1.22k likes | 1.66k Views
File : fn312_welcome_02.swf. หัวเรื่อง : หน้ายินดีต้อนรับเข้าบทเรียน. ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บทที่ 2 อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน ในหลักทรัพย์เดี่ยว. ENTER. คลิกที่ปุ่มเพื่อเข้าสู่บทเรียน. แสดงข้อความ. เสียงดนตรี. File : fn312_objective_02.swf.
E N D
File : fn312_welcome_02.swf หัวเรื่อง : หน้ายินดีต้อนรับเข้าบทเรียน ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บทที่ 2 อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน ในหลักทรัพย์เดี่ยว ENTER คลิกที่ปุ่มเพื่อเข้าสู่บทเรียน • แสดงข้อความ เสียงดนตรี
File : fn312_objective_02.swf หัวเรื่อง : หน้าวัตถุประสงค์การเรียนรู้ บทที่ 2 อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจาก การลงทุน ในหลักทรัพย์เดี่ยว วัตถุประสงค์การเรียนรู้ • เพื่อให้สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทนในตราสารต่างๆ ต่องวดระยะเวลาลงทุน • เพื่อให้เข้าใจแนวคิดการคำนวณอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งแบบเลขคณิต เรขาคณิต • และค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด • เพื่อให้เข้าใจผลของภาษีและเงินเฟ้อที่มีต่ออัตราผลตอบแทน • เพื่อให้สามารถระบุปัจจัยกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ • เพื่อให้เข้าใจแนวคิดการวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนของหลักทรัพย์รายตัว ทั้งในกรณีการวัดค่าความเสี่ยงเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์เพียงชนิดเดียว และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนเป็นกลุ่มหลักทรัพย์ • เพื่อให้สามารถคำนวณค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์รายตัว ทั้งจากข้อมูลที่คาดไว้ด้วยการกระจายของโอกาสความเป็นไปได้ต่างๆ และชุดข้อมูลในอดีต • เพื่อให้เข้าในแนวคิดการวัดค่าความเสี่ยงที่เป็นระบบ และสามารถคำนวณค่าเบต้าของหลักทรัพย์ • เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ประเภทหรือสาเหตุของความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ • ทั้งประเภทของความเสี่ยงในมุมมองของการทำธุรกรรมของกิจการผู้ออกหลักทรัพย์ • และประเภทของความเสี่ยงในมุมมองการกระจายการลงทุน คลิกที่ปุ่มเพื่อเข้าสู่บทเรียน ENTER • แสดงข้อความพร้อมเสียงบรรยาย สวัสดีนักศึกษา ยินดีต้อนรับนักศึกษาเข้าสู่บทเรียนที่สอง เรื่องอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน ในหลักทรัพย์เดี่ยววัตถุประสงค์การเรียนรู้ของบทนี้มีดังต่อไปนี้ 1 เพื่อให้สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทนในตราสารต่างๆ ต่อ งวดระยะเวลาลงทุน 2 เพื่อให้เข้าใจแนวคิดการคำนวณอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งแบบเลขคณิต เรขาคณิต และค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด 3 เพื่อให้เข้าใจผลของภาษีและเงินเฟ้อที่มีต่ออัตราผลตอบแทน 4 เพื่อให้สามารถระบุปัจจัยกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ 5 เพื่อให้เข้าใจแนวคิดการวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนของหลักทรัพย์รายตัว ทั้งในกรณีการวัดค่าความเสี่ยงเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์เพียงชนิดเดียว และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนเป็นกลุ่มหลักทรัพย์ 6 เพื่อให้สามารถคำนวณค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์รายตัว ทั้งจากข้อมูลที่คาดไว้ด้วยการกระจายของโอกาสความเป็นไปได้ต่างๆ และชุดข้อมูลในอดีต 7 เพื่อให้เข้าในแนวคิดการวัดค่าความเสี่ยงที่เป็นระบบ และสามารถคำนวณค่าเบต้าของหลักทรัพย์ 8 เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ประเภทหรือสาเหตุของความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ ทั้งประเภทของความเสี่ยงในมุมมองของการทำธุรกรรมของกิจการผู้ออกหลักทรัพย์และประเภทของความเสี่ยงในมุมมองการกระจายการลงทุน นักศึกษาสามารถ คลิกที่ปุ่มเพื่อเข้าสู่บทเรียนได้เลยค่ะ
File : fn312_02_home.swf หัวเรื่อง : หน้าสารบัญบทที่ 2 อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน สารบัญบท อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทน อัตราผลตอบแทนกับภาษี อัตราผลตอบแทนกับเงินเฟ้อ การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation สาเหตุของความเสี่ยง การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Beta Coefficient แบบฝึกหัดท้ายบท คลิกบทเรียนที่ต้องการศึกษา • Mouse over ที่ปุ่ม แสดง active bottom • เมื่อคลิก อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน แสดง File : fn312_02_01.swf • เมื่อคลิก อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด แสดงFile : fn312_02_10.swf • เมื่อคลิก ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทน แสดงFile : fn312_02_20.swf • เมื่อคลิก อัตราผลตอบแทนกับภาษี แสดง File : fn312_02_27.swf • เมื่อคลิก อัตราผลตอบแทนกับเงินเฟ้อ แสดง File : fn312_02_30.swf • เมื่อคลิก การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation แสดงFile : fn312_02_33.swf • เมื่อคลิก สาเหตุของความเสี่ยง แสดง File : fn312_02_51.swf • เมื่อคลิก การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่าBeta Coefficient แสดง File : fn312_02_54.swf • เมื่อคลิก แบบฝึกหัดท้ายบท แสดงFile : fn312_02_exercise.swf เสียง music background
File : fn312_02_01.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ผลตอบแทนจากการลงทุน กระแสเงินสดที่ผู้ลงทุนได้รับจากการถือหลักทรัพย์ 2 1 ผลตอบแทนต่องวดเวลาลงทุน 3 4 การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักทรัพย์ระหว่างงวด เมื่อพิจารณาต่อ 1 งวดระยะเวลาลงทุน ผลตอบแทนของการลงทุนรายงวด ได้แก่ กระแสเงินสดที่ผู้ลงทุนได้รับจากการถือหลักทรัพย์นั้น บวกกับการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักทรัพย์ระหว่างงวด • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ • ลำดับการนำเสนออ้างอิงจากวงกลมตัวเลข
File : fn312_02_02.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อัตราผลตอบแทนต่องวดเวลาลงทุนจึงเป็นการคำนวณอัตราผลตอบแทน 1 งวดเวลาลงทุน (Holding Period Return) งวดต่องวด ผลตอบแทน มูลค่าหลักทรัพย์ต้นงวด อัตราผลตอบแทน = มูลค่าหลักทรัพย์ต้นงวด จากผลตอบแทน สามารถนำมาคำนวณ อัตราผลตอบแทน ได้โดยการหาค่าอัตราร้อยละของ ผลตอบแทน ต่อ มูลค่า หลักทรัพย์ต้นงวด ทั้งนี้การคำนวณอัตราผลตอบแทนต่องวดดังกล่าว ไม่จำเป็นว่าผู้ลงทุนต้องมีการขายหลักทรัพย์ออกไปจริง (กรณี long) หรือไม่จำเป็นที่ผู้ลงทุนต้องซื้อหลักทรัพย์เพื่อคืนจริง (กรณี short) อัตราผลตอบแทนของการลงทุนใดๆ คำนวณจากการเทียบผลตอบแทนรวมจากการลงทุนกับเงินลงทุนต้นงวด ในรูปอัตราต่อมูลค่าต้นงวด ดังนี้ • แสดงเสียงบรรยาย+ ข้อความ • แสดงสูตร
File : fn312_02_03swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 1 2 1 6 4 3 5 แสดงกระแสเงินสดจากการลงทุนตามเส้นของเวลาใน 1 งวดเวลาลงทุน ในกรณีที่เป็นการคำนวณอัตราผลตอบแทนงวดต่องวด มักจะไม่คำนึงว่า กระแสเงินสดระหว่างงวดนั้นมีช่วงจังหวะของเวลาที่เข้ามา ณ กลางงวดหรือปลายงวด แต่จะสมมติว่าเป็นกระแสเงินสดที่เข้ามา ณ ปลายงวด • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ • ลำดับการนำเสนออ้างอิงจากวงกลมตัวเลข
File : fn312_02_04.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ตัวอย่างเช่นการลงทุนประเภทหนึ่ง มีมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 100 บาท เป็น 110 บาท ในช่วงเวลา 1 ปี และระหว่างช่วงเวลา 1 ปี นั้น ผู้ออกตราสารจ่ายกระแสดเงินสดจำนวน 4 บาทแก่ผู้ลงทุน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนดังกล่าวคำนวณดังนี้ 3 2 4 5 1 ตัวอย่างเช่นการลงทุนประเภทหนึ่ง มีมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 100 บาท เป็น 110 บาท ในช่วงเวลา 1 ปี และระหว่างช่วงเวลา 1 ปี นั้น ผู้ออกตราสารจ่ายกระแสดเงินสดจำนวน 4 บาทแก่ผู้ลงทุน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนดังกล่าวคำนวณดังนี้ อัตราผลตอบแทนร้อยละ 14 นี้ เป็นอัตราผลตอบแทนในช่วงระยะเวลาลงทุน (holding period return หรือ HPR) โดยในที่นี้สมมติช่วงเวลาลงทุน (time horizon) ระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ HPR จำแนกเป็นกระแสเงินสดรับ (ในกรณีหุ้นสามัญได้แก่ เงินปันผลรับ) จำนวนร้อยละ 4 และกำไรจากส่วนเพิ่มของราคาร้อยละ 10 จะสังเกตได้ว่ามูลค่าเงินลงทุนต้นงวดมีความสัมพันธ์เชิงผกผันกับอัตราผลตอบแทน หากกำหนดให้กระแสเงินสดรับในอนาคตไม่มีการเปลี่ยนแปลง นั่นคือ ยิ่งราคาหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนต้องจ่ายซื้อตอนต้นงวดยิ่งมีราคาสูง อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจะยิ่งต่ำลง • แสดงเสียงบรรยาย+ข้อความ • ลำดับการนำเสนออ้างอิงจากวงกลมตัวเลข • เมื่อกล่าวถึง ดังนี้ แสดง วิธี คำนวณ • เมื่อแสดงเสร็จ เริ่มเสียงบรรยายที่ 2 • แสดงเส้นลูกศร ตามลำดับตัวเลข + เสียงบรรยาย
File : fn312_02_05.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การคำนวณอัตราผลตอบแทนจากชุดข้อมูลในอดีต แม้ว่าในการวิเคราะห์การลงทุนจะเกี่ยวเนื่องกับการคาดหมายอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับในอนาคต แต่การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนที่ประจักษ์จริงที่เกิดขึ้นแล้ว ของหลักทรัพย์แต่ละชนิดหรือของหลักทรัพย์เฉลี่ยรวมทั้งตลาด จะช่วยเป็นอย่างมากต่อการเข้าใจในพฤติกรรมในอดีตของหลักทรัพย์และของตลาดหลักทรัพย์นั้น แม้ว่าในการวิเคราะห์การลงทุนจะเกี่ยวเนื่องกับการคาดหมายอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับในอนาคต พร้อมกับประเมินถึงโอกาสที่จะไม่ได้รับอัตราผลตอบแทนตามที่คาดไว้ แต่การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนที่ประจักษ์จริงที่เกิดขึ้นแล้ว (realized return) ของหลักทรัพย์แต่ละชนิดหรือของหลักทรัพย์เฉลี่ยรวมทั้งตลาด จะช่วยเป็นอย่างมากต่อการเข้าใจในพฤติกรรมในอดีตของหลักทรัพย์และของตลาดหลักทรัพย์นั้น • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ
File : fn312_02_06.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การคำนวณอัตราผลตอบแทนจากชุดข้อมูลในอดีต วิธีการคำนวณอัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญจากชุดข้อมูลในอดีต หาผลประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับในแต่ละปี (ในกรณีที่ใช้ชุดข้อมูลรายปี) 1 3 2 ในรูปของเงินปันผลรับ ส่วนต่างของราคา วิธีการคำนวณอัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญจากชุดข้อมูลในอดีต ใช้หลักการเดียวกันกับการคำนวณอัตราผลตอบแทนจากหุ้นสามัญในช่วงระยะเวลา 1 ปี ซึ่งอาจดัดแปลงเป็นการคำนวณเป็นแต่ละช่วง 1 เดือน หรือช่วงระยะเวลาอื่นๆ ตามความเหมาะสม กล่าวคือ หาผลประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับในแต่ละปี (ในกรณีที่ใช้ชุดข้อมูลรายปี) ในรูปของเงินปันผลรับ และส่วนต่างระหว่างราคาปลายปีและราคาต้นปี อันเป็นผลประโยชน์ส่วนของกำไร (หรือขาดทุน) จากการขายหุ้น แม้ว่าจะไม่มีการขายหุ้นจริงๆ ก็ตาม • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ • ลำดับการนำเสนออ้างอิงจากวงกลมตัวเลข
File : fn312_02_07.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ตัวอย่างการคำนวณอัตราผลตอบแทนรายปีจากชุดข้อมูลในอดีต 2 1 ตัวอย่างการคำนวณอัตราผลตอบแทนรายปีจากชุดข้อมูลในอดีต ตั้งแต่ปี 25X0 ถึง 25X6 ข้อมูลแสดง ราคาปิด กำไรต่อหุ้น และ เงินปันผลต่อหุ้น จากข้อมูลในตาราง สามารถนำมาคำนวณอัตราผลตอบแทน หรือ Holding Period Return (HPR) รายปีได้ ตั้งแต่ ปี 25X1 ถึง 25X6 เช่น อัตราผลตอบแทนที่เท่ากับ 2.80% ในปี 25X1 มีวิธีคำนวณดังนี้ ส่วน HPR ปีอื่น ๆ ก็คำนวณโดยใช้หลักเดียวกัน สำหรับ HPRst ปี 25X0 ไม่สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทนได้ เนื่องจากไม่มีข้อมูลราคาต้นปี 25X0 • แสดงเสียงบรรยาย+ตาราง • แสดงตารางตามลำดับตัวเลข • เมื่อกล่าวถึงขั้นตอนที่ 2.80% แสดง pop up สูตรด้านล่าง
File : fn312_02_08.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 1 3 เฉลี่ย 15.59% 2 เฉลี่ย 4.42% 4 1 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นตลาดรองเพื่อค้าตราสารทุน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกอบด้วย อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (market dividend yield) และส่วนเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น ซึ่งในที่นี้คำนวณจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET index) ค่าเฉลี่ยต่อปีของอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาประมาณ 16 % ส่วนค่าเฉลี่ยของ Market Dividend Yield ประมาณ 4 % รวมเป็นอัตราผลตอบแทนจากตลาดหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อปี ประมาณ 20 % • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ • แสดงกราฟเป็นอนิเมชั่น • แสดงทีละเส้นตามลำดับ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ฝากธนาคาร อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต) 20.01% 7.98% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 45.06% 3.84% File : fn312_02_09.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนใน ตลท.และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปี 2518-2550 1 2 3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นมาตรวัดหนึ่ง ที่ใช้วัดความเสี่ยงจากการลงทุนได้ จากกราฟดังกล่าว แสดงถึงอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยจากผลลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงปี 2518 – 2550 เท่ากับ เฉลี่ยประมาณ 20 % โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลตอบแทน สูงถึง 45 % เมื่อเทียบกับการฝากเงินกับธนาคาร มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยเท่ากับ 7.98% และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เฉลี่ย 3.84 % ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นมาตรวัดหนึ่ง ที่ใช้วัดความเสี่ยงจากการลงทุนได้ • แสดงเสียงบรรยาย+ตาราง • แสดงเสียงและการนำเสนออ้างอิงจากลำดับตัวเลข
File : fn312_02_10.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด ตราสารขายลดจากหน้าตั๋ว การประมูลซื้อตั๋วเงินคลัง 1 ตราสารขายลดจากหน้าตั๋ว เป็นตราสารที่ออกจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอนหรือราคาหน้าตั๋ว เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน 2 ตัวอย่าง คลิกภาพเพื่อขยาย ตราสารขายลดจากหน้าตั๋ว เป็นตราสารที่ออกจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอนหรือราคาหน้าตั๋ว เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ตั๋วเงินคลัง (treasury bill) เป็นหลักทรัพย์ที่รัฐบาล (โดยกระทรวงการคลัง) เป็นผู้ออกเพื่อกู้ยืมระยะสั้น โดยปกติอายุแรกออกเท่ากับ 28 วัน หรือ 91 วัน หรือ 182 วัน ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ชนิดไม่ตราดอกเบี้ย หรือเป็นหลักทรัพย์ที่ขายในราคาต่ำกว่าราคาครบกำหนดไถ่ถอน (pure discount security) ผลประโยชน์ที่ผู้ถือตั๋วเงินคลังได้รับเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ได้แก่ ส่วนลด ซึ่งเท่ากับ ส่วนต่างระหว่างมูลค่าไถ่ถอน กับราคาซื้อ ในประเทศไทยผู้ลงทุนสามารถซื้อตั๋วเงินคลังได้โดยการประมูลซื้อหรือโดยการเสนอซื้อจากธนาคารแห่งประเทศไทย • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ • คลิกที่ภาพเพื่อขยาย • แสดงภาพที่ 1 ต่อด้วยภาพที่ 2
File : fn312_02_12.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด การกำหนดอัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลดในตลาดเงิน (1) Banker’s Discount Basis (2) Bond Equivalent Yield (BEY) คลิกภาพเพื่อขยาย อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด ได้มีการกำหนดอัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลดในตลาดเงิน 2 ส่วน ดังนี้ 1. Banker’s Discount Basis และ 2 Bond Equivalent Yield (BEY) นักศึกษาสามารถคลิกที่ ปุ่มเพื่อเข้า สู่เนื้อหาได้เลยค่ะ • แสดงเสียงบรรยาย+ปุ่ม • เมื่อคลิก ที่ ปุ่ม 1 แสดง • เมื่อคลิกที่ปุ่ม 2 แสดง
File : fn312_02_13.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด Banker’s Discount Basis เป็นอัตราดอกเบี้ยในรูปอัตราลดต่อปีเทียบกับราคาหน้าตั๋วหรือราคาตรา เช่น ตั๋วเงินคลัง และตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรอง ส่วนลดตามจำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลัง ราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยตรงได้ คลิกเพื่อศึกษาเนื้อหา 1 Banker’s Discount Basis หรืออัตราลด (discount yield) เป็นอัตราดอกเบี้ยในรูปอัตราลดต่อปีเทียบกับราคาหน้าตั๋วหรือราคาตรา ใช้กำหนดราคาเสนอซื้อหรือราคาเสนอขายตราสารหนี้ประเภทตราสารขายลด เช่น ตั๋วเงินคลัง และตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรอง (banker’s acceptance) โดยจำนวนวันต่อปีตามมาตรฐานที่ถือปฏิบัติทั่วไปเท่ากับ 360 วัน • แสดงเสียงบรรยาย+ภาพ • เมื่อจบเสียงบรรยายแสดงปุ่ม • เมื่อคลิก ส่วนลดตามจำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลัง แสดง pop up ที่ 1 ใน slide ถัดไป • เมื่อคลิก ราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยตรงได้ แสดง pop up ที่ 2 ใน slide ถัดไป
File : fn312_02_13.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด 1 Banker’s Discount Basis การหาค่าส่วนลดจากอัตราลด แสดงการหาค่าส่วนลดจากอัตราลด โดยมีที่มาจากการเทียบค่าอัตราลดต่อ 360 วัน เป็นส่วนลดตามจำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลัง ตัวอย่าง การหาค่าส่วนลดจากอัตราลด แสดงการหาค่าส่วนลดจากอัตราลด โดยมีที่มาจากการเทียบค่าอัตราลดต่อ 360 วัน เป็นส่วนลดตามจำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลัง การคำนวณราคาจากอัตราลด อีกทางเลือกหนึ่งในการคำนวณราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังได้แก่ จากอัตราลดที่ระบุ สามารถนำมาคำนวณราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยตรงได้ โดยใช้สมการที่ • แสดงเสียงบรรยาย • คลิกตัวอย่าง ใน pop up ที่ 1 แสดง File : fn312_02_14.swf • คลิกตัวอย่าง ใน pop up ที่ 2 แสดง File : fn312_02_15.swf • ด้านล่างเป็นเสียงบรรยายของ pop up ที่ 2 • คลิกปิดกลับไปยังหน้าหลัก 2 การคำนวณราคาจากอัตราลด อีกทางเลือกหนึ่งในการคำนวณราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังได้แก่ จากอัตราลดที่ระบุ สามารถนำมาคำนวณราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยตรงได้ โดยใช้สมการที่ ตัวอย่าง
File : fn312_02_14.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ส่วนลดตามจำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลัง ตัวอย่างที่1 นาย ก. ประมูลตั๋วเงินคลังในตลาดแรก ตั๋วเงินคลังมีอายุ 63 วัน ราคาตรา 1,000,000 บาท และประมูลได้อัตราส่วนลด 9.0% ราคาตรา 100 บาท ระยะเวลา 360 วัน ส่วนลด 9.0 บาท 1 5 ราคาตรา 1,000,000 บาท ระยะเวลา 63 วัน ส่วนลด 2 7 4 6 9 3 12 แสดงว่า นาย ก. จ่ายเงินค่าซื้อตั๋วเงินคลัง = 1,000,000 – 15,750 บาท = 984,250 บาท 10 8 11 13 • แสดงเสียงบรรยาย+การคำนวณ • แสดงตามลำดับตัวเลข ตัวอย่าง นาย ก. ประมูลตั๋วเงินคลังในตลาดแรก ตั๋วเงินคลังมีอายุ 63 วัน ราคาตรา 1,000,000 บาท และประมูลได้อัตราส่วนลด 9.0% ราคาตรา 100 บาท ระยะเวลา 360 วัน ส่วนลด 9.0 บาท ราคาตรา 1,000,000 บาท ระยะเวลา 63 วัน ส่วนลด เท่ากับ 1 ล้าน คูณ 63 ส่วนด้วย 360 คูณด้วย 0.09 ผลลัพธ์ เท่ากับ 15,750 บาท ดังนั้น แทนค่าส่วนลดตามสูตร แสดงว่านาน ก.จ่ายเงินค่าซื้อตั๋วเงินคลัง ดังตัวเลข 1 ล้าน ลบด้วย ส่วนลด 15,750 จะเท่ากับ 984,250 บาท นั่นเอง
File : fn312_02_15.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยตรงได้ ตัวอย่าง นาย ก. ประมูลตั๋วเงินคลังในตลาดแรก ตั๋วเงินคลังมีอายุ 63 วัน ราคาตรา 1,000,000 บาท และประมูลได้อัตราส่วนลด 9.0% ตามตัวอย่างข้างต้น คำนวณราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยใช้สมการ ได้ดังนี้ 1 2 = 984,250 บาท 4 3 • แสดงเสียงบรรยาย+การคำนวณ • แสดงตามลำดับตัวเลข ตัวอย่าง นาย ก. ประมูลตั๋วเงินคลังในตลาดแรก ตั๋วเงินคลังมีอายุ 63 วัน ราคาตรา 1,000,000 บาท และประมูลได้อัตราส่วนลด 9.0% ตามตัวอย่างข้างต้น คำนวณราคาเสนอซื้อตั๋วเงินคลังโดยใช้สมการ ได้ดังนี้
File : fn312_02_16.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนจากตราสารขายลด Bond Equivalent Yield (BEY) อัตราผลตอบแทนเทียบเท่าพันธบัตร เป็นอัตราผลตอบแทนของ ตราสารขายลด เช่น ตั๋วเงินคลัง ที่คำนวณบนฐานของราคาซื้อที่หักส่วนลดแล้ว และคิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี ตั๋วเงินคลัง การหา BEY จากค่าส่วนลดและราคาซื้อ คลิกเพื่อศึกษาเนื้อหา • แสดงภาพ+เสียงบรรยาย อัตราผลตอบแทนเทียบเท่าพันธบัตร เป็นอัตราผลตอบแทนของตราสารขายลด เช่น ตั๋วเงินคลัง ที่คำนวณบนฐานของราคาซื้อที่หักส่วนลดแล้ว และคิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี ทั้งนี้ ส่วนลดของตั๋วเงินคลังที่คำนวณจากฐานของราคาตราตามจำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลัง นำมาคำนวณเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรได้
File : fn312_02_17.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การหา BEY จากค่าส่วนลดและราคาซื้อ ในขณะที่ซื้อ นาย ก.จ่ายเงินเพียง 984,250 บาท และเมื่อถือไว้ครบ 63 วัน จะได้รับเงิน 1,000,000 บาท 1 4 ถือไว้ครบ 63 วัน 6 ดังนั้น ส่วนลดจำนวน 15,750 บาท ที่ได้ตลอดระยะเวลา 63 วัน คิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปีในรูป BEY (หรือ 365 วัน) ได้ 9.271% 2 5 จ่ายเงิน จะได้รับเงิน 1,000,000 บาท นาย ก. 984,250 บาท 3 ตามตัวอย่างข้างต้น ในขณะที่ซื้อ นาย ก.จ่ายเงินเพียง 984,250 บาท และเมื่อถือไว้ครบ 63 วัน จะได้รับเงิน 1,000,000 บาท ดังนั้น ส่วนลดจำนวน 15,750 บาท ที่ได้ตลอดระยะเวลา 63 วัน คิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปีในรูป BEY (หรือ 365 วัน) ได้ 9.271% อัตราผลตอบแทนเทียบเท่าพันธบัตร หรือ BEY 9.271% สูงกว่าอัตราลด 9.0% ทั้งๆ ที่เป็นรายได้จากการถือตั๋วเงินคลังจำนวน 15,750 บาท จำนวนเดียวกัน ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากอัตราผลตอบแทน BEY คำนวณจากเงินค่าซื้อตั๋วเงินคลังเป็นฐาน แต่ส่วนลดคำนวณจากราคาที่ตราไว้ของตั๋วเงินคลังเป็นฐาน และเนื่องจากจำนวนเงินค่าซื้อตั๋วเงินคลังต่ำกว่าราคาที่ตราไว้ ดังนั้นอัตราผลตอบแทน BEY ของตั๋วเงินคลังจึงสูงกว่าอัตราส่วนลดตั๋วเงินคลังในทุกกรณี • แสดงภาพ+เสียงบรรยาย • แสดงสูตรด้านล่าง เมื่อเริ่มเสียงบรรยาย ที่ 2
File : fn312_02_18.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การหา BEY จากค่าส่วนลดและราคาซื้อ การคำนวณ BEY จากอัตราลด จากอัตราลดของตั๋วเงินคลัง สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทน BEY โดย ใช้สมการดังนี้ ( ) การคำนวณ BEY จากอัตราลด จากอัตราลดของตั๋วเงินคลัง สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทน BEY โดย ใช้สมการดังนี้ จากตัวอย่างข้างต้น อัตราลดเท่ากับ 9% จำนวนวันคงเหลือของตั๋วเงินคลังเท่ากับ 63 วัน คำนวณ BEY โดยใช้สมการที่ ดังนี้ • แสดงข้อความ+เสียงบรรยาย • แสดงสูตรด้านล่าง เมื่อเริ่มเสียงบรรยาย ที่ 2 ( )
File : fn312_02_18.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ตัวอย่าง อัตราลด หรือ Banker ’ Discount Basic ของตั๋วในคลังอายุ 63 วัน ที่เท่ากับ 9.0 % คำนวณ หา Bond Equivalent yield ( หรือ BEY) ได้ เท่ากับ 9.271 % โดยวิธี การ คำนวณ ที่แสดง ข้างต้น 0.09271 = 9.271% BEY = 15,750 984,250 365 63 = X หรือ อัตราลด หรือ Banker ’ Discount Basic ของตั๋วในคลังอายุ 63 วัน ที่เท่ากับ 9.0 % คำนวณ หา Bond Equivalent yield ( หรือ BEY) ได้ เท่ากับ 9.271 % โดยวิธี การ คำนวณ ที่แสดง ข้างต้น โดย BEY ที่ เท่ากับ 9.271 เปอร์เซ็น นี้เป็น อัตรา BEY ที่คำนวณแบบไม่ทบต้น หรือ Simple Yield หากนักศึกษาต้องการคำนวณ BEY แบบทบต้น หรือ Effective AnnualRate (EAR) ใช้วิธีดังนี้ • แสดงข้อความ+เสียงบรรยาย • แสดงสูตรด้านล่าง เมื่อเริ่มเสียงบรรยาย ที่ 2
File : fn312_02_19.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง Effective Annual Rate (EAR) สำหรับอัตราผลตอบแทนต่อปีที่คำนึงถึงการทบต้นของดอกเบี้ย หรือ Effective Annual Rate (EAR) โดยจำนวนครั้งที่ทบดอกเบี้ยกับเงินต้น เท่ากับ m คำนวณโดยใช้สมการดังนี้ 4 3 1 m = 365วัน = 5.793651 ครั้ง 63 วัน 2 สำหรับอัตราผลตอบแทนต่อปีที่คำนึงถึงการทบต้นของดอกเบี้ย หรือ Effective Annual Rate (EAR) โดยจำนวนครั้งที่ทบดอกเบี้ยกับเงินต้น เท่ากับ m จึงเท่ากับ 5.793651 ครั้งคำนวณโดยใช้สมการดังนี้ จากตัวอย่างข้างต้น APR เท่ากับ 9.271% คำนวณ EAR ได้เท่ากับ 9.6339% รายละเอียดการคำนวณเป็นดังนี้ • แสดงข้อความ+เสียงบรรยาย • แสดงสูตรที่ ลำดับที่ 1 • แสดงลูกศรชี้ พร้อมปรากฏ ส่วนขยายที่ มา ของ m • เมื่อจบเสียงบรรยายที่ 2 แสดง ลูกศรพร้อมสูตร ลำดับที่ 4
File : fn312_02_20.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทน ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่ากระแสเงินสด (money-weighted average) หรือ Internal Rate of Return คลิกเพื่อศึกษาเนื้อหา เมื่อวิเคราะห์การลงทุนหลายงวดเวลา และต้องการคำนวณค่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อ 1 งวดเวลาตลอดช่วงเวลาที่ลงทุน ทางเลือกต่างๆ ในการคำนวณค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด (money-weighted average) และค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา (time-weighted average) ซึ่งอาจคำนวณโดยวิธีหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต หรือค่าเฉลี่ยเรขาคณิต นักศึกษาสามารถเลือกคลิกที่ปุ่มเพื่อศึกษาได้ละค่ะ • แสดงปุ่ม+เสียงบรรยาย • เมื่อคลิกแสดง ดังนี้ • เมื่อคลิก ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา แสดง • เมื่อคลิก ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่ากระแสเงินสด แสดง
File : fn312_02_21.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การคำนวณค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา คำนวณโดยการหาอัตราผลตอบแทนรายงวดก่อน แล้วจึงนำอัตราผลตอบแทนนั้นมาคำนวณค่าเฉลี่ยต่องวด ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Average) ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (geometric average) คลิกเพื่อศึกษาเนื้อหา ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา (time-weighted average) คำนวณโดยการหาอัตราผลตอบแทนรายงวดก่อน แล้วจึงนำอัตราผลตอบแทนนั้นมาคำนวณค่าเฉลี่ยต่องวด ค่าเฉลี่ยที่คำนวณอาจใช้วิธีการคำนวณค่าเฉลี่เลขคณิต (arithmetic average) หรือค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (geometric average) นักศึกษาสามารถคลิกที่ปุ่มเพื่อศึกษาได้ละค่ะ • แสดงภาพและข้อความ+เสียงบรรยาย • แสดงปุ่มเมื่อกล่าวถึง ค่าเฉลี่ยที่คำนวณ • แสดงปุ่มซิงค์เสียง • เมื่อคลิกแสดง pop up +เสียงบรรยาย
File : fn312_02_21.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การคำนวณค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Average) ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอัตราผลตอบแทน คำนวณได้ดังนี้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอัตราผลตอบแทน คำนวณโดยหารผลรวมของข้อมูลอัตราผลตอบแทนด้วยจำนวนข้อมูล ถ้าให้ n คือจำนวนงวดที่คำนวณอัตราผลตอบแทน • แสดงภาพและข้อความ+เสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปิดกลับไปยังหน้าเมนูหลัก
File : fn312_02_21.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง การคำนวณค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยงวดเวลา ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (geometric average) ตัวอย่าง ส่วนการหาค่าเฉลี่ยเรขาคณิตเป็นการหาราก (root) ที่ n ของผลคูณของ “อัตราผลตอบแทน + 1” โดย n คือจำนวนข้อมูล ทั้งนี้เนื่องจากในบางกรณีอัตราผลตอบแทนของบางช่วงเวลาอาจมีค่าติดลบ อาจส่งผลให้ผลคูณติดลบ ทำให้การถอดรูทมีปัญหา หรือในบางกรณีอัตราผลตอบแทนของบางปีอาจเป็นศูนย์ ทำให้ผลคูณเป็นศูนย์ด้วย เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ก่อนที่จะหาผลคูณของอัตราผลตอบแทนจึงนำอัตราผลตอบแทนในแต่ละงวด บวกกับ 1.0 ก่อน เรียกผลลัพธ์นี้ว่า return relative เมื่อได้รูทที่ n ของผลคูณแล้ว จึงเอา 1.0 มาลบออก ผลที่ได้คือ ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของอัตราผลตอบแทน นักศึกษาสามารถคลิกที่ปุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาได้ละค่ะ • แสดงภาพและข้อความ+เสียงบรรยาย • คลิกที่ปุ่มตัวอย่าง แสดง ตาราง • เมื่อคลิกปิดกลับไปยังหน้าเมนูหลัก
File : fn312_02_21.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ตัวอย่างการคำนวณค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนจากชุดข้อมูลในอดีต 1 4 5 2 3 6 7 • ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = 12.54 % = 2.09 • 6 • แสดงตารางและข้อความ+เสียงบรรยาย • เสียงบรรยายและลำดับการนำเสนออ้างอิงจากวงกลมตัวเลข • เมื่อคลิกปิดกลับไปยังหน้าเมนูหลัก • จากข้อมูลอัตราผลตอบแทนต่องวดเวลาลงทุน หรือ Holding Period Return ตั้งแต่ปี 25x 1 ถึง ปี25x6 • นำ HPR ของแต่ละงวดมาบวกด้วย 1เช่น ปี 25 x1 HPR = 2.80% เมื่อนำ 1 มาบวก จะได้ 1.0280 • ตัวเลขที่นำ 1 มาบวกแล้ว • เมื่อ HPR +1 • นำ HPR +1 ของทุกปี มาคูณกัน จะได้ 1.120166 • ถอดรากที่ 6 ของ 1.120166 จะได้เท่ากับ 1.10190 เมื่อเอา 1 มาลบ จะได้ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต = 1.91 %
File : fn312_02_22.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเฉลี่ยเรขาคณิต 5 เป็นค่าเฉลี่ยที่บ่งถึงการสะสมทวีค่าของการลงทุน ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยทั้งสองจะยิ่งมากขึ้นหากข้อมูลมีความกระจายมากขึ้น หากเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าการลงทุนในอดีตในช่วงเวลาหลายงวด ควรใช้ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต 2 2 4 3 ตัวอย่าง เปรียบเทียบการหาค่าเฉลี่ย 1 ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตจะให้ค่าที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตเสมอ ยกเว้นกรณีที่ข้อมูลทุกงวดเท่ากันหมด ซึ่งในกรณีดังกล่าวค่าเฉลี่ยทั้งสองจะให้ค่าที่เท่ากัน ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยทั้งสองจะยิ่งมากขึ้นหากข้อมูลมีความกระจายมากขึ้น หากเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าการลงทุนในอดีตในช่วงเวลาหลายงวด ควรใช้ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต เพราะเป็นค่าเฉลี่ยที่บ่งถึงการสะสมทวีค่าของการลงทุนอย่างแท้จริง ดังเช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้ นักศึกษาสามารถคลิกที่ปุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาได้ละค่ะ • แสดงภาพและข้อความ+เสียงบรรยาย • แสดงภาพเปรียบเทียบซิงค์เสียง ดังนี้ • เมื่อกล่าวถึง จะให้ค่าที่ต่ำกว่า แสดง แท่งสีของ เรขาคณิต เลื่อนลง • เมื่อกล่าวถึง เท่ากัน ก็เลื่อนขึ้นมาให้เท่ากัน • แสดงกล่องข้อความเมื่อกล่าวจบ • อ้างอิงการนำเสนอจากวงกลมตัวเลข
File : fn312_02_23.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเฉลี่ยเรขาคณิต 3 7 1 4 5 6 2 8 9 10 ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบการหาค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนในอดีตในช่วงหลายงวดเวลา ตามตารางแสดงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น A และหุ้น B จากงวดที่ 0 ในราคาเท่ากับ 10 บาท เท่ากันทั้งสองหุ้น หุ้น A มีราคาสูงขึ้นเป็น 20 บาท และลดต่ำลงเหลือ 10 บาท หรือคิดเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นเท่ากับ +100% และ -50% ในงวดที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ในขณะที่หุ้น B มีราคาลดต่ำลงเป็น 8 บาท และสูงขึ้นเป็น 12 บาท หรือคิดเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นเท่ากับ -20% และ +100% ในงวดที่ 1 และ 2 ตามลำดับ นักศึกษาสามารถคลิกที่ภาพตาราง เพื่อดูตัวอย่างการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยได้เลยค่ะ • แสดงตัวอย่าง+เสียงบรรยาย • แสดงลำดับการนำเสนอจากวงกลมตัวเลข • ทำให้ตารางเป็นปุ่มเมื่อคลิกแสดงดัง slide ถัดไป
File : fn312_02_23.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเฉลี่ยเรขาคณิต 1 ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอัตราผลตอบแทนของหุ้น A เท่ากับ 25% ซึ่งแสดงผลลัพธ์ที่ไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากหุ้น A มีราคาเริ่มจาก 10 บาท และกลับมาอยู่ที่ระดับ 10 บาทเท่าเดิม การถือหุ้น A น่าจะให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่องวดเท่ากับ 0% ซึ่งตรงตามค่าเฉลี่ยเรขาคณิต สำหรับหุ้น B มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอัตราผลตอบแทนต่องวดเท่ากับ 15% หากเป็นเช่นนี้ การลงทุนในหุ้น B 10 บาท น่าจะทำให้มูลค่าปลายงวดที่ 2 เท่ากับ 10(1.15)(1.15) = 13.23 บาท ซึ่งไม่ถูกต้องเนื่องจากราคาหุ้นปลายงวดที่ 2 เท่ากับ 12 บาท ส่วนค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของอัตราผลตอบแทนรายงวดที่เท่ากับ 9.54% นั้น ส่งผลให้ราคาปลายงวดที่ 2 ของหุ้น B เท่ากับ 10(1.0954)(1.0954) = 12 บาท ตรงตามความเป็นจริง • แสดงตัวอย่าง+เสียงบรรยาย • แสดงลำดับการนำเสนอจากวงกลมตัวเลข • เมื่อจบการนำเสนอกลับสู่ตารางปกติ 2 Arithmetic Mean: A = 25%, B = 15% Geometric Mean: A = 0%, B = 9.54% 3
File : fn312_02_24.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด เป็นค่าเฉลี่ยที่คำนวณโดยคำนึงถึงมูลค่ากระแสเงินสดจ่ายและรับในแต่ละงวด ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสดที่คำนวณได้ 1 2 มูลค่ากระแสเงินสดจ่าย มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่าย ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด 4 3 มูลค่ากระแสเงินสดรับ • แสดงภาพ+เสียงบรรยาย • แสดงลำดับการนำเสนอจากวงกลมตัวเลข ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด เป็นค่าเฉลี่ยที่คำนวณโดยคำนึงถึงมูลค่ากระแสเงินสดจ่ายและรับในแต่ละงวด ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสดที่คำนวณได้ก็คืออัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่าย ซึ่งก็คืออัตราผลตอบแทนที่เรียกว่า Internal Rate of Return (IRR) นั่นเอง
File : fn312_02_24.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงถึงกิจกรรมซื้อและขายหุ้นรวมทั้งรับเงินปันผลใน 2 งวดเวลาลงทุน โดยงวดเวลาลงทุนเริ่มแรกได้แก่งวดที่ 0 หรือต้นงวดที่ 1 และงวดเวลาสุดท้ายที่ลงทุนได้แก่ปลายงวดที่ 2 วิธีคำนวณค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด สามารถทำได้โดยการหาอัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่าย ถ้ากำหนดให้ r คือ ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด สมการมูลค่าปัจจุบันตามตัวอย่าง เขียนได้ดังนี้ • แสดงตาราง+เสียงบรรยาย
File : fn312_02_25.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด 5 2 ปีที่ 2 หุ้นละ 3 บาท รวม 6 บาท + ปีที่ 1 ปีที่ 1 1 6 ปีที่ 0 กระแสเงินสดรับค่าขายหุ้น 4 7 8 คิดลดด้วยอัตรา r% 3 • แสดงภาพ+เสียงบรรยาย • แสดงกล่องข้อความซิงค์เสียง • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข ซ้ายมือของสมการแสดงมูลค่าปัจจุบันของค่ากระแสเงินสดจ่ายซื้อหุ้น ณ ปีที่ 0 เท่ากับ 50 บาท และกระแสเงินสดจ่ายซื้อหุ้น ณ ปีที่ 1 เท่ากับ 55 บาท คิดลดด้วยอัตรา r% ส่วนขวามือของสมการแสดงมูลค่าปัจจุบันของค่ากระแสเงินสดรับ ได้แก่ รับเงินปันผล ณ ปีที่ 1 เท่ากับ 4 บาท และรับเงินปันผล ณ ปีที่ 2 หุ้นละ 3 บาท รวม 6 บาท บวกกับกระแสเงินสดรับค่าขายหุ้น หุ้นละ 120 บาท รวม 120 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 126 บาท คิดลดด้วยอัตรา r% อัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่าย ตามสมการข้างต้น เท่ากับ 15.736%% ค่านี้คือค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด
File : fn312_02_26.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสด ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสดสะท้อนถึงอัตราผลตอบแทนที่ขึ้นกับมูลค่าเงินลงทุนรายงวด 3 ค่าเฉลี่ยที่คำนวณโดยวิธีนี้ก็จะสูงด้วย การลงทุน & ผลตอบแทน 5 อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยก็อาจต่ำลงได้ 2 4 1 งวดที่ 1 งวดที่ 2 ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินสดสะท้อนถึงอัตราผลตอบแทนที่ขึ้นกับมูลค่าเงินลงทุนรายงวด กล่าวคืองวดใดที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงและได้ผลตอบแทนในงวดนั้นสูง ค่าเฉลี่ยที่คำนวณโดยวิธีนี้ก็จะสูงด้วย แต่ถ้างวดใดที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงและได้ผลตอบแทนในงวดนั้นต่ำ อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยก็อาจต่ำลงได้ • แสดงภาพ+เสียงบรรยาย • แสดงกล่องข้อความซิงค์เสียง • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข
File : fn312_02_27.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนกับภาษี ตราสารบางประเภทเ ช่น พันธบัตรรัฐบาลบางประเภท มีข้อกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย สำหรับผู้ลงทุนบางประเภท 1 3 ตราสาร ตราสารที่ยกเว้นภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยแต่อัตราผลตอบแทนต่ำ 2 ตราสารที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย แต่อัตราผลตอบแทนก่อนภาษีสูงกว่า ผู้ลงทุน อัตราผลตอบแทนในระดับต่ำ 4 ตราสารบางประเภทเ ช่น พันธบัตรรัฐบาลบางประเภท มีข้อกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย สำหรับผู้ลงทุนบางประเภท ตราสารเหล่านี้มักเสนออัตราผลตอบแทนในระดับต่ำ ผู้ลงทุนที่กำลังเลือกลงทุนระหว่างตราสารที่ยกเว้นภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยแต่อัตราผลตอบแทนต่ำ กับตราสารที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย แต่อัตราผลตอบแทนก่อนภาษีสูงกว่า จึงต้องเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ทั้งสองประเภท โดยปรับฐานสถานะภาษีให้อยู่ในสถานะเดียวกัน • แสดงภาพ+เสียงบรรยาย • แสดงกล่องข้อความซิงค์เสียง • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข
File : fn312_02_29.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนกับภาษี ตัวอย่าง เงินฝากออมทรัพย์ให้ดอกเบี้ย 8.5% ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินให้ดอกเบี้ย 9.75% หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ดอกเบี้ย 9.75% ดอกเบี้ย 8.5% คลิกที่ ปุ่ม เพื่อเลือกอัตราดอกเบี้ย ในส่วนนี้ มีตัวอย่างของ เงินฝากออมทรัพย์ให้ดอกเบี้ย 8.5% ไม่ต้องเสียภาษีกับ ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินให้ดอกเบี้ย 9.75% หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ให้นักศึกษาเลือกอัตราดอกเบี้ยที่นักศึกษาพึงพอใจโดยการ คลิก ที่ปุ่มเพื่อเลือก อัตราดอกเบี้ยได้เลยค่ะ • แสดงภาพข้อความ+เสียงบรรยาย • แสดงกล่องข้อความอัตราดอกเบี้ย • ทำกล่องข้อความให้เป็นปุ่ม • เมื่อคลิกที่ปุ่ม แสดง pop up ดัง สไลด์ถัดไป
File : fn312_02_29.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง เงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ย 8.5% 8.5 % เป็นผลตอบแทนสุทธิ ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนสุทธิจากดอกเบี้ย 9.75 % ที่เมื่อเสียภาษีแล้วเหลือ 8.2875 % เช่น 8.5 % 1- 0.15 ดังนั้นหากเงินฝากออมทรัพย์ เท่ากับ 8.5 % กลับต้องเสียภาษีแสดงว่าธนาคารต้องเสนอดอกเบี้ย 10 % ผู้ฝากจึงมีรายได้เท่าเดิม 8.5 % 0.85 (Tax Equivalent Yield ) = = 10% ตั๋วสัญญาใช้เงินให้ดอกเบี้ย 9.75% อัตราผลตอบแทนหลังภาษี ของตั๋วสัญญา เท่ากับ 8.2875 % เมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนที่ไม่ต้องเสียภาษีของ เงินฝากออมทรัพย์ คือ 8.5 % ซึ่งมี วิธีคิดดังนี้ 9.75 % x (1-0.15) = 8.2875 % ซึ่งเมื่อเทียบกับ ดอกเบี้ย ออมทรัพย์ จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า
File : fn312_02_30.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนกับเงินเฟ้อ อัตราผลตอบแทนที่กล่าวข้างต้น เป็นอัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน (nominal return) อัตราผลตอบแทนเช่นนี้ยังมิได้คำนึงถึงอำนาจซื้อของเงิน หากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอำนาจซื้อของเงินจะลดลง 1 real rate of returnnominal rate of return - inflation rate 2 3 อัตราผลตอบแทนที่กล่าวข้างต้น เป็นอัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน (nominal return) อัตราผลตอบแทนเช่นนี้ยังมิได้คำนึงถึงอำนาจซื้อของเงิน หากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอำนาจซื้อของเงินจะลดลง หากจะคำนึงถึงผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อต่ออัตราผลตอบแทน จะต้องปรับค่าอัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินให้เป็นอัตราผลตอบแทนที่ปรับด้วยค่าเงินเฟ้อ (inflation-adjusted return หรือ real return) ค่าโดยประมาณการของอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงหลังปรับเงินเฟ้อออก คือ หากต้องการคำนวณอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงหลังปรับเงินเฟ้อออก ด้วยวิธีที่แม่นยำอันเป็นวิธีที่คำนึงถึงผลกระทบแบบทบต้นของอัตราเงินเฟ้อ หรือที่เรียกว่า วิธีที่คำนึงถึง Fisher Effect ใช้สมการ • แสดงข้อความ+เสียงบรรยาย • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข • เมื่อถึงเสียงบรรยายที่ 2 แสดง สมการ
File : fn312_02_31.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนกับเงินเฟ้อ ตัวอย่าง ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เท่ากับ ร้อยละ 6.08 ต่อปี และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อใน 1 ปีข้างหน้าจะเท่ากับร้อยละ 2 2 3 1 6 5 4 real rate of return nominal rate of return - inflation rate 6.08% - 2.00% 4.08% = 0.04 หรือ 4.00% 7 ตัวอย่าง ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เท่ากับ ร้อยละ 6.08 ต่อปี และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อใน 1 ปีข้างหน้าจะเท่ากับร้อยละ 2 ดังนั้น อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงหลังปรับเงินเฟ้อออกจึงเท่ากับร้อยละ 4.08 โดยประมาณ และถ้าคำนึงถึง Fisher Effect อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงหลังปรับเงินเฟ้อออกจึงเท่ากับร้อยละ 4.00 • แสดงข้อความ+เสียงบรรยาย • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข • เมื่อถึงเสียงบรรยายที่ 2 แสดง ลำดับที่ 4 -7 ซิงค์เสียง
File : fn312_02_32.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง อัตราผลตอบแทนกับเงินเฟ้อ 19.69% 12.82% 9.88 % 13.00% 12.00% 1.00% 9.00% 1 2 นำเมาส์ไปวางเพื่อแสดงตัวเลข • แสดงกราฟ+เสียงบรรยาย • ขึ้นทีละเส้นอ้างอิงจากลำดับตัวเลข • เมื่อกล่าวถึง ร้อยละที่เป็นตัวเลขสีแดงในเสียงบรรยายหรือนำ เมาส์ไปวาง แสดง ข้อความตัวเลข บนกราฟดังตัวอย่าง ภาพต่อไปนี้ เป็นกราฟอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะเวลา 12 เดือน และอัตราเงินเฟ้อ ปี 2518 ถึงปี 2550 จากภาพ อัตราเงินเฟ้อของไทยในช่วงปี 2522 เคยสูงขึ้นอย่างมากอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งผลักดันให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างมาก และราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อที่คำนวณจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคปีต่อปีในปี 2522 ถึงปี 2524 สูงถึงร้อยละ 9.88 ร้อยละ 19.69 และร้อยละ 12.82 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะเวลา 12 เดือน ในช่วงเวลาดังกล่าวของธนาคารพาณิชย์เฉลี่ยมีอัตราเท่ากับร้อยละ 9.00 ร้อยละ 12.00 และร้อยละ 13.00 ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงหลังปรับเงินเฟ้อออกมีค่าติดลบ อย่างไรก็ตาม หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว อัตราเงินเฟ้อได้ลด ระดับลงอยู่ในช่วงร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 6 ทั้งนี้ ในปี 2546 อัตราเงินเฟ้อของไทยมีระดับเท่ากับร้อยละ 1.77 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนโยบายการเงินของทางการที่ให้คงดอกเบี้ยในระดับต่ำ ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนในปี 2546 มีอัตราเท่ากับร้อยละ 1.00 เท่านั้น ดังนั้น ในช่วงเวลานั้น ต่อเนื่องจนถึงปี 2550 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงหลังปรับเงินเฟ้อออก จึงมีค่าติดลบต่อเนื่องอีกช่วงเวลาหนึ่ง
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ฝากธนาคาร อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต) 20.01% 7.98% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 45.06% 3.84% File : fn312_02_33.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation ฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์กับลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การลงทุนใดเสี่ยงกว่ากัน ? อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนใน ตลท.และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปี 2518-2550 • แสดงตาราง+เสียงบรรยาย • เมื่อจบเสียงบรรยาย แสดงไฮไลท์ ดังตัวอย่าง ในการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์กับลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การลงทุนใดเสี่ยงกว่ากัน จากตารางที่แสดง ได้เปรียบเทียบอัตราระหว่าง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กับ ธนาคารพาณิชย์ ที่ให้อัตราผลตอบแทน ในปี 2518 – 2550
File : fn312_02_33.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของการลงทุน มูลค่าทบต้นของเงินลงทุน 1 บาท 1 4 4 3 2 • แสดงตาราง+เสียงบรรยาย • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข • มีการแสดงกราฟต่อ เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของการลงทุนระหว่าง เงินฝากประจำ 12 เดือน กับ การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะได้ยกตัวอย่างดัง กราฟที่แสดง .. จากรูปจะเห็นว่าเงินฝากประจำ 12 เดือน เช่น ฝากธนาคาร 1 บาท ตอนปี 2518 พอสิ้นปี 2551 มูลค่าของเงินจะเป็น 10.83 บาท
File : fn312_02_33.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของการลงทุน เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของเงินลงทุน 1 บาท 1 3 2 1 • แสดงตาราง+เสียงบรรยาย • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข • แสดงเส้นกราฟสีน้ำเงิน ตามลำดับ • มีการแสดงกราฟต่อ เมื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ 1 บาท ตอนปี 2518 จนถึงปี 2535 มูลค่าของเงินจะเป็น 54.04 บาท
File : fn312_02_33.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของการลงทุน เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของเงินลงทุน 1 บาท 1 2 4 3 • แสดงตาราง+เสียงบรรยาย • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข • แสดงเส้นกราฟสีน้ำเงิน ตามลำดับ • มีการแสดงกราฟต่อ และยังลงทุนต่อ จนถึงปี 2543 มูลค่าของเงินลดลงเหลือ 11.38 บาท
File : fn312_02_33.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของการลงทุน เปรียบเทียบมูลค่าทบต้นของเงินลงทุน 1 บาท 2 2 1 • แสดงตาราง+เสียงบรรยาย • อ้างอิงการนำเสนอจากลำดับตัวเลข • แสดงเส้นกราฟสีน้ำเงิน +แดง วิ่ง ทีละจุดตามลำดับ • เมื่อถึงลำดับที่ 2 แสดง วงกลมล้อมรอบ ตัวเลข บอกจำนวน นักศึกษาคงจะเห็นว่าการลงทุนในช่องทางใดที่มีความเสี่ยงมากกว่ากัน จาก กระณีที่ ศึกษาผ่านมา
File : fn312_02_34.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การวัดค่าความเสี่ยงจากการลงทุนโดยใช้ค่า Variance และ Standard Deviation ลงทุนใน SET กระดานหลักกับลงทุนใน MAI การลงทุนใดเสี่ยงกว่ากัน อัตราผลตอบแทนรายเดือน จาก SET และ MAI การกระจายของอัตราผลตอบแทนรายเดือนจาก SET และ MAI SET Index และ MAI Index คลิกที่ปุ่มเพื่อแสดง กราฟ • แสดงภาพตาราง+เสียงบรรยาย • ทำภาพให้เป็นปุ่ม • เมื่อคลิก แสดงกราฟ ดังนี้ • เมื่อคลิก SET Index และ MAI Index แสดง File : fn312_02_35.swf • เมื่อคลิก อัตราผลตอบแทนรายเดือน จาก SET และ MAIแสดง File : fn312_02_36.swf • เมื่อคลิก การกระจายของอัตราผลตอบแทนรายเดือนจาก SET และ MAI แสดง File : fn312_02_37.swf อีกหนี่งกรณีคือการ ลงทุนใน SET กระดานหลักกับลงทุนใน MAI การลงทุนใดเสี่ยงกว่ากัน นักศึกษาสามารถ เปรียบเทียบได้จาก กราฟ SET Index (เซต อินเดกและ MAI Index (เอ็ม เอ ไอ อินเดก) กราฟ อัตราผลตอบแทนรายเดือนจาก SET (เซต)และ MAI (เอ็ม เอ ไอ ) กราฟการกระจายของอัตราผลตอบแทนรายเดือนจาก SET(เซต)และ MAI (เอ็ม เอ ไอ ) นักศึกษาสามารถคลิกที่ปุ่มเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบได้เลยค่ะ MAI ให้อ่านว่า เอ็ม เอ ไอ
File : fn312_02_35.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา SET Index และ MAI Index ก.ย. 2545 – ธ.ค. 2550 SET Index MAI Index • แสดงตาราง • แสดง ทั้ง 2 ภาพ และ อนิเมชั่น ทั้ง 2 ภาพ พร้อมๆกัน เพื่อเปรียบเทียบ • คลิก back กลับไปยัง เมนูหลัก เสียง music background
File : fn312_02_36.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา อัตราผลตอบแทนรายเดือนจาก SET และ MAI ส.ค. 2545 – ธ.ค. 2550 • แสดงตาราง • แสดง ทั้ง 2 ภาพ และ อนิเมชั่น ทั้ง 2 ภาพ พร้อมๆกัน เพื่อเปรียบเทียบ • คลิก back กลับไปยัง เมนูหลัก เสียง music background
File : fn312_02_37.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา การกระจายของอัตราผลตอบแทนรายเดือนจาก SET และ MAI • แสดงตาราง • แสดง ทั้ง 2 ภาพ และ อนิเมชั่น ทั้ง 2 ภาพ พร้อมๆกัน เพื่อเปรียบเทียบ • เน้น ที่ตัวเลขตามตัวอย่าง • คลิก back กลับไปยัง เมนูหลัก เสียง music background