1 / 14

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล. อ.ดร. ภญ. ราตรี สว่างจิตร. ขอบเขตการเรียน. ที่มา ความสำคัญ ความหมายการใช้ยาสมเหตุผล ขั้นตอนและกรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตัวอย่างการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล. ที่มาความสำคัญ. มีการใช้ยาไม่เหมาะสมมากกว่าร้อยละ 50 ของการใช้ยา

Download Presentation

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การใช้ยาอย่างสมเหตุผลการใช้ยาอย่างสมเหตุผล อ.ดร.ภญ.ราตรี สว่างจิตร

  2. ขอบเขตการเรียน • ที่มา ความสำคัญ • ความหมายการใช้ยาสมเหตุผล • ขั้นตอนและกรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล • ตัวอย่างการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล

  3. ที่มาความสำคัญ • มีการใช้ยาไม่เหมาะสมมากกว่าร้อยละ 50 ของการใช้ยา • ยาปฏิชีวนะ มีการสั่งใช้อย่างไม่สมเหตุผลในอัตราที่สูงมาก (ร้อยละ 41-91) • การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุเกิดได้กับยาทุกกลุ่ม และกับผู้สั่งใช้ยาทุกระดับ • ผลเสีย • ทำให้มีการใช้ยาที่ไม่จำเป็น เพิ่มความเสี่ยงจากการใช้ยา • ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาในวงกว้าง • สร้างความสิ้นเปลืองให้แก่ระบบประกันสุขภาพ และตัวผู้ป่วยเอง • กระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยไม่ช่วยแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย

  4. ความหมาย “การใช้ยาโดยมีข้อบ่งชี้ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพจริง สนับสนุนด้วยหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ให้ประโยชน์กับผู้ป่วยมากกว่าความเสี่ยงจากการใช้ยาอย่างชัดเจน มีราคาเหมาะสม คุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เป็นการใช้ยาตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามแนวทางการพิจารณาการใช้ยา โดยใช้ยาในขนาดที่พอเหมาะกับผู้ป่วยในแต่ละกรณี ด้วยวิธีการให้ยาและความถี่ในการให้ยาที่ถูกต้องตามหลักเภสัชวิทยาคลินิก ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยให้การยอมรับ และสามารถใช้ยาดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง กองทุนในระบบประกันสุขภาพหรือระบบสวัสดิการสามารถให้เบิกจ่ายค่ายานั้นได้อย่างยั่งยืนไม่เลือกปฏิบัติ”

  5. กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่างกรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่าง 1. ข้อบ่งชี้ (Indication) • ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น (เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ) ตัวอย่าง • การให้ยาลดไขมันในผู้ป่วยที่ไขมันในเลือดสูงและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ • การใช้ยา ABO ในผู้ป่วยที่เป็นหวัดที่ไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย • การให้ยาคลายกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ • เวียนหัว ท้องผูก ง่วงซึม ปากแห้ง ความจำเสื่อม

  6. กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่างกรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่าง 2. ประสิทธิผล (Efficacy) • ยานั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง • ดูกลไกการออกฤทธิ์ • ยาคลายกล้ามเนื้อ ใช้ในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง ไม่ใช่ใช้ในโรคที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น RA, OA • มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนเพียงพอ • พาราเซตามอล ใช้แก้ปวดลดไข้ • กลูโคซามีน ใช้ลดภาวะข้อเสื่อม ยังมีข้อขัดแย้ง • ประโยชน์แตกต่างจากยาหลอกและมีความหมายทางคลินิก • ยาลดบวม ผลไม่ต่างจากยาหลอก • ใช้ยา bromhexineลดเสมหะได้ 4 ml (ผู้ป่วยแยกความต่างไม่ได้)

  7. กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่างกรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่าง 3. ความเสี่ยง (Risk) • คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก • ประโยชน์มากกว่าโทษ • ยาลดไขมันในผู้ป่วยไขมันสูง หรือผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ • การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ (Orphenadrine) ในผู้สูงอายุ • ไม่มีข้อห้ามในผู้ป่วย • การใช้ Atorvastatin พาราเซตามอล ในคนที่เป็นโรคตับ • การใช้แอสไพรินในเด็กต่ำกว่า 12 ปี

  8. กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่างกรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่าง 4. ค่าใช้จ่าย (Cost) • ใช้ยาอย่างพอเพียงและคุ้มค่า • การใช้ยาตามชื่อสามัญ (พาราเซตามอล กับ ไทลินอล) • การใช้ยาต้นแบบที่ผลิตจากต่างประเทศ • ยากลุ่มยับยั้ง COX-II กับ NSAIDs

  9. กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่างกรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่าง 5. องค์ประกอบอื่น ๆ ที่จำเป็น (Other considerations) • รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง รับผิดชอบและใช้ยาอย่างเป็นขั้นตอนตามมาตรฐานทางวิชาการ • ไม่ใช้ยาซ้ำซ้อน: Norgesicกับพาราเซตามอล • ไม่ใช้ยาพร่ำเพรื่อ: ยาปฏิชีวนะ • ใช้ยาตามแนวทางการรักษา • ใช้พาราเป็นยาตัวแรกในการรักษาเข่าเสื่อมอาการเล็กน้อย

  10. กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่างกรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่าง 6. ขนาดยา (Dose) • ใช้ยาถูกขนาด ไม่น้อยหรือมากเกินไป ไม่ปรับยาเอง 7. วิธีให้ยา (Method of administration) • ใช้ยาถูกวิธี • ยาก่อนอาหาร กินตอนท้องว่าง • หลีกเลี่ยงการใช้ยาฉีดโดยไม่จำเป็น • หลังพ่นยาสเตียรอยด์ควรบ้วนปาก • ยาหยอดจมูกแก้คัดจมูกไม่ควรใช้เกิน 3 วัน

  11. กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่างกรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่าง 8. ความถี่ในการให้ยา • ใช้ยาด้วยความถี่ที่เหมาะสม • Amoxicillin ใช้วันละ 2-3 ครั้ง (ไม่ควรใช้ 4 ครั้ง) • Cloxacillin ใช้วันละ 4 ครั้ง 9. ระยะเวลาในการให้ยา (Duration of treatment) • ใช้ยาในระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม ไม่นานหรือสั้นเกินไป • การใช้ยารักษาแผลในกระเพาะควรใช้ต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ • การใช้ยารักษาสิวใช้ต่อเนื่อง 6-8 สัปดาห์

  12. กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่างกรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและตัวอย่าง 10. ความสะดวก (Patient compliance) • ใช้ยาโดยคำนึงถึงความสะดวกและการยอมรับของผู้ป่วย • อธิบายหรือให้ข้อมูลให้ผู้ป่วยเข้าใจ • Tretinoinชนิดทาทำให้ระคายเคือง สิวเห่อในสัปดาห์แรก หลีกเลี่ยงแสงแดด • เลือกยาที่ใช้สะดวก เช่น กินวันละ 1-2 ครั้งมากกว่ากินวันล 3-4 ครั้ง • มีการตรวจสอบความเข้าใจและติดตามผลการใช้ยาทุกครั้ง

  13. ตัวอย่างการใช้ยาไม่เหมาะสมที่พบบ่อยตัวอย่างการใช้ยาไม่เหมาะสมที่พบบ่อย • ยาระบาย นำมาใช้เป็นยาลดความอ้วน • ไม่มีข้อบ่งใช้ ไม่มีหลักฐานทางิชาการสนับสนุน กลไกการออกฤทธิ์ไม่สนับสนุน • พาราเซตามอล • ปกติกินวันละไม่เกิน 4 กรัม กินติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน หลีกเลี่ยงการใช้ในคนที่เป็น G-6PD ผู้ที่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ • ปัญหาที่เจอ: • กินติดต่อกันทุกวัน มีการกินยาในคนที่ดื่มสุรา • กินยาเกินขนาด

  14. ตัวอย่างการใช้ยาไม่เหมาะสมที่พบบ่อยตัวอย่างการใช้ยาไม่เหมาะสมที่พบบ่อย • ไม่สบายต้องฉีดยาจึงจะหาย • การหยุดยาเอง หรือปรับยาเอง • การกินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ • ท้องเสีย เจ็บคอ • การฉีดยาให้ผิวขาว • กลูตา • วิตามินซี

More Related