1 / 38

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล ( Introduction to Database )

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล ( Introduction to Database ). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล

Download Presentation

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล ( Introduction to Database )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล( Introduction to Database )

  2. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูลความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง 1. โครงสร้างแฟ้มข้อมูล 2. ประเภทของแฟ้มข้อมูล 3. การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูล( File Organization) 4. ระบบแฟ้มข้อมูล (File System) 5. ระบบฐานข้อมูล (Database System) 6. ความสำคัญและหน้าที่ของ DBMS 7. ส่วนประกอบของระบบฐานข้อมูล 8. คำศัพท์ที่ใช้ในฐานข้อมูล

  3. โครงสร้างแฟ้มข้อมูล ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานจากหน่วยที่เล็กที่สุดไปยังหน่วยที่ใหญ่ที่สุด ดังนี้ 1. Bit ประกอบด้วยเลขฐานสอง ใช้แทนค่าหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ จะมีอยู่เพียงสองสถานะ คือ 0 หรือ 1 2. Byte ประกอบด้วยจำนวน Bit เช่น 1 ไบต์มี 8 บิต เพื่อสร้างรหัสแทนข้อมูล เช่น ตัวอักษร J คือ 01001010 3. Field คือ การนำตัวอักษรมารวมกันเพื่อให้เกิดความหมาย เช่น STD_NAME เป็นฟิลด์ที่ใช้เก็บชื่อนักศึกษา

  4. โครงสร้างแฟ้มข้อมูล4. Record คือ กลุ่มของ Field ที่สัมพันธ์กัน เช่น record ของนักศึกษา ประกอบด้วย field รหัส นศ., ชื่อ-นามสกุล, วิชาที่ลง,เกรดที่ได้ 5. File คือ กลุ่มของ Record ที่สัมพันธ์กัน เช่น แฟ้มประวัตินักศึกษาประกอบด้วย record ของนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัย 6. Database คือ กลุ่มของ File ที่สัมพันธ์กัน เช่น ใน Student Database ประกอบด้วย Course File,Personal History File และ Financial File

  5. ตัวอย่าง โครงสร้างแฟ้มข้อมูล Student Database Course File Financial File Database Personal History File Course File 45310 John Stewart IS101 F01 B+ 45311 Karen Taylor IS101 F01 A 45312 Emily Vincent IS101 F01 C File STD-NO STD_NAME COURSE DATE GRADE Record 45310 John Stewart IS101 F01 B+ Field John Stewart (STD_NAME field) Byte 01001010 (Letter J) 0 Bit

  6. ชนิดของข้อมูล ชนิดของข้อมูลที่จัดเก็บ มีดังต่อไปนี้ 1. ข้อความ (Text) ประกอบด้วยตัวอักษรต่างๆมารวมกัน ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน 2. ชนิดที่เป็นรูปแบบ (Formatted data)เป็นข้อมูลที่ประกอบด้วยอักษรต่างๆที่มีรูปแบบแน่นอน เช่น ในรูปแบบรหัส ได้แก่ รหัสนักศึกษา รหัสวิชา 3. รูปภาพ (Images) เป็นรูปภาพที่ใช้แทนข้อมูล เป็นภาพที่ได้จากการสแกนภาพ หรือ จากวิดิโอ 4. เสียง (Voice) เป็นข้อมูลที่จัดเก็บเป็นลักษณะของเสียง

  7. ประเภทของแฟ้มข้อมูล1. Master Fileเป็นแฟ้มข้อมูลหลัก ซึ่งจัดเก็บข้อมูลที่มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น แฟ้มข้อมูลประวัตินักศึกษา การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใน Master File ทำได้ 3 รูปแบบ 1.1 การเพิ่ม (Add) เช่น การเพิ่ม record นักศึกษาใหม่ 1.2 การลบออก (Delete) เช่น การลบ record นักศึกษาที่ลาออก 1.3 การแก้ไข (Modify) เช่น การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของนักศึกษา 2. Transaction Fileเป็นแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลการดำเนินธุรกรรมประจำวัน (Transaction) มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่น รายการฝากถอนเงินในบัญชีลูกค้าธนาคาร 3. Document File เป็นแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มรายงาน (Report File) ที่ได้จากการพิมพ์ด้วยโปรแกรม

  8. การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูล(File Organization) พื้นฐานของรูปแบบการจัดโครงสร้างข้อมูล ประกอบด้วย 1. โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ( Sequential File Organization) ข้อมูลแต่ละ record จะถูกจัดเก็บเป็นลำดับตาม field ที่ใช้จัดเรียง ถ้า filed ทีใช้จัดเรียงเป็น คีย์หลัก (Primary Key) จะเรียกว่า Ordering Key การค้นหาข้อมูลจะเรียงตามลำดับของ record 2. โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบดัชนี (Indexed File Organization)เป็นการเก็บข้อมูลแต่ละ record แบบเรียงตามลำดับหรือไม่เรียงก็ได้ โดยแฟ้มแบบดัชนี ประกอบด้วย ค่าของfield ที่ใช้เป็นดัชนีและตำแหน่งของ record ในแฟ้มข้อมูล การค้นหาหรือเรียกใช้ข้อมูลจะทำผ่านแฟ้มดัชนี ทำให้การเรียกใช้ข้อมูลรวดเร็ว

  9. การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูล(File Organization)3. โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบแฮช ( Hashed File Organization)เป็นโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่มีการกำหนดที่อยู่ (Relative record number) ที่ใช้เก็บข้อมูลแต่ละ record โดยใช้ Hash algorithm ซึ่งเป็นเทคนิคในการแปลงค่าของ field ที่เลือกใช้ (Hash Field) ให้เป็นตำแหน่งที่อยู่ของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นrecord ของแฟ้มข้อมูลแบบ Hash จะอยู่แบบกระจัดกระจาย การจัดแฟ้มข้อมูลแบบ Hash เหมาะกับการเรียกใช้ข้อมูลที่มีการระบุค่าของ Hash Field เช่น Flyers แต่แฟ้มแบบนี้ไม่เหมาะกับการเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องค้นหาข้อมูลเป็นช่วง หรือใช้field อื่นที่ไม่ใช่ Hash Field ในการแสดงข้อมูล

  10. (a) โครงสร้างแบบ Sequential (b) โครงสร้างแบบ Hash

  11. โครงสร้างแบบ Indexed

  12. ระบบแฟ้มข้อมูล ( File System) Personal Department Sales Department Accounting Department Accounts Employee Customers Sales Salesman Inventory Duplicate data (salesman is an employee)

  13. ตัวอย่างแฟ้มพนักงานและแฟ้มพนักงานขายตัวอย่างแฟ้มพนักงานและแฟ้มพนักงานขาย

  14. ระบบแฟ้มข้อมูล ( File System) การจัดเก็บแฟ้มข้อมูลจะถูกจัดเก็บลงในคอมพิวเตอร์เป็นอิสระ โดยจะสร้างระบบแฟ้มข้อมูลภายในหน่วยงานของตนเอง ทำให้เกิดข้อจำกัดหรือปัญหา ดังนี้ 1. ข้อมูลมีการเก็บแยกจากกัน(Separation and Isolation of Data) ในแต่ละหน่วยงาน ทำให้เป็นการยากในการเข้าถีงข้อมูลได้โดยตรง 2. ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน(Data Redundancy) ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลและเสียเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลชุดเดียวกันที่มีการเก็บอยู่หลายแฟ้มทำให้เกิดความผิดพลาดในข้อมูล(Data Anomaly) 3 ลักษณะ ดังนี้ 2.1 ข้อผิดพลาดจากการเพิ่มข้อมูล (Insert Anomaly) เป็นการเพิ่มข้อมูลให้กับแฟ้มข้อมูลต่างๆที่สัมพันธ์กันไม่ครบถ้วน เช่น เพิ่มข้อมูลพนักงานขายใหม่ ชื่อ นายองอาจ เฉพาะแฟ้มข้อมูลพนักงานขาย โดยไม่ได้เพิ่มข้อมูลในแฟ้มพนักงาน

  15. ตัวอย่างความขัดแย้งของการเพิ่มข้อมูล

  16. 2.2 ข้อผิดพลาดจากการลบข้อมูล (Deletion Anomaly ) เช่น พนักงานชื่อ นายพิชัย ลาออก ทางแผนกบุคคลได้ลบชื่อออกจากแฟ้มพนักงาน แต่ข้อมูลของนายพิชัย ยังคงอยู่ในแฟ้มพนักงานขาย ซึ่งไม่ถูกต้อง ตัวอย่างความขัดแย้งของการลบข้อมูล

  17. 2.3 ข้อผิดพลาดจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูล(Modification Anomaly) เช่น กรณี น.ส นงนุช เปลี่ยนชื่อเป็น น.ส.ณิชกานต์ ได้มีการเปลี่ยนชื่อเฉพาะในแฟ้มข้อมูลพนักงาน ทำให้ข้อมูลไม่มีความถูกต้องตรงกัน ตัวอย่างความขัดแย้งของการเปลี่ยนแปลงข้อมูล

  18. ระบบแฟ้มข้อมูล ( File System) 3. ข้อมูลมีความขึ้นต่อกัน(Data Dependence) ระหว่างโปรแกรมกับโครงสร้างแฟ้มข้อมูล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแฟ้มข้อมูล ทำให้ต้องแก้ไขโปรแกรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น เปลี่ยน ความกว้างของเงินเดือนจาก 5 หลัก เป็น 6 หลัก 4. มีรูปแบบที่ไม่ตรงกัน (Incompatible File Formats) เนื่องจากแฟ้มข้อมูลถูกสร้างด้วยโปรแกรมที่ใช้ภาษาที่ต่างกัน ทำให้โครงสร้างข้อมูลต่างกัน และเป็นการยากในการนำแฟ้มขัอมูลทั้งสองมาประมวลผลร่วมกัน

  19. ระบบแฟ้มข้อมูล ( File System) 5. รายงานต่างๆถูกกำหนดไว้อย่างจำกัด รูปแบบของรายงานต่างๆถูกกำหนดรูปแบบที่แน่นอนลงในโปรแกรม ถ้าต้องการรายงานใหม่ ต้องเขียนโปรแกรมเพิ่ม ข้อดีของแฟ้มข้อมูล 1. ง่ายต่อการออกแบบและพัฒนา เนื่องจากการออกแบบแฟ้มข้อมูลไม่มีความสลับซับซ้อน 2. การประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลเป็นวิธีดั้งเดิมและมีความรวดเร็ว เนื่องจากการประมวลผลข้อมูลสามารถกำหนดแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวข้องในโปรแกรมได้โดยตรง ทำให้โปรแกรมทำงานค้วยความรวดเร็ว

  20. ระบบฐานข้อมูล (Database System) Personal Department Database Employees Customers Sales Inventory Accounts Sales Department DBMS Accounting Department

  21. ระบบฐานข้อมูล (Database System) - เป็นศูนย์รวมของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน - มีกระบวนการจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่มีแบบแผน - เป็นแหล่งรวมของข้อมูลจากแผนกต่างๆ ภายใต้ฐานข้อมูลชุดเดียวกัน - ผู้ใช้งานในแต่ละแผนกสามารถใช้ข้อมูลส่วนกลางร่วมกันได้ ทำให้ ข้อมูลไม่ซ้ำซ้อน ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management System ) DBMS คือ โปรแกรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการฐานข้อมูล ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆในฐานข้อมูล DBMS ใช้ภาษา SQL ในการโต้ตอบกับผู้ใช้ เพื่อให้สามารถทำการสร้าง เรียกดู บำรุงรักษา และจัดการควบคุมการเข้าถึงฐานข้อมูล

  22. ภาษา SQL (Structured Query Language) • เป็นภาษาที่มีรูปแบบเป็นภาษาอังกฤษง่ายต่อการเรียนรู้และเขียนโปรแกรม • มีความสามารถในการนิยามโครงสร้างตารางภายในฐานข้อมูลการจัดการข้อมูลและควบคุมสิทธิการใช้งานฐานข้อมูล • ประกอบด้วยภาษา 3 รูปแบบ 1. ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (Data Definition Language :DDL) 2. ภาษาสำหรับจัดการฐานข้อมูล (Data Manipulation Language : DML) 3. ภาษาควบคุม (Control Language : CL)

  23. ภาษา SQL (Structured Query Language) 1. ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (Data Definition Language :DDL) • เป็นภาษาที่ใช้ในการนิยามโครงสร้างของฐานข้อมูล (Schema) เพื่อทำการสร้างเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกโครงสร้างของฐานข้อมูลที่ได้ออกแบบไว้ • โครงสร้างของฐานข้อมูล (Schema) ได้แก่การกำหนดชื่อฐานข้อมูลตาราง (table) ที่มีในฐานข้อมูลแต่ละตารางมีเขตข้อมูล (field)ใดบ้างและมีประเภทข้อมูลเป็นอะไรขนาดเท่าใดเขตข้อมูลใดที่เป็นคีย์หลัก • ตัวอย่างภาษา DDL เช่นคำสั่ง CREATE, ALTER, DROP

  24. ภาษา SQL (Structured Query Language) 2. ภาษาสำหรับจัดการฐานข้อมูล (Data Manipulation Language : DML) • เป็นภาษาที่ใช้ในการจัดการข้อมูลภายในตารางของฐานข้อมูล • ตัวอย่างภาษา DML เช่นคำสั่ง SELECT, INSERT, UPDATE, DELETE 3. ภาษาควบคุม (Control Language : CL) • เป็นภาษาที่ใช้ควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล • ตัวอย่างเช่นคำสั่ง GRANT, REVOKE

  25. DBMS จะจัดการการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้งานกับฐานข้อมูล

  26. ระบบการจัดการฐานข้อมูลระบบการจัดการฐานข้อมูล หน้าที่ของ DBMS มีดังนี้ 1. ให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างฐานข้อมูล (DDL :Data Definition Language) 2. ให้ผู้ใช้งานสามารถเพิ่ม,ปรับปรุง,ลบและเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล (DML : Data Manipulation Language) 3. ทำการควบคุมการเข้าถึงฐานข้อมูล ดังนี้ - ความปลอดภัยของระบบ(Security System) - ความคงสภาพของระบบ (Integrity System) - การเข้าถึงข้อมูลพร้อมกัน (Concurrency Control System) - การกู้คืนระบบ (Recovery Control System) - การเข้าถึงรายการต่างๆ (User-accessible Catalog)

  27. ส่วนประกอบของระบบฐานข้อมูลส่วนประกอบหลักของระบบฐานข้อมูล มี 5 ส่วน ดังนี้ 1. Hardware คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้งาน 2. Softwareหมายถึง ระบบปฏิบัติการ, ซอฟต์แวร์การจัดการฐานข้อมูล(DBMS), Application Program และ Utility Program 3. Data คือ ข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล และคำอธิบายข้อมูล (Meta-data)ซึ่งเป็นข้อมูลที่อธิบายคุณลักษณะของข้อมูล เช่น โครงสร้างของข้อมูล 4. Procedure คือ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผู้ใช้จะจัดการกับฐานข้อมูลตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ตามคู่มือ 5. Peopleคือ บุคลากรที่มีหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูล เช่น ผู้บริหารข้อมูลและฐานข้อมูล (Data and Database Administrators), นักออกแบบฐานข้อมูล(Database Designers), นักเขียนโปรแกรม(Application Programmers) และผู้ใช้งาน (End Users)

  28. บุคลากร ( People) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลจำแนกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆดังนี้ 1. ผู้บริหารและดูแลฐานข้อมูล (Database Administrators หรือ DBA) มีหน้าที่ - จัดการฐานข้อมูลได้แก่ออกแบบและสร้างฐานข้อมูลบำรุงรักษาฐานข้อมูลออกแบบโปรแกรมประยุกต์ในการจัดการกับข้อมูลติดตามแก้ปัญหา DBMS - ควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยเช่นกำหนดสิทธิในการใช้งาน - วางแผนป้องกันความเสียหายควบคุมการทำ backup

  29. บุคลากร ( People) 2. นักเขียนโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmers) มีหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์เพื่อจัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลตามที่ DBA ได้ออกแบบไว้ 3.ผู้ใช้งาน (End-Users) คือผู้ใช้งานโปรแกรมซึ่งได้พัฒนาแล้วมี 2 แบบคือ 3.1 ผู้ใช้งานทั่วไปที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับ DBMS จะปฏิบัติงานผ่านเมนูที่กำหนดในการเรียกดูข้อมูลหรือการพิมพ์รายงานต่างๆ 3.2 ผู้ใช้งานที่มีความรู้เป็นผู้ใช้งานที่มีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลสามารถใช้ชุดคำสั่งSQL ในการปฏิบัติงานกับข้อมูล

  30. ส่วนประกอบของระบบฐานข้อมูล

  31. ข้อดีของฐานข้อมูล1. ความเป็นอิสระของโปรแกรมและข้อมูล(Program-Data Independence) 2. ลดความซ้ำซ้อนในข้อมูล (Minimal Data Redundancy) 3. ความคงที่ของข้อมูล (Improved Data Consistency) 4. การใช้ข้อมูลร่วมกัน (Improved Data Sharing) 5. เพิ่มคุณประโยชน์ในการพัฒนาระบบ ( Increased Productivity of Application Development) 6. ความเป็นมาตราฐานเดียวกัน (Enforcement of Standard) 7. ข้อมูลมีคุณภาพมากขึ้น (Improved Data Quality) 8. การเข้าถึงข้อมูลและการตอบรับข้อมูลมีทิศทางที่ดีขึ้น (Improved Data Accessibility and Development) 9. ลดขั้นตอนการบำรุงรักษาโปรแกรม ( Reduced Program Maintenance)

  32. ข้อเสียของฐานข้อมูล1. มีความซับซ้อน (more complex than file technology) 2. มีขนาดใหญ่ (large size) 3. การทำงานช้า (slow processing) 4. ต้นทุนสูง (cost of DBMS) 5. ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการฐานข้อมูล(database specialist) 6. ปัญหาจากการใช้ข้อมูลร่วมกัน (problem of data sharing) 7. ผลกระทบต่อความล้มเหลวในข้อมูล(higher impact of a failure) 8. การกู้ระบบเป็นไปค่อนข้างยาก ( recovery more difficult)

  33. คำศัพท์ที่ใช้ในฐานข้อมูลคำศัพท์ที่ใช้ในฐานข้อมูล • Entityเป็นคำนามหมายถึงสิ่งต่างๆหรือเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องเมื่อมีการออกแบบระบบฐานข้อมูล (อาจเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้) เช่นบุคคลสถานที่การลงทะเบียนการสั่งซื้อ เปรียบเทียบเท่ากับแฟ้ม (file) ในระบบแฟ้มข้อมูล • Attributeเป็นข้อมูลที่แสดงถึงคุณสมบัติของ Entity เช่น Entity รายวิชาประกอบด้วย Attribute รหัสวิชา, ชื่อวิชา, จำนวนหน่วยกิต เปรียบเทียบเท่ากับเขตข้อมูล (field) ในระบบแฟ้มข้อมูล

  34. Student Entity Std_no Std_name Faculty_code Major_code Address GPA Attributes Faculty Faculty_code Faculty_name Administrators Relationship Student Std_no Std_name Faculty_code Major_code Address GPA Entity Attributes และ ความสัมพันธ์แบบ one-to-many

  35. ความสัมพันธ์ระหว่าง Entity • แบ่งเป็น 3 ประเภท 1. แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-One) เป็นความสัมพันธ์ที่มี record เพียง 1 recordใน entity A ที่มีความสัมพันธ์กับ record เพียง 1 record ใน entity B เช่น entity นักศึกษากับ entity การประกันชีวิตที่มหาวิทยาลัยจัดหาให้ รหัสประกัน ... 123-5865 432-6268 965-8742 รหัสนักศึกษา ... 4015-0001 4015-1111 4015-2121 การประกันฯ

  36. ความสัมพันธ์ระหว่าง Entity 2. แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-many) เป็นความสัมพันธ์ที่มี record 1 recordใน entity A ที่มีความสัมพันธ์กับ record หลาย record ใน entity B เช่น entity นักศึกษากับ entity อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา รหัสอาจารย์ ... 401205 440101 380205 รหัสนักศึกษา ... 4015-0001 4015-1111 4015-2121 นักศึกษา

  37. ความสัมพันธ์ระหว่าง Entity 3. แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-Many) เป็นความสัมพันธ์ที่มีแต่ละ record ใน entity A ที่มีความสัมพันธ์กับ record หลาย record ใน entity B เช่น entity นักศึกษากับ entity วิชาที่เรียน รหัสวิชา ... 150-311 150-426 150-510 รหัสนักศึกษา ... 4015-0001 4015-1111 4015-2121 วิชาที่เรียน

  38. แบบฝึกหัด (เก็บคะแนนครั้งที่ 3) 1. จงอธิบายว่าโครงสร้างแฟ้มข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง 2. จงอธิบายว่าชนิดของข้อมูลมีอะไรบ้าง 3. จงอธิบายว่าประเภทของแฟ้มข้อมูลมีกี่ประเภท อะไรบ้าง 4. เหตุผลสำคัญใดที่จำเป็นต้องมีการจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูล 5. จงบอกลักษณะการทำงานของระบบแฟ้มข้อมูล พร้อมข้อดีและข้อเสีย 6. จงบอกลักษณะการทำงานของระบบฐานข้อมูล พร้อมข้อดีและข้อเสีย 7.ระบบการจัดการฐานข้อมูล(DBMS) คือ อะไร มีส่วนสำคัญต่อฐานข้อมูลอย่างไร และมีหน้าที่อะไรบ้าง 8. ส่วนประกอบของระบบฐานข้อมูลมีอะไรบ้าง จงอธิบาย 9. ภาษา SQL คือ อะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง 10. จงอธิบายความหมายของคำว่า Entity , Attribute และ ความสัมพันธ์ระหว่าง Entity

More Related