90 likes | 410 Views
N. S. P. ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ แทนการคืนภาษีมุมน้ำเงิน. รูปแบบใหม่ของกรมศุลกากรไทย. ประกาศจาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.). ที่สุวรรณภูมิยังมีค่าล่วงเวลาอีกหรือ. สิทธิประโยชน์น่ารู้.
E N D
N S P ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ แทนการคืนภาษีมุมน้ำเงิน รูปแบบใหม่ของกรมศุลกากรไทย ประกาศจาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ที่สุวรรณภูมิยังมีค่าล่วงเวลาอีกหรือ สิทธิประโยชน์น่ารู้
ปัจจุบันจะเห็นว่าการได้รับเงินชดเชยภาษีมุมน้ำเงินในการส่งออก นับวันจะยิ่งได้น้อยลงมาก แต่รัฐบาลก็ยังไม่ได้ยกเลิกเพราะเป็นการช่วยเหลือผู้ส่งออกที่อาจจะต้องจ่ายเบี้ยใบรายทาง ถึงแม้จะเล็กน้อย แต่ก็ยังมีอยู่ กระทรวงพาณิชย์จึงได้เสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกด้วยการคืนภาษีมุมน้ำเงิน 3-5% แต่กระทรวงการคลังไม่เห็นด้วย เพราะจะต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายมาตรา ซึ่งจะยุ่งยากมาก และใช้เวลานาน อีกทั้งต้องพิจารณาต้นทุนเป็นรายสินค้า ซึ่งจะใช้เวลานานเช่นกัน ไม่ทันต่อการช่วยเหลือผู้ส่งออก ประกอบกับผิดหลักการองค์การการค้าโลก (WTO) และอาจทำให้ประเทศคู่ค้าฟ้องร้องเอาได้ กระทรวงพาณิชย์จึงจะใช้มาตรการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออกแทนการคืนภาษีมุมน้ำเงิน เพราะเป็นมาตรการที่ใช้ได้ทันที ไม่ต้องแก้กฎหมายและไม่ผิด WTO โดยคาดว่าจะลดในทุกกลุ่มสินค้า ซึ่งรัฐจะเสียรายได้เฉพาะกลุ่มวัตถุดิบที่อยู่นอกเหนือการคืนภาษีตามมาตรา 19 ทวิเท่านั้น และทางกระทรวงพาณิชย์ได้สอบสอบถามข้อมูลประกอบการจัดทำมาตรการดังกล่าว คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1 เดือน และเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบก็จะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ต่อไป หากมาตรการดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจะทำให้การส่งออกปีนี้ที่ติดลบอยู่ ติดลบน้อยลง จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบ 18% - 20% จะเหลือ 10% - 13% S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
กรมศุลกากรก่อตั้งมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2417 ในสมัยรัชการที่ 5 ก็ครบ 135 ปี ซึ่งปี้นี้เป็นปี 2552 กรมศุลกากรมีแผนการปฎิรูปกรมศุลกากรจากการเป็นผู้จัดเก็บภาษีอากรจากสินค้าที่นำเข้าและส่งออก เพิ่มบทบาทใหม่มาเป็นผู้อำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับประเทศ เหตุผลที่ต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทเพราะโลกของเรากำลังเดินหน้าเข้าสู่ระบบการค้าเสรี จึงต้องปรับตัวให้ทัน นอกจากนั้น GDP ของประเทศไทยกว่าร้อยละ 70 มาจากการค้ากับต่างประเทศ ดังนั้น การทำงานร่วมกันระหว่างกรมศุลกากรและภาคธุรกิจจะต้องสะดวกขึ้น ง่ายขึ้น • ผู้ผลิตสินค้าหรือผู้จัดหาสินค้าเกือบทุกรายที่จะตัดสินใจย้ายฐานการดำเนินธุรกิจจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้ง่ายขึ้น ถ้าเห็นว่าการติดต่อทำธุรกรรมกับเจ้าหน้าที่ของประเทศนั้นไม่สะดวก เสียค่าใช้จ่ายสูง หรือคาดเดาค่าใช้จ่ายได้ยาก ดังนั้นกรมศุลกากรไทยเห็นในความสำคัญในจุดนี้จึงอำนวยความสะดวกในการติดต่อทำธุรกรรมกับกรมศุลกากรไทยให้เป็นเรื่องง่าย สะดวกขึ้นคือ • 1. ผู้ประกอบสามารถอุทธรณ์ต่อศาลได้ง่ายขึ้นหากไม่พอใจการวินิจฉัยของกรมศุลกากร • - ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน หากมีข้อพิพาทกับกรมศุลกากรเกี่ยวกับการประเมินภาษี ผู้ประกอบการอาจเลือกที่จะประนีประนอมกับกรมศุลกากรด้วยการยอมจ่ายค่าปรับจำนวน 2 เท่าของอากรที่ขาด แต่หากถ้าผู้ประกอบการ อยากให้ศาลตัดสิน หากแพ้คดีก็อาจจะต้องจ่ายค่าปรับ 4 เท่าของมูลค่ารวมของสินค้า บวกกับอากรที่ขาด จะเห็นว่า กฎหมายไม่เปิดโอกาสให้ศาลใช้ดุลพินิจอย่างอื่นได้ เว้นแต่ที่เกิดจากความผิดพลาด • โดยสุจริตด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการจึงยินยอมที่จะเสียค่าปรับที่กรมศุลกากรมากกว่าแม้จะไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ศุลกากร เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงมากหากนำคดีไปสู่ศาล • - ภายใต้กฎหมายใหม่ที่กำลังนำเสนอ ผู้พิพากษาจะมีอำนาจที่จะลดอัตราโทษลงให้น้อยกว่า 4 เท่าได้ หากเชื่อว่าเกิดจากความผิดพลาดโดยสุจริต และ สามารถกำหนดอัตราโทษสูงสุด หากเชื่อว่าผู้นั้นมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี S N P ต่อหน้า 2
หน้า 2 2. ภายใต้ระเบียบใหม่ กรมศุลกากรจะให้คำวินิจฉัยล่วงหน้ากับผู้ประกอบการที่ต้องการนำ สินค้าหรือวัตถุดิบ โดยจะยืนยันการจัดประเภทพิกัดฯ วิธีการประเมินภาษี และเอกสารใบอนุญาตของสินค้าล่วงหน้าก่อนการนำเข้า โดยผู้นำเข้าไม่ต้องซื้อสินค้าก่อนหรือนำสินค้าเขามาในประเทศไทยก่อน ซึ่งในขั้นตอนปัจจุบันไม่สามารถทำได้จนกว่าจะได้พิสูจน์ก่อนว่าได้สั่งซื้อสินค้านั้นแล้ว หรือสินค้านั้นมาถึงประเทศไทยแล้ว และยังมีการเปลื่ยนแปลงอื่นๆ ตัวอย่างเช่น - ร่างกฎหมายใหม่จะเสนอให้ชำระภาษีตามระบบสินค้าทัณฑ์บนได้ เพื่อที่ผู้นำเข้าจะได้สามารถชำระภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าหลายๆ เที่ยว โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนเดิมซ้ำๆ ในการนำเข้าแต่ละเที่ยว ซึ่งทำให้เสียเวลาทั้งผู้นำเข้าและเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร - ขจัดแบบฟอร์มเอกสารที่ซ้ำซ้อนทำให้เสียเวลาทั้งของผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร - เร่งนำระบบ Single window มาใช้สำหรับงานเอกสารที่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน เพื่อให้ธุรกิจ สามารถติดต่อที่กรมศุลกากรที่เดียว โดยไม่ต้องวิ่งไปติดต่อหลายที่หลายกระทรวง ทั้งหมดนี้ก็ต้องติดตามผลว่าจะประสบผลสำเร็จตามที่กรมศุลกากรตั้งใจไว้หรือไม่หากทำได้จริงผู้ประกอบการทุกท่านก็คงได้รับความสะดวงสบายและความรวดเร็วในการนำเข้าและส่งออก ที่ดีต่อไป S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
การนำเข้าสินค้าสู่ประเทศไทย เป็นที่รู้กันว่า มีสินค้าบางอย่างที่ทางราชการกำหนดไว้ว่า จะต้องได้รับการดูแลภายใต้หน่วยงานๆ หนึ่ง โดยทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละประเภทด้วย ตัวอย่างเช่น อาหาร หรือยา จะต้องผ่าน หน่วยงาน อาหารและยา (อย.) หรือ สินค้าบางอย่างที่ต้องใช้งานกับร่างกาย ต้องผ่านกระทรวงสาธารณสุขเป็นต้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นต้น มีประกาศจากทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แจ้งถึงผู้นำเข้าสินค้า ดังต่อไปนี้ 1. เหล็กเส้นกลม มก. 20 เหล็กข้ออ้อย และเหล็กชนิดรีดร้อนและเย็นทั้งหมด 2. ของเล่นชนิดที่เป็นพลาสติก 3. รถยนต์ รถจักรยานยนต์ 4. ยางในรถจักรยานยนต์ 5. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า พัดลม และกระทะไฟฟ้า ว่า จะต้องมีหนังสือแจ้งให้ตรวจปล่อยสินค้าจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มายื่นต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรทุกครั้ง ที่ทำการตรวจปล่อยสินค้า หากไม่มีหนังสือดังกล่าว จะต้องกักสินค้าไว้ก่อน (หนังสือแจ้งให้ตรวจปล่อยสินค้า สมอ. จะออกให้เป็นรายๆ แต่ละครั้งไป ให้ติดต่อ สมอ.ทุกครั้งที่มีการนำเข้าสินค้า ไม่ใช่หนังสืออนุญาตนำเข้าสินค้ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) ซึ่งท่านผู้นำเข้าหลายๆท่าน มักจะเข้าใจว่า เพียงใช้แค่ใช้ใบอนุญาตนำเข้าสินค้าก็เพียงพอแล้ว จึงขออนุญาตเรียนให้ท่านผู้นำเข้าทราบและเข้าใจตรงกันว่า ต้องมีหนังสือแจ้งให้ตรวจปล่อยสินค้าด้วย หากท่านผู้ประกอบการท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้โดยตรงที่ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) ที่คุณ สมเจตน์ สินสถาพรพงศ์ โทรศัพท์ 02-202-3475 หรือคุณ ศิริลักษณ์ บุญไชโย 02-202-3392 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
มีผู้ส่งออกรายหนึ่งจะส่งสินค้าไปยังต่างประเทศโดยไปตรวจปล่อยที่สุวรรณภูมิ ซึ่งทางผู้ส่งออกแจ้งว่าสินค้าจะไปถึงที่สุวรรณภูมิประมาณ 17.00 น. ซึ่งทางบริษัทแจ้งว่าถ้าสินค้าไปถึงสุวรรณภูมิเวลานั้น จะต้องเสียค่าล่วงเวลาให้กลับ ศุลกากรเป็นค่าล่วงเวลา 150 บาท ซึ่งทางลูกค้าก็สอบถามต่อไปว่าทำไมยังต้องเสียค่าล่วงเวลาด้วย เพราะที่ท่าเรือ คลองเตย ไม่เห็นเสียค่าล่วงเวลาศุลกากรเลย ทางบริษัทก็เลยตอบว่าถ้าเป็นที่สุวรรณภูมิยังมีการเก็บค่าล่วงเวลา ศุลกากรเหมือนเดิม ซึ่งทางลูกค้าก็สอบถามว่าสินค้าต้องไปถึงกี่โมงถึงจะไม่เสียค่าล่วงเวลาทางบริษัทก็ตอบว่าถ้าสินค้าไปถึงที่สุวรรณภูมิก่อน 15.30 น. ผู้ส่งออกก็จะไม่เสียค่าล่วงเวลา ซึ่งเมื่อทางผู้ส่งออกได้รับทราบข้อมูลแล้วทางผู้ส่งออกก็เลยแจ้งกับมาที่บริษัทว่าทางผู้ส่งออกจะนำสินค้าไปส่งที่สุวรรณภูมิก่อน 15.30 ซึ่งจะทำให้ทางผู้ส่งออกประหยัดต้นทุนไปอีก 150 บาท S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
1. e-Formula คือ โครงการนำสูตรการผลิตเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรเพื่อรองรับการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Drawback)โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่1 ม.ค. 2549 ตามประกาศกรมฯ ที่ 80/2548 ทั้งนี้ผู้นำของเข้าที่ยื่นสูตรการผลิตตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2549ต้องยื่นรายละเอียดต่างๆ ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้นำของเข้าสามารถดูรายละเอียดและการเตรียมข้อมูลของสูตรการผลิตตามมาตรา 19 ทวิในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้ที่www.customs.go.th ในหัวข้อสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร 2. e-Free Zone คือโครงการพัฒนาเขตปลอดอากรให้เป็นเขตปลอดอากรอิเล็กทรอนิกส์โดยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ทุกขั้นตอนการปฏิบัติงานการนำเข้า-ส่งออก ระบบควบคุมทางบัญชีและเทคโนโลยีสมัยใหม่เช่น CCTV,Bar Code,RFIDมาช่วยติดตามควบคุมการขนย้ายตรวจสอบข้อมูลความเคลื่อนไหวของสินค้า รวมทั้งพัฒนาระบบบริการข้อมูล ทั้งด้านเผยแพร่ข้อมูล อนุมัติจัดตั้ง รายงานการใช้วัตถุดิบ/สินค้าประจำงวดได้ที่www.customs.go.th ในหัวข้อสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร 3. e-Transfer คือโครงการจัดทำตารางโอนสิทธิ์ในระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ส่งของออกที่ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ที่ประสงค์จะแสดงการโอนสิทธิ์ให้ใช้ข้อมูลการส่งออกสำหรับตัดบัญชีวัตถุดิบที่นำเข้าเพื่อขอคืนอากรตามมาตรา19 ทวิ แทนการสำแดงในใบแนบใบขนสินค้าขาออกซึ่งเป็นการสนับสนุนพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร(Paperless) และรองรับการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Drawback) 4. e-Drawback คือ โครงการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะนำมาใช้ประมาณต้นปี 2551เป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นบนสื่อสารสนเทศ (WebApplication) เพื่อมุ่งเน้นให้การติดต่อสื่อสาร และการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเ ร็ว แ ละ โปร่งใ สสามารถตรวจสอบได้ S N P ต่อหน้า 2
หน้า 2 5. e-Warehousing คือโครงการพัฒนาระบบการให้บริการศุลกากรด้านคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยการพัฒนาระบบงานทั้งด้านการอนุมัติจัดตั้ง การปฏิบัติพิธีการ การกำกับ ตรวจสอบบัญชีและการดำเนินงานด้านอื่นๆ ที่ ปฏิบัติในลักษณะ manual ให้เป็นแบบไร้เอกสาร 6. e-Refund คือ การจ่ายคืนเงินค่าภาษีอากรหรือรายได้อื่น ให้แก่ ผู้มีสิทธิได้รับคืนเงินค่าภาษีอากรทั่วไปและผู้มีสิทธิได้รับคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิแห่ง พ.ร .บ. ศุลกากร(ฉบับที่ 9) พุทธศักราช2482 โดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้มีสิทธิได้รับคืนเงินผ่านธนาคาร โด ย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (การ On-lineระหว่างกรมศุลกากรกับธนาคาร) ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 70/2549 ทั้งนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วัน ที่ 1 ก.ย. 2549 เป็นต้นมา 7. Revolving Guarantee Systems (RGS) คือ การค้ำประกันค่าภาษีอากรที่นำเข้าตามมาตรา 19 ทวิ โดยวิธีวางประกันลอยเป็นการ On-line ระหว่างกรมศุลกากรกับธนาคารโดยผู้นำของเข้าไปขอวงเงินอนุมัติการวางค้ำประกันค่าภาษีอากรที่ธนาคาร และเมื่อมีการนำสินค้าเข้า ธนาคารจะทำการลดยอดวง เงินค้ำประกันลง หรือหากมีการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิกรณีส่งสินค้าออก กรมศุลกากรก็จะทำการเพิ่มยอดวงเงินค้ำประกัน เมื่อมีการอนุมัติคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ปัจจุบันได้โอนระบบงานประกันลอย(Revolving Guarantee Systems: RGS) ไปอยู่ในความดูแลของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อดำเนินการตามนโยบายของกรมฯ ซึ่งกำหนดว่าในปี 2550 กรมฯ จะเริ่มเปลี่ยนการค้ำประกันจากหนังสือนาค้ำประกันเป็นระบบการค้ำประกันลอย(Revolving Guarantee Systems: RGS) S N P ต่อหน้า 3
หน้า 3 8. Blueprint for Change คือข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเรื่อง การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรที่เขตปลอดอากร เป็นแผนงานที่สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรนำเสนอกรมฯ เพื่อนำไปจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2549 มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าให้กับผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร โดยปรับปรุงระเบียบพิธีการศุลกากรจากรูปแบบกึ่งอัตโนมัติ คือเป็นรูปแบบผสมผสานการปฏิบัติพิธีการศุลกากร โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และการทำงานของเจ้าหน้าที่มาเป็นการปฏิบัติพิธีการศุลกากรโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด และเป็นระบบไร้เอกสาร(Paperless) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถกำหนดแผนการบริหารจัดการสินค้าได้อย่างคล่องตัวเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า 9. Local Profile คือ โครงการที่นำระบบการบริหารความเสี่ยงมาใช้กับงานด้านสิทธิประโยชน์ฯ โดยการศึกษาวิเคราะห์ระเบียบ/สภาพปัญหาที่เป็นจุดอ่อนอันอาจเป็นช่องทางในการกระทำผิด และรวบรวมข้อมูล ปัจจัยความเสี่ยงเหล่านั้นมากำหนดเป็นกรอบและเงื่อนไขการจัดทำ Local Profileเพื่อประโยชน์ต่อการควบคุมทางศุลกากรอย่าง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 10. RFID เป็นระบบควบคุมสินค้าด้วยระบบ Radiofrequency Identificationทำหน้าที่ควบคุมการนำสินค้าจากท่าเรือหรือด่านเข้าสู่คลังสินค้าทัณฑ์บน โดยRFID Tag จะถูกคล้องไว้กับประตูของตู้คอนเทนเนอร์ และเป็นตัวเก็บ เลขที่ใบขนสินค้าเพื่อใช้การเชื่อมโยงข้อมูลใบขนสินค้าที่อยู่ในระบบและยังสามารถบันทึกวันเวลาที่ตู้คอน เทนเนอร์ถูกเปิดได้ รวมถึงรหัสของเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสินค้าดังนี้ระบบจะถูกติดตั้งไว้ที่ด่านต่างๆ โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ถูกติด ตั้งไว้ให้สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบควบมุที่ศูนย์กลางได S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก