250 likes | 267 Views
สำนักงานศาลยุติธรรม โดย สำนักกฎหมายและวิชาการ และสำนักส่งเสริมงานตุลาการ เชิญรับฟังการอภิปราย หัวข้อ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามกฎหมายใหม่ “พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท”.
E N D
สำนักงานศาลยุติธรรม โดย สำนักกฎหมายและวิชาการ และสำนักส่งเสริมงานตุลาการ เชิญรับฟังการอภิปราย หัวข้อ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามกฎหมายใหม่ “พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท”
สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ร่าง พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเสนอ ร่าง พ.ร.บ. ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนฯ คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่างทั้งสองเป็นร่าง พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สมาชิก สนช. เสนอร่าง พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นการสอบสวน สนช. มีมติรับหลักการทั้งร่าง พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และร่าง พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นการสอบสวน ตั้ง กมธ. วิสามัญฯ พิจารณาทั้งสองร่างฯ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ สนช. พิจารณาและลงมติเห็นสมควรให้ร่างพระราชบัญญัติการไกล่ เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. .... ประกาศใช้เป็นกฎหมาย
วันใช้บังคับ (มาตรา ๒) พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (๒๓ พ.ค. ๒๕๖๒) เว้นแต่บทบัญญัติเรื่องการไกล่เกลี่ยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ภาพรวมของ พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒ มีทั้งหมด ๖ หมวด • หมวด ๑ ผู้ไกล่เกลี่ย • หมวด ๒ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง • หมวด ๓ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา • หมวด ๔ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้น การสอบสวน • หมวด ๕ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน • หมวด ๖ บทกำหนดโทษ
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (มาตรา ๓) การดำเนินการเพื่อให้คู่กรณีมีโอกาสเจรจาตกลงกันระงับข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญาโดยสันติวิธีและปราศจากการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ดำเนินการในชั้นศาลและในชั้นการบังคับคดี
ไม่กระทบการไกล่เกลี่ยที่มิได้ดำเนินการตามกฎหมายนี้ (มาตรา ๔) พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบต่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของตน หน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่งอาจดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้
ไม่ใช้บังคับแก่คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว (มาตรา ๘) พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ตามกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
การไกล่เกลี่ยภายใต้กฎหมายฉบับนี้การไกล่เกลี่ยภายใต้กฎหมายฉบับนี้ ๑. การไกล่เกลี่ยที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ ๒. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวน ๓. การไกล่เกลี่ยภาคประชาชน
หน่วยงานของรัฐ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 3) หน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัตินี้แจ้งให้กระทรวงยุติธรรมทราบ (มาตรา ๓)
หมวด ๑ ผู้ไกล่เกลี่ย (๑) ผ่านการอบรมการไกล่เกลี่ยหลักสูตรรับรองโดย กพยช. (๒) มีประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่การไกล่เกลี่ย (๓) ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น ต้องโทษจำคุกเป็นคนไร้ความสามารถ (๔) สามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนต่อนายทะเบียนซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ (๕) ได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นในการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด
หน้าที่และอำนาจของผู้ไกล่เกลี่ยหน้าที่และอำนาจของผู้ไกล่เกลี่ย จริยธรรม เปิดเผยข้อเท็จจริง อาจเป็นเหตุสงสัยถึงความเป็นกลาง เป็นอิสระ อาจถูกตั้งข้อรังเกียจ อาจถูกถอดถอนได้
หมวด ๒ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง (๑) ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินที่มิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ (๒) ข้อพิพาทระหว่างทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดก (๓) ข้อพิพาทอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๔) ข้อพิพาทอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าล้านบาท หรือไม่เกิน จำนวนตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ไม่รวมถึง ข้อพิพาทที่เกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัว หรือกรรมสิทธิ์ ในอสังหาริมทรัพย์
กระบวนการไกล่เกลี่ย คู่กรณีที่ประสงค์ให้มีการไกล่เกลี่ยยื่นคำร้องต่อหน่วยงานซึ่งดำเนินการไกล่เกลี่ย สอบถามความสมัครใจของอีกฝ่าย ถ้าไม่สมัครใจ จำหน่ายคำร้องไกล่เกลี่ย คู่กรณีตกลงแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยคนหนึ่งหรือหลายคนจากบัญชีผู้ไกล่เกลี่ย ถ้าไม่สามารถตกลงแต่งตั้ง อาจขอให้หน่วยงานแต่งตั้งได้ การแต่งตั้งต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้ง
กระบวนการไกล่เกลี่ย การไกล่เกลี่ยให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและแล้วเสร็จโดยเร็ว ดำเนินการไกล่เกลี่ยต่อหน้าคู่กรณีทุกฝ่าย ในบางสถานการณ์ อาจดำเนินการไกล่ เกลี่ยลับหลังอีกฝ่ายได้ อาจอนุญาตให้ทนายความหรือที่ปรึกษาของคู่กรณีหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้าร่วมการไกล่เกลี่ยก็ได้
กระบวนการไกล่เกลี่ยสิ้นสุด กระบวนการไกล่เกลี่ยสิ้นสุด (๑) คู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาทกันได้ (๒) คู่กรณีถอนตัวจากการไกล่เกลี่ย (๓) ผู้ไกล่เกลี่ยเห็นว่าการไกล่เกลี่ยต่อไปจะไม่ เป็นประโยชน์ และให้ยุติการไกล่เกลี่ย
การขยายอายุความ (มาตรา ๖) กรณีการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลงไม่เป็นผล หากปรากฏว่า (๑) อายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการไกล่เกลี่ยหรือ (๒) จะครบกำหนดภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสิ้นสุดลง ให้อายุความขยายออกไปอีกหกสิบวันนับแต่วันที่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสิ้นสุดลง นำไปใช้ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาด้วย
ข้อเท็จจริงในชั้นไกล่เกลี่ยเป็นความลับ ห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐาน • ความประสงค์ของคู่กรณีเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ย • ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการไกล่เกลี่ยของคู่กรณี • ข้อเสนอใด ๆ ที่เสนอโดยผู้ไกล่เกลี่ย • เอกสารที่จัดทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการไกล่เกลี่ย ต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี กระบวนการอนุญาโตตุลาการ หรือกระบวนพิจารณาอื่นใด เว้นแต่เพื่อการบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท
การบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาททางแพ่งการบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาททางแพ่ง ถ้าคู่กรณีฝ่ายที่ถูกเรียกร้องไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท อีกฝ่ายยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้บังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทได้ การร้องขอตามวรรคหนึ่งต้องกระทำภายในสามปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทได้
การบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาททางแพ่งการบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาททางแพ่ง ศาลต้องมีคำสั่งบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท เว้นแต่บางกรณี เช่น (๑) คู่กรณีบกพร่องในเรื่องความสามารถ (๒) ข้อตกลงระงับข้อพิพาทเกิดจากกลฉ้อฉล บังคับ ขู่เข็ญ ห้ามอุทธรณ์คำสั่งศาล เว้นแต่บางกรณี เช่น ศาลมีคำสั่งไม่บังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท ศาลมีคำสั่งไม่เป็นไปตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
ศาลที่มีเขตอำนาจบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาททางแพ่งศาลที่มีเขตอำนาจบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาททางแพ่ง ศาลยุติธรรมที่มีการทำข้อตกลงระงับข้อพิพาทในเขตศาลนั้น หรือ ศาลยุติธรรมที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือ ศาลยุติธรรมที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้มีการไกล่กลี่ยนั้น เสียค่าขึ้นศาลอัตราเดียวกับคำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในประเทศ
หมวด ๓ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา ความผิดอันยอมความได้ ความผิดลหุโทษ ๗ ฐานความผิด ตาม ป.อ. เช่น มาตรา ๓๙๐ กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ มาตรา ๓๙๑ ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
มาตรา ๓๙๒ ทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ มาตรา ๓๙๓ ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา และความผิดลหุโทษอื่นที่ไม่กระทบต่อส่วนรวมตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เมื่อคู่กรณีทำข้อตกลงระงับข้อพิพาททางอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ข้อตกลงระงับข้อพิพาททางอาญาที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาข้อตกลงระงับข้อพิพาททางอาญาที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับเมื่อคู่กรณีได้ปฏิบัติตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทในส่วนแพ่งแล้ว ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทในส่วนแพ่ง ให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินการเพื่อขอให้มีการบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท
การชะลอการดำเนินคดีหรือกระบวนพิจารณาระหว่างไกล่เกลี่ยการชะลอการดำเนินคดีหรือกระบวนพิจารณาระหว่างไกล่เกลี่ย หากคดีอยู่ระหว่างการสอบสวนหรือพิจารณาของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลแล้ว ให้แจ้งพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล แล้วแต่กรณีทราบ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลอาจรอการสอบสวน การสั่งคดี การพิจารณาคดีหรือการพิพากษาคดี ไว้ก่อนจนกว่าจะรู้ผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก็ได้
Thank you Contact us taiarbitration Thai Arbitration Institute (TAI) tai@coj.go.th http://www.tai.coj.go.th