่มสร้างคุณภาพจะช่วยให้สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งและกัน และช่วยสร้างจิตสำนึกให้สมาชิกเกิดความรับผิดชอบ โดยการแบ่งหน้าที่ของแต่ละคนที่ชัดเจน
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) กลุ่มสร้างคุณภาพมีขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม 1 การร่วมกันจัดตั้งกลุ่ม โดยรวบรวมสมาชิกในกลุ่มให้ได้ 3-10 คน แล้วตั้งชื่อกลุ่มและ คำขวัญประจำกลุ่ม ตัวอย่างเช่น กลุ่มชื่อ “กลิ่นสีและกาวแป้ง” มีคำขวัญว่า“หน้าไม่งอ รอไม่นาน บริการดี QCC เยี่ยม” เป็นต้น หลังจากนั้นก็กำหนดหน้าที่และจะต้องเป็นผู้มีคุณธรรมความไว้วางใจ
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) กลุ่มสร้างคุณภาพมีขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม 2 การจัดการประชุมเพื่อกำหนดปัญหา เป็นการให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันกำหนดหัวข้อของปัญหาที่กลุ่มเห็นว่ามีความสำคัญ หรือมีความเร่งด่วนต้องรีบดำเนินการ หลังจากนั้นจะต้องกำหนดเป้าหมายของความสำเร็จ โดยมีลักษณะของเป้าหมายที่สามารถวัดผลเป็น
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) ประโยชน์ของการทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพมีประโยชน์ดังรายละเอียดต่อไปนี้ • ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม • สร้างความเป็นผู้นำ เช่น กล้าคิด กล้าพูด • รู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและเพื่อนร่วมงาน • สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อองค์การ รักษาชื่อเสียงและผลประโยชน์ • สร้างความสามัคคีในกลุ่ม • พัฒนาความรู้ของตนเอง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน • ผลผลิตเพิ่มขึ้น งานมีประสิทธิภาพ
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) เทคนิคการควบคุม การวิเคราะห์ปัญหาและควบคุมปัญหาที่ดำเนินการแก้ไข ซึ่งเทคนิควิธีการที่สำคัญมี 4 วิธีในการแก้ปัญหา 1 ตารางตรวจสอบ 2 กราฟธรรมดา (กราฟเส้น แท่ง วงกลม ) 3 แผนภูมิพาเรโต 4 แผนภูมิก้างปลา
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) Reengineering หมายถึง การพิจารณาหลักการพื้นฐานของธุรกิจที่ทำอยู่เดิม และคิดหลักการขึ้นมาใหม่อย่างถอนรากถอนโคน ปรับกระบวนการทำงานใหม่ เพื่อให้บรรลุตัวผลลัพธ์คือเป้าหมายขององค์การโดยใช้ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานใน 4 ด้านคือ ต้นทุนต่ำลง คุณภาพที่สูงขึ้น การบริการที่สะดวกเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า และความรวดเร็วในการดำเนินงาน ไม่ต้องรอคอย
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) รีเอ็นจิเนียริ่ง รีเอ็นจิเนียริ่ง คือ การทบทวนความคิดพื้นฐาน และการออกแบบกระบวนการในการทำงานใหม่โดยสิ้นเชิง เพื่อให้บรรลุการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ ในผลงาน เช่น ต้นทุน คุณภาพ บริการ และความรวดเร็ว
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) หลักการของรีเอ็นจิเนียริ่ง 1. การคิดใหม่จากพื้นฐาน (Fundamental rethinking)2. การออกแบบใหม่อย่างถอนรากถอนโคน (Radical redesign)3. การปรับปรุงที่ส่งผลอย่างใหญ่หลวง (Dramatic improvements)4. เน้นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน (Process-oriented)
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) เหตุผลในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง 1. ลูกค้า (Customer) เนื่องจากปัจจุบันลูกค้ามีความรู้และความเข้าใจมากขึ้น พลังการต่อรองของลูกค้ามีมากขึ้น มีความคาดหวังมากขึ้น และมีความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลหากบริษัทหรือหน่วยงานไม่เข้าใจหรือซาบซึ้งถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ ก็จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและบริษัทได้
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) เหตุผลในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง 2. การแข่งขัน (Competition) การแข่งขันในปัจจุบันทวีความรุนแรงมากขึ้น และมีการแข่งขันที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีมาในการสร้างสรรค์เทคนิคบริการต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการบุกรุกจากคู่แข่งจากต่างชาติ ทำให้บริษัทที่ไม่สามารถยกระดับความสามารถ ของตนเองขึ้นมาอาจจะถูกขับไล่จากสนามแข่งขันได้
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) เหตุผลในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง 3. การเปลี่ยนแปลง (Change) เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่มีอัตราความเร็วสูงขึ้น มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น หากบริษัทไม่สามารถจัดการเปลี่ยนแปลง หรือเตรียมรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงได้ดีก็อาจจะประสบสภาวะล้มละลายได้
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) พลัง 3 C • ลูกค้า (Customer) • - ลูกค้าเป็นผู้ชี้ขาดในการเลือกซื้อสินค้า • - ลูกค้าถูกเสมอ • - ลูกค้า คือ พระราชา • - ลูกค้า คือ คนจ่ายเงินเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ • การแข่งขัน (Competition) • - ราคาที่ต่ำสุด • - คุณภาพที่สูงสุด • - การบริการที่ดีที่สุดเพื่อจะเป็นผู้นำในการแข่งขัน • - ดุเดือดรุนแรง • - ทุกรูปแบบ • การเปลี่ยนแปลง (Change) • - ใช้เทคโนโลยีหนุนเสริมให้เกิดนวัตกรรม • - พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง มีดังนี้ 1. ใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำ 2. ต้องอาศัยริเริ่มและการบังคับบัญชา โดยผู้บริหารระดับสูง เพราะการรีเอ็นจิเนียริ่ง เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงาน 3. สร้างบรรยากาศของความเร่งด่วน
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) 4. การออกแบบกระบวนการจากภายนอก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ 5. การดำเนินการกับที่ปรึกษา ควรให้เข้ามาร่วมงานตั้งแต่ต้นจนจบ ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญในองค์การเพื่อถ่ายทอดให้ถึงระดับล่าง 6. การผนวกกิจกรรมของระดับบนสู่ระดับล่างกับกิจกรรมของระดับล่างขึ้นสู่ระดับบนเข้าด้วยกัน
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) พื้นฐานของการ Reengineering • การนำReengineering ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจต้องคำนึงถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ ดังนี้ • วิธีการที่เป็นระบบ การออกแบบกระบวนการธุรกิจขึ้นใหม่ต้องจัดทำอย่างเป็นระบบและลงรายละเอียดในทุกขั้นตอน
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) พื้นฐานของการ Reengineering 2. ความร่วมมือในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบ เทคโนโลยี และการปรับปรุงภายใน 3 การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รีเอ็นจิเนียริ่งสามารถทำในลักษณะต่อเนื่องแทนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของทั้งบริษัทในครั้งเดียว ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงและลดความล่าช้าในการได้ประโยชน์
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) • การวิเคราะห์ผลกระทบ การรีเอ็นจิเนียริ่งควรเอื้ออำนวยให้สามารถวิเคราะห์ผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อทุกหน่วยงานในองค์กรได้ • การจัดรูปแบบและจำลองสถานการณ์ เป็นการค่อนข้างเสี่ยงที่เราจะต้องทำการรีเอ็นจิเนียริ่งโดยไม่มีการจำลองผลที่จะได้ การใช้คอมพิวเตอร์จะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการจำลองทางเลือกต่าง ๆ ได้
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) • การใช้แผนแบบต่อเนื่อง แบบแผนสำหรับกระบวนการธุรกิจใหม่ไม่ควรนำไปใช้ปฏิบัติเสร็จแล้วทิ้งไป และไม่ควรนำไปเก็บบนหิ้งเพื่อให้ฝุ่นจับและกลายเป็นของล้าสมัย การรีเอ็นจิเนียริ่งมีต้นทุนสูงมากจึงควรใช้อย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด • การรวมตัวแปรทางการบริหารของบริษัท การเริ่มรีเอ็นจิเนียริ่ง คณะจัดทำโครงการจะต้องเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการธุรกิจที่ทำการรีเอ็นจิเนียริ่งเพราะข้อมูลทั้งหมดจะมีผลต่อการตัดสินใจ
กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) ต่อสัปดาห์หน้า