1 / 19

ความก้าวหน้าและผลของเทคโนโลยีชีวภาพ

ความก้าวหน้าและผลของเทคโนโลยีชีวภาพ. เทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง การนำเอาสิ่งมีชีวิตหรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาปรับปรุง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีประโยชน์มากขึ้น เช่น การถ่ายฝากตัวอ่อน การโคลน พันธุวิศวกรรม. การถ่ายฝากตัวอ่อน.

ulric-logan
Download Presentation

ความก้าวหน้าและผลของเทคโนโลยีชีวภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความก้าวหน้าและผลของเทคโนโลยีชีวภาพความก้าวหน้าและผลของเทคโนโลยีชีวภาพ

  2. เทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง การนำเอาสิ่งมีชีวิตหรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาปรับปรุง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีประโยชน์มากขึ้น เช่น การถ่ายฝากตัวอ่อน การโคลน พันธุวิศวกรรม

  3. การถ่ายฝากตัวอ่อน การถ่ายฝากตัวอ่อน เป็นวิธีที่พัฒนามาจากการผสมเทียม เพื่อให้ได้ปริมาณสัตว์พันธุ์ดีเพิ่มขึ้นในระยะเวลาที่เท่ากัน วิธีการถ่ายฝากตัวอ่อนนี้จะทำกับสัตว์ที่ตกลูกครั้งละ 1 ตัว และใช้เวลาอุ้มท้องนาน ๆ เช่น โค กระบือ เป็นต้น

  4. การโคลน หรือ การปลูกถ่ายพันธุกรรม การโคลน (Cloning) คือ กรรมวิธีการนำเอา DNA ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะทางพันธุกรรมในเซลล์จากพืช หรือสัตว์ต้นแบบมากระตุ้นให้เจริญพันธุ์ เพื่อสร้างตัวใหม่

  5. การโคลน (Cloning) เป็นการผลิตสิ่งมีชีวิตให้มีลักษณะพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ ทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมือนกันเป็นจำนวนมากภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งทำให้ได้ทั้งพืชและสัตว์ อย่างเช่น การโคลนพืชซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาก เนื่องจากมีการนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรม อย่างแพร่หลายใน พ.ศ. 2537 ที่เรียกว่า การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

  6. การโคลนนิ่งสัตว์ (animal cloning) ดร.เอียน วิลมุต นักวิทยาศาสตร์ชาวสกอต ได้โคลนแกะดอลลี่สำเร็จด้วยวิธีการดังนี้

  7. "คอปปี แคท "(CopyCat) หรือ ซีซี (CC) แมวตัวแรกของโลกที่โคลนขึ้น โดยทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเท็กซัส เอแอนด์เอ็ม (Texas A & M University)

  8. ลูกแพะโคลนนิ่ง (กลาง) กับแพะต้นแบบเพศผู้(ขวา) โดยมีแม่อุ้มบุญ (ซ้าย) ที่ไม่มีความข้องเกี่ยวทางพันธุกรรมยืนอยู่ข้างๆ โดย ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)

  9. พันธุวิศวกรรม พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) หมายถึง การนำเอายีนจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปถ่ายฝากให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น โดยมียีนพาหะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะต่างไปจากพันธุ์เดิมที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น การนำยีนบางยีนจากปลาตัวใหญ่มาใส่ปลาตัวเล็ก แล้วทำให้ปลาเล็กมีขนาดใหญ่กว่าเดิม หรือหนูเล็กได้รับยีนสร้างฮอร์โมนเจริญเติบโต (growth hormone (GH)) ของมนุษย์เข้าไปทำให้ขนาดใหญ่ขึ้น

  10. ดีเอ็นเอพาหะ (DNA vector) เป็นตัวรับชิ้นส่วนของยีนเพื่อต้องการศึกษา แล้วนำไปสอดแทรกในดีเอ็นเอหรือโครโมโซมเป้าหมาย ดีเอ็นเอพาหะที่นิยมใช้กัน คือ พลาสมิต (plasmid) ตามปกติพบอยู่ในเซลล์แบคทีเรีย มีขนาดเล็ก รูปร่างกลม สามารถจำลองตัวเองได้ พบอยู่เป็นอิสระไม่รวมกับโครโมโซมแบคทีเรีย มีสมบัติทำให้แบคทีเรียสามารถต้านยาปฏิชีวนะ ต้านโลหะหนัก และชักนำให้เกิดปมขึ้นในพืช

  11. ประโยชน์ของพันธุวิศวกรรม มีดังนี้ 1. ผลิตฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนอินซูลิน เอนเดอร์ฟิน เป็น ฮอร์โมนอินซูลินนี้แต่ก่อนอาจสกัดได้จากเนื้อเยื่อหรือต่อมไร้ท่อของสัตว์ แต่ปัจจุบันผลิตได้จากแบคทีเรียและยีสต์ 2. สร้างวัคซีน ใช้สร้างวัคซีนที่ปราศจากสารแอนติเจนที่มีพิษ ป้องกันโรคตับอักเสบ โรคเท้าในสัตว์ และโรคกลัวน้ำ 3. แก้ไขโรคพันธุกรรมบางชนิด โดยการตรวจพันธุกรรมทารกก่อเกิดโดยการใช้น้ำคร่ำ เพื่อตรวจหา DNA ที่ผิดปกติแล้วทำการแก้ไข DNA

  12. 4. การปรับปรุงพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ เช่น การสร้างสัตว์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น โตเร็ว มีปริมาณเนื้อมาก หรือให้ได้พันธุ์พืชที่ทนทานต่อแมลงศัตรูพืช ให้ผลผลิตมาก เป็นต้น

More Related