390 likes | 549 Views
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ..กับ..ภาคเกษตร …. : ความท้าทาย & โอกาส. รัชนี สนกนก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 24 มกราคม 2554. เค้าโครงบรรยาย. ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ โลกร้อน คืออะไร 2 . การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกี่ยวข้องกับภาคเกษตรอย่างไร 2.1 มีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
E N D
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ..กับ..ภาคเกษตร…. : ความท้าทาย & โอกาส รัชนี สนกนก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 24 มกราคม 2554
เค้าโครงบรรยาย • ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ โลกร้อน คืออะไร 2.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกี่ยวข้องกับภาคเกษตรอย่างไร 2.1 มีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2.2 มีศักยภาพในการกักเก็บและดูดซับก๊าซเรือนกระจก 2.3 ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 3. ประเด็นท้าทาย 4.โลกร้อน..วิกฤติหรือโอกาสภาคเกษตร 5. แนวทางการพัฒนาภาคเกษตร 2
1. ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ โลกร้อน คืออะไร 3 ที่มา: องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก นิยามศัพท์ • สภาพอากาศ (weather) หมายถึง สภาพอากาศเกิดขึ้นในระยะสั้น ตามฤดูกาล ที่เกิดในปัจจุบันหรือในอนาคตอันใกล้ เช่น การเกิดฝนตก ฝนแล้ง การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นเรียกว่าการพยากรณ์อากาศ • ภูมิอากาศ (climate) หมายถึง หมายถึงค่าเฉลี่ยของปัจจัยภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ในระยะยาวเป็นเวลา 30 ปีการคาดการณ์ภูมิอากาศในอนาคตทำได้โดยการสร้างภาพจำลองเหตุการณ์ภูมิอากาศ • การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climatechange) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆของภูมิอากาศที่เกิดจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์
....... ก๊าซเรือนกระจก : สาเหตุสำคัญของโลกร้อน 4 4
5 • ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญมี 5 ชนิด คือ 1. ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน) การเผาขยะ เผาป่า 2. ก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ กระบวนการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การเผา เชื้อเพลิงฟอสซิล 3. ก๊าซมีเทน การย่อยสลายของขยะ ของเสียประเภทอินทรีย์ 4. ก๊าซโอโซน 5. ก๊าซคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน 5
ก๊าซเรือนกระจกจากฝีมือมนุษย์ก๊าซเรือนกระจกจากฝีมือมนุษย์ 6
ประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตรประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของประเทศไทยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของประเทศไทย 9
2. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเกี่ยวกับภาคเกษตรอย่างไร Climate Change ความสัมพันธ์ 3 มิติ มิติแรก: ภาคเกษตรมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมิติที่สอง: ภาคเกษตรเป็นแหล่งเก็บกักและดูดซับ ก๊าซเรือนกระจก มิติที่สาม: ภาคเกษตรได้รับผลกระทบโดยตรง Agriculture
ภาคเกษตรมีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตรมีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก • ก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตร ที่สำคัญ คือ • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ : การเผาเศษซากพืชและอินทรียวัตถุในดิน • ก๊าซมีเทน : การย่อยสลายอินทรียวัตถุ การย่อยอาหารสัตว์ การหมักมูลสัตว์ และการทำนาข้าวน้ำขัง • ก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ : การใช้ปุ๋ย การเผา เป็นต้น • สัดส่วนของก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร • : คาร์บอนไดออกไซด์= 9%: อายุ 120 ปี • : ไนตรัสออกไซด์ = 45% : GWP = 298 อายุ 120 ปี • มี เทน= 46% : GWP = 21 : อายุ 14.5 ปี
ภาคเกษตรเป็นแหล่งเก็บกักและดูดซับก๊าซเรือนกระจก IPCC: ภาคเกษตรมีศักยภาพในการลดภายในปี 2030 ได้ 5.5-6 ล้านGt.CO2/ปี • 89 % ทำได้โดยการกักเก็บคาร์บอนในดิน ด้วยการการจัดการพื้นที่เกษตรอย่างเหมาะสม การฟื้นฟูอินทรียวัตถุในดิน • ศักยภาพในการลด 70% มาจากประเทศกำลังพัฒนา และอีก 30% มาจากประเทศพัฒนาแล้ว JGSEE: ศักยภาพในการลดของไทยจากภาคเกษตรและป่าไม้ 39 ล้านตันCO2ภายในปี 2030 และ 50 ล้านตันCO2ภายในปี 2050
ภาคเกษตรได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความเสียหายจากภัยธรรมชาติของภาคเกษตร
ความเสียหายจากภัยธรรมชาติของภาคเกษตร(ต่อ)ความเสียหายจากภัยธรรมชาติของภาคเกษตร(ต่อ)
4. ประเด็นท้าทาย 4.1 ความไม่แน่นอนและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางการเกษตร
4. ประเด็นท้าทาย 4.1 ความไม่แน่นอนและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางการเกษตร
4.1 ความไม่แน่นอนและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรการเกษตร(ต่อ) ที่มา: FAO
4.1 ความไม่แน่นอนและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรการเกษตร (ต่อ)
4. ประเด็นท้าทาย (ต่อ) ปริมาณการผลิตและการบริโภคข้าวของโลก
4. ประเด็นท้าทาย (ต่อ) 4.2 ความมั่นคงทางอาหาร FAO (1996):ความมั่นคงทางอาหารเกิดขึ้นเมื่อคนสามารถเข้าถึงอาหาร ได้อย่างเพียงพอปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอสำหรับความต้องการสารอาหารและความชอบ FAO (2002): 4 องค์ประกอบสำคัญของความมั่นคงทางอาหาร : การมีปริมาณอาหารอย่างเพียงพอ ความสามารถในการเข้าถึงอาหาร (logistic and ecoomics)การใช้ประโยชน์จากอาหาร และความมีเสถียรภาพของระบบการผลิตการบริโภคอาหาร
4.2 ความมั่นคงทางอาหาร ดัชนีสะท้อนความมั่นคงทางอาหารของไทยที่สำคัญ ที่มา: FAO, the World Bank
4.2ความมั่นคงทางอาหาร (ต่อ) ความมั่นคงทางอาหาร (ความมั่นคงรายได้)
4.3 ความยืดหยุ่นในการปรับตัว • การปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกของเกษตรกร เมื่อผลตอบแทนเปลี่ยนแปลง หรือเมื่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาเบื้องต้น เมื่อผลตอบแทนเปลี่ยนแปลง • พื้นที่ปลูกพืชขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการปลูกพืชในปีก่อน และพื้นที่ปลูกในปีก่อน • พื้นที่เพาะปลูกข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด มีความยืดหยุ่นน้อย • ถ้าผลตอบแทนต่อไร่เพิ่มขึ้น 1% พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพดจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 0.24 - 0.25% • ถ้าผลตอบแทนต่อไร่ของพืชอื่นที่ปลูกทดแทนกันได้เพิ่มขึ้น พื้นที่ปลูกจะลดลงไม่มาก ระหว่าง 0.01- 0.16% • พื้นที่ปลูกข้าวตอบสนองต่อผลตอบแทนในการปลูกข้าวค่อนข้างน้อย ความยืดหยุ่นแค่ 0.05% และ ไม่ตอบสนองต่อผลตอบแทนจากพืชไร่ตัวอื่น
4.4 ตัวแปรภูมิอากาศมีผลต่อผลผลิตต่อไร่ ผลการศึกษาเบื้องต้น • ตัวแปรภูมิอากาศมีผลต่อผลผลิตต่อไร่ของแต่พืชในลักษณะและขนาดที่ต่างกัน • ข้าว: อุณหภูมิกลางคืนเพิ่มขึ้น 1 องศาทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 0.31% แต่ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิน 26 องศาจะทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง • มันสำปะหลัง: ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น 100 มม.ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 0.2% แต่หากปริมาณน้ำฝนมากกว่า 1263 มม. จะทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง (แต่ลดลงน้อยมาก) ภัยแล้งที่รุนแรงเช่นปี 2537 และ 2548 ทำให้ผลผลิตลดลงประมาณ 13%
4.4 การคาดการณ์ : ผลผลิตลด พื้นที่วิกฤติเพิ่ม • เกริก ปั้นเหน่งเพ็ชร และคณะ, 2552 • คาดการณ์ผลกระทบต่อข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด • ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น: อ้อย (6.25%) ข้าวนาน้ำฝน (8.7%) • ผลผลิตต่อไร่ลดลง : ข้าวชลประทาน (15.16%) • มันสำปะหลัง (43.9%) • จำนวนพื้นที่วิกฤติที่เร่งแก้ปัญหาเพิ่มขึ้น • ข้าว: 2 ล้านไร่จาก 45.7 ล้านไร่นาน้ำฝน • อ้อย: 1.2 ล้านไร่จาก 12.7 ล้านไร่ • มันสำปะหลัง : 4.27 ล้านไร่จาก 11.6 ล้านไร่ • ข้าวโพด: 0.37 ล้านไร่จาก 10.9 ล้านไร่ 26
4.5 ผลจากอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( United Nation Framework on Climate Change, UNFCCC) วัตถุประสงค์: เพื่อควบคุมความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากฝีมือมนุษย์ไปแทรกแซงระบบสภาพภูมิอากาศ การควบคุมระดับดังกล่าวต้องทำในช่วงเวลาที่เร็วพอที่จะทำให้ระบบนิเวศน์ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ตามธรรมชาติ และเพื่อไม่ให้การผลิตอาหารถูกคุกคาม และให้การพัฒนาเศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน
4.5 ผลจากอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ UNFCCC ยังไม่มีการกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซจากภาคเกษตร แต่มีการประเมินศักยภาพในการลดการปล่อยทางเทคนิคและเชิงเศรษฐกิจแล้ว ประเทศภาคีผลักดันให้เกิดความร่วมมือทางด้านวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีในการลดการปล่อย เป็นไปได้ว่าเมื่อได้เทคนิคที่เห็นพ้องว่าเหมาะสมแล้ว ในอนาคตก็อาจจะนำไปสู่การ(บังคับ) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น โดยการกำหนดมาตรฐานต่างๆ ผลกระทบของมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 28
ผลกระทบของมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลกระทบของมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 29
ผลกระทบของมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ต่อ) มาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร (สรุปจาก Blandford, D. and Josling, T., 2009) • กำหนด Performance Standards • ให้แรงจูงใจในการทำ Best-Practice Measures • ให้เงินสนับสนุนในการผลิตและการใช้พลังงานจากแหล่งที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก • ภาษีคาร์บอน • Cap and Trade • การสนับสนุนในการทำวิจัยที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร
4. โลกร้อน..วิกฤติหรือโอกาสภาคเกษตร 4.1 เป็นแรงจูงใจ(ภาคบังคับ) ให้ปรับระบบการผลิต /การตลาด - เกษตรปลอดภัย / GAP/ เกษตรอินทรีย์ - ลดการใช้ปุ๋ยเคมี / ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ - ปรับระบบการจัดการน้ำ / การใช้พลังงานทดแทน - การจัดการวัสดุเหลือใช้ /ไถกลบตอซัง/มูลสัคว์ - การปลูกไม้ยืนต้น/ไม้โตเร็ว/เกษตรผสมผสาน/วนเกษตร ฯลฯ 3.2 โอกาสทางการตลาด ตลาดเกษตรอินทรีย์ ตลาดสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนฟุตปรินต์ 31
เกษตรอินทรีย์: ได้ประโยชน์ทั้งการลดการปล่อยและ การปรับตัว ประเด็น • การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (IFOAM , 2009) • การเก็บกักคาร์บอนในดินของเกษตรอินทรีย์กับเกษตรแบบทั่วไป ต่างกันประมาณ 200 กก.– 2 ตัน CO2ต่อเฮกตาร์ต่อปี ขึ้นอยู่กับการจัดการดิน ชนิดดิน สภาพอากาศ • ถ้าเปลี่ยนระบบพื้นที่เกษตรทั้งหมดเป็นเกษตรอินทรีย์จะเก็บกักได้ประมาณ 2.4-15.5พันตันคาร์บอนต่อปี ทั้งจากการลดการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน ลดการเผา และลดการการไถพรวน • การปรับตัว • เกษตรอินทรีย์ป้องกันดินเสื่อม ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้ดินมีสุขภาพดี ช่วยอุ้มน้ำ ลดผลกระทบจากภาวะฝนแล้งและความผันผวนของสภาพอากาศ • ต้นทุนส่วนเพิ่มค่อนข้างต่ำ ต้นทุนการให้ข้อมูล ความรู้
เกษตรอินทรีย์: พื้นที่เกษตรอินทรีย์ปี 2551 ที่มา: FiBL & IFOAM
เกษตรอินทรีย์: พื้นที่เกษตรอินทรีย์ของไทย
ตลาดสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนฟุตปรินต์ตลาดสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนฟุตปรินต์ • ตลาดสินค้าในต่างประเทศที่มีนโยบายเรื่องการติดฉลากคาร์บอน • อังกฤษ: มีผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากคาร์บอนวางจำหน่ายมากกว่า 1,000 รายการ • ฝรั่งเศส:มีผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากคาร์บอนวางจำหน่ายมากกว่า 300 รายการ • เกาหลี: ได้มีการจัดเก็บฐานข้อมูล LCI (Life Cycle Inventory) ของประเทศ จำนวน 400 ชนิด ที่มา: บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์, นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 7-10 มีนาคม2553 • ฉลากคาร์บอนในประเทศไทย: • องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้อนุมัติบริษัทขึ้นทะเบียน (ข้อมูล ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2553) • คาร์บอนฟุตพริ้นท์ 22 บริษัท เป็นบริษัทที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตร 11 บริษัทและ • ฉลากลดคาร์บอน 15 บริษัท เป็นบริษัทที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตร 3 บริษัท
ตลาดสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นต์ตลาดสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นต์ • ตัวอย่างสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นต์ในประเทศไทย • ไก่ย่างเทอริยากิ ซีพี ขนาดบรรจุ 110 กรัม (302 กรัม) • เนื้อไก่สด ซีพี ขนาดบรรจุ 1,000 กรัม (2.90 กิโลกรัม) • เส้นหมี่กึ่งสำเร็จรูปน้ำใส มาม่า ขนาดบรรจุ 55 กรัม (375 กรัม) • น้ำสับปะรดเข้มข้น ทิปโก้ ขนาด 200 ลิตร (583 กิโลกรัม) • ข้าวหอมมะลิ 100 % หงส์ทอง ขนาดบรรจุ 5 กิโลกรัม (2.29 กิโลกรัม) • แกงเขียวหวานทูน่า ตราซีเล็ค ขนาด 185 กรัม (521 กรัม) ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
4. ความท้ายทายในการจัดการ ทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดการตระหนักและการรับรู้ถึงปัญหาและความสำคัญของปัญหา จะเตรียมการอย่างไรให้มีความพร้อมของข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์และตัดสินใจเชิงนโยบาย จะพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร / ชุมชน /องค์กรเอกชน และรัฐในการปรับตัวสร้างโอกาสให้กับภาคเกษตร อย่างไร
แนวทางการพัฒนาภาคเกษตร การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย การเงิน เทคโนโลยี