1 / 12

การตัดเกรด

การตัดเกรด. อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์. ระบบของเกรด. การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม.

tracy
Download Presentation

การตัดเกรด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตัดเกรด อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์

  2. ระบบของเกรด

  3. การตัดเกรดแบบอิงกลุ่มการตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม • คือ การให้เกรดโดยพิจารณาจากความสามารถของกลุ่ม หรือพิจารณาจากค่ากลางของกลุ่ม ถ้าข้อสอบง่ายหรือกลุ่มมีความสามารถสูงแล้ว ค่ากลางก็สูง ช่วงคะแนนของแต่ละเกรดก็สูงตามไปด้วย เช่น ถ้าค่ากลางของกลุ่มคือ 60% เกรด A อาจตัดที่ 83% ขึ้นไป แต่ถ้าข้อสอบยาก หรือกลุ่มมีความสามารถต่ำแล้ว ค่ากลางก็ต่ำ ช่วงคะแนนของแต่ละเกรดก็ต่ำตามไปด้วย เช่น ถ้าค่ากลางของกลุ่มคือ 50% เกรด A อาจตัดที่ 75% หรือต่ำกว่านี้ก็ได้ ดังนั้นการตัดเกรดแบบอิงกลุ่มจึงยืดหยุ่นตามระดับความสามารถของกลุ่ม

  4. การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ • คือ การให้เกรดโดยพิจารณาเทียบจากเกณฑ์ (criteria) เป็นหลัก ผู้สอบทำคะแนนถึงเกณฑ์ใดก็จะได้เกรดตามเกณฑ์นั้น เช่น กำหนดเกณฑ์ว่าเกรด A จะต้องได้คะแนน 85% ขึ้นไป ดังนั้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนน 85% หรือสูงกว่านั้นจึงจะได้เกรด A ถ้าได้คะแนน 84% ลงมาก็จะได้เกรดต่ำกว่า A เป็นต้น ไม่ว่าข้อสอบจะยากหรือง่ายเพียงใดก็ตาม การให้เกรดจะเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้นี้เสมอ การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์จะไม่มีการยืดหยุ่นตามระดับความสามารถของกลุ่มแต่อย่างใด โดยปกติผู้สอนจะกำหนดวิธีการตัดเกรดมาล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนการเรียนการสอนว่าวิชาที่สอนจะเลือกตัดเกรดแบบอิงกลุ่มหรืออิงเกณฑ์ และผู้สอนควรได้แจ้งให้ผู้เรียนทราบในชั่วโมงแรกที่สอน

  5. ตัวอย่างการตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม • การตัดเกรดแบบอิงกลุ่มในโปรแกรมนี้ใช้วิธีการของ Dewey B. Stuit (1954) • เริ่มต้นด้วยการเลือกระดับความสามารถของกลุ่มก่อน เพื่อกำหนดคะแนนเริ่มต้นของเกรด A โดยใช ้มัธยฐาน (median) เป็นค่ากลางของกลุ่ม ซึ่งขั้นต่ำของเกรด A คือ median + z(sd) เมื่อ z คือ คะแนนมาตรฐาน, sd คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน • ในกรณีที่ใช้ระบบ 5 เกรด ๆ ในระดับต่อไปก็ห่างจากเกรด A หนึ่งเท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนั้นเกรดขั้นต่ำของ B คือ A – sd เกรดขั้นต่ำของ C คือ B – sd และเกรดขั้นต่ำของ D คือ C – sd • ในกรณีที่ใช้ระบบ 8 เกรด ๆ ในระดับต่อไปก็ห่างจากเกรด A ครึ่งเท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและห่างเช่นนี้เรื่อยไปจนถึงเกรด F

  6. คะแนนมาตรฐาน (Z) • คะแนนมาตรฐาน (standardized score: Z) คือ คะแนนที่คำนวณจากสูตร (X - m) / s เมื่อ X คือ คะแนนใด ๆ และ m, s คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร ตามลำดับ โดย Z มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1 ใช้ Z เป็นขีดจำกัดล่างของเกรด A โดย Z จะมีค่าสอดคล้องกับระดับความสามารถของกลุ่ม

  7. ตาราง ค่าที่เกี่ยวข้องกับระดับความสามารถของกลุ่ม

  8. การตัดเกรดแบบอิงกลุ่มชนิด 5 เกรดที่มี median = 60, sd = 15, z = 1.5

  9. ตัวอย่างการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ เกณฑ์คงตัว: ขั้นต่ำของเกรด A เป็น 90 หรือ 80 และมีช่วงชั้น (หรือช่วงคะแนน) เท่ากับ 10

  10. ตัวอย่างการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์เกณฑ์ยืดหยุ่นตัวอย่างการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์เกณฑ์ยืดหยุ่น • หมายถึง ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาล่วงหน้าว่าขั้นต่ำของเกรด A ควรเป็นเท่าใด แต่จะพิจารณาจากความสามารถของกลุ่ม หรือพิจารณาจากความยากง่ายของข้อสอบ โดยถ้าข้อสอบมีลักษณะง่ายแล้ว เกณฑ์ขั้นต่ำของเกรด A ก็สูง และถ้าข้อสอบมีลักษณะยากแล้ว เกณฑ์ขั้นต่ำของเกรด A ก็ต่ำ การตัดเกรดโดยวิธีนี้มักพิจารณาเกณฑ์ขั้นต่ำของเกรด D ประกอบ สิ่งที่ช่วยในการพิจารณาว่าเกรด A หรือ D ควรเป็นเท่าใดนั้นคือ ความถี่ หรือการเกาะกลุ่มของคะแนน และประสบการณ์ในการตัดเกรดของผู้ประเมิน การตัดเกรดโดยใช้เกณฑ์ยืดหยุ่นนี้ช่วงชั้นของคะแนนแต่ละชั้นอาจไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าพิสัยระหว่างเกรด A และ D เป็นเท่าใด

More Related