1 / 28

หลักการลงรายการอ้างอิงและบรรณานุกรม

หลักการลงรายการอ้างอิงและบรรณานุกรม การอ้างอิง ( Reference ) คือ การระบุแหล่งที่มาของข้อความที่นำมาอ้างถึงใน ราย งานที่ ทำ การอ้างอิง มี 2 แบบ คือ * อ้างอิงแบบเชิงอรรถ * อ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา.

Download Presentation

หลักการลงรายการอ้างอิงและบรรณานุกรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักการลงรายการอ้างอิงและบรรณานุกรมหลักการลงรายการอ้างอิงและบรรณานุกรม การอ้างอิง ( Reference ) คือ การระบุแหล่งที่มาของข้อความที่นำมาอ้างถึงในรายงานที่ทำ การอ้างอิงมี 2 แบบ คือ * อ้างอิงแบบเชิงอรรถ*อ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา

  2. การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ( Footnote in text) -- การอ้างอิงที่ระบุที่มาของข้อความในตัวเรื่อง โดยพิมพ์ไว้ที่ส่วนล่างของหน้ากระดาษ -- เรียงลำดับโดยใช้ตัวเลขต่อเนื่องกันไม่แยกภาษาไทย - อังกฤษ เมื่อขึ้นบทใหม่แต่ละบทให้เริ่มเลข 1 ใหม่ -- การลงเชิงอรรถเมื่ออ้างถึงเอกสารซ้ำ หากไม่มีเอกสารอื่นมาคั่น ให้ใช้ว่า เรื่องเดียวกัน สำหรับภาษา อังกฤษใช้ว่า Ibid

  3. ถ้าอ้างถึงเอกสารเรื่องเดียวกันแต่ต่างหน้ากันให้ลงเลขหน้ากำกับด้วย เช่น เรื่องเดียวกัน น. 13 หรือ Ibid p.13 การอ้างถึงเอกสารเรื่องเดียวกันซ้ำอีกโดยมีเอกสารอื่นมาคั่นให้ลงรายการอย่างย่อ คือ ลงชื่อผู้แต่งและชื่อเรื่อง ส่วนรายการที่เกี่ยวกับสถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ ให้ตัดออก

  4. รูปแบบเชิงอรรถ มีการลงรายการแตกต่างกันตามประเภทของเอกสาร หนังสือ ผู้แต่ง, ชื่อเรื่อง, ชื่อชุด(ถ้ามี), ครั้งที่พิมพ์(ถ้าพิมพ์มากกว่าหนึ่งครั้ง), (สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์, ปีพิมพ์), หน้าที่อ้างถึง. 1 ชลธาร วิศรุตวงศ์, การใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ชุดโครงการวิจัยการกระจายอำนาจทางการคลัง, (กรุงเทพมหานคร: 2544), น. 20-22.

  5. บทความ ผู้เขียน,“ชื่อบทความ,”ชื่อวารสาร เล่มที่หรือปีที่ (เดือน ปี): หน้า. 2 ปราณี ทินกร,“ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในช่วงสี่ทศวรรษของการพัฒนาประเทศ 2504-2544,”เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์20(มิถุนายน-กันยายน 2545): 14-20. บทความจากหนังสือพิมพ์ก็ลงรายการคล้ายกัน เพียงแต่ไม่ลงเล่มที่หรือปีที่ และเพิ่มวันที่ในส่วนที่เป็นเดือนปี

  6. วิทยานิพนธ์ ผู้เขียน,“ชื่อวิทยานิพนธ์,” (ระดับของวิทยานิพนธ์ คณะ มหาวิทยาลัย, ปีพิมพ์), หน้า. 3 วิริยา โชคมหาสิน,“การวิเคราะห์การกระจายรายได้ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2529-2535,” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539), น. 50.

  7. เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์ ลงรายการเหมือนหนังสือ และระบุลักษณะของเอกสารนั้นๆ เช่น อัดสำเนา หรือ Mimeographed สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษไว้ในวงเล็บท้ายสุดของรายการ 4 สำนักงานจังหวัดลำปาง, “บรรยายสรุปจังหวัดลำปาง ปี 2546,” (กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและดารสื่อสาร, 2546), (อัดสำเนา)

  8. การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (Reference citation in text) ประกอบด้วยผู้แต่ง ปีที่พิมพ์และหน้าที่อ้างอิง หลักการลงรายการผู้แต่ง 1. ชาวต่างประเทศให้ลงเฉพาะนามสกุล หากเป็นชาวไทย ลงทั้งชื่อและนามสกุลแม้งานเขียนจะเป็นภาษาต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น (Medhi Krongkaew, 1998, pp. 4-5 ) ( Stiglitz, 2000, p. 68 )

  9. 2. ผู้ที่มีบรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์และสมณศักดิ์ให้ใส่ด้วย ตัวอย่าง ( ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช , 2528 , น. 45 ) 3. ยศทางตำรวจ ทหาร ตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ดร.ผศ. รศ. นายแพทย์ ไม่ต้องใส่ ตัวอย่าง ( อัมมาร สยามวาลา , 2539 , น. 18 ) ( ทักษิณ ชินวัตร , 2540 , น. 32 )

  10. 4. ถ้ามีการระบุชื่อผู้แต่งไว้ในข้อความอ้างอิงแล้ว ใส่ เฉพาะปีที่พิมพ์ในวงเล็บหลังชื่อผู้แต่ง ตัวอย่าง Smith (1993) compared reaction… 5. หากมีผู้แต่ง 2 คน ให้ใส่ชื่อทั้ง 2 คน โดยใช้ and สำหรับงานเขียนภาษาต่างประเทศ หรือ และ สำหรับภาษาไทย ตัวอย่าง ( Gensen and Helsel , 1998 ) ( สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ , 2539 , น. 89 )

  11. 6. ถ้าผู้แต่งมีมากกว่า 2 คนแต่ไม่เกิน 6 คน ในการอ้างถึงครั้งแรก ให้ใส่ชื่อทุกคน เมื่ออ้างครั้งต่อๆ มา ใส่เฉพาะคนแรก ตามด้วยคำว่า et al. หรือ และคณะ ตัวอย่าง Neter, Wasserman, and Whitman อ้างครั้งแรก Neter, et al. อ้างครั้งต่อๆมา กรณีที่ผู้แต่งมากกว่า 6 คน ให้ลงเฉพาะคนแรกตามด้วย et al. หรือ และคณะ

  12. 7. กรณีผู้แต่งเป็นสถาบันให้ใส่ชื่อเต็มทุกครั้ง ยกเว้นชื่อย่อของสถาบันนั้นเป็นที่รู้จัก การอ้างถึงครั้งแรกให้ลงชื่อเต็ม ครั้งต่อๆ ไปจึงลงเป็นชื่อย่อ ตัวอย่างThailand Development Research Center อ้างครั้งแรก TDRIอ้างครั้งต่อๆ มา

  13. 8. ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ชื่อเรื่องแทนตามด้วยปีที่พิมพ์ ภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่กับอักษรตัวแรกของแต่ละคำ ถ้าเป็นบทความ ให้ใส่เครื่องหมาย “ ” ตัวอย่าง ( “ อนาคตของอัตราดอกเบี้ยไทย,”2535, น. 3) ( Harry Potter: the Goblet of Fire,2001)

  14. กรณีที่มีบรรณาธิการ ผู้รวบรวม ให้ลงชื่อบุคคลดังกล่าวแทนชื่อผู้แต่ง ตามด้วย คำว่า บรรณาธิการ หรือ ผู้รวบรวม หรือ eds. หรือ comp. ตัวอย่าง ( สุวิช พึ่งเจริญ, บรรณาธิการ , 2535) ( Vasey, comp. , 1988 , p. 45 )

  15. 9. ถ้าการอ้างอิงไม่ได้เป็นการอ้างจากงานนั้นโดยตรง ต้องอ้างผู้แต่งและปีที่พิมพ์ของเอกสารอันดับแรกก่อน ตามด้วยคำว่า อ้างถึงใน หรือ cited in ต่อด้วยเอกสารอันดับสอง ตัวอย่าง ( สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ , 2534 น. 103 อ้างถึงใน ฤทธิชัย เตชะมหัทธนันท์ , 2537 น. 3 ) ( Dubey & Harvey , 1970 pp. 60-62, cited in Rogers, 1983, p. 255 )

  16. การลงรายการบรรณานุกรม ( Bibliography ) บรรณานุกรมเป็นรายชื่อสิ่งพิมพ์ที่นำมาใช้อ้างอิงในงานเขียนเพื่อให้ทราบแหล่งข้อมูลที่จะค้นคว้าเพิ่มเติม รูปแบบการลงรายการแตกต่างกันตามประเภทของเอกสาร

  17. 1. วารสารและหนังสือพิมพ์บทความวารสาร ผู้เขียน. “ชื่อบทความ.”ชื่อวารสารปีที่(เดือน ปี): หน้า. ชื่อบทความภาษาต่างประเทศให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะคำแรกของชื่อเรื่อง สำหรับชื่อวารสารใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทุกตัวอักษรแรกของแต่ละคำ Lauraine, R.E. “Making a miracle.”Journal of Economic Methodology61(March 1993): 85-87.

  18. บทความในหนังสือพิมพ์ ถ้าเป็นบทความในหนังสือพิมพ์ให้ลงวันเดือนปี ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์.“คลื่นเศรษฐกิจลูกที่ห้ากับอนาคตขบวนการแรงงาน.”สยามรัฐ ( 15-21 พฤศจิกายน 2535): 22-25.บทความในหนังสือพิมพ์หากไม่มีผู้แต่ง ลงชื่อบทความและวันเดือนปี “ปากกาลูกลื่น.”ผู้จัดการรายวัน(14-15 พฤศจิกายน 2543): 18.

  19. 2. หนังสือ ผู้แต่ง. (ถ้าไม่มีผู้แต่ง แต่มีบรรณาธิการลงบรรณาธิการ) ชื่อเรื่อง. ชื่อชุด(ถ้ามี). ครั้งที่พิมพ์(ถ้าพิมพ์มากกว่า หนึ่งครั้ง). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์. วิทยา เทพยา. มนุษยสัมพันธ์.(พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขเพิ่มเติม). สงขลา : วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้, 2522.

  20. หากไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งให้ลงชื่อเรื่องเป็นลำดับแรก การลงรายการสำนักพิมพ์ ให้ตัดคำว่า Publisher, Co. , Inc. หรือสำนักพิมพ์ ลงแต่ชื่อเท่านั้น ถ้าในหนังสือลงชื่อเมืองที่ตั้งสำนักพิมพ์มากกว่า 1 แห่ง ให้ลงเฉพาะเมืองแรก หากไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์หรือสำนักพิมพ์ ให้ใช้คำว่า ม.ป.ท. หรือ s.l. SMEsกับการพัฒนาเศรษฐกิจในอินโดจีน : สปป. ลาว เวียดนาม กัมพูชา.ม.ป.ท., 2522.

  21. 3. หนังสือแปลผู้แต่ง. ชื่อเรื่อง.แปลโดย ผู้แปล.สถานที่พิมพ์:สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์. เนวินส์, แอลแลน, และคอมแมเจอร์, เฮนรี่สติล. ประวัติศาสตร์สังเขปสหรัฐอเมริกา.แปลโดย ไพฑูรย์ พงศะบุตร และวิลาสวงศ์ พงศะบุตร. กรุงเทพมหานคร: แพร่พิทยา, 2522.

  22. 4. บทความจากหนังสือรวมบทความผู้เขียน. “ชื่อบทความ.” ใน หรือ in ชื่อเรื่อง,หน้า(น. หรือ p.).ชื่อบรรณาธิการหรือผู้รวบรวม. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์. สุมิตร คุณานุกร. “การวางแผนการสอน.” ในคู่มืออาจารย์ด้านการเรียนการสอน, น. 58-59. ไพฑูรย์ สินลารัตน์ บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย, ฝ่ายวิชาการ, หน่วยพัฒนาอาจารย์,2522.

  23. 5. เอกสารของหน่วยราชการชื่อหน่วยงานหลัก, หน่วยงานรอง. ชื่อเรื่อง. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ พ.ศ. 2537. กรุงเทพมหานคร: 2537.

  24. 6. บทความในเอกสารการประชุมลงรายการเหมือนกับบทความในหนังสือ ชื่อการประชุมให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ที่อักษรตัวแรกของทุกคำ Deci, E.L., & Ryan, R.M. “A motivational approach to self: Integration in personality.” In Nebraska Symposium on Motivation. pp. 237- 288. Edited by R. Dienstbier. Lincoln: University of Nebraska Press. 1991.

  25. 7. วิทยานิพนธ์ ผู้เขียน. “ชื่อวิทยานิพนธ์.” ระดับวิทยานิพนธ์ ชื่อ คณะ มหาวิทยาลัย, ปีที่พิมพ์. เพ็ชรรัตน์ ยิ้มพงษ์. “การกระทำการทุ่มตลาดภายใต้แกตต์และองค์การการค้าโลก.” วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.

  26. 8. แหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตWeb pages ชื่อผู้เขียนหรือ web master(ถ้ามี). (เดือนปีของเอกสาร หรือการupdate ข้อมูล). ชื่อเรื่อง. วันเดือนปีที่ ค้นหาข้อมูล. ชื่อ website.Burke, Laura P. (May, 1997). A Hypertext history of the Renaissance History. Retrieved 23 September, 1999 from the World Wide Web: http://www.caf.new.edu/home/lbs/renhist.html.

  27. บทความจาก Online Jacobson, J. W., Mulick, J. A., & Schwartz, A. A. (1995). A history of facilitated communication: Science, pseudoscience, and antiscience: Science working group on facilitated communication. American Psychologist, 50, 750-765. Retrieved January 25, 1996 from the World WideWeb: http://www.apa.org/journals/jacobson.html

  28. การเรียงลำดับบรรณานุกรมในการพิมพ์บรรณานุกรมให้แยกตามประเภทของสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ บทความ และแยกเป็นภาษาไทย-อังกฤษเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง กรณีที่ไม่มีชื่อผู้แต่งให้เรียงตามอักษรชื่อเรื่อง โดยเรียงปนกันทั้งชื่อผู้แต่งและชื่อเรื่อง หากผู้แต่งคนเดียวกันเขียนหนังสือหลายเรื่อง ให้ใช้ ____________แทนการพิมพ์ชื่อซ้ำ เมธี ครองแก้ว. การกระจายรายได้ของครอบครัวไทย. ___________. ผลกระทบของระบบการคลัง...

More Related