1 / 41

E-Mail / Social Network

E-Mail / Social Network. อ.วร พจน์ พรหมจักร. วัตถุประสงค์. 1. เพื่อให้นักศึกษารับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสาร 2. เพื่อให้นักศึกษาเลือกใช้ช่องทางในการสื่อสารได้อย่างเหมาสม 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ e-mail และ social network ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

ulema
Download Presentation

E-Mail / Social Network

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. E-Mail / Social Network อ.วรพจน์ พรหมจักร

  2. วัตถุประสงค์ • 1. เพื่อให้นักศึกษารับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสาร • 2. เพื่อให้นักศึกษาเลือกใช้ช่องทางในการสื่อสารได้อย่างเหมาสม • 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ e-mail และ social network ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  3. E-Mail • E-Mail (electronic mail) คือ เป็นบริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในแบบเดียวกับจดหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ คือ ส่งแล้วได้ข้อมูลนั้นไปกองรอไว้ เมื่อผู้รับว่างจึงจะเข้าไปเปิดอ่าน โดยไม่จำเป็นต้องมีการโต้ตอบกันทันที อีเมล์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ใช้กันอย่างแพร่หลายบนอินเตอร์เน็ตมานานแล้ว (เน็ตเวิร์คในองค์กรก็อาจจะมีอีเมล์ภายในใช้เช่นกัน) โปรแกรมที่ใช้รับส่งอีเมล์จะรับส่งผ่านเครื่องที่ให้บริการรับส่งเมล์ ซึ่งเรียกว่า “เมล์เซิร์ฟเวอร์” (mail server)

  4. ประวัติ • อีเมล์เริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) โดยใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ปัจจุบันได้มีการเถียงกันระหว่างเครื่อง SDC's Q32 และ MIT's CTSS ว่าใครเป็นผู้ใช้ระบบอีเมล์เป็นเครื่องแรก • ต่อมาพัฒนาให้สามารถส่งอีเมล์ข้ามระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยระบบแรก ๆ ได้แก่ ระบบ AUTODIN ซึ่งเป็นระบบเชื่อมโยงข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (ปีพ.ศ. 2509) และ ระบบ SAGE ซึ่งใช้ตรวจจับเครื่องบินทิ้งระเบิด • ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาร์พาเน็ต (ARPANET) มีส่วนเป็นอย่างมากในการพัฒนาอีเมล์ มีการทดลองส่งครั้งแรกในเครือข่ายเมื่อปีพ.ศ. 2512  • ในปี พ.ศ. 2514 นายเรย์ ทอมลินสัน (Ray Tomlinson) เริ่มใช้เครื่องหมาย @ ในการคั่นระหว่างชื่อผู้ใช้กับชื่อเครื่อง เขายังเขียนโปรแกรมรับส่งอีเมลที่ชื่อ SNDMAIL และ READMAIL อาร์พาเน็ตทำให้อีเมลได้รับความนิยม และอีเมลก็ได้กลายเป็นงานหลักของอาร์พาเน็ต

  5. ประวัติ • เมื่อประโยชน์ของอีเมล์เป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็มีการคิดค้นระบบอีเมล์ที่ติดต่อโดยช่องทางอื่นสำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ใช้เครือข่ายอาร์พาเน็ต เช่นผ่านเครือข่าย UUCP หรือ VNET ก่อนที่มีการพัฒนาอีเมล์ที่ค้นหาเส้นทางในการส่งโดยอัตโนมัติ (auto-routing) การส่งผ่านอีเมล์ข้ามจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบจำเป็นระบุเส้นทางการส่งโดยใช้เครื่องหมาย ! คั่นชื่อเครื่องระหว่างทาง วิธีนี้สามารถเชื่อมอีเมล์จาก อาร์พาเน็ตBITNET NSFNET UUCP เข้าด้วยกัน • ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2520 หน่วยงาน IETF ออกแบบและกำหนดโพรโทคอลในการส่งอีเมลที่มีชื่อว่า SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol ปัจจุบันโพรโทคอลนี้ถือเป็นมาตรฐานในการรับส่งอีเมลบนอินเทอร์เน็ต

  6. รูปแบบของ e-mail address • การส่งอีเมล์นั้นเราต้องรู้ที่อยู่ของผู้รับหรือที่เรียกว่า “ตู้จดหมาย” (mailbox) ซึ่งแต่ละคนจะมีที่อยู่แตกต่างกันไปในรูปแบบ “ชื่อผู้ใช้@ชื่อโดเมนหรือชื่อหน่วยงาน” เช่นworapojpromjuk@gmail.com

  7. SMTP • SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) • เป็นโปรโตคอลแบบ TCP/IP ที่ใช้ในการรับส่ง email ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องของความสามารถในการรับส่ง mail ว่ามันสามารถทำได้แบบเป็นคิวเท่านั้น จึงทำให้เกิดโปรโตคอลที่จะมาแก้ไขในเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ POP กับ IMAP แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่า SMTP จะมีข้อจำกัดในการรับ mailแต่สำหรับการส่ง mail หลาย ๆ โปรแกรมก็ยังคงนิยมใช้ SMTP ในการส่ง mail อยู่เช่นเดิม

  8. ประเภทของ E-Mail • e-mailมี  3  ประเภท  คือ • 1. POP  (Post Office Protocol Version) • POP ถูกออกแบบสำหรับการเข้าถึงแบบ offline คือ จดหมายอยู่ใน server และผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมที่สนับสนุน POP ในการเข้าถึงจดหมายจากระยะไกล การจัดการใดๆ กับจดหมายจะเป็นการจัดการในเครื่องของผู้ใช้เท่านั้น ถึงแม้ว่าข้อจำกัดของการเข้าถึงแบบ offline จะทำให้เกิดความคิดที่จะทำให้ POP สามารถใช้งานในแบบ online หรือ แบบ disconnected ได้ แต่ POP ขาดคุณสมบัติที่จำเป็นบางอย่าง ส่วนการเข้าถึงแบบเสมือน online (pseudo-online) จดหมายจะไม่ถูกลบออกจาก server แต่ก็ไม่ใช่การเข้าถึงแบบ online ที่แท้จริง เพราะขาดโปรโตคอลในการเข้าถึงระบบไฟล์ในเครื่อง server ในการที่จะเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลง folder หรือ สถานะต่างๆ ของจดหมาย ตัวอย่างเช่น การตั้งค่าสถานะของจดหมาย เช่นได้ถูกอ่านแล้ว จะถูกตั้งค่าเพียงแค่ในเครื่องไคลเอนท์ที่ใช้เท่านั้น แต่สถานะของจดหมายที่แท้จริงบนเซิร์ฟเวอร์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง หรือการจัดเก็บจดหมายลง folder จะถูกจัดเก็บลงในเครื่องไคลเอนท์เท่านั้น ซึ่งที่จริงควรจะจัดเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ เพราะหากว่ามีการใช้ไคลเอนท์เครื่องอื่น ก็ยังสามารถเห็น folder นั้นๆได้

  9. ประเภทของ E-Mail • 2.IMAP  (Internet Message Access Protocol Version) • มีความสามารถในการเข้าถึงทั้งแบบ offline และแบบ online โดยในแบบ online จดหมายจะไม่ถูกดึงมา แต่จะเป็นแบบโต้-ตอบกับ server นั่นคือผู้ใช้สามารถดึงเฉพาะหัวข้อจดหมาย , บางส่วนของจดหมาย หรือค้นหาจดหมายที่ตรงความต้องการ โดยจดหมายที่ถูกเก็บไว้บน server และสามารถตั้งค่าสถานะของจดหมายต่างๆ เช่น ถูกลบไปแล้ว , ตอบไปแล้ว และจะยังอยู่ใน server จนกว่าผู้ใช้จะสั่งลบ อธิบายง่ายๆ คือ IMAP ถูกออกแบบให้การเข้าจดหมายจากระยะไกลเหมือนกับการเข้าถึงจดหมายจากภายในเครื่องของผู้ใช้เอง ซึ่งขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้ว่าจะเก็บจดหมายไว้ในเครื่องของผู้ใช้เอง หรือเก็บไว้ใน server หรือให้ผู้ใช้เลือกเองอย่างใดอย่างหนึ่ง • การใช้ IMAP อาจทำให้ Mail Box เต็มเร็วได้ในกรณีที่ท่านลืมลบหรือลืม Empty Trash

  10. ประเภทของ E-Mail • 3. WEB Based • Web Base Mailเช่น อีเมล์ของ hotmail.com, gmail.comซึ่งหากต้องการใช้งานอีเมล์เหล่านี้ จะต้องใช้งานโดยผ่านทางเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Firefoxก็สามารถเข้าเช็คอีเมล์หรือเขียนอีเมล์ได้อย่างสะดวก ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเสมอไป เพราะโปรแกรมอีเมล์ดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี Web-based Applicationที่ใช้โปรแกรมเว็บบราวเซฮร์เป็นเครื่องมือในการเปิดโปรแกรมใช้งาน จึงทำให้โปรแกรมอีเมล์สามารถทำงานได้เหมือนกับการเข้าไปดูเว็บไซต์ทั่วไป

  11. IMAP แตกต่างจาก POP อย่างไร • แตกต่างกันตรงที่ระบบ IMAP นั้นจะเก็บ Email ของท่านไว้ที่ Server ตลอดเวลาจนกว่าท่านจะมีการสั่งลบออกจากระบบ ยกตัวอย่างเช่นท่านใช้ Outlook Express ในการเรียกใช้งาน IMAP ตัว Email ที่อยู่บน Server จะถูกดูดไปเฉพาะ หัวข้อ Email เท่านั้น เมื่อท่านเปิดอ่าน Email นั้น ๆ ถึงจะถูกโปรแกรม Outlook Express ดูดไปเก็บไว้ในเครื่อง โดยถึงแม้ว่า Outlook Express จะดูดเนื้อหา Email ฉบับนั้นไปเก็บไว้ในเครื่องแล้วก็ตาม ตัว Email จริง ๆ ก็จะยังคงอยู่บน Server จนกว่า ท่านจะสั่งลบจากใน Outlook Express ซึ่งเมื่อลบแล้ว บน Server ก็จะลบตามไปด้วย 

  12. บริการฟรี e-mail • Free e-mail คือ อีเมล์ที่มีผู้ให้บริการ mailbox หรือตู้ไปรษณีย์ฟรีบนอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มากมาย เช่น hotmail.com, yahoo.com, gmail.com ฯลฯ

  13. รูปแบบของบริการฟรี e-mail • Web-based e-mail เป็นแบบพื้นฐานที่ผู้ให้บริการฟรีอีเมล์ทุกรายมีให้ ซึ่งไม่ต้องใช้โปรแกรมรับ/ส่งเมล์บนเครื่องของเรา แต่จะใช้บราวเซอร์เปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการเพื่ออ่านหรือส่งอีเมล์ ข้อดีคือเราจะส่งหรืออ่านเมล์จากเครื่องไหนก็ได้ในโลก โดยเมล์ที่เปิดอ่านแล้วจะยังคงอยู่บนเครื่องของผู้ให้บริการนั้นจนกว่าจะสั่งลบ • POP e-mail บริการนี้จะต้องใช้โปรแกรมเฉพาะ เช่น windows mail, window live mail, outlook express หรือMicrosoft office outlook ดึงข้อมูลจากเมล์บ็อกของผู้ให้บริการฟรีอีเมล์มาอ่านที่เครื่องของเรา โดยไม่ต้องเปิดเข้าไปที่เว็บไซต์ จึงไม่ต้องต่ออินเตอร์เน็ตค้างไว้ขณะเขียนหรืออ่านอีเมล์ผู้ให้บริการบางรายอาจคิดค่าบริการในการดึงเมล์ด้วย

  14. ประโยชน์ของ e-mail • 1. ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค สำหรับอีเมล์ในทุกแห่งทั่วโลกที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อถึงกันได้ สามารถเข้าไปสถานที่เหล่านั้นได้ทุกที่ ทำให้ผู้คนทั่วโลกติดต่อถึงกันได้ทันที ผู้รับสามารถจะรับข่าวสารจาก อีเมล์ได้แทบจะทันทีที่ผู้ส่งจดหมายส่งข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์เสร็จสิ้น • 2. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่หน้าจอ คอมพิวเตอร์ก็ตาม จดหมายจะถูกเก็บไว้ในตู้จดหมายของคอมพิวเตอร์และเป็นส่วนตัว จนกว่า เจ้าของจดหมายที่มีรหัสผ่านจะเปิดตู้จดหมายของตนเอง • 3. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลายๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งให้ ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน เช่น หนังสือเวียนแจ้งข่าวให้สมาชิกใน กลุ่มทราบหรือเป็นการนัดหมายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เป็นต้น

  15. ประโยชน์ของ e-mail • 4. ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่งจดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง เนื่องจากไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำหนัก และระยะทางของจดหมายเหมือนกับไปรษณีย์ธรรมดา • 5. ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก ซึ่งจะทำให้ทราบว่าใน ตู้จดหมายของผู้รับมีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่าน จดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้งก็สามารถเก็บข้อความไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน  • 6. สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Transferring Files) แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปได้ โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์ จากความสำคัญของอีเมล์ที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้อย่างคุ้มค่านี้ ทำให้ในปัจจุบันอีเมล์แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทุกแห่งทั่วโลกที่ทำให้สมาชิกในชุมชนโลกสามารถติดต่อกันผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้ในทุกที่ทุกเวลา

  16. อภิปราย • การนำ e-mail มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาได้อย่างไรบ้าง ?

  17. Social Network • Social network (เครือข่ายสังคมออนไลน์) คือ Social Network หมายถึง สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเทอร์เน็ตได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา และได้ทำความรู้จักกับเพื่อนหรือคนอื่นๆ และยังสามารถแนะนำตัวเองได้เช่น FaceBook, Twitter เป็นต้น

  18. ความเป็นมาของ Social Network จุดเริ่มต้นของสังคมออนไลน์เกิดขึ้นจากเว็บไซต์ Classmates.com เมื่อปี 1995 และเว็บไซต์SixDegrees.com ในปี 1997 ซึ่งเป็นเว็บ ไซต์ที่จำกัดการใช้งานเฉพาะนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนเดียวกัน เพื่อสร้างประวัติ ข้อมูลการสื่อสาร ส่งข้อความ และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สนใจร่วมกันระหว่างเพื่อน นักเรียนในลิสต์เท่านั้น ต่อมาในปี 1999 เว็บไซต์ epinions.com ที่พัฒนา โดย Jonathan Bishop ก็ได้มีการเพิ่มฟังก์ชั่นในส่วนของการที่ผู้ใช้สามารถ ควบคุมเนื้อหาและติดต่อถึงกันได้ ไม่เพียงแต่เพื่อนในรายชื่อเท่านั้น

  19. ประเภทของ Social Network

  20. 1. Identity Network เผยแพร่ตัวตน ใช้สำหรับนำเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของตนเองทางอินเตอร์เน็ทสามารถสร้างอัลบั้มรูปของตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อน และสร้างเครือข่ายขึ้นมาได้

  21. 2. Creative Network เผยแพร่ผลงาน สามารถนำเสนอผลงานของตัวเองได้ในรูปแบบของวีดีโอ ภาพ หรือเสียงเพลง

  22. 3. Interested Networkความสนใจตรงกัน • • del.icio.us เป็น Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking โดยเป็นการ Bookmark เว็บที่เราสนใจไว้บนอินเทอร์เน็ตสามารถแบ่งปันให้คนอื่นดูได้และยังสามารถบอกความนิยมของเว็บไซด์ต่างๆได้ โดยการดูจากจำนวนตัวเลขที่เว็บไซต์นั้นถูก Bookmark เอาไว้จากสมาชิกคนอื่นๆ • • Digg นั้นคล้ายกับ del.icio.us แต่จะมีให้ลงคะแนนแต่ละเว็บไซด์ และมีการ Comment ในแต่ละเรื่อง • Zickrถูกพัฒนาขึ้นมาโดยคนไทย เป็นเว็บลักษณะเดียวกับ Digg แต่เป็นภาษาไทย

  23. 4. Collaboration Network ร่วมกันทำงาน คือเป็นการร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์หรือส่วนต่างๆของซอฟต์แวร์ •WikiPediaเเป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ไว้มากมาย • ปัจจุบันเราสามารถใช้ Google Maps สร้างแผนที่ของตัวเอง หรือจะแบ่งปันแผนที่ให้คนอื่นได้ใช้ด้วย จึงทำให้มีสถานที่สำคัญ หรือสถานที่ต่างๆ ถูกปักหมุดเอาไว้ พร้อมกับข้อมูลของสถานที่นั้นๆ ไว้แสดงผลจากการค้นหา

  24. 5. Gaming/Virtual Reality โลกเสมือน

  25. 6. Peer to Peer (P2P) P2P เป็นการเชื่อมต่อกันระหว่าง Client (เครื่องผู้ใช้, เครื่องลูกข่าย) กับ Client โดยตรง โปรแกรม Skype จึงได้นำหลักการนี้มาใช้เป็นโปรแกรมสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ต และก็มี BitTorrentเกิดขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการแบ่งปันไฟล์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว แต่ทว่ามันก็ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์

  26. ประโยชน์ของ Social Network บริษัทต่างๆเริ่มหันมาใช้ Social Networkในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการมากขึ้น เนื่องจากจัดการใช้งาน และอัพเดทให้ทันสมัยได้ง่าย อีกทั้งยังเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ดี เพราะ Social Network ส่วนใหญ่จะสำรวจและแยกประเภทความสนใจของสมาชิกอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่ถูก และสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทกับลูกค้าผ่านข้อความแสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย

  27. ประโยชน์ของ Social Network • ด้านการตลาด (Marketing) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่นำ Social Networking มาใช้ประโยชน์ในการสร้างแบรนด์ ได้อย่างชัดเจน เพราะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าถึง สร้างความสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคได้ดีและวัดผลได้ทันที เช่น การโฆษณาออนไลน์ (Online Advertising) การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ผ่านเว็บไซต์

  28. ประโยชน์ของ Social Network • ด้านบันเทิง (Entertainment) เป็นอีกส่วนหนึ่งที่นิยมหันมาใช้ประโยชน์จาก Social Networking เช่น การชมภาพยนตร์ การฟังเพลง การสร้างแฟนคลับ ผ่าน Facebook หรือการให้ Download เพลง มิวสิควีดีโอ คอนเสิร์ต หรือแม้กระทั่งรูปภาพของดารา ศิลปินที่ชื่นชอบ เช่น เว็บไซต์ดาวน์โหลดเพลงของ GMM Grammy (www.gmember.com) หรือ Sanook.com ที่มีให้ดาวน์โหลดเพลงประกอบภาพยนตร์ (blogger.sanook.com) เป็นต้น

  29. ประโยชน์ของ Social Network • ด้านสื่อสารการเมือง (Communication Political) กลุ่มนี้จัดได้ว่า เป็นกลุ่มที่สร้างกระแสนิยม (แจ้งเกิด) ให้กับ Social Networking ระดับโลกเมื่อ บารัค โอบามา ใช้เป็นเครื่องมือหาเสียงจนได้รับการรับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ (http://www.youtube.com) จน มาถึง อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย อย่าง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่ก็มีการใช้ Twitter ในการสื่อสารทางการเมืองกับประชาชน (@ThaksinliVE)

  30. ประโยชน์ของ Social Network • ด้านการสื่อสาร (Communication) โดยเฉพาะถูกนำมาใช้เป็นช่องทางในการนำเสนอข่าวสารผ่าน Website ของสำนักข่าว อย่าง ผู้จัดการออนไลน์ (Manager.co.th) เนชั่นชาแนล (Nationchannel.com) หรือที่อยู่ในรูปแบบของ Webblogอย่าง oknation.net ที่มีผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวเป็น Blogger หรือกรณีของนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) ที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถเป็นนักข่าวได้ เพียงมีมือถือ หรือกล้องถ่ายรูปดิจิตอลก็สามารถ upload ข้อมูลข่าวสารไปยัง Webbolgต่างๆ ได้ โดยไม่มีการปิดกั้น

  31. ประโยชน์ของ Social Network • ในเมื่อ Social Network มีข้อดีในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นถ้านำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา เช่น การจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการกับระบบ Multimedia การบริหารจัดการโดยประยุกต์ใช้แทนการประชุมในห้องประชุม การส่ง smsการรายงานข้อมูลแบบไม่เป็นทางการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น น่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา การเรียนรู้ของนักเรียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูได้เป็นอย่างดี • ด้านการศึกษา (Education) ถูกนำมาใช้ในการสืบค้น ความรู้ ข้อเท็จจริง ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ที่มักเรียกว่า สารานุกรมออนไลน์ ซึ่งสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ อย่าง Wikipedia หรือ Google Earth

  32. ประโยชน์ของ Social Network ด้านการศึกษา • 1) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสังคมในชั้นห้องเรียน เนื่องจากบรรยากาศของเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ผ่านภายมิติความสัมพันธ์ของคนในเครือข่ายด้วยเหตุนี้เมื่อทั้งผู้สอนและผู้ เรียนเข้าสู่การสร้างความสัมพันธ์ภายในระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็จะนำไป สู่การพัฒนาความสัมพันธ์ในสังคมจริงในทิศทางที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นซึ่งเป็น ผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจริงนอกจากนี้ลักษณะการนำ เสนอข้อมูล สถานภาพที่เป็นปัจจุบันทำให้ทั้งผู้สอนสามารถติดตามพฤติกรรมและประสานข้อมูล ได้อย่างทันท่วงที

  33. ประโยชน์ของ Social Network ด้านการศึกษา • 2) การกระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่กว้างขวาง การตั้งประเด็นแลกเปลี่ยนข้อสงสัยต่างๆ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ทำได้อย่างทันท่วงทีและเป็นเครื่องมือสำหรับผู้ สอนในการกระตุ้นผู้เรียนได้เป็นอย่างดีในขณะเดียวกันผู้สอนสามารถนำเสนอ เนื้อหาใหม่ๆได้อย่างต่อเนื่องและผู้เรียนสามารถติดตามได้อย่างต่อเนื่อง

  34. ประโยชน์ของ Social Network ด้านการศึกษา • 3) การส่งเสริมการศึกษาตามความสนใจและความถนัด เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของเว็บบล็อกเป็นระบบที่ส่ง เสริมการเผยแพร่ผลงานตามความถนัดและความสนใจของทั้งผู้สอนและผู้เรียนอีก ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนขยายผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  35. ประโยชน์ของ Social Network ด้านการศึกษา • 4) การส่งเสริมการบันทึกและการอ่าน การเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ผ่านรูปแบบของข้อเขียนในหลาย ลักษณะเช่น ข้อความสั้นในระบบ twitter ข้อความปานกลางของเว็บ facebookหรือข้อความยาวๆของระบบเว็บบล็อก เป็นต้นในขณะเดียวกันเครือข่ายสังคมออ นไลน์ก็มีข้อเสียที่อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ด้วยเช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้เรียนที่อาจจะมีความจำเป็นที่ผู้ปกครองจะต้องให้การดูแลอย่างใกล้ ชิด

  36. ข้อดีของ Social Network • สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ • เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคำถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคำตอบได้ช่วยกันตอบ • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว • เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น

  37. ข้อดีของ Social Network • ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสำหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า • ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ขึ้น • คลายเครียดได้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุกๆ • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้

  38. ข้อเสียของ Social Network • เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ • Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์

  39. ข้อเสียของ Social Network (ต่อ) • เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น • ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กำหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้

  40. แบบฝึกหัด • ให้นักศึกษาค้นหาตัวอย่างเว็บไซต์ e-learning จาก search engine (บอกด้วยว่าใช้ search engine และ keyword อะไร) แล้ว capture หน้า homepage ของ e-learning ที่พบ 1 รูป วิธีส่ง • ส่งด้วย e-mail ของนักศึกษา มาที่ e-mail อาจารย์ และสมาชิกในกลุ่ม (ส่งภายในคลาสเรียน) 2. จงอธิบายว่า Social Network มีประโยชน์ด้านการศึกษาอย่างไร (เขียนด้วยลายมือ)

More Related