740 likes | 1.11k Views
หลักสูตร การ พัฒนา ศักยภาพ คณะกรรมการ ดำเนินการสหกรณ์ขั้นพื้นฐาน. กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และคำแนะนำเกี่ยวกับ การเงินการบัญชีของสหกรณ์. กฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง กับสหกรณ์. พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553. 1. ระเบียบ คำแนะนำ นทส./กตส. 2. ข้อบังคับของสหกรณ์.
E N D
หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ขั้นพื้นฐาน
กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และคำแนะนำเกี่ยวกับ การเงินการบัญชีของสหกรณ์
กฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 1 ระเบียบ คำแนะนำ นทส./กตส. 2 ข้อบังคับของสหกรณ์ 3 ระเบียบของสหกรณ์ 4 มติที่ประชุม 5
พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 หมวดที่ 1 บททั่วไป หมวดที่ 2 การกำกับและส่งเสริมสหกรณ์ 1) คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ 2) นายทะเบียนสหกรณ์ 3) การกำกับดูแลสหกรณ์ 4) กองทุนพัฒนาสหกรณ์
หมวดที่ 3 สหกรณ์ 1) การจัดตั้งและการจดทะเบียนสหกรณ์ 2) ข้อบังคับและการแก้ไขเพิ่มเติม 3) การดำเนินงานของสหกรณ์ 4) การสอบบัญชี 5) การเลิกสหกรณ์ หมวดที่ 4 การชำระบัญชี
หมวดที่ 5 การควบสหกรณ์เข้ากัน หมวดที่ 6 การแยกสหกรณ์ หมวดที่ 7 ชุมนุมสหกรณ์ หมวดที่ 8 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย หมวดที่ 9 กลุ่มเกษตรกร หมวดที่ 10 บทกำหนดโทษ บทเฉพาะกาล
มาตรา 65 ให้สหกรณ์จัดให้มีการทำบัญชีตามแบบและรายการ ที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ที่สำนักงานสหกรณ์ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด บันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับเงินสดในวันที่เกิดรายการนั้น รายการที่ไม่เกี่ยวกับเงินสดบันทึกให้เสร็จภายใน 3 วัน นับแต่วันที่เกิดรายการ ต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สมบูรณ์โดยครบถ้วน
มาตรา 66 ให้สหกรณ์จัดทำงบดุลอย่างน้อยทุกรอบ 12 เดือน อันจัดว่าเป็นรอบปีทางบัญชี งบดุลต้องมีรายการแสดงสินทรัพย์ หนี้สินและทุนของสหกรณ์ กับบัญชีกำไรขาดทุนตามแบบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด งบดุลต้องทำให้แล้วเสร็จและให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ แล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี
มาตรา 67 ให้สหกรณ์จัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงาน ของสหกรณ์เสนอต่อที่ประชุมใหญ่ในคราวที่เสนองบดุลและ ให้ส่งสำเนารายงานประจำปีกับงบดุลให้นายทะเบียนสหกรณ์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการประชุม มาตรา 68 ให้สหกรณ์เก็บรักษารายงานประจำปีและงบดุล พร้อมทั้ง ข้อบังคับและกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ไว้ที่สำนักงานสหกรณ์ เพื่อให้สมาชิกขอตรวจดูได้
พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 มาตรา 16 (8) นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจออกระเบียบ หรือคำสั่งเพื่อให้มีการ ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ และยังมอบอำนาจให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง กำหนดระเบียบและคำแนะนำต่าง ๆ เพื่อให้สหกรณ์ถือปฏิบัติด้วย ซึ่งต้องไม่ขัด หรือแย้งกับ พ.ร.บ.สหกรณ์
ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการบัญชีของสหกรณ์ พ.ศ. 2542 4 หมวด หมวด 1 ข้อความทั่วไป หมวด 2 นโยบายการบัญชีที่สำคัญ หมวด 3 การเปิดเผยข้อมูล หมวด 4 การควบ การแยก และการชำระบัญชี
หมวด 1 ข้อความทั่วไป ข้อ 6 คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์มีหน้าที่รับผิดชอบ จัดให้มีการปิดบัญชี และจัดทำงบการเงินทุกวันสิ้นปีบัญชี แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ แล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี
ข้อ 7 งบการเงินของสหกรณ์ ประกอบด้วย + งบดุล + งบกำไรขาดทุน + งบต่าง ๆ + รายละเอียดประกอบงบการเงิน ตามแบบที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด
ข้อ 8 ให้จัดทำบัญชีตามแบบที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด มีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สมบูรณ์และครบถ้วน บันทึกรายการบัญชีตามเกณฑ์พึงรับพึงจ่ายและนโยบาย การบัญชีที่สำคัญที่กำหนดไว้ โดยเปิดเผยในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน บันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับเงินสดในวันที่เกิดรายการนั้น รายการที่ไม่เกี่ยวกับเงินสดบันทึกให้เสร็จภายใน3 วัน นับแต่วันที่เกิดรายการ 14
ให้เก็บรักษาเอกสารประกอบการลงบัญชีและสมุดบัญชีต่างๆ ไว้ที่สำนักงานสหกรณ์เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและอื่น ๆ ข้อ 9 ไม่น้อยกว่า 10 ปี
หมวด 2 นโยบายการบัญชีที่สำคัญ ข้อ 10 • การรับรู้รายได้ • รับรู้ตามลักษณะการเกิดรายได้แต่ละประเภท • ต้องมีความแน่นอนของจำนวนผลประโยชน์ • ที่จะได้รับและต้นทุนที่เกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้น • ต้องมีมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
ข้อ 11 การประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ • พิจารณาลูกหนี้แต่ละราย • ประมาณเป็นร้อยละของหนี้ ณ วันสิ้นปี • จัดกลุ่มจำแนกตามอายุหนี้ของหนี้ที่ค้างชำระ
ค่าเผื่อฯ ที่คำนวณได้ > ยอดคงเหลือตามบัญชี ผลต่าง = ค่าใช้จ่ายของปีนั้น ๆ ค่าเผื่อฯ ที่คำนวณได้ < ยอดคงเหลือตามบัญชี ผลต่าง = ค่าเผื่อฯ เกินต้องการ ให้ปรับลดยอดค่าใช้จ่ายของปีนั้น ๆ
การตัดจำหน่ายหนี้สูญ ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ และได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ ก่อนจะตัดหนี้สูญลูกหนี้รายใดนั้นต้องมีการ ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้เต็มจำนวนแล้ว ณ วันสิ้นปีบัญชี ก่อนหน้าวันที่ที่ประชุมใหญ่พิจารณาอนุมัติให้ตัดจำหน่าย หนี้สูญได้
ข้อ 12 ณ วันสิ้นปีบัญชี จัดให้มีการตรวจนับสินค้า/วัสดุคงเหลือ โดยผู้ที่ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการเก็บรักษาสินค้า หรือวัสดุ เป็นกรรมการตรวจนับไม่น้อยกว่า 3 คน เพื่อให้ทราบปริมาณ และสภาพของสินค้า/วัสดุคงเหลืออยู่ตามความเป็นจริง ให้แยกรายละเอียดสินค้าคงเหลือสภาพปกติ สินค้าที่เสื่อมชำรุด และวัสดุคงเหลือที่ตรวจนับได้ไว้ต่างหากจากกัน
วัสดุคงเหลือ ตีราคาตามราคาทุน สินค้าคงเหลือสภาพปกติ ตีราคาตามราคาทุน หรือมูลค่าสุทธิ ที่จะได้รับ แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า โดยเลือกใช้การคำนวณราคาทุน วิธีเข้าก่อนออกก่อน หรือ วิธีราคาทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก สินค้าเสื่อม หรือชำรุด ตีราคาลดลงตามราคาที่คาดว่าจะ จำหน่ายได้ กรณีลดต่ำกว่าราคาทุน ให้จัดทำรายละเอียดและเหตุผล ขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการ
การตัดสินค้าขาดบัญชี ให้ปฏิบัติตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด โดยตั้งสำรองสินค้าขาดบัญชีที่ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ ไว้เต็มจำนวนแล้ว ณ วันสิ้นปีบัญชี ก่อนหน้าวันที่ที่ประชุมใหญ่ พิจารณาอนุมัติให้ตัดเป็นสินค้าขาดบัญชีได้
ข้อ 13 การวัดมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ บันทึกด้วยราคาทุน ราคาซื้อ xx บวก ภาษี , ต้นทุนกู้ยืม, ต้นทุนทางตรงอื่น ๆ xx หัก ส่วนลดการค้า , ภาษีที่จะได้รับคืน xx ราคาทุน xx
รายจ่ายภายหลังการได้มาซึ่งที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์มีสภาพดีขึ้นเมื่อเทียบกับมาตรฐาน การใช้งานเดิม เช่น มีอายุการใช้งาน/มีเนื้อที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น ฯลฯ รายจ่ายที่ทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้น รายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่เกิดขึ้น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สามารถรักษาสภาพของมาตรฐาน การใช้งานเดิมไว้ โดยไม่มีการเพิ่มประสิทธิภาพ
การตีราคาใหม่ สหกรณ์อาจตีราคาที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่ตามราคาตลาด ซึ่งถือเป็นมูลค่ายุติธรรม โดยผู้ประเมินราคาอิสระที่มีความเชี่ยวชาญและเชื่อถือได้ และต้องตีราคาทุกรายการที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันพร้อมกัน ทั้งนี้ ระยะเวลาของการพิจารณา ตีราคาใหม่แต่ละครั้งต้องไม่ต่ำกว่า 5 ปี
การคำนวณค่าเสื่อมราคาการคำนวณค่าเสื่อมราคา ให้คำนวณค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งานและใกล้เคียงกับความเป็นจริง คำนวณค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์ได้ 2 วิธี + วิธีเส้นตรง + วิธีอัตราลดลงตามผลรวมจำนวนปี
วิธีอัตราลดลงตามผลรวมจำนวนปีวิธีอัตราลดลงตามผลรวมจำนวนปี ใช้กับอาคาร & อุปกรณ์ ที่มีลักษณะ ใช้งานไปนาน อาจเกิด ค่าซ่อมแซมมาก ประโยชน์ที่ให้ ในระยะหลัง ไม่แน่นอน มีประสิทธิภาพ การใช้งานสูง ในระยะแรก ระยะเวลาที่ตัดจำหน่ายต้องไม่เกินกว่าการใช้วิธีเส้นตรง
การเลิกใช้ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป ให้รับรู้ผลต่างระหว่างจำนวนเงินสุทธิที่คาดว่าจะได้รับกับ ราคาตามบัญชีหลักหักค่าเสื่อมราคาสะสมถึงวันที่เลิกใช้ เป็นรายได้ หรือค่าใช้จ่ายในปีที่เลิกใช้ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เลิกใช้และรอจำหน่าย ให้คำนวณค่าเสื่อมราคาต่อไปจนกว่าจะสามารถจำหน่ายได้ และเมื่อจำหน่ายได้ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป
ข้อ 14 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ให้ตัดจ่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามอายุการใช้สิทธิที่ได้รับและการเปลี่ยนแปลงการใช้ซอฟท์แวร์ใหม่ตามลำดับ แต่ต้องไม่น้อยกว่าอัตราค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง ให้บันทึกค่าตัดจ่ายหักจากบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นโดยตรง และบันทึกรายการตัดจ่ายไว้ในทะเบียนสินทรัพย์
ข้อ 15 เงินลงทุนที่ อยู่ในความต้องการของตลาด ตีราคาตาม มูลค่ายุติธรรม เงินลงทุนทั่วไปไม่อยู่ในความต้องการของตลาด ตีราคาตาม ราคาทุน มูลค่ายุติธรรม : จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กัน
การตัดบัญชีค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีการตัดบัญชีค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ให้คำนวณเป็นรายปีเพื่อตัดออกจากบัญชีในแต่ละรอบปีบัญชีให้เสร็จสิ้นภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีไม่ให้รวมถึงผลเสียหาย หรือ ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้วจำนวนมาก ข้อ 16
หมวด 3 การเปิดเผยข้อมูล ข้อ 17 งบการเงิน รายละเอียดประกอบงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน
สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบรายการในงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงในงบการเงิน ข้อ 18 หมายเหตุประกอบงบการเงิน
หมวด 4 การควบ การแยกและการชำระบัญชี
ในการดำเนินงานด้านการเงินการบัญชีของสหกรณ์ นอกจากจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยการบัญชีของสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แล้ว สหกรณ์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบและคำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ รวมทั้งคำแนะนำกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ที่กำหนดด้วย
ข้อบังคับของสหกรณ์ เป็นหลักฐานสำคัญประกอบการยื่นขอจดทะเบียนสหกรณ์ ซึ่งคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์จะต้องจัดทำขึ้นให้ถูกต้องตาม รายการที่กำหนดใน พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 43 แล้วเสนอให้ที่ประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกพิจารณากำหนดเป็น ข้อบังคับของสหกรณ์ เพื่อใช้เป็นหลักในการดำเนินงาน
รายการในข้อบังคับของสหกรณ์รายการในข้อบังคับของสหกรณ์ ชื่อสหกรณ์ ซึ่งต้องมีคำว่า “จำกัด” อยู่ท้ายชื่อ 1 ประเภทของสหกรณ์ 2 วัตถุประสงค์ 3 ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ตั้งสำนักงานสาขา 4 ทุนซึ่งแบ่งเป็นหุ้น มูลค่าของหุ้น การชำระค่าหุ้น การขายและการโอนหุ้น ตลอดจนการจ่ายคืนค่าหุ้น 5 ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงาน การบัญชีและการเงินของสหกรณ์ 6
คุณสมบัติของสมาชิก วิธีรับสมาชิก การขาดจาก สมาชิกภาพ ตลอดจนสิทธิหน้าที่ของสมาชิก 7 ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ 8 การเลือกตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ 9 การแต่งตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดการ 10
ระเบียบของสหกรณ์ เป็นระเบียบ หรือข้อกำหนดที่คณะกรรมการดำเนินการ กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานสหกรณ์ ประกอบด้วย 1. ระเบียบที่ต้องขอความเห็นชอบ ได้แก่ - ระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงิน - ระเบียบว่าด้วยการให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน 2. ระเบียบที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด - ระเบียบเกี่ยวกับการเงินการบัญชี - ระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ - ระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงาน
ระเบียบเกี่ยวกับการเงินการบัญชีระเบียบเกี่ยวกับการเงินการบัญชี การรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน ระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ การให้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ การจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย การจำหน่ายสินค้าเป็นเงินเชื่อ การรวบรวมผลิตผล หรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก การให้บริการแก่สมาชิก ฯลฯ
ระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงาน ทุนของสหกรณ์ สมาชิก คณะกรรมการ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ การใช้ทุนสะสมเพื่อสาธารณประโยชน์ การใช้ทุนสะสมเพื่อการพัฒนากิจการสหกรณ์ การใช้ทุนสะสมเพื่อการศึกษาอบรมทางสหกรณ์ ฯลฯ
มติที่ประชุม เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานของสหกรณ์ที่กำหนดขึ้น โดยมติที่ประชุมใหญ่ และ/หรือมติที่ประชุมคณะกรรมการฯ เช่น การกำหนดวงเงินกู้ยืมและค้ำประกันประจำปี การกำหนดอัตราการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงพาหนะ การปรับ/เลื่อนขั้นเงินเดือนเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ฯลฯ
ระบบบัญชีสหกรณ์ ลำดับงานและการบันทึกที่ใช้สรุปผลรายการเพื่อจัดทำข้อมูล ทางการเงินที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสหกรณ์ ระบบบัญชีสหกรณ์ใช้หลักการบัญชีคู่ รายการเงินที่เกิดขึ้น ทุกรายการจะต้องบันทึกบัญชี 2 ด้านเสมอ คือ ด้านเดบิต และด้านเครดิต ซึ่งจำนวนเงินรวมด้านเดบิตต้องเท่ากับ ด้านเครดิตเสมอ
ขั้นตอนในการจัดทำบัญชีขั้นตอนในการจัดทำบัญชี รวบรวมเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี บันทึกบัญชีลงในสมุดบันทึกรายการขั้นต้น ผ่านรายการไปยังสมุดบันทึกรายการขั้นปลาย หายอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภทและจัดทำงบทดลอง จัดทำงบการเงิน
เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี สิ่งที่ใช้เป็นหลักฐานบันทึกข้อเท็จจริงตามลักษณะของรายการเงินที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงว่าเกิดรายการเงินขึ้นจริงตามจำนวนในเอกสารนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เอกสารภายใน และเอกสารภายนอก
เอกสารภายใน เป็นเอกสารที่สหกรณ์จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายการเงินที่เกิดขึ้น ภายในกิจการ และเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ใบรับเงินกู้ ใบรับเงินขายสินค้า ใบกำกับสินค้า ใบกำกับสินค้า/ใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบส่งคืนสินค้า ใบสำคัญการให้บริการ ใบเบิกเงิน ใบส่งเงินฝาก ใบถอนเงินฝาก ใบสำคัญรับ ใบสำคัญจ่าย ใบโอนบัญชี เป็นต้น
เอกสารภายนอก เป็นเอกสารที่สหกรณ์ได้รับจากบุคคลภายนอก เช่น ใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายสินค้าให้สหกรณ์เป็นเงินสด ใบกำกับสินค้า/ใบส่งของจากผู้ขายสินค้าให้สหกรณ์ เป็นเงินเชื่อ เป็นต้น
การจัดการเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีการจัดการเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี รวบรวมเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี แยกเอกสารออกเป็นแต่ละอย่างตามประเภทบัญชี บวกรวมจำนวนเงินตามเอกสารแต่ละประเภท จัดทำใบสรุปรายการเงิน ได้แก่ ใบสำคัญรับ ใบสำคัญจ่าย และใบโอนบัญชี
สมุดบัญชี แบ่งเป็น 2 ประเภท สมุดบันทึกรายการขั้นต้น สมุดบันทึกรายการขั้นปลาย
สมุดบันทึกรายการขั้นต้นสมุดบันทึกรายการขั้นต้น ใช้บันทึกรายการเงินจากเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี เรียงตามลำดับก่อนหลังที่รายการเงินนั้นเกิดขึ้น ประกอบด้วย สมุดเงินสด สมุดซื้อสินค้า สมุดขายสินค้า/สมุดขายสินค้าและรายงานภาษีขาย สมุดรายได้ค่าบริการ/ สมุดรายได้ค่าบริการและรายงานภาษีขาย สมุดรายวันทั่วไป