1.22k likes | 1.58k Views
การจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ตามยุทธศาสตร์. โดย นายประยุทธ์ สวัสดิ์เรียวกุล เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ๗ ว สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการงบประมาณ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี. ง บประมาณแผ่นดิน.
E N D
การจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์การจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ โดย นายประยุทธ์ สวัสดิ์เรียวกุล เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ๗ ว สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการงบประมาณ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี
งบประมาณแผ่นดิน แผนการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อใช้จ่ายดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยแสดงแหล่งที่มาของรายรับที่จะนำมาใช้จ่ายตามแผน ที่กำหนดไว้ด้วย งบประมาณรายจ่าย จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ ตามวัตถุประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
กระบวนการงบประมาณ 1. การจัดทำงบประมาณ 2. การอนุมัติงบประมาณ 4. การติดตามประเมินผล 3. การบริหารงบประมาณ
การจัดเตรียม / การจัดทำงบประมาณ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย
การอนุมัติงบประมาณ • วาระที่ 1 (ขั้นรับหลักการ) • วาระที่ 2 (ขั้นกรรมาธิการพิจารณา) • วาระที่ 3 (ขั้นรับร่างพระราชบัญญัติ) รวมเวลาที่สภาผู้แทนราษฎร ภายใน ๑๐๕ วัน และวุฒิสมาชิกใช้เวลาอีก ๒๐ วัน
การบริหารงบประมาณ • โดยสำนักงบประมาณ • โดยกรมบัญชีกลาง • โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติ
การติดตามประเมินผล • โดยส่วนราชการ • โดยสำนักประเมินผล • โดยสำนักตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติ
ข้อจำกัดของระบบงบประมาณที่ใช้อยู่ปัจจุบัน1.กระบวนการงบประมาณที่ใช้ในปัจจุบันที่มุ่งเน้นการควบคุม Input2.การวางแผนงบประมาณไม่สมบูรณ์ เนื่องจาก - ขาดความเชื่อมโยงในการวางแผน - ขาดกรอบวงเงินที่แสดงถึงค่าใช้จ่ายในอนาคต - ขาดความครบถ้วนและครอบคลุมของงบประมาณที่แสดงถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งสิ้นของรัฐบาล3.การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงานไม่เอื้อต่อการตรวจสอบ และการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน เนื่องจาก - ขาดความเป็นมาตรฐานสากล - ขาดการแสดงข้อมูลเพื่อการจัดสรรภายในเวลาอันควร
ข้อจำกัดของระบบงบประมาณที่ใช้อยู่ปัจจุบัน (ต่อ)4.การจำแนกรายละเอียดรายการงบประมาณ ทำให้หน่วยงานขาดความคล่องตัว5.เป็นระบบที่มีการรวมอำนาจไว้ค่อนข้างมาก จึงไม่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ปัญหาสำคัญของกระบวนการงบประมาณในปัจจุบันปัญหาสำคัญของกระบวนการงบประมาณในปัจจุบัน • ขาดความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติกับ • เป้าหมายการให้บริการสาธารณะ • ขาดความเชื่อมโยงแผนปฏิบัติงานกับ • การให้บริการ และการ จัดสรรงบประมาณ • เน้นรายการใช้จ่ายมากกว่า • มุ่งความสำเร็จของงานที่มีประสิทธิภาพ • ไม่มีการวางแผนการเงินล่วงหน้า • ขาดความครอบคลุมครบถ้วนทุกแหล่งเงิน • ขาดความคล่องตัวในการบริหารจัดการด้านงบประมาณ • ไม่คำนึงถึงประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินทรัพย์
นโยบายรัฐบาล : การปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ (26 ก.พ. 44) ด้านการบริหารราชการ เร่งรัดการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ ให้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรที่ มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศและส่งเสริมให้กระทรวง ทบวง กรม มีบทบาท ในการตัดสินใจมากขึ้น พร้อมทั้งจัดให้มีระบบควบคุม ตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ และ โปร่งใส
คำบรรยายพิเศษของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง มิติใหม่งบประมาณไทยก้าวไกลสู่ e-Budgeting เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๖ การบริหารยุคใหม่นั้น ส่วนที่สำคัญ ๆ คือ อะไรที่เราเรียกว่า รูปแบบการบริหารจัดการในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งมีเนื้อหาที่สำคัญ ๒ ส่วน คือ หนึ่งต้องเป็นการบริหารที่สามารถปรับตัวเองได้ตลอดเวลาเป็นAdaptiveอันที่สอง คือ การ Decentralize อย่าไปเข้าใจว่าการกระจายอำนาจคือการหลุดลอย แต่เป็นการมอบการตัดสินใจลงไปในระดับล่างและมีระบบที่สามารถประเมินผลตรวจสอบได้
คำบรรยายพิเศษของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง มิติใหม่งบประมาณไทยก้าวไกลสู่ e-Budgeting เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๖ การบริหารต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งทำคนเดียว ไม่ใช่เป็นระบบ Division of labour อีกต่อไป เป็นการบูรณาการปัญหาเป็นลักษณะของ Activity-based เป็นลักษณะของ Agenda-based มากกว่าเป็นเรื่องของใครของมัน ระบบการทำงานเป็นเครือข่าย เป็นโครงข่าย เป็น Networking หมด ไม่มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งนายคนเดียว
คำบรรยายพิเศษของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง มิติใหม่งบประมาณไทยก้าวไกลสู่ e-Budgeting เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๖ ในวันนี้เราได้จัดสรรงบประมาณในลักษณะที่เป็นธรรมจากส่วนกลางโดยเอา ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลเข้ามา Top-up แต่ว่าต่อไปข้างหน้าเราอยากเห็นการ ทำงบประมาณหลังจากที่ผู้ว่า CEO เข้มแข็ง ทูต CEO เข้มแข็ง เราอยากเห็นงบประมาณสองส่วน ส่วนหนึ่งจากส่วนปฏิบัติการ คือ ส่วนของต่างประเทศและส่วนของในประเทศซึ่งเป็นส่วนปฏิบัติการทำขึ้นมาและอีกส่วนหนึ่ง คือ ส่วนสนับสนุนจากส่วนกลาง ถ้าเอาสองส่วนนี้มารวมกัน แล้วมุ่งไปยังทิศทางที่เราต้องการ จะมาวางยุทธศาสตร์ชาติตรงนั้น ผมก็คิดว่าเป็นสิ่งที่เราอยากจะเห็นที่สุดแต่ว่าต้องใช้เวลา
คำบรรยายพิเศษของ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เรื่อง มิติใหม่งบประมาณไทยก้าวไกลสู่ e-Budgeting เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๖ การปรับปรุงระบบงบประมาณ เรากำลังนำไปสู่ข้อที่หนึ่ง งบประมาณที่ตั้งอยู่บนฐาน ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ในที่นี้ ๓ ประการ ตามที่ท่านนายกฯ กล่าวไว้ คือ ๑.แน่นอนจากศูนย์กลาง คงยังมีอยู่โดยกระทรวงทบวง กรม ๒.Link โดย Agenda ที่เป็นเรื่องเฉพาะซึ่งท่านนายกฯมอบหมายมา เช่นการปราบปรามยาเสพติด มันไม่ได้อยู่ที่กระทรวงเฉพาะกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง แต่มันเกี่ยวพันกันหมด ลักษณะเช่นนี้ ถ้าใช้ระบบงบประมาณแบบดั้งเดิม ไม่มีทาง work ได้เลย เพราะต่างคนต่างทำ ต่อจากนี้ไปเกิดสิ่งที่ ๓ ขึ้นมา ก็คือ โดยพื้นที่(by Area) ฉะนั้น แต่ละจังหวัดจะเริ่มมีภารกิจของตัวเอง ในการกำหนดยุทธศาสตร์
ความสัมพันธ์ของธรรมาภิบาลกับการจัดทำงบประมาณความสัมพันธ์ของธรรมาภิบาลกับการจัดทำงบประมาณ 1.การคาดการณ์ได้ 2.การมีส่วนร่วม 3.ความรับผิดชอบ 4.ความโปร่งใส
หลักการเชิงนโยบาย • ใช้นโยบายเป็นตัวนำ (Policy Driven) • มีการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ • การรักษาวินัยทางการคลัง • เน้นการบริการประชาชน • มีการคาดการณ์ล่วงหน้า • คำนึงถึงการวัดผลสำเร็จในการดำเนินงาน
หลักการเชิงบริหาร • การมอบอำนาจการตัดสินใจ • ใช้หลักการธรรมาภิบาล (ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ) • ให้มีความคล่องตัวในการบริหาร • ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • มีการติดตามผลและมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์
ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เป็นการเปลี่ยนแนวทางจากการจัดทำงบประมาณที่เน้นการควบคุมทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน มาเป็นการมุ่งเน้นการดำเนินงานและผลสำเร็จของผลผลิต ผลลัพธ์ โดยมีการวัดผลสำเร็จ (Performance Measures) ของผลงานดังกล่าว ด้วยหน่วยนับการวัดและประเมินผลหรือตัวชี้วัด ที่ชัดเจน สมบูรณ์ ใช้ได้จริงและเหมาะสมกับเวลา รวมทั้งต้องครอบคลุมทั้ง ปริมาณ คุณภาพ เวลา และค่าใช้จ่าย อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เป้าหมาย GOAL บริหารจัดการทรัพยากรโดยมุ่งเน้นผลสำเร็จของงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม วัตถุประสงค์ Objectives เพื่อให้ได้มาซึ่งระบบงบประมาณที่สามารถวัดผลสำเร็จของงาน สามารถเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรที่ผ่านกระบวนการที่มี ประสิทธิภาพสะท้อนให้เห็นความสำเร็จของการบริหารจัดการทรัพยากรต่อภารกิจของรัฐภายใต้ระบบบริหารจัดการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้
งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ให้ความสำคัญในเรื่องงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ให้ความสำคัญในเรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการให้บริการ ผลผลิตผลลัพธ์ และตัวชี้วัด ความรับผิดชอบ ความโปร่งใส และการรายงาน การมอบอำนาจการจัดทำและบริหารงบประมาณ การเพิ่มขอบเขตความครอบคลุมของงบประมาณ การจัดทำแผนงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง
หลักการสำคัญของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานหลักการสำคัญของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ผู้บริหารได้มีอิสระมากขึ้นในการบริหารการเงิน ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อความสำเร็จของงานหรือ ประชาชนได้รับประโยชน์จากความคุ้มค่าในการใช้จ่าย ของหน่วยงานของรัฐ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีมาตรฐานการจัดการทางด้านการเงิน
กระบวนการงบประมาณ 1. การวางแผนงบประมาณ 2. การจัดทำงบประมาณ 5. การติดตามประเมินผล 4. การบริหารงบประมาณ 3. การอนุมัติงบประมาณ
การวางแผนงบประมาณ • กำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ • การประมาณการภาวะเศรษฐกิจ • ประมาณการรายได้ รายจ่าย • กำหนดวงเงินงบประมาณ • กำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์การจัดสรร
การประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (MTEF) • เป็นการจัดทำกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า 1+3 ปี ซึ่งจะแสดงภาพรวมของภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประกอบด้วย เป้าหมายประมาณการเศรษฐกิจมหภาค ฐานะการคลังล่วงหน้า การประมาณการรายรับ รายจ่าย และภาระหนี้ที่จะเกิดขึ้น • มีประโยชน์เพื่อการรักษาวินัยการคลัง ควบคุมการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายและเป็นกรอบในการตัดสินใจ กำหนดทางเลือกจัดสรรงบประมาณ
คำนิยามและลักษณะสำคัญ MTEF หมายถึง การจัดทำกรอบงบประมาณ รายจ่ายล่วงหน้าระยะ 3 - 5 ปี MTEF แสดงภาพรวมของภาระงบประมาณที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต มีลักษณะเป็น Rolling Plan รัฐสภาอนุมัติงบประมาณปีเดียว
แผนภาพแสดงแผนงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางแผนภาพแสดงแผนงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง งบประมาณ ปีถัดไปปีที่ 1 ปีถัดไปปีที่ 2 ปีถัดไปปีที่ 3 = งบประมาณ + 3 ปีถัดไป ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 งบประมาณ ปีถัดไปปีที่ 1 ปีถัดไปปีที่ 2 ปีถัดไปปีที่ 3 งบประมาณ ปีถัดไปปีที่ 1 ปีถัดไปปีที่ 2 ปีถัดไปปีที่ 3
การจัดทำงบประมาณ สงป.แจ้งแนวทางการจัดทำคำของบประมาณ รัฐมนตรีรับผิดชอบการจัดสรรภายในกระทรวง
การอนุมัติงบประมาณ อำนาจนิติบัญญัติ - สภาผู้แทนพิจารณาภายใน 105 วัน วาระ 1 รับหลักการ วาระ 2 กรรมาธิการพิจารณา วาระ3 รับร่างพรบ. - วุฒิสภา 20 วัน
การบริหารงบประมาณ การใช้จ่ายงบประมาณ การโอนเปลี่ยนแปลง การใช้งบประมาณเหลือจ่าย
การควบคุม • แผนการปฏิบัติงาน • แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ติดตามประเมินผลอะไร ผลสำเร็จระดับผลผลิตใน เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เชิงเวลา เชิงต้นทุน ติดตามประเมินผลอย่างไร ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบรายงาน สงป.46-1,2 ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจาก ระบบ EvMIS รายงานผลการดำเนินงานประจำปีของหน่วยงาน ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาดูงานในภาคสนาม การติดตามและประเมินผล
ประเมินผลอะไร ผลสำเร็จระดับผลลัพธ์ หน่วยงาน กระทรวง ระดับชาติ ประเมินผลอย่างไร รวบรวมข้อมูล และศึกษาวิเคราะห์การบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย/ ตัวชี้วัดการให้บริการของกระทรวงและกรม ที่กำหนดไว้ ระบบการติดตามและประเมินผล
การควบคุม 5 Elements of Control Outcomes Outputs Process Inputs Costs Effectiveness Value for Money Efficiency Economy
มาตรฐานการจัดการด้านการเงิน 7 ประการ 1. การวางแผนงบประมาณ 2. การคำนวณต้นทุนผลผลิต 3. การบริหารจัดหา 4. การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ 5. รายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน 6. การบริหารสินทรัพย์ 7. การตรวจสอบภายใน
1. การวางแผนงบประมาณโดยส่วนราชการ(Budget Planning by the Department) 1.1 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) • การพิจารณาทบทวน บทบาทและภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบ • กำหนดพันธกิจที่กระชับ/ชัดเจน และกำหนดกลุ่มผู้รับบริการ • การวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งสิ่งแวดล้อมภายนอกและภายใน (SWOT) • กำหนดจุดมุ่งหมาย (Goals) • กำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) และเป้าหมาย (Targets)
1.1 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) (ต่อ) • กำหนดผลผลิต (Outputs) ผลลัพธ์ (Outcomes) และการวัดผลการดำเนินงาน (Performance Measures) • กำหนดโครงสร้างแผนงาน งาน/โครงการ • กำหนดกลยุทธ์ (Strategy) เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ • ประมาณการทรัพยากรที่จำเป็น ประกอบกับการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน
กลยุทธ์ กลยุทธ์ กลยุทธ์ กลยุทธ์ 1. การวางแผนกลยุทธ์ แผนภาพแสดงกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก โอกาส ภัยคุกคาม • แผนปฏิบัติการ • กิจกรรม • เวลา • ผู้ปฏิบัติ • งบประมาณ • ตัวชี้วัด วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ภารกิจ จุดแข็ง จุดอ่อน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร 2. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ • การจัดทำแผนปฏิบัติการ • การพัฒนาองค์การ • การปรับการดำเนินงาน 3. การควบคุมและประเมินผล การติดตาม ควบคุม ประเมินผล
2. การคำนวณต้นทุนผลผลิต (Outputs Costing) การกำหนดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างมีคุณภาพ ตามที่กำหนด อันจะสอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณที่เป็นผลผลิต และต้นทุนของผลผลิต การคำนวณต้นทุนจะต้องพิจารณากระบวนการและหลักเกณฑ์การ ปันส่วนต้นทุน โดยคำนึงถึงต้นทุนทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจำเป็นต้อง มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนระบบบัญชีที่ส่วนราชการใช้อยู่ในปัจจุบัน จากระบบัญชีเงินสด (Cash Basis) เป็นระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis)
3. การจัดระบบการจัดซื้อ จัดจ้าง (Procurement Management) โดยการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ให้มีประสิทธิภาพ รัดกุม โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีความถูกต้อง ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
4. การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ (Financial Management/Fund Control) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารทางการเงินและงบประมาณให้มีมาตรฐานเดียวกัน ผ่านระบบการเงินและบัญชีที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับการควบคุมงบประมาณตามระบบ งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (ผลผลิตและผลลัพธ์)
5. การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน(Financial and Performance Reporting) เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานจากการใช้งบประมาณที่มุ่งเน้นความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความโปร่งใส
6. การบริหารสินทรัพย์ (Asset Management) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ โดยการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายโดยรวม การทราบสถานะของสินทรัพย์ที่มีอยู่ และการลดความต้องการของสินทรัพย์ใหม่ที่ไม่จำเป็นผ่านระบบการวางแผนที่เป็นระบบ
7. การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) เป็นการควบคุมการใช้งบประมาณ และปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยหน่วยตรวจสอบภายในของส่วนราชการ
หน่วยงาน รัฐมนตรี/กระทรวง คณะรัฐมนตรี รัฐสภา บทบาทใหม่ในการจัดทำงบประมาณ กำหนดแผนการให้บริการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการให้บริการสาธารณะ) ใช้เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาเป็นมาตรวัดความสำเร็จระดับนโยบาย กำหนดเป้าหมายการให้บริการ(สาธารณะ)ที่สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ กำหนดกรอบนโยบายและเป้าหมายทางการคลังล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 ปี
บทบาทใหม่ในการจัดทำงบประมาณ (ต่อ) หน่วยงาน รัฐมนตรี/กระทรวง คณะรัฐมนตรี รัฐสภา ใช้เป้าหมายการให้บริการ(สาธารณะ)เป็นกรอบในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในระดับปฏิบัติ กำหนดทิศทางและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณและรับผิดชอบต่อผลสำเร็จ รับผิดชอบการใช้จ่ายให้เป็นไปตามกรอบเป้าหมายการให้บริการ(สาธารณะ) กำหนดเป้าหมายผลผลิตตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับแผนการให้บริการ จัดทำคำขอและรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณตามเป้าหมาย ผลผลิต ปรับเปลี่ยนงบประมาณภายใต้กรอบเป้าหมายการให้บริการ(สาธารณะ) กำหนดนโยบายและวงเงินงบประมาณประจำปี
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ รัฐบาล/ค.ร.ม. รัฐสภา หน่วยงาน ประชาชน สามารถอนุมัติงบประมาณให้สอดคล้องตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาได้อย่างมีความชัดเจนยิ่งขึ้น บริหารนโยบายได้ตามเป้าหมายที่แถลงต่อรัฐสภาและที่สัญญากับประชาชน สามารถ บริหาร งานได้อย่าง คล่องตัว มีประสิทธิภาพ และบรรลุ ผลสำเร็จ ตามเป้าหมาย ได้รับบริการ และแก้ไขปัญหาที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ สามารถตรวจสอบ รัฐบาลได้ตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานได้ ใช้ทรัพยากรของ ประเทศอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด สามารถตรวจสอบ หน่วยปฏิบัติได้ตามเป้าหมายการให้บริการ
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ แนวทางการจัดสรรงบประมาณ เป้าหมายการให้บริการกระทรวง ยุทธศาสตร์กระทรวง กลยุทธ์หน่วยงานรับผิดชอบ การนำยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ ผลผลิต-โครงการ/งบประมาณ
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ • ความหมาย • ผลลัพธ์ที่รัฐบาลต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ ประชาชน ซึ่งจะเกิดได้จากผลสัมฤทธิ์ของการให้บริการของกระทรวง และผลผลิตของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจอย่างสอดคล้อง และเชื่อมโยงกัน • คุณลักษณะสำคัญของเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ • คำนึงถึงนโยบายรัฐบาล นโยบายใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างวาระของรัฐบาล • สอดคล้องกับนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ได้ • เป็นพันธะสัญญาของรัฐบาลที่ให้กับประชาชน • มีระยะเวลาดำเนินการไม่น้อยกว่า 4 ปีเท่ากับวาระของรัฐบาล • สามารถแสดงรายละเอียดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน เช่นปริมาณ และ/หรือ คุณภาพ และ/หรือ ระยะเวลาในการบรรลุผลสำเร็จ