1 / 16

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิด วิเคราะห์

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และ ความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ( 5E ) ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ผู้วิจัย นาง ละมัย วงคำแก้ว.

trey
Download Presentation

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิด วิเคราะห์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยนางละมัย วงคำแก้ว การวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2555

  2. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิกให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก 3. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก 4. เพื่อศึกษาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก

  3. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย • 5. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน

  4. สมมติฐานของการวิจัย 1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิกมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก มีความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ละ 70 ขึ้นไป

  5. สมมติฐานของการวิจัย • 5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน เมื่อเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิกจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ที่มีความแตกต่างกัน

  6. แบบแผนการดำเนินการทดลองแบบแผนการดำเนินการทดลอง การทดลองใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิกเป็นการทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group , Pretest–Posttest Design)(บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. 2551 : 39) ตาราง รูปแบบการทดลองแบบ กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง(One Group , Pretest–Posttest Design) • เมื่อ E แทน กลุ่มตัวอย่าง • T1แทน การทดสอบก่อนเรียน (Pretest) • X แทน การจัดการเรียนโดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก(Treatment) • T2แทน การทดสอบหลังเรียน (Posttest)

  7. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 5 เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) ผลการทดสอบปรากฏผลดังตาราง 1-2

  8. ตาราง 1ค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปรตามที่จำแนกตามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียน

  9. จากตาราง 1 พบว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เท่ากับ 36.75 และ 28.00 ตามลำดับ นักเรียนที่มีแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เท่ากับ 34.92 และ 25.38 ตามลำดับ และนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เท่ากับ 28.09 และ 22.82 ตามลำดับ

  10. ตาราง 2ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One – way ANOVA) * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  11. จากตาราง 2ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พบว่า ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ ผังกราฟิก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิเคราะห์ข้อมูลในตาราง 2สรุปได้ว่า นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์แตกต่างกัน เพื่อให้ทราบว่า มีค่าเฉลี่ยคู่ใดบ้างที่แตกต่างกันผู้วิจัยทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe/ ผลปรากฏดังตาราง 3-4

  12. ตาราง 3 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน เป็นรายคู่ โดยใช้วิธีทดสอบของ Scheffe/ * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตาราง 3 พบว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง ปานกลาง และต่ำ มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ปานกลาง และต่ำ ตามลำดับ

  13. ตาราง 4ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกันเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีทดสอบของ Scheffe/ * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตาราง 4 พบว่า นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง ปานกลาง และต่ำ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์สูง มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ปานกลาง และต่ำ

  14. ผลการวิจัย จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA)พบว่า นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกัน หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิกมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ดังนี้

  15. ผลการวิจัย 1. นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงจะมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ปานกลางและต่ำ ตามลำดับ 2. นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางการคิดวิเคราะห์หลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงจะมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ปานกลาง และต่ำ ตามลำดับ

  16. ..สวัสดีค่ะ..

More Related