430 likes | 815 Views
หลักการนำสันทนาการ / นำกิจกรรม. โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศักดิ์สุริยา ไตรยราช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย. การเตรียมตัวนำสันทนาการ. 1.สิ่งที่ คนนำสันฯควรจะคำนึงถึงในการนำสันฯก็คือกิจกรรมก่อนหลังสันทนา การ -ละลายพฤติกรรมตอน เช้า -หรือช่วงเวลาหลังกิน ข้าว
E N D
หลักการนำสันทนาการ / นำกิจกรรม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศักดิ์สุริยา ไตรยราช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
การเตรียมตัวนำสันทนาการการเตรียมตัวนำสันทนาการ • 1.สิ่งที่ คนนำสันฯควรจะคำนึงถึงในการนำสันฯก็คือกิจกรรมก่อนหลังสันทนาการ • -ละลายพฤติกรรมตอนเช้า • -หรือช่วงเวลาหลังกินข้าว • -หรือช่วงสันสุดท้ายก่อนจบงาน • -ช่วงต่อจากวิชาการหรือก่อนเข้าวิชาการ
การเตรียมตัวนำสันทนาการการเตรียมตัวนำสันทนาการ • 2.สถานที่และอุปกรณ์ • 3.จำนวนผู้เข้าร่วม • 4.ลำดับเกมการเล่น • 5.ซ้อมจริง ก่อนลงมือ
การเตรียมตัวนำสันทนาการการเตรียมตัวนำสันทนาการ • 1.สิ่งที่ คนนำสันฯควรจะคำนึงถึงในการนำสันฯก็คือกิจกรรมก่อนหลังสันทนาการ • -ละลายพฤติกรรมตอนเช้า • -หรือช่วงเวลาหลังกินข้าว • -หรือช่วงสันสุดท้ายก่อนจบงาน • -ช่วงต่อจากวิชาการหรือก่อนเข้าวิชากา
ขั้นตอนของกระบวนการกลุ่ม ขั้นตอนของกระบวนการกลุ่ม • 1. Ice Breaking - สลายพฤติกรรม ปกติมนุษย์เมื่อเข้าสู่สังคมใหม่จะมีความรู้สึกว่า ตัวเองไม่คุ้นเคย ไม่ปลอดภัย ระแวง รู้สึกเหมือนถูกจับตามองจากคนที่ไม่รู้จัก จึงเกิดพฤติกรรมที่ปิดกั้น ตัวเอง วางฟอร์ม ไม่พูดคุยกับใคร (คล้ายๆจะฆ่าตัวตายอะไรประมาณนั้น) เหมือนกับมีกรอบน้ำแข็งล้อมรอบตัวเองอยู่ เพราะฉะนั้นขั้นแรกจึงเป็น การละลายน้ำแข็งเพื่อทำให้รู้สึกว่าทุกๆคนก็เหมือนกัน
ขั้นตอนของกระบวนการกลุ่ม ขั้นตอนของกระบวนการกลุ่ม • 2. Humanication - สร้างมนุษย์สัมพันธ์+เกิดการปฏิสัมพันธ์ เมื่อน้ำแข็งเกิดละลายและเบาบางลง เขาหรือเธอจะ มีความรู้สึกว่า ทุกๆคนที่อยู่ต่อหน้าเป็นพวกเดียวกันจะเริ่มไม่ รู้สึกเขินอาย และเรื่มกล้าแสดงออก กิจกรรมในขั้นตอนนี้จะเรื่มมีการพูดคุย ถูกเนื้อต้องตัวกัน เกิดความไว้วางใจกัน กล้าเล่น จับมือถือแขน โดยไม่คิดมากและขัดเขิน แต่ต้องอยู่ในกรอบอันดีงาม
ขั้นตอนของกระบวนการกลุ่ม ขั้นตอนของกระบวนการกลุ่ม • 3. Creation - สร้างสรรค์ ก่อเกิดความคิดริเริ่ม สำหรับขั้นตอนนี้ จะเริ่มเป็นการยื่นเงื่อนไขบีบ เพื่อให้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กล้าแสดงออกต่อเพื่อนๆในกลุ่ม และสาธารณชนมากขึ้น กล้าแสดงความคิดอ่าน ให้เพื่อนๆ รับฟัง ทั้งนี้อาจจะช้าหรือเร็วไม่เท่ากันอย่าซีเรียส กิจกรรมจะเป็นรูปแบบ การกระตุ้นให้คิดภายในกลุ่ม
ขั้นตอนของกระบวนการกลุ่ม ขั้นตอนของกระบวนการกลุ่ม • 4. Brain Storming - การระดมความคิด ปลูกฝังการทำงานร่วมกันในกลุ่ม ให้รู้จักคิดพูดและรับฟังความคิด เห็นของคนอื่น เปิดใจให้กว้าง ยอมรับความคิดแปลก แตกต่างอาจมี การเชื่อมความคิด เชื่อมโยงระหว่างกลุ่ม นำเสนอความคิดกลุ่มตนต่อกลุ่มอื่นๆ กิจกรรมจะอยู่ในรูปแบบที่ต้องมีการถกเถียงกัน หาข้อสรุปร่วมที่เป็นความคิดของกลุ่ม
ขั้นตอนของกระบวนการกลุ่มขั้นตอนของกระบวนการกลุ่ม • 5. Evaluation - การประเมินผล ให้รู้จักการประเมินความสำเร็จของกระบวนการ ในแต่ละขั้นตอน (โดยต้องประเมินอยู่ตลอดเวลา) เพื่อปรับท่าที รวมไปถึงการพิจารณาตัดสินใจในการ ข้ามไปสู่กระบวนการต่อไป (อาจใช้กิจกรรมบางกิจกรรมในการตัดสิน)
เทคนิคต่างๆ • การนำเกมส์เพลงที่ดี..การนำเกมส์เพลงที่ดี 1. แม่นเนื้อร้อง ขั้นตอนการนำ เนื้อเพลงต้องแม่นยำ และทำการบ้านด้วย(สำคัญมาก มีร่วงคาวงมาแล้ว-ผู้เขียน) 2. ทำนองชัด ตรงตัวเลย ร้องเพลงด้วยเมโลดี้ที่ถูกต้อง จะทำให้เพลงเพราะขึ้นเยอะ และร้องง่าย 3. ซัดสายตา ใช้สายตามองจิกไปให้ถ้วนทั่วทุกคน ใครไม่สนใจ จิกเข้าไปให้หนัก เพื่อดึงให้ทุกคนมีส่วนร่วม 4. ท่าทางดี ทำตัวให้เด่น หาจุดยืนที่ดี ให้ทุกๆคนสามารถมองเห็นได้
เทคนิคการนำเพลง • 1. บอกชื่อเพลง (ถ้าไม่รู้จริงๆอย่ามั่ว) 2. พูดให้ฟังทีละประโยค* ช้าๆ ชัดๆ ประมาณ 2 รอบหรือมากกว่า 3. คนนำร้องเพลงให้ฟังก่อน โดยไม่มีดนตรีประกอบ 4. ให้ทุกคนร้องคลอไปพร้อมๆกัน (จะกี่รอบก็ได้ตามความพอใจ) 5. ร้องพร้อมกับดนตรี ต้องแน่ใจว่าผู้เข้าอบรมร้องตามได้ 6. สอนท่าทีละประโยค (ถ้ามีท่าประกอบเพลง)
เทคนิคการนำเพลง • 7. ให้ผู้เข้าอบรมร้อง และผู้นำสันทนาการแสดงท่าให้ดูทั้งเพลง 8. บรรเลงให้ผู้เข้าอบรม แสดงท่าได้เลย 9. เลิกเมื่อถึง Climax * แนะนำถ้าเพลงยาวมากๆ ให้เตรียมกระดาษเขียนเนื้องเพลงไว้สอน จะประหยัดเวลาได้มาก อย่าเร่งและข้ามขั้น เพราะถ้าข้ามขั้นอาจจะทำให้ไม่ถึงเป้าหมายของเพลง
เทคนิคการนำเกมส์ • 1. แบ่งผู้เล่นออกเป็นกลุ่ม หรือนั่งเป็นวง แล้วแต่ลักษณะของเกมส์ 2. บอกชื่อเกมส์ (ถ้ารู้จัก) 3. อธิบายวิธีการเล่น ระบุกฏ-กติการให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถควบคุมเกมส์ได้ 4. ทดลองเล่นให้ดูสักกลุ่ม5. เล่นจริง โดยค่อยๆใส่เงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้เกิดผลตามกระบวนการและการพัฒนาการตามที่ต้องการ 6. เลิกเมื่อถึง Climax
เลือกเกมส์เพลงจาก... • 1. สังเกตุพฤติกรรมผู้เข้าอบรมทั้งกลุ่มว่ามีพฤติกรรมหรือ ความสัมพันธ์ใด และเราต้องการให้ เกิดกลุ่มแบบใดขึ้นเช่นผู้เข้าอบรมรู้จักกันมาก่อน อาจใช้การ ice ให้น้อยลง โดยข้ามไป Humanicationถ้าไม่ใช่ก็เริ่มด้วย ice อ่อนๆก่อน 2. การจัดกลุ่ม-แถว หรือวงของเพลง-เกมส์ ถ้ามีการจัดแถวอยู่บ่อยๆ อาจทำให้ผู้เข้าอบรมเหนื่อยและเบื่อ ฉะนั้นควรจัดเพลงและเกมส์ให้ต่อเนื่องตามรูปแบบด้วย 3. จำนวนคนเล่นก็มีผลต่อการมีส่วนร่วมด้วย ควรเลือกกิจกรรมให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากที่สุด
Curve อารมณ์ • ควรหยุดเกมส์-เพลง นั้นๆในขณะที่อยู่ในช่วง climax หรือใกล้เคียง เพื่อสร้าง"ความอยาก"ในการเล่นเกมส์-เพลงนั้นๆ และเพื่อให้ผู้นำคนต่อไปสานต่อเกมส์-เพลง เพื่อเข้าสู่ climax อีกได้ไม่ยากนัก เกมส์ที่เข้าสู่ climax แล้วหากยังดันทุรังเล่นต่อจน curve ร่วงจะทำให้เกิดอาการเบื่อล้า จนยากจะดึงขึ้นมาอีก
ทักษะการนำ • 1. ทำการบ้าน เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ให้พร้อม เตรียมตัวให้พร้อม 2. ลองเล่นซ้ำแล้ว ซ้ำอีก เพื่อเพิ่มชั่วโมงบินและความมั่นใจ อย่าประมาท แจ๋วๆก็เจ๊งมาเยอะแล้ว
การทำงานเป็นทีม • วิธีการนำที่ดีที่สุด ควรมีคนประมาณ 4-5 คน ทุกคนต้องทำงานได้เหมือนๆกัน นำเกมส์ได้ เป็น cheer up ได้ ซึ่งในทีมจะแบ่งเป็น Leader (ผู้นำ) - อธิบายเกมส์ นำเพลงตามขั้นตอน Cheer up* - ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้นำเกมส์ ช่วยสาธิตเกมส์ เต้นประกอบเพลง เข้าร่วมเล่นกับผู้เข้าอบรม ปรบมือ ฉกฉวยสถานการณ์ นำมาสร้างความสนุก * Cheer up อย่าลืมทำหน้าที่ อย่าแย่งบทบาทผู้นำ อย่าทำให้ผู้เข้าอบรม สับสนว่าใครเป็นคนนำ แต่ถ้าผู้นำเกิดอาการแย่มากจริงๆ สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้
การส่งต่อ เกมส์-เพลง • คนที่มีหน้าที่ต่อควรจะไม่ทำให้เกิดการหยุดชะงัก ทำได้โดยใช้สัญญาณที่เป็นที่รู้กันว่าพร้อมจะหยุดแล้วให้เพื่อนเข้ามาต่อเถิดหรือให้ผู้นำคนต่อไปเข้ามาเป็น cheer up คอยช่วยเหลืออยู่ใกล้ๆ
การปฏิบัติตัวของผู้นำสันทนาการที่ดี การปฏิบัติตัวของผู้นำสันทนาการที่ดี • ยิ้มไว้ก่อน ยิ้มทน ยิ้มนาน (สร้างมนุษย์สัมพันธ์) เป็นกันเองกับผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนอย่างเสมอภาค วางตัวให้เหมาะสม อย่าทำตัวสนิทสนมกับผู้เข้าร่วมอบรมคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ(อย่าหลี) อดทน เสียสละ เชื่อมั่นในตัวเอง(พอประมาณ)
ผู้นำสันทนาการที่ดีต้อง... "PEPSICOLA & Evaluation" 1. Planner - เป็นผู้วางแผนที่ดี 2. Educator - เป็นผู้ให้ความรู้เป็นผู้สอนที่ดี 3. Participant - เน้นให้เกิดการมีส่วนร่วม 4. Stimulator - กระตุ้นให้คิด 5. Initiator - หนุนให้เกิดสื่งใหม่ สร้างสรรค์แหวกแนว 6. Coordinator - กระตุ้นให้เกิดการประสานงานในกลุ่ม 7. Organizer - เน้นให้เกิดการทำงานเป็นทีม 8. Link - เชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่ม ระหว่างคน 9. Analyzer - ต้องวิเคราะห์ได้ 10. Evaluator - ประเมินผลตลอดเวลา หรือเรียกว่า "PEPSICOLA & Evaluation"
ขอขอบคุณและสวัสดีครับขอขอบคุณและสวัสดีครับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศักดิ์สุริยา ไตรยราช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย 081-2622594 Email : saksuriyat@gmail.com